เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > RoiGOo City > หรอยกูคาเฟ่

ตอบ
อ่าน: 3063 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 28-06-2013   #1
Moderator
 
อับดุล's Avatar
 
วันที่สมัคร: Jan 2013
ข้อความ: 173
ถ่ายทอดพลัง: 1
คะแนนหรอย: 34
Default การฆ่าตัวตาย (SUICIDE) เหตุผลแรงจูงใจ บทความวิชาการจาก ม.มหิดล

หากเราอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน เราจะเห็นการฆ่าตัวตายได้บ่อยในหน้าหนังสือพิมพ์ คนฆ่าตัวตาย เขาคิดยังไงกันนะทำไมเขาจึงได้ทำลายทำร้ายร่างกายตัวเองได้ลงคอ นอกจากนั้นยังทำร้ายคนที่อยู่ข้างหลังให้เศร้าโศกเสียใจกับการจากไปของเขาอีกด้วย อาจเป็นเพราะความเครียด และการไม่ยอมรับความเป็นจริง บางครั้งเขาอาจไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะรับมือปัญหาหนัก ๆ ได้ บางครั้งอาจเห็นกรณีที่อกหักฆ่าตัวตาย นี่คือ การไม่ยอมรับความจริงอีกประเภทหนึ่ง การที่เราไม่ยอมรับความทุกข์ เรารู้สึกว่าอยู่กับความทุกข์นี้ไม่ได้ ตาย ๆ ไปเสียเลยยังดีกว่า แบบนี้ก็เหมือนเรายอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มสู้กับปัญหาเลยก็ว่าได้ การที่เราตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเองเป็นเกราะป้องกันชั้นดีจากความคิดฆ่าตัวตาย สติ นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด บางครั้งอารมณ์เครียด ท้อแท้สิ้นหวัง ก็เป็นใหญ่กว่าตัวเรา แต่หากมีสติเราจะไม่มีวันแพ้กับอารมณ์เหล่านี้



การฆ่าตัวตาย (SUICIDE)
การฆ่าตัวตาย (SUICIDE) เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความขัดแย้งต่อบรรทัดฐานในสังคมของหลายประเทศ โดยเฉพาะบทบัญญัติในศาสนาต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงการฆ่าตัวตายว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การฆ่าตัวตายจึงจัดเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนประเภทหนึ่ง

ในความรู้สึกของคนทั่วไป ความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่ทุกคนพยายามหลีกหนีหรือชะลอให้มาถึงตัวช้าที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของอาชีพแพทย์ แต่การฆ่าตัวตายซึ่งนับว่าฝืนกับความรู้สึกสามัญข้างต้นรวมทั้งสวนทางกับสิ่งที่แพทย์กระทำ และยังความรู้สึกต่างๆ แก่บุคลากรทางการแพทย์ค่อนข้างมากทั้งในแง่เห็นใจหรือคัดค้าน กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากทุกที จึงสมควรที่เราจะได้ทำความเข้าใจกับการฆ่าตัวตายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อการรักษาและป้องกันเหตุร้ายนี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ สุคนิชย์ อาจารย์จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า

การฆ่าตัวตาย แม้จะเป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณแต่ก็มิได้มีการศึกษาพฤติกรรมอันสวนทางกับความต้องการอยู่รอดตามธรรมชาตินี้อย่างเป็นระบบมานานพอในวรรณกรรมนิยายหรือประวัติศาสตร์ การทำลายชีวิตตัวเองมักเป็นการแสดงออกถึงความเสียสละให้แก่ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งอาจไม่เป็นเช่นนั้นในชีวิตจริงและเนื่องจากแนวโน้มสังคมในปัจจุบัน มีสถิติการฆ่าตัวตายหรือพยายามกระทำสูงขึ้นทุกที จุดที่เราควรเพ่งเล็งก็คือ เหตุใดคนจึง "นิยม" ฆ่าตัวตายมากขึ้น ผู้อยู่เบื้องหลังมีความสุขยิ่งขึ้นจริงหรือ และเราจะป้องกันฆ่าตัวตายได้อย่างไร


การฆ่าตัวตาย

[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

หัวข้อ
แนวคิดของการฆ่าตัวตาย

ปัจจัยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย

สถิติการฆ่าตัวตาย

ผลกระทบจากการฆ่าตัวตาย

แนวคิดของการฆ่าตัวตาย
สำหรับแนวคิดของการฆ่าตัวตาย สามารถจำแนกได้ดังนี้

ทัศนะทางปรัชญาต่อการกระทำอัตวินิบาตกรรม ( ฆ่าตัวตาย )

กรีกโบราณ

- Pythagors " มนุษย์เป็นสมบัติของเทพ ( gods ) มนุษย์จึงไม่มีสิทธิที่จะละทิ้งทั้งโลกโดยปราศจากความยินยอมของเทพ

- โสกราตีส เห็นว่าการกระทำอัตวินิบาตกรรมเป็นสิ่งชั่วร้ายทุกกรณี

- เพลโต้ งานเขียน " Phedo " ( สานุศิษย์โสกราตีส ) ติเตียนอัตวินิบาตกรรมโดยทั่วไป แต่มีบางกรณียกเว้นได้ : ความเจ็บปวดไม่สามารถทนทานความเสื่อมเกียรติ คำสั่งรัฐ

- อริสโตเติ้ล อัตวินิบาตกรรมเป็นการกระทำที่ขาดเขลา + ทำผิดต่อรัฐ

อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดสนับสนุนต่อการฆ่าตัวตาย คือ

- เอพิคคิวเรียน ( Epicurcans ) และ สโตอิด ( Stoics ) ได้กล่าวถึงการฆ่าตัวตาย ไว้ว่า อัตวินิบาตกรรมแสดงออกถึง

เสรีภาพ , สง่างาม , สมเหตุสมผลของมนุษย์ โดยมีการยอมรับ การฆ่าตัวตายในลักษณะดังนี้

1. การเสียสละชีวิตเพื่อสังคม + ประเทศ

2. หลีกเลี่ยงการถูกบังคับทำผิดกม.

3. ความยากจน + ความเจ็บปวดอ่อนแอของจิตใจ ทำให้ความตายมีค่ากว่า การมีชีวิตอยู่

ต่อมาในช่วงแรกศตวรรษที่ 5 นักบุญออกัสติน คัดค้านฆ่าตัวตาย โดยให้เหตุผลสำคัญของการฆ่าตัวตายว่า

1. ทำให้การเป็นไปของการสำนึกผิดหมดไป

2. คือการฆ่าคนอันเป็นการกระทำต้องห้าม

3. ไม่มีบาปใดสมควรแก่ความตาย ชาวคริสต์ไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสิน เรื่องนี้เป็นเอกสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเพียงลำพัง

4. เป็นบาปที่ยิ่งใหญ่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม

โลกตะวันออก

ได้มีแนวคิดเรื่องการฆ่าตัวตายดังนี้

- ศาสนาอิสลาม : ถือว่าอัตวินิบาตกรรม ถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ใครก็ตามที่ฆ่าตัวตายต้องทุกข์ทรมานด้วยไฟนรกและถูก อัปเปหิออกจากสวรรค์ตลอดไป

- ศาสนาพุทธ : ( ปรากฎในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค ตติยปราชิกกัณฑ์ สิกขาบท วิภังค์บัญญัติ และอนุบัญญัติไว้ )

ความเชื่อของพุทธศาสนิกชน

- พุทธศานาไม่ยินยอมให้ทำอัตวินิบาตกรรมเป็นอันขาด

- อัตวินิบาตกรรมเป็นโทษหนักสามารถทำให้ผู้กระทำไปปฏิสนธิในอบายภูมิได้

- จริยศาสตรของขงจื้อ : ( ก่อนประเทศจีนเป็นคอมมูนิสต์ ) อัตวินิบาตกรรมในกรณีโรคร้ายที่ไม่สามารถเยียวยารักษาได้เป็นที่ยอมรับกัน

ดังนั้น การฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อย ๆ ในสังคมมาตั้งแต่อดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยอาจมีหลายสาเหตุ อาทิ

1. อาการซึมเศร้า

2. โรคจิต

3. ติดสุราเรื้อรัง , สารเสพติด

4. บุคลิกภาพผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม การฆ่าตัวตายอาจมีหลายสาเหตุ โดยจำแนกได้ดังนี้

ความเชื่อ ลัทธิ ศาสนา :

- การทรมานคน , หลุดพ้น

- อยู่กับพระเจ้า

- เกิดใหม่ชาติหน้า

จิตวิทยา :

- ต้องการแก้แค้น ทำลาย

- ต้องการทำร้ายตัวเอง , รู้สึกผิด , ไร้ค่า

- ต้องการตาย , หนีความทุกข์

เวชปฏิบัติ

- พ้นจากความเจ็บปวด ทรมาน พิการ

- ความรู้สึกสิ้นหวัง เสียสมรรถภาพ

- โรคทางจิตเวช : โรคซึมเศร้า

- โรคทางสมอง : ติดสารเสพติด

สังคมวิทยา

- Egoistic ไม่มีความผูกพันในกลุ่ม คนที่ฆ่าตัวตายอันเนื่องจาก ขาดความผูกพันต่อกลุ่ม เช่น คนที่อยู่ในเมืองใหญ่

มีผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า

* คนมีการศึกษาสูง ฆ่าตัวตายมากกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำ

* คนไม่มีลูก ฆ่าตัวตายมากกว่าคนที่มีลูก

* ชาวคริสต์นิกายคาทอลิกมีการฆ่าตัวตายน้อย เป็นต้น

- Altruistic ผูกพันในกลุ่มมาก คนที่ฆ่าตัวตาย เนื่องจากมีความผูกพันกับกลุ่มมาก โดยอาจมีการเสียสละเพื่อกลุ่มหรือสังคมที่อยู่ เช่น การยอมเสียสละตัวเอง , ฮาราคีรี , ระเบิดพลีชีพ

- Anomic เปลี่ยนสถานะสังคม จนปรับตัวไม่ได้ คนฆ่าตัวตายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมจนกระทั่งเกิดการปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะในสภาพสังคมเมืองหลวง เช่น การสูญเสียคนรัก , ตกงาน , ตกอับ สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และ ขาดบรรทัดฐานที่แน่นอน



ปัจจัยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย
แพทย์โดยเฉพาะจิตแพทย์สนใจศึกษาเรื่องอัตวินิบาตกรรมมานานเกือบศตวรรษแล้ว และจากการวิจัยบ่งชี้ว่ามีปัจจัยหลายประการที่นำคนไปสู่การจบชีวิตตนเองซึ่งได้แก่

1. ปัจจัยภายในตัวผู้กระทำเอง คือพันธุกรรมและการมีโรคซึมเศร้าอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสมดุลของสารเคมีในสมองซึ่งควบคุมอารมณ์ของคนเรา ทำให้คนนั้นเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้หมดหวัง จนคิดอยากฆ่าตัวตายในที่สุดโดยอาจไม่ต้องมีเรื่องให้เครียดหนักนัก ซึ่งเราอาจเคยอ่านพบในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า บางคนที่ฆ่าตัวตายนั้นญาติเองก็ยังไม่เข้าใจมูลแห่งของการกระทำอย่างนั้นเลย นอกจากนี้บุคลิกภาพของแต่ละคนอาจมีจุดอ่อน ซึ่งพร้อมที่แตกร้าวได้ยากง่ายต่างกันไป เมื่อกระทบมรสุมชีวิตเรื่องเหมือนกัน

2. ปัจจัยภายนอกตัวผู้ป่วย ได้แก่สภาพสังคม การงาน การเงิน ซึ่งก่อความรู้สึกผิด สูญเสีย หมดหวัง มักตกเป็นจำเลยแต่ผู้เดียวที่ทำให้คนฆ่าตัวตายเสมอ โดยละเลยปัจจัยในข้อ 1 ไป นอกจากนี้ภาพที่ผ่านสู่มวลชนอาจสร้างค่านิยมให้ยอมรับการฆ่าตัวตายว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมแบบหนึ่งอีกด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ สุคนิชย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าหลังจากการฆ่าตัวตายของคนๆ หนึ่ง ผู้ที่ต้องทนทุกข์ต่อไปก็คือคนใกล้ชิดและครอบครัว ซึ่งไม่อาจพูดถึงการตายของคนที่เขารักได้อย่างเต็มปาก เนื่องจากสังคมก็เฝ้าซุบซิบอยู่ ทั้งคนเหล่านั้นเองก็อาจรู้สึกระคนอยู่ เมื่อนึกไปว่าถ้าได้ทำบางอย่างไปหรือถ้าไม่ทำบางอย่างไปก็คงไม่เกินการจบชีวิตขึ้น



สถิติการฆ่าตัวตาย
- ประเทศที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ อันดับ 1 ได้แก่ ประเทศฮังการี โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายของประชากร คือ 38.6 : 100,000 คน รองลงมาคือ ประเทศศรีลังกา ส่วนประเทศไทย อันดับที่ 26 โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายของประชากรคือ ประมาณ 9 : 100,000 คน โดยประชากรที่ฆ่าตัวตายในปัจจุบัน อายุ 15 - 24 ปี มี มากขึ้น

- จังหวัดที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุดในไทย คือ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ระยอง จันทบุรี ประเด็นสำคัญคือ จังหวัดดังกล่าวล้วนแต่เป็นจังหวัดท่องเที่ยง อันอาจมีสาเหตุการฆ่าตัวตายจาก โรคเอดส์

- อาการ หรือ สัญลักษณ์อันตรายของผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย คือ มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ต่อเนื่อง 2 อาทิตย์ขึ้นไป มีอาการเตือนคนข้างเคียง มีความคิด ไม่อยากอยู่เพราะทรมาน



ผลกระทบจากการฆ่าตัวตาย
1. สูญเสียทรัพยากรบุคคล และเศรษฐกิจของประเทศ

2. สุขภาพจิตของคนใกล้ชิด เพราะอาจเป็นเสมือน ตราบาปในใจของผู้ใกล้ชิดไปตลอดชีวิต

3. เป็นเครื่องบ่งชี้สภาพของสังคม โดยเฉพาะสภาวะความผูกพันของคนในสังคม

กระบวนการฆ่าตัวตายมีความซับซ้อนทั้งความกว้างและลึก การรอให้เกิดการกระทำขึ้นก่อนแล้วค่อยบำบัดรักษาโดยไม่ป้องกันตั้งแต่การเริ่มมีแนวคิด ทั้งละเลยไม่ช่วยประคับประคองจิตใจของทั้งผู้กระทำและญาติ หรือโยนความผิดให้กับปัญหาสังคมหรือความเจริญซึ่งดูจะใหญ่เกินแก้แต่เพียงอย่างเดียว น่าจะไม่เพียงพออีกแล้ว ควรที่แพทย์จักร่วมมือกับสังคมป้องกันการลุกลามของกระบวนการนี้ ให้ความรู้คนทั่วไปเสี่ยงอาการของโรคซึมเศร้าเพื่อหากลุ่มเสี่ยงสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวมีความใกล้ชิดแน่นแฟ้นมากขึ้นเพื่อเป็นที่พึ่งแก่สมาชิกคนใดคนหนึ่งที่อาจรู้สึกหมดหวัง สร้างทัศนคติของแพทย์ทั่วไปให้มองการฆ่าตัวตายว่าเป็นวิธีขอความช่วยเหลือจากผู้เดือดร้อนวิธีหนึ่งและสามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาเบื้องต้น (นอกเหนือไปจากพิจารณาสั่งยา) ได้ เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่ฆ่าตัวตาย ได้วนเวียนไปพบแพทย์และเปรยคำว่า "อยากตาย" หรือ "ฆ่าตัวตาย" ก่อนลงมือกระทำราว 1-2 สัปดาห์ ทั้งควรสร้างค่านิยมที่ถูกต้องต่อกระบวนการนี้ว่าไม่ใช่เป็นวิธีน่าเทิดทูน เสียสละ ทันสมัย หรือใช้มาต่อรองสิ่งใดอีกต่อไป แล้วประเทศชาติจะมีคนที่สามารถอยู่สร้างประโยชน์มากขึ้นได้ปีละหลายพันคนทีเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก

อาจารย์สุมนทิพย์ จิตสว่าง อาจารย์ประจำ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.polsci.chula.ac.th/sumonthip/

พบหมอรามา
www.dmh.go.th




รูปขนาดเล็ก
แรงจูงใจการฆ่าตัวตาย.jpg  
อับดุล is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
suicide, การฆ่าตัวตาย, เขาคิดยังไงกันนะ, คนฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตาย, บทความวิชาการ, บทความวิชาการจาก, บทความวิชาการมหิดล, มมหิดล, แรงจูงใจ, แรงจูงใจการฆ่าตัวตาย, เหตุผลการฆ่าตัวตาย, เหตุผลแรงจูงใจ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด