View Full Version : การเปิดสำนักพิมพ์ความฝันของหรอยกูไม่ยากอย่างที่คิด


ohmohm
02-09-2011, 14:16
ความฝันของนายเอ็มและของกระผมนายโอมก็คือการได้เป็นสำนักพิมพ์รวมการ์ตูนฮาๆจากทั้งของตัวเองแล้วก็ของทั้งน้องๆที่เข้ามาอยากล้นหลาม วันนี้ได้ไปสืบเสาะหาการเปิดสำนักพิมพ์มามันไม่ได้อยากเลย กระผมก็เลยมาลงให้นายเอ็มได้อ่านด้วยครับ


การเปิดสำนักพิมพ์ความฝันของหรอยกูไม่ยากอย่างที่คิด










เปิดสำนักพิมพ์ไม่ยากอย่างที่คิด

http://www.praphansarn.com/new/c_read/images/content/visit2.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C.html)

คุณวรพันธ์ : สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้ทางสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ขอเปิดการอบรมในเรื่อง ?บริหารสำนักพิมพ์อย่างไรให้รวย (ให้รอด)?
ซึ่งประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยต่างๆได้แก่
1.เปิดสำนักพิมพ์ไม่ยากอย่างที่คิด
2.ทำสำนักพิมพ์อย่างไรให้ไปโลด
3.การหานักเขียนและต้นฉบับการคัดสรรต้นฉบับและค่าลิขสิทธิ์
4.ลิขสิทธิ์ต่างประเทศซื้อขายอย่างไร
ก่อนอื่น ขอสรุปสถานการณ์ของธุรกิจสำนักพิมพ์ให้ฟังกันคร่าวๆนะครับ จากการสำรวจจำนวนสำนักพิมพ์ในช่วงปี 2546 ถึง กลางปี 2548 ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ปรากฏว่า ในบ้านเรามีจำนวนสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ 5% ขนาดกลาง 15% ที่ เหลือเป็นขนาดเล็ก ข้อมูลนี้ทำให้เราทราบว่ามีผู้ประกอบการธุรกิจสำนักพิมพ์ขนาดเล็กเป็นจำนวน มากที่สุด เมื่อเทียบกับขนาดกลางและขนาดใหญ่ นอกจากนั้น จากการที่ทางสมาคมฯได้ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้ มีประชาชนมางานมหกรรมหนังสือกันอย่างล้นหลามนั้น ผลปรากฏว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด คือ การเป็นศูนย์รวมของหนังสือที่หลากหลาย สิ่งนี้ช่วยให้ธุรกิจหนังสือยังคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสรุปอัตราการซื้อหนังสือของคนไทยในช่วงปี 2547 เป็นต้นมา พบว่า คนไทยซื้อหนังสือในแต่ละครั้งเฉลี่ยคนละ 247 บาท ซึ่งราคาหนังสือต่อเล่มส่วนใหญ่มีราคาเฉลี่ย 140 บาท หมายความว่า คนไทยซื้อหนังสือเฉลี่ยคนละประมาณเล่มครึ่ง เราน่าจะกระตุ้นให้คนไทยซื้อหนังสือเพิ่มขึ้นจากเล่มครึ่งเป็นสองเล่ม โดยสำนักพิมพ์ต้องเป็นตัวหลักที่มุ่งผลิตหนังสือที่มีเนื้อหาที่หลากหลาย และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนไทยหันมาอ่านหนังสือกันมากขึ้น แต่ไม่อยากให้มองว่าธุรกิจสำนักพิมพ์คือการแข่งขัน ทางที่ดีเราน่าจะช่วยกันกระตุ้นให้ภาพรวมของธุรกิจสำนักพิมพ์มีทั้งเนื้อหา ที่หลากหลายและสร้างสรรค์สังคมด้วย
ณ เวลานี้ ผมขอเปิดการอบรมในหัวข้อแรก ?เปิดสำนักพิมพ์ไม่ยากอย่างที่คิด? โดยวิทยากรบรรยายคือ อาจารย์วิสิทธิ์ โรจน์พจนรัตน์ ในปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์พัฒนศึกษาท่านจบการศึกษาปริญญาตรีจากวิทยาลัยการศึกษามศว.ประสานมิตรก่อนหน้านี้ท่านเคยดำรงตำแหน่งครูใหญ่จากโรงเรียนวัดไทรห้วยจังหวัดพิจิตรผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนธนกิจพณิชยการกรุงเทพฯเจ้าหน้าที่วิเคราะห์บริษัท Esso Standard ประเทศไทยจำกัดเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารกรุงเทพสาขาพลับพลาไชยยังไม่จบนะครับนอกจากนี้ท่านยังดำรงตำแหน่งทางด้านงานสังคมอีกหลายตำแหน่งเช่นเป็นสมาชิกชมรมสายส่งหนังสือสมาชิกชมรมศิษย์เก่ามศว.ประสานมิตรที่ปรึกษาสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยท่านมีปรัชญาชีวิตอยู่ว่า ?ยิ่งให้ยิ่งได้? การให้เป็นคุณธรรมอันสูงสุดของมนุษยชาติผู้รับก็ได้ผู้ให้ก็ได้ผู้รับได้รับความช่วยเหลือผู้ให้ได้รับความสุขใจในโอกาสนี้ขอเรียนเชิญท่านวิทยากรครับ

อาจารย์วิสิทธิ์ :ผม รู้สึกดีใจที่ทางสมาคมฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในวงการหนังสือ รวมทั้งผู้ที่กำลังจะก้าวเข้ามาสู่วงการนี้ ก่อนหน้านี้ ผมได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรบรรยายหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช AIA มติชน สำนักพิมพ์จุฬา เป็นต้น เนื่องจากรัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังให้การสนับสนุนSMEs ซึ่งสำนักพิมพ์ในบ้านเราส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจแบบ SMEs ด้วย โดยส่วนตัว ผมก็เริ่มต้นทำธุรกิจแบบครอบครัว หรือ SMEs มาก่อน ผมทำมาจนถึงทุกวันนี้รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี โดยเริ่มจากการกวดวิชาก่อน ต่อจากนั้นก็ลงมือเป็นนักเขียนเอง แล้วจึงมาเปิดธุรกิจสำนักพิมพ์ สำหรับผู้ที่ดำเนินรอยตามผม คือ อาจารย์นรินทร์ สอนกวดวิชาอยู่ที่?ฟิสิกเซ็นเตอร์? เป็นต้น ส่วนใหญ่เจ้าของสำนักพิมพ์จะเคยทำงานอยู่ในแวดวงหนังสือ เช่น โรงพิมพ์ องค์กรที่ทำนิตยสาร วารสารต่างๆ เขาสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาทำ Pocket book ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่ได้อยู่ในแวดวงนี้แล้วจะเปิดสำนักพิมพ์ไม่ได้ ถ้าใครมีความสามารถในการบริหารธุรกิจได้ มีเงินทุน ก็ทำธุรกิจสำนักพิมพ์ได้ โดย ปกติแล้ว ภาพรวมของงานสำนักพิมพ์เป็นลักษณะงานที่ทำไม่ยาก ยิ่งในสมัยปัจจุบันนี้ สิ่งอำนวยความสะดวกมีมากขึ้น ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ถือว่างานสำนักพิมพ์ทำง่ายกว่ามาก สมัยก่อน ผมเคยทำหนังสือ ?คู่มือสอบเข้าประสานมิตร วิชาเอกภาษาไทย? ใครจะทำหนังสือเมื่อก่อนต้องไปวางขายที่สนามหลวงเป็นแห่งแรก ผมต้องหิ้วหนังสือขึ้นรถเมล์ไปส่งที่นั่นตลอด

ประสบการณ์การทำธุรกิจของอ.วิสิทธิ์
ผมทำธุรกิจมาตั้งแต่วัยเด็กเริ่มจากทำไข่ต้มและมะม่วงดองขายการบริหารธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้ในการทำธุรกิจก่อนจะเปิดสำนักพิมพ์เราต้องมีการเตรียมพร้อมเรื่องต่างๆได้แก่สถานที่เบอร์ติดต่อวัตถุดิบ(ต้นฉบับ) เงินทุนผมจะเล่าความยากลำบากในการทำธุรกิจหนังสือของผมเมื่อก่อนในช่วงปี 2513-2514 ผมเคยลงทุนทำหนังสือกวดวิชาไป 6,000-7,000 บาทต้องไปส่งหนังสือเองตามบ้านแต่ปัจจุบันนี้มีสายส่งให้นอกจากนั้นในเรื่องการทำธุรกิจเราจะต้องหาความรู้จากหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจบ้างอย่างเช่นฐานเศรษฐกิจประชาชาติธุรกิจซึ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะมีทั้งแปลมาจากต่างประเทศและเขียนเองโดยคนไทย
ก่อนหน้าที่ผมจะมาทำหนังสืออาจารย์ปิ่นมณีฉาย (เพื่อนของผมที่ในปัจจุบันเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต) ชวนผมขายเครื่องเขียนแรงจูงใจในการขายเครื่องเขียนมาจากการที่อาจารย์ปิ่นได้มีโอกาสผ่านไปเห็นเครื่องเขียนดีๆจากอิตาลีเยอรมัน (ระหว่างเดินทางกลับจากไปเรียนที่ประเทศอเมริกา) จึงเกิดความคิดว่าน่าจะซื้อมาขายที่เมืองไทยผมกับเพื่อนอีก 4 คน (รวมทั้งอาจารย์ปิ่น) จึงมาตั้งบริษัทขายเครื่องเขียนแต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากผมไม่ชำนาญด้านนี้
ผมจึงตัดสินใจเปลี่ยนมาทำธุรกิจสำนักพิมพ์โดยยืมเงินจากพี่สาวของภรรยามาจำนวน 1ล้านบาทรวมทั้งยืมเงินจากเพื่อนมาอีก 2แสนบาทเขาบอกว่าถ้าผมทำธุรกิจสำนักพิมพ์ประสบความสำเร็จให้นำเงินไปคืนเขาโดยเขาไม่คิดดอกเบี้ยผมจึงรีบรับข้อเสนอผลปรากฏว่าผมทำธุรกิจสำนักพิมพ์สำเร็จจึงนำเงินไปคืนพี่สาวของภรรยาและเพื่อนที่ให้ยืมมาแต่กว่าจะถึงจุดนี้ได้ผมต้องฝ่าฟันอุปสรรคมามากมายเพราะการทำธุรกิจหนังสือไม่เหมือนกับธุรกิจอื่นๆกว่าจะได้เงินมาต้องนำหนังสือไปวางตลาดโดยเฉพาะถ้าเป็นการฝากขายก็จะได้เงินช้าผมเริ่มต้นจากการผลิต ?วารสารนักเรียน? จนมีสมาชิกรวมกว่า 4,000 คนแต่สุดท้ายก็ต้องยกเลิกไปส่วนเรื่องการวางจำหน่ายหนังสือผมขอแนะนำว่าผู้ที่เพิ่งเริ่มเปิดสำนักพิมพ์ควรจ้างสายส่งไปวางขายตามร้านหนังสือเพราะบางครั้งร้านไม่รับวางนอกจากนั้นยังต้องมีบุคลากรสมัยนี้องค์กรต่างๆต้องการ freelance มากขึ้นเนื่องจากไม่จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เครื่องใช้มากมายให้นอกจากนั้นยังสามารถให้เขาช่วยออกเงินค่าใช้จ่ายอุปกรณ์บางอย่างที่เขาต้องใช้เองด้วย

ก่อนจะเปิดสำนักพิมพ์ เราต้องเรียนรู้วิธีหานักเขียนและต้นฉบับ เรา สามารถเป็นนักเขียนเองก็ได้ หรือหานักเขียนจากข้างนอกก็ได้ ระยะเวลาเขียนเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเรื่องแรก จะค่อนข้างนาน ยิ่งมีข้อมูลสถิติหรือตัวเลข ก็ยิ่งต้องใช้เวลาค้นคว้า การผลิตหนังสือแต่ละเล่ม ถ้าอยากให้ขายดีในระยะเวลาอันรวดเร็ว ต้องจับกระแสของสังคมในยุคนั้นๆให้ได้ว่าผู้คนกำลังนิยมอ่านหนังสือแนวใด ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัด คือสำนักพิมพ์แจ่มใส เปิดได้ไม่กี่ปีก็ขายดีนำหน้าสำนักพิมพ์อื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การทำหนังสือกระแสก็ถือเป็นดาบสองคมเช่นกัน เพราะความนิยมของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงต้องพยายามผลิตหนังสือประเภทนี้เป็นรายแรก ซึ่งจะทำให้ไม่ค่อยมีคุณภาพนัก เนื่องจากใช้เวลาน้อยกว่ารายหลังๆ แต่รายที่พิมพ์ช้ากว่า ถึงแม้จะมีคุณภาพมากกว่า ก็ขายไม่ดีเท่ารายแรกเพราะกระแสความนิยมลดลงแล้ว จำไว้ว่าหนังสือกระแส รวมทั้งหนังสือแปลต่างๆ ต้องรีบผลิตให้เป็นรายแรกให้ได้

ในเรื่องของ ชนิดของกระดาษ ทางสำนักพิมพ์ของผมส่วนใหญ่ใช้สีดำสีเดียว เนื่องจากเป็นหนังสือวิชาการ หนังสือประกอบการเรียน ราคาจึงไม่แพง ชนิดที่นิยมใช้กันมี 3 ประเภท
1.กระดาษปรู๊ฟดั้งเดิม หรือกระดาษหนังสือพิมพ์
2.กระดาษปอนด์ (สีขาว)
3.กระดาษถนอมสายตา (สีเหลือง) นิยมกันมากสำหรับงานหนังสือ pocket book
ผมมีคู่แข่งผลิตหนังสือประกอบการเรียนอยู่ประมาณ 100 ราย (มีรายใหญ่ 4-5 แห่ง) ซึ่งพวกเขาจะพิมพ์หนังสือด้วยกระดาษปรู๊ฟทั้งหมด ผมเป็นผู้บุกเบิกใช้กระดาษปอนด์คนแรก แรงจูงใจที่ทำให้ผมเปลี่ยนมาใช้กระดาษปอนด์ เนื่องมาจากการที่ได้ไปชมงานมหกรรมหนังสือที่ประเทศสิงคโปร์ แล้วพบว่าหนังสือของเขาผลิตด้วยกระดาษปอนด์ทั้งหมด มีแต่หนังสือพิมพ์ที่เป็นกระดาษปรู๊ฟ ผมจึงคิดว่า ถ้าสำนักพิมพ์ของผมใช้กระดาษปอนด์บ้าง ราคาหนังสือต้องเพิ่มขึ้น 20% เพราะกระดาษปอนด์แพงกว่ากระดาษปรู๊ฟ ส่วนฐานะของผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนมาถึงระดับ Entrance หรือมีเงินให้ลูกเรียนกวดวิชา คงพอใช้ได้ น่าจะมีกำลังซื้อ อีกทั้งผมต้องการผลิตหนังสือเพียงแค่ 4,000 -5,000 เล่ม ก็คิดว่าน่าจะสู้ไหว ผมจึงลองใช้กระดาษปอนด์ ซึ่งขณะนั้น Advance Agro (AA) เพิ่งเปิดโรงงานพิมพ์กระดาษ จึงมีโปรโมชั่นให้กับสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ที่สนใจซื้อกระดาษของเขา โดยเขาลดราคากระดาษของเขาลงให้ถูกกว่าสำนักพิมพ์อื่นๆ เนื่องจากต้องการให้สำนักพิมพ์ต่างๆเปลี่ยนมาใช้กระดาษปอนด์กัน ดังนั้น หนังสือของผมที่ผลิตออกมาจึงราคาไม่แพงมากไปกว่าเดิมนัก หลังจากนั้น AA กับผม เราก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาโดยตลอด

สำหรับ ขนาดของกระดาษ (ผมหมายถึงกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ก่อนนำเข้าเครื่องทำเพลต มิใช่ขนาดหนังสือ ผมจะอธิบายให้ฟังว่าทำอย่างไรต้นทุนการผลิตหนังสือของผมจึงมีราคาถูก เนื่องจากผมจะนำค่าลงสีปก ค่าทำเพลตไปหาร 4นอกจากนั้นผมยังออกหนังสือประมาณ 40 ครั้งต่อเดือน แต่วิธีนี้จะใช้กับหนังสือที่พิมพ์ออกใหม่ไม่ได้ เพราะค่าระบบต่างๆ และค่าทำเพลตจะแพงกว่า ระยะเวลา30 ปีที่ทำงานในแวดวงหนังสือ ผมก็บริหารงานคนเดียวตลอด ถึงแม้จะมีลูกมาช่วยอีก 2 คน แต่ก็ไม่เพียงพอ ขณะนี้ผมกำลังหาคนมาช่วยเพิ่ม

ส่วน น้ำหนักของกระดาษ ถ้าเป็นกระดาษปรู๊ฟ น้ำหนักมาตรฐานของไทยคือ 48.8 แกรมกระดาษปอนด์นิยมมากที่สุดคือ70 แกรมแต่สำหรับของผมจะใช้บางกว่านั้นหน่อยคือ 60 แกรมสำหรับโรงงานที่ผลิตกระดาษเกรดA ได้แก่ Advance Agro (AA) และ Thai Paper ของปูนซีเมนต์ไทยเป็นต้นส่วนกระดาษอาร์ตมีทั้งด้านและมันตั้งแต่80-90แกรมขณะนี้ตีตลาดไปทั่วโลกแต่เรานิยมใช้100แกรมขึ้นไป

ผู้ที่ต้องการเปิดสำนักพิมพ์บ่อยครั้งโทรมาถามทางสมาคมฯถึงวิธีการจดทะเบียนสำนักพิมพ์การทำหนังสือมิได้เรียกว่าการ ?จดทะเบียนสำนักพิมพ์? แต่คือการ ?จดทะเบียนการค้า? โดยปกติแล้วถ้าคุณมีบริษัทที่ทำธุรกิจอื่นๆอยู่แล้วแต่ต้องการพิมพ์หนังสือเพิ่มเติมก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเพิ่มเลยสามารถใช้ชื่อเดิมของบริษัทได้แต่ถ้าคุณต้องการเพิ่มคำว่าสำนักพิมพ์เข้าไปก็ไปจดเพิ่มเติมต่างหากได้ตัวอย่างของสำนักพิมพ์ที่ไม่มีคำว่าสำนักพิมพ์ในชื่อบริษัทเช่นนานมีบุ๊คส์เป็นต้นในการจดทะเบียนนั้นจดได้หลายกรณีได้แก่
บุคคลธรรมดาบุคคลธรรมดาหลายคนห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดถ้าคุณมีเงินทุนเยอะและมีต้นฉบับสามารถจดเป็นบริษัทได้เลยหรือจะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ได้แต่เป็นบริษัทดีที่สุดแต่ถ้าเริ่มต้นคนเดียวกรณีเช่นผมยังไม่มีใครเป็นหุ้นส่วนกับเราก็จดเป็น ?บุคคลธรรมดา? ก่อนถ้ามีเพื่อนร่วมกันทำ (กรณีเงินทุนไม่พอ) เริ่มแรกก็จดเป็น ?คณะบุคคล? หรือ ?ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล? การจดทะเบียนระหว่างบุคคลธรรมดาและบริษัทมีความแตกต่างกันในเรื่องของการเสียภาษีถ้าเป็นบุคคลธรรมดาสามารถเลือกเสียภาษีได้ทั้ง ?เสียแบบเหมาจ่าย? และ ?เสียตามจริง? ถ้าเสียแบบเหมาจ่ายตามระบบของสำนักพิมพ์เขาสมมติว่า 80% เป็นต้นทุนและ 20% เป็นกำไรไปเสียภาษีตาม rate ขั้นบันไดของบุคคลธรรมดาแต่ถ้าเสียแบบตามจริงต้องทำบัญชีเป๊ะๆเลยตามstock ซึ่งยุ่งยากพอสมควรแม้แต่ cut out หนังสือตกรุ่นไปแล้วก็ต้องลงบัญชีต้องไปเชิญสรรพากรมาตรวจแต่แบบเหมาจ่ายไม่ต้องมีการตรวจ stock

เรื่องสุดท้าย?การทำแผนธุรกิจ?เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำในการประกอบธุรกิจสำนักพิมพ์ประโยชน์ที่ได้จากการทำแผนธุรกิจคือ
1.ทำให้เรามีเป้าหมายตามขั้นตอนในเรื่องต่างๆเช่นเงินทุนการจัดจำหน่ายการเงินสภาพคล่องเป็นต้น
2.ถ้าเราทำแผนธุรกิจในระดับพอใช้เราสามารถกู้เงินกับธนาคารได้กรณีที่เงินไม่พอเช่นทุนจมหนังสือค้างstock เนื่องจากหนังสือเป็นสินค้าที่ต้องทยอยขายมิได้ขายได้เลยภายในวันสองวันการทำแผนธุรกิจทำให้เรามีความน่าเชื่อถือบางคนบอกว่ามีธนาคารSMEs ให้กู้คงไม่เป็นไรจริงๆแล้วการขอกู้เงินจากธนาคารใดๆก็ตามไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายอย่างเช่นกรณีของผมไม่เคยมีประวัติเสียหายเรื่องการเงินตลอดการทำธุรกิจมาเป็นระยะเวลา 30 ปีจึงมีธนาคารอยู่แห่งหนึ่งให้สินเชื่อผม

สุดท้ายนี้ขออวยพรให้ผู้ที่กำลังจะเปิดสำนักพิมพ์ทุกท่านประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนะครับขอบคุณครับ
ขอบคุณ ??? (http://www.praphansarn.com/new/c_read/detail.asp?ID=80)

ohmohm
02-09-2011, 14:22
เพิ่มเติมให้อีกอันครับ


เคล็ด (ไม่) ลับ บริหารสำนักพิมพ์ให้รวย (และ...รอด)

ในโลกแห่งการเรียนรู้ คุณรู้หรือไม่ว่า ทุกๆ วันมีหนังสือออกใหม่ประมาณ 27 เล่ม และใน 1 ปี มีหนังสือออกมากถึง 1 หมื่นเล่ม ส่วนสำนักพิมพ์ ทั้งขนาดเล็ก กลางใหญ่ มีมากกว่า 300 บริษัทที่เป็น นิติบุคคล บางบริษัทมีมากกว่า 1 สำนักพิมพ์ และยังมี สำนักพิมพ์ เกิดขึ้นใหม่ทุกปี ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์และแนวโน้มการเติบโตของ ธุรกิจสำนักพิมพ์ ในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันหนังสือที่ออกมามากมายนั้น จะมีกี่เล่มที่ยืนหยัดอยู่บนชั้นหนังสือให้ผู้อ่านได้เห็น และไม่เป็นเพียงหนังสือขายได้ แต่ต้องเป็นหนังสือ...
ท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือด สำนักพิมพ์ทั้งเก่าและใหม่จะปรับกลยุทธ์อย่างไรให้อยู่รอด วันนี้เรามีคำตอบจากผู้คลุกคลีในแวดวงสำนักพิมพ์ มาช่วยแนะแนวทางให้รวยและรอดไปพร้อมๆ กัน โดยในงานเสวนา เรื่อง " บริหารสำนักพิมพ์อย่างไรให้รวย (ให้รอด) " ซึ่งจัดโดย สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนัด ไทยปิ่นณรงค์ ผู้ช่วยกรรมการ สายงานค้าปลีก บริษัท อัมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ ปานบัว บุนปาน บรรณาธิการบริหาร สำนักพิมพ์มติชน ฐาปนี โปร่งรัศมี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท บัณฑิตแนะแนว จำกัด และ ศิวโรจน์ ด่านศมสถิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


3 ปัจจัยให้สำนักพิมพ์อยู่รอด
ปานบัว บอกว่า ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสำนักพิมพ์ไปได้สวยและมั่นคง ผู้บริหารจะต้องรู้จักประเมินสถานการณ์ให้เป็น สามารถคาดการณ์และคาดเดาล่วงหน้าได้ว่าในอนาคตความสนใจหรือกระแสของสังคมจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้ จะต้องตื่นตัวและมีความรู้รอบด้านกับเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อการวางเป้าหมายในอนาคตอย่างมาก ถัดมาคือ เรื่องของเวลา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งหนังสือดีแต่ออกมาในจังหวะที่ไม่ดีก็อาจขายไม่ได้ ยกตัวอย่างหนังสือที่เห็นชัดคือ หนังสือครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี หากออกมาในช่วงนี้ต่อให้ปกแข็ง ภาพคมชัด ก็ขายได้ยาก เนื่องจากหนังสือมีความอิ่มตัวแล้ว นอกจากนี้ คือเรื่องของทีมเวิร์ก ซึ่งผู้บริหารจะเก่งคนเดียวไม่ได้ เพราะไม่มีผลต่อความก้าวหน้าของสำนักพิมพ์ ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมและรับผลทั้งติ-ชมเท่าเทียมกัน


คุณภาพมาพร้อมกับการตลาด
ขณะที่ผู้มีประสบการณ์ด้านการจัดซื้อหนังสือมานาน อย่าง ถนัด ได้แนะถึงวิธีการที่จะทำให้หนังสือขายดีว่า นอกจากเรื่องของคุณภาพที่เจ้าของสำนักพิมพ์ต้องมั่นใจแล้ว การนำเสนอที่ถูกช่องทางจะเป็นประโยชน์อย่างมาก อาทิ จุดแข็งของหนังสือคืออะไร เอกลักษณ์อยู่ตรงไหน มีคำนิยมของคนมีชื่อเสียงหรือไม่ ราคาแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร การวางแผนเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้หนังสือขายดีขึ้น อย่างไรก็ดีวิธีการประชาสัมพันธ์ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนหนังสือให้ขายได้เช่นกัน อาทิ การเปิดช่องทาง อี-คอมเมิร์ซ การออกแฟร์ หรือแม้แต่การส่งข้อมูลไปยังฐานสมาชิกที่ถือเป็นการเจาะกลุ่มลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้ ที่คั่นหนังสือซึ่งทำแจกล่วงหน้าก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นการจำหน่ายได้ด้วย
" เวลาสำนักพิมพ์ออกหนังสือใหม่ บางครั้งความพร้อมของข้อมูลยังมาไม่ครบถึงฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งจะเป็นผู้เลือกหนังสือออกจำหน่าย เช่น ปกยังไม่มา เนื้อหายังไม่รู้ ISBN ยังไม่ได้ ก็คงต้องพักไว้ก่อน " ผู้ช่วยกรรมการ สายงานค้าปลีก อัมรินทร์ กล่าวพร้อมกับแนะว่า ปกหนังสือมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ผู้อ่านตัดสินใจซื้อ
เช่นเดียวกับ ปานบัว ที่บอกว่า คุณภาพไม่ใช่องค์ประกอบทั้งหมดที่จะทำให้หนังสือขายได้ หากแต่จะต้องมีองค์ประกอบอื่นที่สมบูรณ์กว่า เช่น ปก เห็นแล้วอยากอ่านไหม อาร์ตเวิร์ก จัดได้น่าอ่านหรือไม่ บางครั้งการเปลี่ยนหน้าปกเพียงนิดเดียวก็เปลี่ยนภาพลักษณ์ของสินค้าไปเลย
" กรณีที่หนังสือถูกจัดวางให้โชว์เฉพาะสันปก เราก็ต้องเอาสันขึ้นสู้ อาจจะใช้สีสดๆ บริเวณสันปกเพื่อให้ดูโดดเด่น หรือกรณีหนังสือถูกวางทับซ้อนอยู่ ก็พยายามทำให้โลโก้ของสำนักพิมพ์ใหญ่ขึ้นตรงมุมซ้าย แต่ก็ไม่ควรใหญ่มากเกินไปเพราะอาจจะไปทำให้ปกดูไม่สวย คือทำอย่างไรที่จะให้ผู้อ่านจดจำหนังสือของเราได้ บางครั้งเราไม่ต้องคิดเป็นธุรกิจ แต่คิดโดยใช้ความรู้สึกหรือคอมมอนเซนส์ อย่างบางคนจะซื้อหนังสือหรือไม่ซื้อก็อ่านที่ปกหลังก่อน เพราะไม่มีเวลาจะอ่านเนื้อหาด้านใน นอกจากนี้ ควรไปดูร้านหนังสือเยอะๆ เพื่อที่เราจะได้ปรับกลยุทธ์หรือแก้ไขยังไง เรียกว่าช่วยตัวเองให้ได้มากที่สุด " ปานบัว แนะเคล็ดลับอย่างละเอียด


ทางออกของ สำนักพิมพ์เล็ก
การสร้างสรรค์ผลงานและช่องทางจัดจำหน่ายของสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ อาจไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่นัก แต่สำหรับสำนักพิมพ์น้องใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่วงการ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงและมองหาลู่ทางในการดำเนินธุรกิจให้รอด อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ ศิวโรจน์ มองว่า แม้จะมีหนังสือออกสู่ตลาดจำนวนมาก แต่ก็ยังมีช่องว่างให้สำนักพิมพ์ขนาดเล็กได้แทรกตัวอยู่หากรู้จักตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่า อย่างแรกคงต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของสำนักพิมพ์รวมถึงภาพของผู้อ่านว่าคือใคร หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ ทำในสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญและถนัด จากนั้นจึงค่อยขยับไปดูเรื่องของการตลาด
" สำนักพิมพ์เล็กๆ จะทำอย่างไรให้ผู้อ่านรู้ว่าเรามีตัวตน สิ่งสำคัญคือ เราต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ร้านหนังสือจะเป็นคนลงคะแนนให้เราเป็นคนแรก เขาจะเป็นคนวินิจฉัยว่า หนังสือใดจะมีคุณค่าต่อการขาย ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าในเรื่องของชื่อผู้เขียน เนื้อหา หรือวิธีการนำเสนอ ผมเชื่อว่าหนังสือมันมีคุณค่าของตัวเอง อย่างหนังสือเด็กที่ผมทำคือ เด็กต้องชื่นชม ผู้ใหญ่ต้องชื่นชอบ บรรณาธิการต้องให้ความเคารพต่อร้านหนังสือ ผู้อ่าน และผู้แข่งขัน อย่าไปทะเลาะกับใคร แต่ให้ไปพร้อมกับความนอบน้อมและสุภาพ นอกจากนี้ พรีเซนเทชั่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะสื่อสารได้รวดเร็ว ชัดเจน และเป็นรูปธรรม" กรรมการผู้จัดการ สำนักพิมพ์ห้องเรียน กล่าว


ช่องทางจัดจำหน่าย
นอกจากนี้ ฐาปนี เสริมว่า สำนักพิมพ์จำเป็นต้องสร้างคอนเนคชั่นหรือสายสัมพันธ์กับร้านหนังสือให้มาก เพราะปัจจุบันมีร้านหนังสืออยู่ 800 ร้านทั่วประเทศ แม้บางครั้งหนังสือยังไม่ออกใหม่ แต่ก็ควรจะโทร.ไปสอบถามหรือไปหาถึงที่ร้านเพื่อแสดงความเอาใจใส่ ในขณะเดียวกันการอาศัยตัวแทนจำหน่ายก็จะช่วยให้หนังสือเข้าสู่ผู้อ่านได้มาก แต่ทางที่ดีฐาปนี แนะนำว่า จะต้องหาฝ่ายขายที่แข็งจริงและรู้คุณสมบัติของหนังสือ อย่าแค่โทร.ไปขายของ แต่จะต้องไปพบและนำเสนอหนังสือด้วยตัวเอง หนังสือจึงจะถูกเลือกให้จำหน่ายในร้านนั้นๆ
อย่างไรก็ดี ศิวโรจน์ บอกต่อว่า หากสำนักพิมพ์สามารถจำหน่ายหนังสือได้ด้วยตัวเองย่อมเป็นเรื่องดี เพราะอย่างน้อยก็ช่วยให้เรียนรู้สภาพการตลาดที่แท้จริง รวมถึงความพร้อมในการปรับตัวและแก้ไข แต่สำหรับถนัด กลับมองว่า ผู้เริ่มต้นทำธุรกิจสำนักพิมพ์ควรจะให้มีผู้จัดจำหน่าย เพื่อความสะดวกและไม่เปลืองค่าใช้จ่ายมากนัก " ถ้าเราทำเองการติดต่อแต่ละร้านจะยุ่งยากและลำบากมาก แต่เมื่อเราโตแล้วสร้างพละกำลัง จะจำหน่ายเองก็ได้ ยิ่งถ้าเราทำปก เนื้อหา ดีไซน์รูปเล่มได้ดี หนังสือก็ขายเองได้ ที่สำคัญคือ ต้องเริ่มต้นสร้างบุคลิกของหนังสือก่อน "


ปรัชญาสู่ความสำเร็จ
อาจกล่าวได้ว่าหนทางสู่ความสำเร็จ มิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แม้แต่สำนักพิมพ์ที่มีอายุยาวนานก็ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมาก่อน ดังนั้นสิ่งที่บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์มติชน ยึดถือมาตลอดคือ ใช้ตัวเองเป็นดรรชนีชี้วัด นั่นหมายถึง ชอบอ่านอะไร มีความสุขในการทำอะไร เมื่อค้นหาตัวเองได้แล้วก็ลงมือทำให้สำเร็จ
" ทุกอย่างในโลกนี้มีข้อจำกัด ต้องแบ่งสรรและแบ่งปันกัน เราทำหนังสือการเมือง ก็จะไม่ไปทำหนังสือเด็ก เพราะเราไม่สนับสนุนว่าจะต้องทำทุกหมวด หนังสือคือตัวสะท้อนสังคม เราอยู่กันแบบเอื้อเฟื้อจุนเจือกัน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ดังนั้นใครจะทำสำนักพิมพ์ก็ต้องหาจุดแข็งของตัวเองให้ได้ อย่ามัวแต่หาช่องว่างในตลาดแต่ให้คิดว่า เราทำอะไรได้ โดยเริ่มที่ตัวเองก่อน เวลาเหนื่อยเราอ่านหนังสืออะไรแล้วมีความสุข เราชอบอะไร ถ้าทำตรงนี้ได้มันก็จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ " ปานบัว เผยปรัชญาที่เธอยึดถือปฏิบัติ
ด้านผู้บริหารสำนักพิมพ์ห้องเรียน มองว่า การได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเรียนรู้ ถือเป็นหน้าที่ที่มีเกียรติ ดังนั้นแต่ละสำนักพิมพ์จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ ความสำเร็จจะค่อยๆ สะสมขึ้น แม้จะเกิดข้อผิดพลาดบ้างในบางครั้ง หรือจะต้องเดินอ้อมไปไกล แต่อย่างน้อยก็ได้ใช้ความรู้และความสามารถบางอย่างในการทำงาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย " เงิน 1 ล้านในการตั้งสำนักพิมพ์มันหาไม่ง่าย แต่เราก็คงไม่ทำให้มันวอดวาย เพราะเราได้ใช้มันเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าใน สำนักพิมพ์ "
ขณะที่ ผู้ช่วยกรรมการ สายงานค้าปลีก บริษัท อัมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ เผยถึงปรัชญาในการบริหารว่า ทำงานเพื่อความสุขและความรุ่งโรจน์ของสังคมโดยยึดหลักความพอเพียง " การที่บริษัทเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้มันค่อยๆ โต แต่อย่าตาโต พยายามเน้นคุณภาพของสินค้า และระดมสมองเพื่อกระจายหนังสือดีๆ ออกไป สู่ผู้อ่านให้มากที่สุด "
ปิดท้ายกับ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท บัณฑิตแนะแนว ที่ยึดหลัก 4 ช. นั่นคือ เชื่อมั่นที่จะมุ่งไปเฉพาะทาง หมายถึงเมื่อชอบและมีความถนัดด้านไหนก็เดินไปทางนั้น ถัดมาคือ เชื่อมั่นในองค์กรที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้ และเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า สุดท้ายคือเชื่อมั่นในร้านหนังสือ ที่จะเป็นสะพานทอดไปยังผู้อ่านของสำนักพิมพ์
ทั้งหมดเป็นเพียงคู่มือบริหารแบบย่อที่พอจะทำให้ สำนักพิมพ์ทั้งเก่าและมือใหม่ได้นำไปประยุกต์ใช้ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน

ขอบคุณเว็บนี้ด้วย (http://www.jobjob.co.th/th/Hot_Guide/218/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94_%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88_%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A_%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0_%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94)