View Full Version : ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ทดลอง แนวทางพร้อมทำจริง


JigSaW
19-11-2011, 12:29
น้องๆที่เรียนชั้นมัธยมต้นไม่ต้องเสียใจวันนี้เรามีเนื้อหาเกีย่วกับตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ทดลองมาให้ได้ลองดูๆไว้ค่ะ เพราะต้องมีน้องๆบางคนในเว็บหรอยกูต้องเรียนทางนี้แน่แน่ ความรู้เรื่องการเขียนนี้จะเป็นตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ทดลอง ถ้าใครคว้ารางวัลก็อย่าลืมเอามาขี้โม้ในเว็บหรอยกูด้วยนะค่ะ พี่คนนี้ขอเป็นกำลังใจค่ะ


http://3.bp.blogspot.com/_ANrL2scCXEQ/Rt6lKXIFt1I/AAAAAAAAAP4/ivlShkt5OQs/s400/4.JPG (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาวิธีการเก็บรักษาความสดของผักแบบประหยัดพลังงาน
รายวิชา ว30203 โครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ช. สุรธัช พุทธพงษ์ เลขที่ 16 ชั้น ม. 3/2
2. ด.ช. ธีรดล วงศาโรจน์ เลขที่ 17 ชั้น ม. 3/2
3. ด.ญ. จิราภรณ์ งามเถื่อน เลขที่ 22 ชั้น ม. 3/2
4. ด.ญ. อาลิซ่า มูจอนลี เลขที่ 31 ชั้น ม. 3/2
อาจารย์ที่ปรึกษา นางจันทิมา สุขพัฒน์
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาวิธีการเก็บรักษาความสดของผักแบบประหยัดพลังงาน จัดทำขึ้นเพื่อหาวิธีการเก็บรักษาความสดของผัก โดยไม่ใช้ตู้เย็นซึ่งเป็นการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า และเป็นการสนองตอบต่อแนวพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในการทดลองกลุ่มของข้าพเจ้าเลือกทดลองกับผักที่เหี่ยวและเสียง่าย ได้แก่ มะเขือเทศ พริกสด โดยนำโอ่งดินเผาขนาดเท่าๆ กัน มา 4 ใบ ใบที่ 1 ใส่ดิน 500 กรัม และน้ำ 500 กรัม ใบที่ 2 ใส่ทราย 500 กรัม และน้ำ 500 กรัม ใบที่ 3 ใส่น้ำ 500 กรัม และใบที่ 4 ไม่ใส่อะไรเลย จากนั้นนำผ้าขาวบางมาปิดปากโอ่งโดยให้มีลักษณะเป็นถุงย้อยลงไปในโอ่ง ห่างจากระดับน้ำ 1 นิ้ว คัดเลือกพริกสดและมะเขือเทศ ที่มีขนาดและน้ำหนักเท่าๆ กัน นำพริกสดใส่ในโอ่งทั้ง 4 ใบๆ ละ 5 เมล็ด และใส่มะเขือเทศลงไปในโอ่งใบละ 5 ลูก ตั้งทิ้งไว้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน เป็นเวลา 15 วัน จากผลการทดลองพบว่า พริกสดที่เก็บในโอ่งเปล่า จะคงความสดได้มากที่สุด รองลงมาเป็นโอ่งดินชุ่มน้ำ โอ่งทรายชุ่มน้ำและโอ่งน้ำ ตามลำดับ ส่วนมะเขือเทศที่เก็บในโอ่งดินชุ่มน้ำ จะสามารถเก็บรักษาความสดไว้ได้นานที่สุด รองลงมาเป็น โอ่งน้ำ โอ่งทรายชุ่มน้ำ และโอ่งเปล่า ตามลำดับ ดังนั้นผลการทดลองสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ความสดของผักขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุในโอ่งเก็บรักษาความสด
http://www.thaigoodview.com/files/u11044/4.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เตาเผาขยะลดปัญหาภาวะโลกร้อน
รายวิชา ว30203 โครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ช. นวพันธ์ นันชัยศิลป์ เลขที่ 2 ชั้น ม. 3/2
2. ด.ช. ณัฐวุฒิ สงบวาจา เลขที่ 7 ชั้น ม. 3/2
3. น.ส. ชนาภา เผือกวัฒนะ เลขที่ 32 ชั้น ม. 3/2
4. น.ส. อารยา ปรีชานนท์ เลขที่ 36 ชั้น ม. 3/2
5. น.ส. สาธินี สาดบุญสร้าง เลขที่ 39 ชั้น ม. 3/2
อาจารย์ที่ปรึกษาและที่ปรึกษาพิเศษ นางจันทิมา สุขพัฒน์ และ นายสมชาย กาแก้ว
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เตาเผาขยะลดปัญหาภาวะโลกร้อน ได้จัดทำขึ้นเพื่อประดิษฐ์เตาเผาขยะซึ่งสามารถขจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ กลิ่นควันจากการเผาขยะ ขึ้นใช้ในครัวเรือน โดยนำ ถังเหล็กขนาด 15 ลิตร มาประดิษฐ์เป็นเตาเผา ซึ่งด้านบนของเตาเผาบรรจุถ่านหุงต้มไว้ โดยให้ชั้นของถ่านห่างจากบริเวณจุดไฟเผาขยะ 1 ฟุต และด้านบนสุดต่อเชื่อมกับท่อนำก๊าซ เพื่อให้ควันและก๊าซที่เกิดจาก การเผาขยะลอยออกทางท่อไปผ่านถังน้ำปูนใส ส่วนด้านข้างถังเจาะฝาปิดเปิดเตาเผา จากการทดลองเผาขยะจากครัวเรือน 4 ชนิด คือ เศษใบไม้ กระดาษ พลาสติก และเศษไม้ต่างๆ แล้ววัดปริมาณตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่เกิดขึ้นในน้ำปูนใส พบว่าขยะแต่ละชนิดจะให้ปริมาณตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตแตกต่างกัน แสดงว่าขยะแต่ละชนิดให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่างกัน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ เศษไม้ พลาสติก เศษใบไม้ และกระดาษตามลำดับ และเมื่อผ่านคาร์บอนไดออกไซด์ลงในน้ำปูนใส ปรากฏว่าน้ำปูนใสมีค่า pH เปลี่ยนไป โดยขยะประเภทเศษไม้ ทำให้ค่า pH ของน้ำปูนใสเปลี่ยนไปมากที่สุด รองลงมาเป็น เศษใบไม้แห้ง พลาสติก และกระดาษ ตามลำดับ ส่วนกลิ่นควันในขณะเผา ในการเผาขยะทุกประเภท ไม่มีกลิ่นออกมาจากเตาเผา นั่นแสดงว่า เตาเผาขยะ ที่สร้างขึ้นสามารถกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นตัวการหลักในการเกิดวิกฤติ การณ์ภาวะโลกร้อนได้ สรุปได้ว่า ผลการทดลองสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ชนิดของขยะต่างกันปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาและการเปลี่ยนแปลงค่า pH ของ น้ำปูนใสจะต่างกัน

http://www.thaigoodview.com/files/u11044/taewp.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม
รายวิชา ว30203 โครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ช. นรากร ไผ่พูล เลขที่ 11 ชั้น ม. 3/1
2. ด.ช. ภาณุวัส ทิพย์รัตน์ เลขที่ 16 ชั้น ม. 3/1
3. ด.ญ. สิริขวัญ เจนวิริยะไพบูลย์ เลขที่ 23 ชั้น ม. 3/1
4. ด.ญ. อัญชลี วงษ์เอี่ยม เลขที่ 30 ชั้น ม. 3/1
5. ด.ญ. ญาดา โพธิเสถียร เลขที่ 43 ชั้น ม. 3/1
อาจารย์ที่ปรึกษาและที่ปรึกษาพิเศษ นางจันทิมา สุขพัฒน์ , นางสาวสมศรี เจ็งไพจิตร
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
คณะผู้จัดทำโครงงานได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ? อ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม ? โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำเพื่อบำบัดน้ำเสียที่เหลือทิ้งจากการล้างจาน ให้มีคุณภาพดีขึ้นก่อนที่จะปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง ซึ่งน้ำทิ้งเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย และสัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก โดยคณะผู้จัดทำได้สร้างตัวอ่างล้างจานสูงประมาณ 110 เซนติเมตร ส่วนด้านล่างของตัวอ่างล้างจานมีชั้นสำหรับวางชุดกรองน้ำจากเส้นใยพืช โดยใช้เส้นใยผักตบชวาสด ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับไขมันที่ปนเปื้อนมากับน้ำที่เหลือทิ้งจากการล้าง จาน และชั้นที่สองเป็นชั้นสำหรับวางชุดเครื่องกรองน้ำอย่างง่ายซึ่งมีคุณสมบัติ ทำให้น้ำเสียที่ผ่านไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีตะกอน จากการทดลองพบว่า น้ำทิ้งจากการล้างจานหลังผ่านการกรองด้วยอ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพ ดีขึ้น สังเกตได้จากการเปรียบเทียบคุณภาพน้ำทิ้งจากการล้างจานก่อนผ่านและหลังผ่าน การบำบัดด้วยอ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม ปรากฏว่า นำทิ้งหลังผ่านการกรองด้วยอ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม มีลักษณะใส ไม่มีสี ไม่มีตะกอนปนเปื้อนในน้ำ มีกลิ่นคาวอาหารน้อยมาก ไม่พบสารอาหารปนเปื้อนในน้ำ มีสมบัติเป็นกลาง และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำได้

http://www.thaigoodview.com/files/u11044/anglang.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ EM ที่มีต่อการบำบัดน้ำเสีย
รายวิชา ว30203 โครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ช. บุรินทร์ ทองประดิษฐ์ เลขที่ 13 ชั้น ม. 3/1
2. ด.ช. พิชัย นุ่มนวล เลขที่ 15 ชั้น ม. 3/1
3. ด.ช. คมกริช จินดากุล เลขที่ 21 ชั้น ม. 3/1
อาจารย์ที่ปรึกษา นางจันทิมา สุขพัฒน์
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลอง เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ EM ที่มีต่อการบำบัดน้ำเสีย จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ EM ในการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยทำการผสมจุลินทรีย์ EM ในอัตราส่วนจุลินทรีย์ EM 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต่อน้ำ 10 ลิตร หมักทิ้งไว้เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นนำไปบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยนำ จุลินทรีย์ EM ที่หมักไว้ไปเทในแหล่งน้ำธรรมชาติพร้อมกัน 10 จุดๆ ละ 10 ลิตร ทำการตรวจสอบคุณภาพ ได้แก่ ลักษณะสี กลิ่น ความขุ่น และค่า pH ของน้ำก่อนบำบัดและหลังบำบัด จากผลการทดลองซ้ำ 3 ครั้ง พบว่า น้ำเสียในแหล่งน้ำมีคุณภาพดีขึ้น มีความเข้มสีลดลง ไม่มีกลิ่นเหม็น ความขุ่นของน้ำลดลง ค่า pH ใกล้เป็นกลางมากขึ้น ตามลำดับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า จุลินทรีย์ EM สามารถบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ถ้าจุลินทรีย์ EM มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนั้น น้ำเสียในแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีคุณภาพดีขึ้นเมื่อบำบัดด้วยจุลินทรีย์ EM
http://www.thaigoodview.com/files/u11044/EM________________.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาชนิดของไส้กรองที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการกรองน้ำของเครื่องกรองน้ำ ชนิดพกพา
รายวิชา ว30203 โครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ช. ณัฐกิจ ปัญจศรีพัฒน์ เลขที่ 8 ชั้น ม. 3/1
2. ด.ช. ศิรพัฒน์ กุหลาบเพชร เลขที่ 20 ชั้น ม. 3/1
3. ด.ช. นนทนันท์ สายเป้า เลขที่ 22 ชั้น ม. 3/1
อาจารย์ที่ปรึกษา นางจันทิมา สุขพัฒน์
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เครื่องกรองน้ำชนิดพกพา จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ที่ชอบเดินทางไกล หรือชอบกิจกรรมเดินป่า ได้ดื่มน้ำที่ปลอดจากตะกอนดิน และสารจำพวกแคลเซียม โดยการประดิษฐ์เครื่องกรองขนาดเล็กต้นทุนต่ำ โดยในไส้กรองใช้สาร Mn , C และ เรซิน ในปริมาณต่างๆ และทำการเปรียบเทียบระหว่างใยแก้วกับใยสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ จากผลการทดลองพบว่า อัตราส่วนที่ดีที่สุด คือ อัตราส่วน 1:1:1 และใยแก้วจะสามารถกรองตะกอนได้ดีกว่าใยสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ โดยน้ำมีลักษณะใส เมื่อทดสอบด้วยน้ำยาสำหรับตรวจสอบปริมาณแคลเซียมและสารปนเปื้อนในน้ำพบว่า น้ำมีคุณภาพดี สามารถใช้ในการบริโภคได้
http://www.thaigoodview.com/files/u11044/sykrong.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)
บทคัดย่อ

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาความนิยมในการบริโภคต้มยำรวมมิตรที่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของสารสกัดจากตะไคร้กับใบมะกรูด
รายวิชา ว30203 โครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ช. สุชา เคหะอุทัย เลขที่ 4 ชั้น ม. 3/2
2. ด.ญ. พนิดา ลาดเหลา เลขที่ 20 ชั้น ม. 3/2
3. ด.ญ. ชโลทร แจงบำรุง เลขที่ 24 ชั้น ม. 3/2
4. ด.ญ. อลิส สุดทะสิน เลขที่ 41 ชั้น ม. 3/2
อาจารย์ที่ปรึกษา นางจันทิมา สุขพัฒน์
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาความนิยมในการบริโภคต้มยำรวมมิตรที่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของสารสกัด จากตะไคร้กับใบมะกรูด จัดทำขึ้นเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างสารสกัดจากตะไคร้และใบมะกรูดที่ ใช้ในการทำต้มยำรวมมิตร ซึ่งเป็นการสะดวกและรวดเร็วสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง โดยการนำตะไคร้และใบมะกรูดในอัตราส่วน 1:1 , 1:2 , 1:3 , 2:1 และ 3:1 มาสกัดกลิ่นด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ แล้วเก็บสารที่ระเหยด้วยวิธีการควบแน่น ใส่ขวดปิดฝาแยกไว้ในแต่ละอัตราส่วน นำไปเก็บไว้ในตู้เย็น จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ไปปรุงต้มยำรวมมิตรในปริมาณที่เท่าๆ กัน ผลปรากฏว่า ผู้บริโภคชอบต้มยำรวมมิตรที่ใส่สารสกัดระหว่างตะไคร้กับใบมะกรูดในอัตรา ส่วน 1: 2 รองลงมาเป็น อัตราส่วน 1:1 ส่วนอัตราส่วนที่ 1:3 กลิ่นใบมะกรูดมากเกินไปแทบจะได้กลิ่นตะไคร้ สำหรับอัตราส่วน 2:1 และ 3:1 นั้นกลิ่นตะไคร้เด่นเกินไป จากการทดลองเก็บสารสกัดไว้ในตู้เย็นช่องปกติปรากฏว่าสามารถเก็บสารสกัดนี้ ไว้ได้นาน 3 วัน เมื่อเลยเวลา 3 วันกลิ่นของสารสกัดจะเปลี่ยนไป
http://www.thaigoodview.com/files/u11044/tomyam.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาความเข้มข้นของแป้งมันสำปะหลังที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสีแป้งมันสำปะหลัง
รายวิชา ว30203 โครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ญ. ภัทราวรรณ กิจวิริยะ เลขที่ 24 ชั้น ม. 3/1
2. ด.ญ. พัชรี บุญมานะ เลขที่ 27 ชั้น ม. 3/1
3. ด.ญ. กมลนัทธ์ มโนมัยเสาวภาคย์ เลขที่ 31 ชั้น ม. 3/1
4. ด.ญ. ธาริณี เหมือนมี เลขที่ 37 ชั้น ม. 3/1
5. ด.ญ. อาภาภรณ์ ผ่องสกุล เลขที่ 41 ชั้น ม. 3/1
อาจารย์ที่ปรึกษา นางจันทิมา สุขพัฒน์
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาความเข้มข้นของแป้งมันสำปะหลังที่มีต่อประสิทธิภาพของสีแป้งมัน สำปะหลัง จัดทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนสีโปสเตอร์ที่มีขายตามท้องตลาด ซึ่งมีราคาแพง ในการทดลองนี้ ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาทำเป็นเนื้อสีโดยพบว่า อัตราส่วนระหว่างแป้งมันสำปะหลังต่อน้ำที่เหมาะสมในการทาสีบนกระดาษ คือ อัตราส่วน 1 : 12 อัตราส่วนเนื้อสีต่อสีผสมอาหารในการทาบนกระดาษ คือ อัตราส่วน 1 : 1 ซึ่งได้สีแป้งเปียกที่คงทนและมีสีสันสวยงามมากที่สุด
http://www.thaigoodview.com/files/u11044/corlor.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง วุ้นสมุนไพร
รายวิชา ว30203 โครงงานวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550
คณะผู้จัดทำ
1. ด.ช. คมสันต์ นามวิชา เลขที่ 1 ชั้น ม. 3/2
2. ด.ญ. ภัทราพร จุลศรี เลขที่ 25 ชั้น ม. 3/2
3. น.ส. เมธาวี หนีเมืองนอก เลขที่ 26 ชั้น ม. 3/2
4. น.ส. วิลันดา คงถัน เลขที่ 27 ชั้น ม. 3/2
5. น.ส. สุพรรษา กิตติสุขเจริญ เลขที่ 29 ชั้น ม. 3/2
อาจารย์ที่ปรึกษา นางจันทิมา สุขพัฒน์
สถานศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง วุ้นสมุนไพร ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความนิยมในการบริโภควุ้นสมุนไพร ซึ่งทำการทดลองโดย นำตะไคร้ กระชาย และใบเตย มาอย่างละ 1 กิโลกรัม นำสมุนไพรแต่ละชนิดมาปั่นกับน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางแยกน้ำไว้ นำน้ำ 8 ถ้วยตวงใส่ในหม้อยกขึ้นตั้งไปรอจนเดือด ใส่ผงวุ้น 1 ช้อนชา เคี่ยวจนผงวุ้นละลายจนหมด ใส่น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง คนให้ละลาย จากนั้นเติมน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในหม้อต้มรอจนเดือดจึงยกลงเทใส่ แม่พิมพ์ โดยการทำวุ้นสมุนไพรทีละชนิด จากนั้นนำวุ้นสมุนไพรที่ได้ไปให้บุคคลโดยทั่วไปชิม พบว่า ผู้บริโภคชอบรับประทานวุ้นกระชายมากที่สุด ซึ่งผลการทดลองไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ถ้าชนิดของสมุนไพรต่างกันความนิยมในการบริโภควุ้นสมุนไพรจะต่างกัน ดังนั้นวุ้นตะไคร้น่าจะเป็นที่นิยมในการบริโภคมากกว่าวุ้นใบเตย และวุ้นกระชายตามลำดับ กล่าวคือ จากการทดลองนำวุ้นสมุนไพรไปให้นักเรียนโรงเรียนวัดราชาธิวาส ครู ? อาจารย์ และแม่ค้าของโรงเรียนชิม ปรากฏว่า วุ้นกระชาย เป็นวุ้นที่มีคนนิยมบริโภคมากที่สุด รองลงมาเป็นวุ้นตะไคร้ และวุ้นใบเตย ตามลำดับ
http://www.thaigoodview.com/files/u11044/vun.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87.html)

ขอบคุณเว็บของคุณลุง thaigoodview ด้วยค่ะ




:jing: ตัวอย่างแบบเต็มเต็มค่ะกับตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ทดลอง




โครงงาน
การเผยแพร่ข้อมูลการลดโลกร้อน
Distridution to reduce glodal warming
โรงเรียนเทศบาล๒วัดสว่างคงคา
สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
คณะผู้จัดทำโครงงาน
1.นายอำนาจ ไฝชอบ ม.๔
2.นายมานพ แขวงเมือง ม.๔
3.นายขจรศักดิ์ ไชยวิเชียร ม.๔
4.นายมงคล ไกลพินิจ ม.๔
ครูที่ปรึกษาโครงงาน
1.นายมานิต เหลื่อมกุมาร
2.นายชิณณะกร อรรถวิลัย
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาของวิทยาศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

โครงงานประเภทการสำรวจ
โครงงานการเผยแพร่ข้อมูลการลดโลกร้อน หน้า2
ผู้จัดทำ 1.นายอำนาจ ไฝชอบ ม.4
2.นายมานพ แขวงเมือง ม.4
3.นายขจรศักดิ์ ไชยวิเชียร ม.4
ครูที่ปรึกษา นายมานิต เหลื่อมกุมาร
โรงเรียน เทศบาล๒วัดสว่างคงคา

บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลการลดโลกร้อนมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่ สนใจในการลดโลกร้อนเพื่อให้ผู้ที่สนใจประติปัฏได้ทำอย่างถูกวิธีและเห็นผล จริง
การเผยแพ้ครั้งที่1 การให้ความรู้เกี่ยวกับการลดคาร์บอนในอากาศ
จากการเพ้ยแพ้ข้อมูลในการลดโลกร้อนมีผู้สนใจในการลด โลกร้อนเช่นการปลูกต้นไม้ การปลูกป่าชายเลน การใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ เช่น การใช้พลังงานแก๊สโซฮอลล์ การใช้ใบโอดีเซลล์
การเผยแพ้ครั้งที่2 การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้พลังงานทางเลือก
การใช้พลังงานทดแทนที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
เป็นการช่วยสร้างให้โลกน่าอยู่ขึ้น
หน้า3
บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของการทำโครงงาน
ในปัจจุบันโลกมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงอย่างมากจึงได้คิดค้นโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อเพ้ยแผ่ข้อมูลในการลดโลกที่ ถูกวิธีและเห็นผลรวมทั้งการประฏิบัติอย่าถูกวิธีรามถึงการใช้พลังงานที่ไม่ ก่อให้เกิดโลกร้อนและผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นบนโลกเพื่อให้โลกของเราได้มี อากาศที่ดีขึ้นจึงได้จัดทำโครงงานขึ้นมาเพื่อเผยแพ้โครงงานเพื่อให้ทุกคนได้ รับรู้ถึงวิธีการลดโลกร้อนอย่างถูกวิธี
วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
1.เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก
2.เพื่อศึกษาถึงการอนุรักษ์พลังงาน
3.เพื่อศึกษาถึงวิธีการลดโลกร้อนอย่างแท้จริง
4.เพื่อรณลงลดโกร้อน
ขอบเขตของการศึกษาโครงงาน
1.ศึกษาจากเอกสารเกี่ยวกับการลดโลกร้อน
2.ศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ
3.ศึกษาจากสิ่งแวดธรรมชาติรอบโรงเรียน
4.ศึกษาจากวิชาที่เรียนที่เกี่ยวของ
5.ศึกษาจากผู้รอบรู้
สถานที่ทำโครงงาน
- โรงเรียนเทศบาล๒วัดสว่างคงคา อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ระยะเวลา
ประมาณ60วัน รวม8สัปดาห์
เริ่ม1ธันวาคม2552-31มกราคม2553
บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.รายระเอียดที่เกี่ยวกับการณ์ลดโลกร้อน
2.รายระเอียดที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
3.รายระเอียดที่เกี่ยวกับการณ์ใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า
4.เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลดโลกร้อน
5.เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานที่คุ้มค่า
บทที่3
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา
อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
1.รายระเอียดที่เกี่ยวกับการณ์ลดโลกร้อน
2.รายระเอียดที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
3.รายระเอียดที่เกี่ยวกับการณ์ใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า
4.เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลดโลกร้อน
5.เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานที่คุ้มต่า
6.คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
7.สมุดบันทึก
8.ปลิ้นเตอร์
9.กระดาษ
10.ปากา ดินสอ
วิธีการศึกษา
1.ประชุมวางแผนโครงงาน
2.ปรึกษาครูที่เขี้ยวชาญในเรื่องนี้
3.ศึกษาจากหนังสือ
4.ศึกษาจากเว็บไซต์
5.สอบถามจากผู้รอบรู้
รายระเอียดโครงงาน
1.ลดการใช้ถุงพลาสติก โดยการใช้ถุงผ้า หรือ ตะกร้า เป็นต้น
2.ประหยัดไฟฟ้า เช่น ควรรีดเสื้อผ้าครั้งละหลายๆ ตัว ไม่ควรเปิดโทรทัศน์ พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เมื่อเราไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น และไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้
3.การรีไซเคิล เมื่อเราวาดรูป หรือข้อความ (ตัวหนังสือ) ลงไปในหน้าเดียวบนกระดาษ A4 เมื่อเราทำงานนั้นเสร็จ หรือนำไปส่งอาจารย์เมื่อตรวจเสร็จก็นำกลับมาใช้อีกด้านหนึ่งก็ได้
4.ไม่ควรปล่อยมลพิษสู่อากาศ น้ำ และดิน เช่น ไม่ควรทิ้งขยะ หรือเศษอาหารลงสู่แม่น้ำ
5.ควรนำน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้อีกมาใช้ เช่น นำน้ำที่ซาวข้าว น้ำซักผ้า มารดต้นไม้
6.ควรประหยัดน้ำ
7.ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์
8.ควรนั่งรถประจำทางหรือรถไฟฟ้าไปเพื่อประหยัดน้ำมัน
9.ช่วยปลูกต้นไม้ เพื่ออากาศที่สดใส
บทที่4
ผลการศึกษา
1.พบว่าลักษณะของบุคคลเปลี่ยนแปลงไปจากการกระทำให้โลกร้อนก็ลดลง
2.การใช้วิธีในการเป็นวิธีที่ง่าย
3.การใช้วิธีในการลดโลกร้อนเป็นวิธีที่ทำได้กันทุกคน
4.มีผู้สนใจในการใช้วิธีที่นำเสนอ
5.ทำให้บรรยากาศสดชื่นขึ้นไม่มีมลพิษ
6.ทำให้ทรัพพระยากรและสิ่งแวดล้อมยังคงสมบูรณเช่นเดิม
7.ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ไม่มีผลกระทบของอากาศเสีย
8.ทำให้บรรยากาศในบริเวณบ้านสดใสขึ้น
9.ช่วยปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่เช่นเดิม
10.ช่วยให้โลกของเรายังคงคุณค่าทางธรรมชาติยังคงอยู่เช่นเดิม
บทสรุป
การนำเสนอโครงงานเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลการลดโลกร้อนนี้ทำให้ผู้ที่ได้รับชม มีจิตสำนึกในการลดโลกร้อนและช่ายกันร่วมมือกับในการลดโลกร้อนอย่างเป็นทาง การและทำอย่างจริงจัง
บทที่5
ประโยชน์และข้อเสนอแนะจากการทำโครงงาน
1.มีผู้สนใจในการใช้วิธีที่นำเสนอ
2.การใช้วิธีในการเป็นวิธีที่ง่าย
3.การใช้วิธีในการลดโลกร้อนเป็นวิธีที่ทำได้กันทุกคน