View Full Version : คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี(ผู้สร้างประวัติของเบียร์ช้าง)


ChangNoi and Light
22-10-2011, 13:20
ผมไม่ได้ชื่นชอบอะไรเบียร์ช้างเป็นพิเศษหรอกนะครับแต่พอดีจริงๆว่าชื่อยูเซอร์มันไปคล้องกับเบียร์ช้างเค้าพอดีก็เลยกะฮาซะเลย ประวัติของเบียร์ช้างแล้วก็ผู้จัดทำครับ สมัยนี้เค้าโด่งดังไปเมืองนอกเมืองนากันหมดแล้วสมัยผมเด็กๆยังไม่ได้ดังขนาดนี้เลย ยังไงก็สู้ๆครับสู้เบียร์ต่างประเทศให้ชนะ(ไม่แนะนำให้เยาวชนดื่มของมึนเมานะครับ ถ้าดื่มควรทำความเข้าใจก่อนว่าดื่มไปเพื่ออะไร อย่าหลงประเด็นครับ)


http://www.positioningmag.com/vaf/pictures/359/35947n_1l.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B5.html)



เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของบริษัทเบียร์ช้าง ได้รับการจัดอันดับเป็นเศรษฐีอันดับ 307 ของโลก และอันดับ 3 ของประเทศไทย (อันดับ 1 นายเฉลียว อยู่วิทยาเจ้าของเครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง และอันดับ 3 นายธนินท์ เจียรวนนท์เจ้าของเครือเจริญโภคภัณฑ์) จัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บ นายเจริญสร้างธุรกิจเบียร์ช้างได้ด้วยตนเอง โดยบิดาเป็นพ่อค้าขายหอยทอดในกรุงเทพมหานคร แต่ในปัจจุบันได้เป็นเศรษฐีของเมืองไทยในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีธุรกิจแตกแขนงไปมากมาย อาทิ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า สนามกอล์ฟเลควิว โดยในปี พ.ศ. 2548 ได้มีโครงการขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศ และเข้าเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ในพรีเมียร์ลีก นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของกิจการ โรงแรม พลาซ่า แอททินี่ ในกรุงเทพมหานคร และในนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา



สมรสแล้วกับ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี มีบุตร 5 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 3 คนชื่อ อาทินันท์ วัลลภา ฐาปน ฐาปนี และ ปณต (ข้อมูล พ.ศ. 2548)



ประวัติ
นายเจริญมีชื่อจีนว่า ?โซวเคียกเม้ง? (???, เคียกเม้ง แซ่โซว) เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 บิดามีอาชีพขายหอยทอด ใช้เวลาเรียนถึง 8 ปีเพื่อให้จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเผยอิง เนื่องจากระหว่างเรียนต้องทำงาน หาเลี้ยงชีพด้วยการขายของเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเขาอายุ 11 ปี ได้รับจ้างเข็นรถส่งสินค้า ย่านสำเพ็ง ทรงวาด จากนั้นก็ขยับเป็นพ่อค้าหาบของขาย



เจริญ สิริวัฒนาภักดี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทจากคณะเดียวกัน นอกจากนี้แล้วนายเจริญ ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2553)





ช่วงเริ่มเข้าสู่ธุรกิจสุรา
ปี พ.ศ. 2504 ได้เป็นลูกจ้างของชาวจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยคนหนึ่ง ในบริษัท "ย่งฮะเส็ง" และห้างหุ้นส่วนจำกัด "แพนอินเตอร์" ที่จัดส่งสินค้าให้ "โรงงานสุราบางยี่ขัน" นำมาสู่การรู้จักกับนาย "จุล กาญจนลักษณ์" ผู้เชี่ยวชาญการปรุงรสสุรา "แม่โขง"



เจ้าสัวเข้าสู่วงการธุรกิจสุราด้วยการชวนของเถลิง เหล่าจินดา แห่งกลุ่มสุราทิพย์ ผู้ซึ่งต่อมาเป็นปรปักษ์กับตระกูลเตชะไพบูลย์ ซึ่งถือเป็นเจ้าพ่อในวงการนี้มายาวนาน ในปี 2525 เมื่อเถลิงผ่านการต่อสู้อย่างโชกโชน ก็เหนื่อยล้าลาจากวงการไป เจริญก็เข้าสวมแทนและสามารถเอาชนะกลุ่มเตชะไพบูลย์ โดยเข้ายึดครองกลุ่มสุรามหาราษฎร อย่างสิ้นเชิงในปี 2530 ในขณะเดียวกันนั้น พ่อตาของคุณเจริญ ก็เข้ายึดกิจการบริษัทเงินหลักทรัพย์จากตระกูลเตชะไพบูลย์อีกสายหนึ่ง ต่อมาเมื่อเตชะไพบูลย์สายนั้น (คำรณ เตชะไพบูลย์) มีปัญหาในการบริหารธนาคารมหานคร เจริญและพ่อตา ซึ่ง มีสองขาทางธุรกิจที่หนุนเนื่องกัน (ธุรกิจสุราและการเงิน) และกำลังเริ่มยิ่งใหญ่ในปี 2530 ก็เข้ายึดครองกิจการ การเงิน ทั้งธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไว้ ทั้งๆ ที่ธุรกิจการธนาคารสำหรับ สังคมไทย ถูกปิดตายสำหรับคนนอกมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จากจุดนี้จึงถือว่า เจริญ สิริวัฒนภักดี สร้างอาณาจักรที่มั่นคงและโหมโรงการขยายตัวอย่างเชี่ยวกรากในเวลาจากนั้นมา



ขยายสู่ธุรกิจเบียร์

ก่อนที่จะมาเป็นคนรวยที่สุดของประเทศไทย มีความยากจนมากแต่ท่านชอบอาชีพนักขายเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ต่อสู้มาจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจสุราดั้งเดิม แม้ว่าระบบสัมปทานแบบเดิมกำลังจะปิดฉากลง แต่เขาก็สามารถใช้เครือข่ายการค้าแบบเดิม ซึ่งฝังรากในตลาดล่างกับเครือข่ายการค้า ในชุมชนซึ่งถือว่าเป็นเครือข่ายการค้าที่เข้มแข็งที่สุดเครือข่ายหนึ่งในสังคมไทย ภายใต้ระบบเอเย่นต์ และระบบขายพ่วง (สุราพ่วงเบียร์ สุราพ่วงโซดา) ที่เข้มแข็งนั้นเดินหน้าธุรกิจต่อไปจากนั้นก็ต่อเนื่องเข้าสู่ธุรกิจเบียร์ (เบียร์ช้าง และเบียร์คาร์ลสเบอร์ก) ซึ่ง เสริมกับค้าสุราได้อย่างกลมกลืน ภายใต้โครงสร้างการแข่งขันที่ดุเดือดของธุรกิจนี้ นำเอาโมเดลการค้าสุรามาทำให้ความสามารถในการแข่งขันอยู่ได้ ซึ่งถือว่าเบียร์ช้าง เป็นคู่แข่งทางการตลาดของเบียร์สิงห์โดยตรง

ปี พ.ศ. 2537 ได้เข้าซื้อกิจการกลุ่มโรงแรมอิมพีเรียล ที่มีโรงแรมในเครือจำนวนมากจากนายอากร ฮุนตระกูล และจากนั้นก็ขยายธุรกิจอย่างไม่เคยหยุดยั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน



ขอบคุณมากๆที่ที่เราคุ้นเคยwikiพีเดีย