ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 15-06-2012   #1
poohba
Senior Member
 
poohba's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2011
ข้อความ: 398
ถ่ายทอดพลัง: 0
คะแนนหรอย: 332
Default วันสดุดีวีรชนชาวบ้านบางระจัน 4 กุมภาพันธ์ มาร่วมเทิดทูนคนกู้ชาติกันเถอะ

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่คนเราจะรวมตัวสามัคคีร่วมกายร่วมใจกันต่อสู้กับข้าศึก แต่ก็ไม่ยากเกินไป หากเลือดรักชาติบ้านเมืองแรง ดังเช่น ชาวบ้านบางระจันที่รวมตัวกันต่อสู้ข้าศึกที่จะเข้ามารุกราน จนตัวเองต้องพลีชีพเพื่อบ้านเมือง แต่ความดีของเขาไม่ได้สูญสิ้น ทว่า ยังจารักในประวัติศาสตร์ไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และเทิดทูนคุณความดีที่เขาสละชีวิตเพื่อบ้านเมือง ความกล้าหาญของชาวบ้านบางระจันเป็นที่เลื่องลือและได้รับยกย่องเป็นวีรชนไทย จนทางราชการต้องสำรวจตรวจสอบหาหลักแหล่งที่ตั้งค่ายบางระจัน และสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติขึ้น


วันสดุดีวีรชนชาวบ้านบางระจัน 4 กุมภาพันธ์ มาร่วมเทิดทูนคนกู้ชาติกันเถอะ

วีรกรรมชาวบ้านบางระจัน เป็นเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ก่อนที่จะเสียกรุงครั้งที่ 2 ปี 2310 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์

พม่าได้ยกทัพเข้ามาตั้งค่ายที่เมืองวิเศษชัยชาญ (จ.อ่างทอง) ก่อนเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านบางระจันรวมตัวกันต้านสู้ทัพพม่าได้หลายครั้งจนครั้งสุดท้ายต้องพ่ายแพ้

บริเวณที่เชื่อว่าเคยเป็นที่ตั้งค่ายบางระจัน พันเอกหลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนินทุ) ครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ได้สำรวจในปี พ.ศ.2493 มีบันทึกรายงานคล้ายเนินคูน้ำคันดินชุมชนโบราณทวารวดีว่า ตัวค่ายเวลานั้นเป็นเพียงเนินดินสูงและขาดเป็นห้วงๆ ยาวทั้งสิ้น 1,200 เมตร โค้งโอบรอบบึง ซึ่งเดิมเป็นคลองบางระจันเป็นรูปก้ามปู"


เรื่องราวของชาวบ้านบางระจัน มีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ที่เรียบเรียงใหม่สมัย ร.4 นักวิชาการหลายท่าน ถกเถียงว่าการสู้รบของชาวบ้านบางระจัน อาจเป็นเพียงตำนาน หรือนิทานที่แต่งเสริมขึ้น

หากมีจริงอาจเป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านจากทหารพม่าที่มีอยู่เป็นปกติ แต่ได้มีการหยิบยกขึ้นเพื่อสร้างสำนึกความเป็นชาติมีอดีตบรรพชนร่วมกัน อาจเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางต่อต้านการล่าอาณานิคมจากตะวันตกช่วงเวลานั้น
รายชื่อวีรชนที่ปรากฏในประวัติศาสตร์

พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมอยู่วัดเขานางบวช แล้วมาอยู่วัดโพธ์เก้าต้น มีความรู้ ทางวิชาอาคม เป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวค่ายบางระจัน

นายแท่น เป็นชาวบ้านสีบัวทอง ถืออาวุธสั้น ถูกปืนของพม่าที่เข่าใน การรบครั้งที่ ๔ เสียชีวิตเมื่อการรบครั้งสุดท้าย

นายอิน เป็นชาวบ้านสีบัวทอง

นายเมือง เป็นชาวบ้านสีบัวทอง

นายโชติ เป็นชาวบ้านสีบัวทอง ถืออาวุธสั้น

นายดอก เป็นชาวบ้านกลับ

นายทองแก้ว เป็นชาวบ้านโพทะเล

นายจัน หนวดเขี้ยว เก่งทางใช้ดาบ เสียชีวิตในการรบครั้งที่ ๘

นายทอง แสงใหญ่ ---

นายทองเหม็น ขี่กระบือเข้าสู้รบกับพม่า ตกในวงล้อมถูกพม่าตีตายใน การรบครั้งที่ ๘

ขุนสรรค์ มีฝีมือเข้มแข็งมักถือปืนเป็นนิจ แม่นปืน




รูปขนาดเล็ก
bangrajunday.jpg  

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย poohba : 15-06-2012 เมื่อ 06:33
poohba is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102