ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 23-07-2012   #1
poohba
Senior Member
 
poohba's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2011
ข้อความ: 398
ถ่ายทอดพลัง: 0
คะแนนหรอย: 332
Default การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เขาแบ่งกันเยี่ยงนี้เองรึ

เพื่อนๆ ทราบไหมว่า การแบ่งภูมิภาคมีประโยชน์ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นภายในกรอบของพื้นที่รวมทั้งหมด แต่การแบ่งภูมิภาคอาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้ เนื่องจากการแบ่งนั้นกระทำได้หลายวิธีแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการแบ่งก็จะแตกต่างกัน สุดแต่ว่าจะเป็นวิธีการของหน่วยงานใดหรือนักวิชาการสาขาใด วันนี้เรามาติดตามการแบ่งตามหลักคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ กันดีกว่า



ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
ภาค ภูมิภาค เขต (region ,area) หมายถึง บริเวณหน่วยใดหน่วยหนึ่งของพื้นแผ่นดินในโลกที่มีลักษณะทางใดทางหนึ่งหรือหลายๆอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น ในทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง หรือมีลักษณะสำคัญที่เด่นชัดเหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่งจนรวมเป็นภาคเดียว บริเวณเดียวกัน และในขณะเดียวกันก็มีลักษณะแตกต่างออกไป จากบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ

การแบ่งเขตลักษณะต่างๆ ล้วนมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งซอยพื้นที่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการเรียกชื่อการปกครอง ในการศึกษาสภาพพื้นที่นั้นๆในด้านใดด้านหนึ่ง

ความมุ่งหมายในการแบ่งภาคภูมิศาสตร์ (Geographic region) คือ เพื่อให้สามารถในการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ขนาดต่างๆที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นเฉพาะตนเองแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆและสามารถเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่นั้นๆได้ชัดเจนและสะดวกยิ่งขึ้น

การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศจะได้จำนวนภาคที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดและความแตกต่างทางด้านกายภาพของพื้นที่ภายในของประเทศนั้น

ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยแบ่งภาคภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 ภาค โดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ในปีพ.ศ.2520

หลักเกณฑ์การแบ่งภาค

1. การเรียกชื่อภาค ใช้ทิศเป็นหลัก

2. การกำหนดขอบเขตอาณาบริเวณของแต่ละภาค พิจารณาจากองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม เช่น ความเป็นอยู่ ภาษา วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อเป็นต้น

3. การแบ่งขอบเขตของภาคให้ยึดแนวการแบ่งของจังหวัดเป็นสำคัญโดยกำ
หนดว่า จังหวัดใดอยู่ภาคใด ก็ให้ทั้งจังหวัดอยู่ในภาคนั้น ถึงแม้จะมีความแตกต่างด้านสิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด

ภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย 6 ภาค ได้แก่


สาวเหนือน่ารักทุกคนค่ะ

1. ภาคเหนือ ประกอบด้วย 9 จังหวัด ดังนี้
เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์
มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 2 คือ 93,691 ตร.กม.

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบ 19 จังหวัด ดังนี้
เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
มีเนื้อที่มากเป็นอันดับ 1 คือ 168,854 ตร.กม.และมีประชากรมากเป็นอันดับ 1

3. ภาคกลาง มี 22 จังหวัด ดังนี้
สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพฯ นครสวรรค์ ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง ปทุมธานี นครนายก มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 3 คือ 91,795 ตร.กม. มีประชากรมากเป็นอันดับ 2

4. ภาคตะวันออก ประกอบ 7 จังหวัด ดังนี้
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับสุดท้าย คือ 34,381 ตร.กม.

5. ภาคตะวันตก ประกอบ 5 จังหวัด ดังนี้
ตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 5 คือ 53,679 ตร.กม. มีประชากรน้อยที่สุด

6. ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ดังนี้
ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา สงขลา พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 4 คือ 70,715 ตร.กม. มีประชากรมากเป็นอันดับ 3




รูปขนาดเล็ก
geographicthai1.jpg   geographicthai2.jpg  

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย poohba : 23-07-2012 เมื่อ 09:22
poohba is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102