เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > บล็อก > นายโอมเทพไตรกีฬา

Rate this Entry

บทความเทคโนโลยีการสื่อสารกับสังคม โดยนายโอม

โพสเมื่อ 18-09-2011 เวลา 21:37 โดย ohmohm



บทความเทคโนโลยีการสื่อสารกับสังคม



เทคโนโลยีทุกอย่างถูกประดิษฐ์และผลิตขึ้นด้วยการมองโลกในแง่บวกเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีของการสื่อสารนั้น สิ่งนี้เป็นเหมือนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนทั้งโลกเลยทีเดียว ตั้งแต่การคิดแป้นพิมพ์ในอดีตกาลมาจนถึงปัจจุบันที่เรา มีระบบอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกและทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่มันก็แน่นอนอยู่แล้วกับคำว่า ?การติดต่อสื่อสาร? ต้องมีทั้งในแง่ลบและแง่บอก และอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันดูเหมือนจะมีแง่ลบมากกว่าแง่บวกซะแล้ว


?อาการติดเกมของ เด็กและวัยรุ่นตอนนี้ แทบไม่ต่างไปจากการติดยาเสพติด คือ เวลาได้เล่นเกมแล้วก็จะ อารมณ์ดี ช่วยงานพ่อแม่ แต่ถ้าวันไหนไม่ได้เล่นก็จะหงุดหงิด เฉื่อยๆเนือยๆ ไม่กระฉับกระเฉง ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาเหล่านี้? ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ได้กล่าวไว้ในรายการตัวจริงเสียงจริงในวันที่ 11 กรกฎาคา 2552
(อ้างอิงจาก เด็กติด)


จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารประเภทอินเตอร์เน็ตเข้ามามีผลกับเยาวชนไทยเป็นอย่างมาก ทำไมอินเตอร์เน็ตถึงไม่รับความนิยมในหมู่เด็ก ทั้งนี้ในสมัยก่อนเด็กเล่นเกมโดยเล่นได้เพียงคนเดียว แต่ในปัจจุบันเมื่อมีอินเตอร์เน็ตเข้ามา ทำให้การเล่นเกมเปลี่ยนไปกลายเป็นเกมในรูปแบบออนไลน์ การออนไลน์นั้นทำให้เด็กๆสามารถเล่นรวมกันได้ทีละหลายๆคน ทำให้เกิดการจับกลุ่มกันของกลุ่มเด็กนักเรียนที่ชอบในด้านนี้ เมื่อมีการเล่นกันมากขึ้นทำให้เกิดการแข่งกันกันมากขึ้น ทำให้เด็กเกิดการอยากจะเอาชนะกันมากขึ้น ต่างจากสมัยก่อนที่เล่นได้เพียงคนเดียวหรือสองคนเท่านั้น ที่สำคัญเกมออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลากับเงินเท่านั้น ธุรกิจนี้จึงถูกผลักด้านผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา


เมื่อมองธุรกิจเกออนไลน์ในตอนนี้ มองแล้วเหมือนเห็นอนาคตของเด็กไทยที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการติดเกมต่อไป เพราะธุรกิจเกมออนไลน์ในปัจจุบันมีค่าการลงทุนเป็นเงินเท่าๆกับภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเลยทีเดียว และการขายเกมในปัจจุบันไม่ได้เล่นการขายที่ตัวแผ่นเกมต่อไปแล้ว แต่จะเป็นการขายที่บริการเซิร์ฟเวอร์ซึ่งต้องเล่นผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นเอง ถ้ามองในแง่ดีแล้วธุรกิจเกมออนไลน์สามารถเจริญเติบโตได้เพราะอินเตอร์ในจริงๆ แต่กลับส่งผลกระทบกับเด็กทั่วโลก ทั้งนี้อาจรวมถึงในมหาวิทยาลัยรังสิตด้วยก็เป็นได้ ถึงแม้มหาวิทยาลับรังสิตจะไม่มีร้านเหล้าข้างมหาวิทยาลัยรังสิตอีกต่อไปแล้ว แต่เรายังมีภัยร้ายในคราวคนดีก็คือร้านอินเตอร์เน็ต ซึ่งจริงๆน่าเปลี่ยนเป็น ?ร้านเกมอินเตอร์เน็ต? ได้ตั้งนานแล้ว


? นายเกาพูดถึงกลุ่มเยาวชนที่ติดอินเตอร์เน็ตว่า ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี ขณะที่มีเด็กๆ เยาวชนที่ใช้ชีวิตอยู่ตามเมืองใหญ่ต่างๆ อยู่ถึง 15% ที่มีอาการติดอินเตอร์เน็ตขนาดหนัก ถึงขนาดจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือโดยด่วน ? นายเกา เหวิน ปิง กล่าวเอาไว้ในหนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่ วันที่ 24 มกราคม 2550
(อ้างอิงจาก http://www.backtohome.org/autopagev4..._id=3&TopicPk=)



จะเห็นได้ว่าในหลายๆประเทศรวมถึงประเทศจีน ก็ประสบปัญหาจากเทคโนโลยีตัวนี้เช่นเดียวกัน เมื่อมองถึงช่วงอายุที่มีการติดอินเตอร์เน็ตแล้วยิ่งน่าตกใจเพราะส่วนมากอยู่ในช่วงวัยรุ่น วัยที่กำลังจะพร้อมทำงาน ชีวิตช่วงนี้เป็นเหมือนการเดินตามความฝันเลยก็ว่าได้ คนที่อยากเล่นฟุตบอลก็จะไปคัดตัวเพื่อเข้าสโมสรฟุตบอลที่ตนเองชอบ คนที่ชอบเต้นก็กำลังมุ่งสู่ระดับที่สามารถทำเป็นอาชีพได้ คนที่วาดการ์ตูนก็คงกำลังจะมีผลออกวางชายเต็มทน แต่เมื่อสังคมมีอินเตอร์เน็ตเข้ามาทดแทน ความฝันต่างๆของเด็กก็พังทลายไปหมดเพราะมัวหลงระเริงไปกับความสำเร็จที่อยู่ในโลกออนไลน์ ซึ่งไม่มีใครเยินยอแน่ในโลกแห่งความจริง


สังคมของเรากำลังจะขาดความฝัน ถ้ามัวแต่พึ่งพาอินเตอร์เน็ตมากเกินไป เรานึกว่ามันคือทุกอย่างแต่ที่จริงแล้วไม่เลย มันทำให้รู้สึกว่าเราสบายเพียงเท่านั้น ลองมองมุมกลับดูถ้าเราไม่มีอินเตอร์เน็ตเราจะได้ประสบการณ์มากมายเลยทีเดียว เราคงมีโอกาสปฎิบัติของจริงมากขึ้นเพราะไม่ต้องมามัวเสียเวลาดูผ่าน Youtube ให้เสียเวลา สุดท้ายนี้ผมไม่เถียงครับว่าอินเตอร์เน็ตมีผลดีกับเรา แต่น้อยคนนักที่ใช้อินเตอร์เน็ตแล้วจะได้ผลดี 100%


(ทิ้งท้าย ผมมีทำเว็บไซต์การ์ตูน ซึ่งผมวาดการ์ตูนต่างๆในสมุดแล้วสแกนลงไปในคอม ส่งเข้าเว็บไซต์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ตอนนี้ผมได้ทั้งงานประจำและงานนอก ขอบคุณอินเตอร์เน็ตจริงๆทำให้วันนี้กับผม เจอกับการ์ตูนของผมได้ที่ RoiGOo Comic รุ่งอรุณแห่งความฮา นำแสดงโดย คู่เห่&#36 และกระทู้แนะนำห้องเฉลิมไทยครับ)
โพสเมื่อ การบ้าน
Comments 0 Email Blog Entry

Total Comments 0

Comments

 



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด