View Full Version : การวาดภาพเหมือน วาดเหมือนวาดเป็นวาดได้วาดเร็วอ่านที่นี่


ohmohm
06-02-2012, 20:32
การวาดภาพเหมือนเป็นอะไรที่ยากที่สุดแล้วครับในการวาดภาพ ถ้าการ์ตูนต้องใช้จิตนาการแต่การวาดภาพเหมือนต้องใช้ความอดทนครับเพราะต้องนั่งต้องเล็งต้องสังเกตุโดยการวาดภาพเหมือนแทบไม่ต้องใช้จิตนาการแต่ต้องอาศัยสมาธิความแม่นยากของมือ จิตใจกับมือต้องสัมพันธ์กันและรวมกันเป็นหนัง บทความการวาดภาพเหมือนคงทำให้นายเอ็มวาดภาพคนเหมือนคนได้บ้างนะครับ

http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=1454&stc=1&d=1328535110

ตัวอย่างการวาดภาพเหมือนหล่อหล่อเห็นแล้วสาวแท้สาวเทียมกรี๊ดหมด



การวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ
สิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราที่เป็นผลมาจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ส่วนหนึ่ง ได้แก่ ถ้วยกาแฟ บ้านเรือน รถยนต์ เรือ โต๊ะ ดินสอ ยางลบ ฯลฯ และ อีกส่วนหนึ่งที่มีอยู่แล้ว คือ สภาพของธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ ภูเขา นก ปลา ทะเล สายลม แสงแดด ดอกไม้ ไส้เดือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีความผูกพันกับชีวิตคนเราตลอดมาจนเป็นปกติในการอยู่ร่วมกันตาม วิถีทางหรืวิถีชีวิตนั้น ๆ ในการทำงานบางสาขา อาจจะต้องนำรูปร่างของลักษณะของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้ กลับมาเป็นสื่อในลักษณะของรูปร่าง ให้เห็นกันเป็นภาพนิ่ง เพื่อการสร้างสรรค์ทางด้านธุรกิจ ด้านวิชาการความรู้ หรือความเพลิดเพลิน การวาดเส้นสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ทักษะฝีมือ การสังเกต การเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์งานทางด้านต่าง ๆ ด้วย
การวาดเส้นต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สิ่งที่มีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิต
การวาดเส้นทั้ง 2 นี้มีรายละเอียด รูปร่าง ขนาด เรื่องราว เกินที่จะเก็บรวบรวมเป็นรายการได้ ดังนั้นในการทำงานก็จะเลือกว่าจะใช้สิ่งไหน ทำอะไร อย่างไร และให้การวาดเส้นสร้างภาพ สิ่งนั้นส่วนนั้นขึ้นมา ซึ่งพอจะแบ่งเป็นแนวทางได้ดังนี้ คือ
1. ภาพวาดเส้นเพื่อนำไปเป็นภาพประกอบงานเขียนต่างๆ
2. ภาพวาดเส้นนำไปประกอบคำบรรยาย การอภิปราย เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจน รวดเร็วขึ้น
3. ภาพวาดเส้นนำไปใช้เป็นต้นแบบในการสร้างงานต่าง ๆ ในรูปของการลอกแบบ การดัดแปลงแบบ ซึ่งได้ทั้งย่อ ขยาย ต่อเติม และตัดต่อ
ในการวาดเส้นผู้วาดจะต้องถ่ายทอดให้ลักษณะของเส้นมีความชัดเจนชัดเจนนอกจาก จะ ฝึกพัฒนาทางด้านฝีมือแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มั่นศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกต สามรถเก็บรายละเอียดได้ดีทั่วไป และสามารถถ่ายทอดออกมาให้คนทั่วไปได้เข้าใจ
ลักษณะของภาพวาดเส้นที่ดีสามารถนำไปใช้งานได้ หรือเพื่อนำไปดัดแปลงใช้ในงานออกแบบต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบควรมีลักษณะดังนี้
1. มีรูปร่างที่สัดส่วนถูกต้อง หรือ มีความเหมือน
2. แสดงรายละเอียดชัดเจนถูกต้องเห็นแล้วเข้าใจ สาระของภาพไม่แต่งเติมเกินความเป็นจริง
3. มีการจัดภาพสิ่งของ หรือวัตถุนั้นให้ได้มุมมองที่สวยงามเสียก่อน
4. มีการศึกษาแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของสิ่งของหรือวัตถุนั้น ๆ
5. เลือกเครื่องมือในการวาดให้ไดภาพที่ขัดเจน คมชัด ง่ายในการมองและนำไปใช้
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image002.jpg
ภาพที่ 6.1 ภาพเส้นรูปนก (1)
(แสดงขั้นตอนการวาดเส้นรูปนก เริ่มจากวงกมลและเคล้าโครงเส้นก่อน แล้วกำหนดเส้น รูปร่างจริงภายหลัง)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image004.jpg
ภาพที่ 6.2 ภาพเส้นรูปนก (2)
(แสดงขั้นตอนการวาดเส้นรูปนกที่เกาะกิ่งไม้เป็นการถ่ายทอด ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ)
ภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติในรูปแบบของงานวาดเส้น
ในการวาดภาพรูปเหมือนจริงจากธรรมชาติ การได้สังเกต และจดจำลักษณะต่าง ๆ ก็จะทำให้วาดส่วนที่เป็นปลีกย่อยได้เป็นอย่างดี หรืออาจสะสมรูปภาพของสิ่งนั้น ๆ ไว้เป็นแบบอย่าง ในการฝึก เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประหยัดเวลาในการคิดหาท่าทางของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image006.jpg
ภาพที่ 6.3 ภาพเส้นรูปนก (3)
(แสดงการวาดเส้นภาพนกกางปีกบินโดยอาศัยโครงร่างก่อน แล้วลงรายระเอียด)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image008.jpg
ภาพที่ 6.4 ภาพเส้นรูปนก (4)
(แสดงการวาดเส้นภาพนกบินมากกว่าหนึ่ง ต้องอาศัยโครงร่างก่อนเพื่อได้สัดส่วนและ กลุ่มนกที่สวยงาม)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image010.jpg
ภาพที่ 6.5 ภาพเส้นรูปนก (5)
(แสดงตัวอย่างวาดเส้นภาพนกชนิดต่าง ๆ กัน)
รูปแบบวาดเส้นภาพนก
นก เป็นสัตว์ หรือ สิ่งมีชีวิตที่บินได้ มีส่วนที่ยึดกางออกได้ คือ ปีก เพื่อการบินไปมาในอากาศดังนั้นจะมีลีลาที่เคลื่อนที่ และ อยู่กับที่โดยการเกาะบนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นก็เดินบ้างบนพื้นดินหรือหลังคาบ้าน ในการวาดเส้น กิ่งไม้ ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสัตว์พวกนี้
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image012.jpg
ภาพที่ 6.6 ภาพเส้นรูปนก (6)
(แสดงตัวอย่างภาพนกที่เกาะกิ่งไม้ซึ่งเป็นท่าทางอย่างหนึ่งของการวาดเส้นภาพนก)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image014.jpg
ภาพที่ 6.7 ภาพเส้นรูปนก (7)
(แสดงตัวอย่างวาดเส้นภาพนกชนิดต่าง ๆ ในลักษณะของการบิน)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image016.jpg
ภาพที่ 6.8 ภาพเส้นรูปนก (8)
(แสดงวาดเส้นภาพนกที่แสดงรายระเอียดของขน และเน้นลักษณะของแสงเงา)
ในการวาดภาพรูปเหมือนจริงจากธรรมชาติ บางครั้งอาจต้องใช้การผสมผสานของเครื่องมือในการวาดเช่น ดินสอ ปากกา สี เพื่อให้เกิดความเหมือนจริง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน
รูปแบบของการวาดเส้นสัตว์น้ำ
สัตว์น้ำ เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตที่มีความเคลื่อนไหว มีลีลา โดยเฉพาะปลาจะมีลักษณะ โดยรวมคล้ายกัน เช่น รูปทรงมักจะแบนแนวตั้ง มีตา 2 ข้าง มีครีบ มีหาง มีเกล็ด จะแตกต่างจากนี้ก็อาจจะเป็นแนวที่มองกว้างไปอีก ในสัตว์น้ำก็แยกออกไปอีก เป็นน้ำจืด น้ำเค็ม ซึ่งนอกจากปลาก็เป็นปะการัง หอย กุ้ง เต่า ฯลฯ ซึ่งมีรูปแบบที่เป็นแนวทางในการวาดเส้นดังนี้
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image018.jpg
ภาพที่ 6.9 ภาพเส้นรูปปลา (1)(แสดงขั้นตอน และโครงสร้าง การวาดเส้นภาพปลา)
มีข้อที่น่าสังเกตว่า โดยทั่วไปมักจะนิยมวาดภาพปลาในลักษณะของด้านข้าง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าภาพด้านข้างเป็นลักษณะเด่นของรูปร่าง ของปลา และมีความชัดเจนในการถ่ายทอด
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image020.jpg
ภาพที่ 6.10 ภาพเส้นรูปปลา (2)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาโดยอาศัยโครงร่างก่อนแล้วลงรายละเอียด)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image022.jpg
ภาพที่ 6.11 ภาพเส้นรูปปลา (3)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image024.jpg
ภาพที่ 6.12 ภาพเส้นรูปปลา (4)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image026.jpg
ภาพที่ 6.13 ภาพเส้นรูปปลา (5)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)

http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image028.jpg
ภาพที่ 6.14 ภาพเส้นรูปปลา (6)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image030.jpg
ภาพที่ 6.15 ภาพเส้นรูปปลา (7)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ ทั้งน้ำจืด และน้ำทะเล)

http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image032.jpg
ภาพที่ 6.16 ภาพเส้นรูปปลา (8)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image034.jpg
ภาพที่ 6.17 ภาพเส้นรูปปลา (9)
(แสดงภาพวาดเส้นปลาในลักษณะของการถ่ายทอดให้มีรายระเอียดมากขึ้น)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image036.jpg
ภาพที่ 6.18 ภาพเส้นสัตว์น้ำ
(แสดงภาพวาดเส้นสัตว์น้ำทั่ว ๆ ไป)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image038.jpg


ภาพที่ 6.19 ภาพเส้นหอยทะเล
(แสดงภาพวาดเส้นหอยทะเลชนิดต่าง ๆ)
สัตว์น้ำจำพวกหอย โดยปกติจะไม่ค่อยได้เห็นตัว จะเห็นลักษณะของเปลือกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดรูปร่างของการวาดเส้น
วาดเส้นดอกไม้
ดอกไม้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของความสวยงาม ทั้งรูปร่าง สีสัน กลิ่นหอม และมีจำนวนมาก สามารถนำมาเลือกประกอบงานต่าง ๆ ได้หลากหลาย ในการศึกษาก่อนการนำมาเส้นมีตั้งแต่ขั้นง่ายสุด คือ วาดจากรูปดอกไม้ที่มีอยู่แล้ว จากรูปในหนังสือทั่วไปซึ่งจะได้ในลักษณะที่หนังสือให้มา แต่ถ้าให้ได้มุมภาพดังใจก็ต้องไปถ่ายภาพดอกไม้จากมุมนั้นมาแล้วนำมาวาด หรือ เอาของจริงมาแล้ววาด แต้ถ้าให้ได้รายละเอียดและศึกษาอย่างจริงจังก็ต้องเอาของจริงมา และ แยกแยะชิ้นส่วนต่างๆ ทุกชิ้นเพื่อให้ได้ผลงานที่ละเอียด ชัดเจนอย่างจริงจัง
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image040.jpg
ภาพที่ 6.20 ภาพเส้นดอกไม้ (1)
(แสดงรูปแบบวาดเส้นดอกไม้ชนิดต่าง ๆ)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image042.jpg
ภาพที่ 6.21 ภาพเส้นดอกไม้ (2)
(แสดงรูปแบบวาดเส้นดอกไม้ที่มีความซับซ้อนของกลีบชนิดต่าง ๆ)
รูปแบบของดอกไม้ในการวาดเส้นจะต้องมีส่วนต่างๆ ประกอบ เพื่อความสมบรูณ์แบบของพืช ดังนั้นจะต้องมีส่วนของ กิ่ง ก้าน ใบ และส่วนที่เป็นดอกก็ควรมีการถ่ายทอดทั้งดอกตูม ดอกอ่อน ดอกบาน ซึ่งอาจจะอยู่ในลักษณะของการจัดภาพ Foreground Middle ground และ Background เข้ามาช่วย
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image044.jpg

ภาพที่ 6.22 ภาพเส้นดอกไม้ (3)
(แสดงวาดเส้นดอกไม้ในลักษณะของการถ่ายทอด ในรูปแบบที่เป็น ช่อ มีทั้งดอกตูม ดอกบาน และดอกเดี่ยว ที่มีก้านใบ ซึ่งเป็นธรรมชาติของพืชอยู่แล้ว)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image046.jpg

ภาพที่ 6.23 ภาพเส้นดอกไม้ (4)
(แสดงภาพวาดเส้นดอกบัว และรูปแบบของใบลักษณะต่าง ๆ)
การวาดเส้นเพื่อให้ได้ภาพเหมือนจริง จากธรรมชาติ อาจทำได้หลายวิธีการ เช่น
1.ได้มาจากหนังสือต่าง ๆ ที่เห็นว่าภาพนั้นสวยงาม ส่วนใหญ่จะเป็นภาพถ่ายก็นำมาเป็นแบบอย่างแล้ววาดเป็นลายเส้นที่เรียบง่าย แสดงราละเอียดชัดเจน




<table width="600" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" align="center">http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image051.jpg</td> <td valign="middle" width="100" align="center">http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image049.gif</td> <td valign="top" align="center">http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image048.jpg</td> </tr> </tbody></table>
ภาพที่ 6.24 ภาพเส้นดอกไม้ (5)
(แสดงดอกแคแสดที่ถ่ายจากกล้องถ่ายรูปมาแยก เพื่อการศึกษารูปร่างในการนำมาวาดเส้น)
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image053.jpg




ภาพที่ 6.25 ภาพเส้นดอกไม้ (6)
(แสดงภาพวาดเส้นดอกแคแสดด้วยปากกา มีทั้งลายเส้น ผสมงานจุด)
2. ได้มาจากภาพวาดเส้นที่เขาวาดได้แล้ว แล้วนำมาดัดแปลงใหม่เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน วิธีนี้ค่อยข้างสะดวก ง่าย รวดเร็ว
3. วาดเส้นจากการไปนั่งวาด หรือยืนวาดจากของจริง เช่น เก็บดอกไม้มาแล้ววาดให้เหมือนจริงมากที่สุด
4. วาดภาพสิ่งของนั้นจากการไปถ่ายรูป ซึ่งเป็นการเลือกมุมมองที่จัดว่าดีแล้วในขั้นแรก ซึ่งจะได้แบบที่เป็นภาพนิ่ง แล้วนำรูปที่ถ่ายมาวาดเป็นลายเส้นชัดเจนใหม่
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image055.jpg




ภาพที่ 6.26 แบบภาพนิ่งที่เป็นต้นแบบ
(แสดงสภาพของไร่และผลสับปะรดในการออกไปศึกษาถ่ายภาพเพื่อนำมาประกอบการวาดเส้น)
<table width="600" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="middle" align="center">http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image059.jpg</td> <td valign="middle" width="100" align="center">http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image060.gif</td> <td valign="middle" align="center">http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image057.jpg</td> </tr> </tbody></table>
ภาพที่ 6.27 ภาพวาดเส้นผลสับปะรดจากภาพต้นแบบ
(แสดงผลสับปะรดจากการถ่ายแล้วนำมาวาดเป็นภาพลายเส้นแสดงให้เห็นรายละเอียดเรียบง่าย มีความชัดเจน ของลายตา และใบ)
จะเห็นได้ว่าภาพวาดเส้นนั้นมีความยากง่าย คุณภาพและค่าที่ต่างกัน ในวิธีที่ 3 กับ 4 จะได้ ผลงานวาดเส้นที่มีมุมมองใหม่ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่ควรฝึกปฏิบัติ เป็นผลงานที่ไม่ได้อยู่ในลักษณะที่ลอกแบบซึ่งได้ภาพที่ถ่ายทอดซ้ำกัน
วาดเส้นวัตถุสิ่งของทั่วไป
สิ่งที่ไม่มีชีวิตแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง ขึ้นที่นำมาใช้เป็นแบบอย่าง เป็นภาพประกอบ หรือ นำไปดัดแปลงในงานออกแบบต่าง ๆ สิ่งของพวกนี้ก็เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวทั่วไป ได้แก่ จำพวก ยานพาหนะ ของใช้ประจำตัว ประจำวัน ฯลฯ ซึ่งมีโครงสร้างในการวาดเส้นนั้นง่ายไม่ซับซ้อน จนกระทั่งแสดงรายละเอียด ครบถ้วนชัดเจน ที่ต้องใช้เครื่องมือหลากหลายในการวาดขึ้นมา ดังนั้นบางอย่างเราสามารถศึกษา และฝึกจากของจริงได้





http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image062.jpg

ภาพที่ 6.28 ภาพวาดเส้นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
(แสดงภาพวาดเส้น รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ ที่ใช้ลักษณะของการระบายเข้มดำในส่วน ของที่เป็นเงาเป็นการช่วยเน้น ภาพวิธีหนึ่ง)




http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image064.jpg
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image068.jpghttp://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image066.jpg
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image072.jpghttp://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/UNIT-06%20IMAGE/image070.jpg


ภาพที่ 6.29 ภาพวาดเส้นสิ่งของที่เห็นทั่วไป
(แสดงภาพวาดเส้นสิ่งของที่เห็นทั่วไป ที่ใช้ลักษณะของการระบายเข้มเน้นแสงเงา ทั้งตัดกัน และกลมกลืน)
ในเบื้องต้นในการฝึกเขียนสิ่งของต่างๆ อาจใช้วิธีการลอกแบบจากงานวาดเส้นที่มีอยู่แล้ว แต่ต้องควบคู่ไปกับการใช้ความคิดและการสังเกต การจัดวางมุมหรือองค์ประกอบของภาพนั้น ๆ ไปด้วย แล้วฝึกจัดภาพมุมมองขึ้นใหม่จะได้เป็นการปฏิบัติที่จะได้ทั้งทักษะฝีมือ และพัฒนาความสามารถทางความคิด สติปัญญาเป็นของตัวเอง เพราะในอนาคตถึงแม้โปรแกรมกราฟฟิกทางคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในการสร้าง ภาพได้อย่างรวดเร็ว แต่ความคิดฝีมือเบื้องต้นก็ยังต้องเป็นผู้มีฝีมือกำหนดให้มาก่อน และทักษะฝีมือของมนุษย์เท่านั้นที่จะถ่ายทอดภาพทุกความต้องการ ทุกจิตนาการได้ ไม่ว่าจิตนาการนั้นจะล้ำลึก กว้างไกล พิสดารอย่างไร ก็ไม่พ้นสติปัญญาที่สัมพันธ์กันกับทักษะ ฝีมือวาดเส้นของมนุษย์ได้
สรุป
ลักษณะการวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ เพื่อนำไปในงานออกแบบ หรือ ไปประยุกต์ใช้งาน ลักษณะของการถ่ายทอดต้องมีความเรียบง่าย ชัดเจน แสดงรายละเอียดสมบรูณ์ถูกต้องของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นสิ่งมีชีวิตพวก นก ปลา พืช และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันในการใช้สอย และมีการพัฒนาสิ่งของเหล่านี้ต่อไปในงานออกแบบ ลักษณะของการวาดเส้นจะยึดภาพร่างเค้าโครงอย่างนั้นของ เส้น รูปวงกลม รูปเหลี่ยม เป็นการ จัดรูปร่าง เพื่อสะดวกในการเน้นภาพเหมือนจริง

chaskinny
07-02-2012, 00:44
เหยดดดด มันเป้นอะไรที่ ขิงสำหรับผมมากแมร่ง

บุญกึ่ม
07-02-2012, 05:04
ขอบคุณครับ
สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนสายนี้มาอย่างผม รูปเหมือนนี่มันเป็นเหมือนกำแพงสูงลิบที่ไม่มีปัญญาข้ามเลยละครับ

ohmohm
07-02-2012, 08:57
ใช่เลยครับพอขึ้นต้นว่าภาพเหมือนปุ๊ปสมองมันก็ไม่รับซะงั้นแหละ เหอะๆ