เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้ > ภูมิศาสตร์

ตอบ
อ่าน: 5874 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 23-07-2012   #1
Senior Member
 
poohba's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2011
ข้อความ: 398
ถ่ายทอดพลัง: 0
คะแนนหรอย: 332
Default การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เขาแบ่งกันเยี่ยงนี้เองรึ

เพื่อนๆ ทราบไหมว่า การแบ่งภูมิภาคมีประโยชน์ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นภายในกรอบของพื้นที่รวมทั้งหมด แต่การแบ่งภูมิภาคอาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้ เนื่องจากการแบ่งนั้นกระทำได้หลายวิธีแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการแบ่งก็จะแตกต่างกัน สุดแต่ว่าจะเป็นวิธีการของหน่วยงานใดหรือนักวิชาการสาขาใด วันนี้เรามาติดตามการแบ่งตามหลักคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ กันดีกว่า



ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
ภาค ภูมิภาค เขต (region ,area) หมายถึง บริเวณหน่วยใดหน่วยหนึ่งของพื้นแผ่นดินในโลกที่มีลักษณะทางใดทางหนึ่งหรือหลายๆอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น ในทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง หรือมีลักษณะสำคัญที่เด่นชัดเหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่งจนรวมเป็นภาคเดียว บริเวณเดียวกัน และในขณะเดียวกันก็มีลักษณะแตกต่างออกไป จากบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ

การแบ่งเขตลักษณะต่างๆ ล้วนมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งซอยพื้นที่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการเรียกชื่อการปกครอง ในการศึกษาสภาพพื้นที่นั้นๆในด้านใดด้านหนึ่ง

ความมุ่งหมายในการแบ่งภาคภูมิศาสตร์ (Geographic region) คือ เพื่อให้สามารถในการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ขนาดต่างๆที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นเฉพาะตนเองแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆและสามารถเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่นั้นๆได้ชัดเจนและสะดวกยิ่งขึ้น

การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศจะได้จำนวนภาคที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดและความแตกต่างทางด้านกายภาพของพื้นที่ภายในของประเทศนั้น

ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยแบ่งภาคภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 ภาค โดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ในปีพ.ศ.2520

หลักเกณฑ์การแบ่งภาค

1. การเรียกชื่อภาค ใช้ทิศเป็นหลัก

2. การกำหนดขอบเขตอาณาบริเวณของแต่ละภาค พิจารณาจากองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม เช่น ความเป็นอยู่ ภาษา วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อเป็นต้น

3. การแบ่งขอบเขตของภาคให้ยึดแนวการแบ่งของจังหวัดเป็นสำคัญโดยกำ
หนดว่า จังหวัดใดอยู่ภาคใด ก็ให้ทั้งจังหวัดอยู่ในภาคนั้น ถึงแม้จะมีความแตกต่างด้านสิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด

ภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย 6 ภาค ได้แก่


สาวเหนือน่ารักทุกคนค่ะ

1. ภาคเหนือ ประกอบด้วย 9 จังหวัด ดังนี้
เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์
มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 2 คือ 93,691 ตร.กม.

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบ 19 จังหวัด ดังนี้
เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
มีเนื้อที่มากเป็นอันดับ 1 คือ 168,854 ตร.กม.และมีประชากรมากเป็นอันดับ 1

3. ภาคกลาง มี 22 จังหวัด ดังนี้
สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพฯ นครสวรรค์ ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง ปทุมธานี นครนายก มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 3 คือ 91,795 ตร.กม. มีประชากรมากเป็นอันดับ 2

4. ภาคตะวันออก ประกอบ 7 จังหวัด ดังนี้
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับสุดท้าย คือ 34,381 ตร.กม.

5. ภาคตะวันตก ประกอบ 5 จังหวัด ดังนี้
ตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 5 คือ 53,679 ตร.กม. มีประชากรน้อยที่สุด

6. ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ดังนี้
ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา สงขลา พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 4 คือ 70,715 ตร.กม. มีประชากรมากเป็นอันดับ 3




รูปขนาดเล็ก
geographicthai1.jpg   geographicthai2.jpg  

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย poohba : 23-07-2012 เมื่อ 09:22
poohba is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย, เขาแบ่งกันเยี่ยงนี้เองรึ
คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด