View Full Version : การปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์ปลูกผักในบ้านง่ายง่าย


ohmohm
04-12-2011, 14:41
เรื่องการปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์กำลังเป็นที่นิยมมาก(ในบ้านผม)
จริงแล้วไม่ได้อยากจะปลูกอะไรกันให้ร่ำรวยนักหรอกครับแต่แค่อยากทำอะไรขำ
ขำกับคุณแม่เท่านั้นเองเลยเอากิจกรรมการปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์มา
ทำรวมกันเผื่อจะได้กินผักกินอะไรกับเค้าบ้าง งานนี้ขอบคุณโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย


:jing:

http://3.bp.blogspot.com/_fwZMURBzvG8/SM8XphYPtnI/AAAAAAAAAME/h1XxoerT5To/s320/HydroGarden%231aChilesMay31,2007.jpg

http://media.treehugger.com/assets/images/2011/10/TH_hydro3_051905.jpg

http://www.thcfarmer.com/forums/attachments/123625d1294710946t-15kw-hydro-garden-hpim1634.jpg.att

:ha:

การปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์

วิธีปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (liquid culture) เป็นการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ที่ได้รับความนิยมมากกว่าแบบอื่นๆและใช้ได้ดี ในที่ที่มีแดดจัด วิธีการหลักคือการนำรากพืชจุ่มลงในสารละลายโดยตรง รากพืชไม่มีการเกาะยึดกับวัสดุใดๆ ยังสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ ดังนั้นจึงมักใช้การยึดเหนี่ยวในส่วนของลำต้นไว้แทนเป็นการรองรับรากของต้น พืชเพื่อการทรงตัว หลักการนำรากพืชจุ่มในสารละลายและข้อสังเกตในการปลูกพืชในน้ำ คือ ปกติแล้ว ถ้านำต้นพืชที่ขึ้นอยู่บนดินมาวางแช่น้ำ ในระยะแรกต้นพืชจะยังสามารถเจริญงอกงามต่อไปได้ แต่่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งกลับพบว่า ต้นพืชที่เจริญต่อไปนั้นกลับแสดงอาการเหี่ยวเฉาโดยสาเหตุมาจากเมื่อรากพืช แช่อยู่ในน้ำนานๆ จะเกิดการขาดออกซิเจนจึงทำให้พืชเฉาตาย ดังนั้น การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร จึงต้องมีหลัก และเทคนิควิธีการที่แตกต่างจากวิธีอื่น คือ ต้องพัฒนารากพืชในต้นเดียวกันนั้นให้สามารถทำงานได้ 2 หน้าที่พร้อมๆ กัน คือ รากดูดออกซิเจน (oxygen roots) และ รากดูดน้ำและธาตุอาหาร(water nutrient roots) การจะทำให้รากพืชทำงานได้ทั้ง 2 หน้าที่นั้นต้องพยายามให้ส่วนหนึ่งของรากพืชสัมผัสกับอากาศได้โดยตรงบริเวณโคนราก (ส่วนนี้ต้องให้มีช่องว่างของอากาศไว้สำหรับให้รากหายใจ เอาออกซิเจนเข้าไป และอีกส่วนหนึ่งตรงปลายรากจุ่มแช่อยู่ในสารละลาย) ซึ่งหลักการคือ รากส่วนที่มีหน้าที่ดูดน้ำและอาหารสามารถพัฒนาเป็นรากดูดอากาศได้ แต่รากดูดอากาศจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นรากดูดน้ำและแร่ธาตุได้ ดังนั้นจึงต้องไม่เติมสารละลายท่วมรากส่วนที่ทำหน้าที่ดูดอากาศเพราะพืชจะ ไม่่สามารถดูดออกซิเจนและตายได้ในที่สุด ด้วยหลักการดังกล่าวต้นพืชจึงสามารถจุ่มแช่อยู่ในสารละลายได้โดยไม่เน่าตาย และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการเติมอากาศกับพืชบางชนิด ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับของสารละลาย ให้มีความเหมาะสมกับความยาวของรากพืชในแต่ละช่วงอายุของพืชด้วย หรืออาจใช้เครื่องปั๊มอากาศช่วยเติมออกซิเจนให้แก่รากพืช และสำหรับระบบการให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืชนั้นแบ่งเป็น 2 วิธี คือ


1. แบบสารละลายไม่หมุนเวียน (non-circulating system) สามารถทำได้โดยเตรียมภาชนะปลูกที่ไม่มีรอยรั่วซึม นำสารละลายที่เตรียมไว้เติมลงในระดับที่พอเหมาะ แล้วนำตะแกรงหรือแผ่นโฟมเจาะรูวางทาบที่ปากภาชนะเพื่อช่วยพยุงต้นให้ทรงตัว อยู่ได้หลังจากนั้นนำต้นกล้าที่เพาะบนฟองน้ำมาสอดเข้าในรูโฟม วิธีนี้ยังเป็นการช่วยปกป้องมิให้แสงสว่างสอดส่องลงมาในสารละลายได้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงคือการเว้นช่องว่างระหว่างพื้น ผิวสารละลายกับแผ่นโฟมเพื่อเป็นพื้นที่ให้ออกซิเจนแก่รากพืชการปลูกแบบสาร ละลายไม่หมุนเวียนนี้ยังจำแนกย่อยได้เป็น 2 วิธี คือ 1.1 แบบไม่เติมอากาศ
<table class="MsoNormalTable" style="width: 40.0%" id="table45" width="40%" border="0" cellpadding="0"><tbody><tr style="height: 126.75pt"><td style="padding:.75pt .75pt .75pt .75pt;height:126.75pt"> http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/118/sri/growhy2_files/image002.jpg
</td></tr><tr style="height: 27.0pt"><td style="height: 27.0pt; padding: .75pt; background: yellow"> รูปภาพการปลูกแบบสารละลายไม่หมุนเวียนไม่เติมอากาศ ที่มา : ถวัลย์, 2534

</td></tr></tbody></table>

1.2 แบบเติมอากาศ โดยใช้ปั๊มลมให้ออกซิเจน เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มทดลองหรือปลูกเป็นงานอดิเรก เพราะใช้ต้นทุนต่ำ ติดตั้งง่าย สามารถใช้งานได้เร็ว และสามารถควบคุมโรคที่มาจากการไหลเวียนของน้ำได้ง่าย
<table class="MsoNormalTable" style="width: 34.0%" id="table46" width="34%" border="0" cellpadding="0"><tbody><tr style="height: 127.5pt"><td style="padding:.75pt .75pt .75pt .75pt;height:127.5pt"> http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/118/sri/growhy2_files/image003.jpg
</td></tr><tr style="height: 18.0pt"><td style="height: 18.0pt; padding: .75pt; background: yellow"> รูปภาพการปลูกแบบสารละลายไม่หมุนเวียน เติมอากาศ
ที่มา : ถวัลย์, 2534

</td></tr></tbody></table>




2. แบบสารละลายหมุนเวียน (circulating system) จุดสำคัญของระบบนี้คือ การใช้ปั๊มในการผลักดันให้สารละลายมีการไหลเวียนดีขึ้นข้อดีของระบบนี้คือ นอกจากจะมีการเพิ่มออกซิเจนให้รากพืชโดยตรงแล้ว ยังเป็นการช่วยให้้สารละลายเกิดการเคลื่อนไหวช่วยไม่ให้ธาตุอาหารตกตะกอน ทำให้ต้นพืชได้รับอาหารเต็มที่ เป็นระบบที่ใช้แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 วิธี คือ

2.1 การให้สารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง (nutrient flow technique) มีวิธีการเหมือนการปลูกพืชแช่ในลำธารเล็กๆมีน้ำตื้นๆ ที่ระดับความลึกเพียง 5-10 เซนติเมตรไหลช้าๆ ผ่านรากพืชสม่ำเสมอ <table class="MsoNormalTable" style="width: 38.0%" id="table42" width="38%" border="0" cellpadding="0"><tbody><tr><td style="padding:.75pt .75pt .75pt .75pt"> http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/118/sri/growhy3_files/image002.jpg
</td></tr><tr><td style="padding: .75pt; background: yellow"> รูปภาพการปลูกพืชแบบให้สารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : ถวัลย์, 2534

</td></tr></tbody></table>

2.2 การให้สารละลายผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ (nutrient film technique) เป็นเทคนิคที่ได้รับความสนใจอย่างมากเป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) ในลำรางปลูกพืชกว้างตั้งแต่่ 5-35 เซนติเมตร ขึ้นกับชนิดของพืชที่ปลูก ลำรางสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ความยาวของรางตั้งแต่ 5-20 เมตร แต่โดยทั่วไปไม่ควรเกิน10 เมตร เพราะจะทำให้เกิดความแตกต่างของปริมาณออกซิเจนระหว่างหัวและท้ายรางได้ รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้าขาวและดำหนา 80-200 ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป หรือทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรือ อลูมิเนียมบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย ต้นพืชจะลอยอยู่ในลำรางได้โดยใช้วัสดุห่อหุ้มต้นหรือให้รากพืชเกาะยึดกับ วัสดุรองรับรากที่สามารถดูดซับน้ำได้ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ polyurethane foam แต่สำหรับประเทศไทยการใช้วัสดุชนิดนี้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมากเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงต้องใช้วัสดุอื่นที่หาได้ในประเทศไทยแทนรางปลูกจะถูกปรับให้ลาดเทประมาณร้อยละ 2 สารละลายจะถูกปั๊มสูบน้ำจากถังเก็บสารละลาย แล้วปล่อยเป็นฟิล์มบางๆ ผ่านรากพืชด้วยความเร็วประมาณ 2 ลิตรต่อนาทีเพื่อให้รากพืชได้รับออกซิเจนเพียงพอ ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของลำรางจะมีรางนำรองรับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้แล้วไปรวมที่ถังเพื่อดูดกลับมาใช้ใหม่
<table class="MsoNormalTable" style="width: 34.0%" id="table43" width="34%" border="0" cellpadding="0"><tbody><tr style="height: 137.25pt"><td style="padding:.75pt .75pt .75pt .75pt;height:137.25pt"> http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/118/sri/growhy3_files/image004.jpg
(http://board.roigoo.com/tags/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99.html) </td></tr><tr style="height: 27.0pt"><td style="height: 27.0pt; padding: .75pt; background: yellow"> รูปภาพการปลูกพืชแบบให้สารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ
ที่มา : ถวัลย์, 2534

</td></tr></tbody></table>




ข้อดีและข้อเสียของระบบ N.F.T.
<table id="table23" width="100%" border="3"><tbody><tr><td width="231"> ข้อดี
</td><td> ข้อเสีย
</td></tr><tr><td width="231">1.ระบบการให้สารละลายแก่พืชไม่ยุ่งยาก</td><td>1.ราคาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก โดยเฉพาะถ้าใช้ขาตั้งทำจากโลหะ</td></tr><tr><td width="231">2.ทำการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคพืชต่าง ๆ ในสารละลายได้ง่าย</td><td>2.เป็นระบบที่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสที่ระบบจะเสียได้ง่าย และพืชจะถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงและรวดเร็ว</td></tr><tr><td width="231">3.เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด</td><td>3.ต้องใช้น้ำที่มีสิ่งเจือปนอยู่น้อย (สารละลายต่างๆ) ถ้ามีสิ่งเจือปนอยู่มากจะเกิดการสะสมของ เกลือบางตัวที่พืชใช้น้อยหรือไม่ดูดใช้เลยสะสมอยู่ในสารละลาย ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนสารละลายบ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลือง</td></tr><tr><td width="231">4.ไม่มีวัสดุปลูกที่ต้องกำจัด</td><td>4.มีปัญหามากเกี่ยวกับการสะสมของอุณหภูมิของสารละลาย โดยเฉพาะในเขตร้อนมีผลต่อการละลายตัวของออกซิเจนในสารละลายลดลง จะทำให้พืชอ่อนแอรากถูกทำลายโดยโรคพืชได้ง่าย การเจริญเติบโตลดลง จนถึงไม่สามารถปลูกพืชได้เลย</td></tr><tr><td width="231">5.สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ไม่เสียเวลาในการเตรียมระบบปลูก เช่นสามารถปลูกผักสลัดได้ถึง 8-10 ครั้ง/ปี</td><td>5.มีการแพร่กระจายของโรคพืชบางชนิดอย่างรวดเร็ว</td></tr></tbody></table>



วัสดุ-อุปกรณ์ 1. ภาชนะปลูก ควรเลือกภาชนะปลูกให้เหมาะกับชนิดของพืช โดยคำนวณคร่าวๆเกี่ยวกับรูปทรง และขนาดปริมาณของรากพืชแต่ละชนิด และควรเป็นภาชนะทึบแสงเพื่อที่จะไม่เก็บความร้อน อาจใช้ถังน้ำพลาสติกสีดำ หรือกล่องโฟมหุ้มด้วยพลาสติกสีดำ ซึ่งทำให้รากพืชอยู่ในที่เย็นกว่าส่วนต้น ทั้งยังช่วยลดการเกิดตะไคร่น้ำที่รากได้อีกด้วย
2.เมล็ดพันธุ์ ควรเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงประมาณ 90 % และบอกอายุของเมล็ดพันธุ์ด้วย ที่สำคัญควรสะอาดดูดซับน้ำได้ดี มีความพรุนเพื่ออากาศจะได้ไหลผ่านได้ดี
3.วัสดุรองรับต้นพืช ใช้แผ่นโฟมเนื้อแน่นละเอียด ตัดให้มีขนาดพอดีกับภาชนะที่ใช้ปลูก เจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. กะระยะห่างให้พอเหมาะกับชนิดของพืชที่ต้องการปลูก