View Full Version : ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสะท้อนในนิทานพื้นบ้านภาคใต้เรื่องตากใบ


ChangNoi and Light
24-02-2012, 10:58
นิทานพื้นบ้านภาคใต้เรื่องตากใบเป็นการแสดงความสัมพันธ์ในด้านการค้าขายระหว่างชายไทยมลายูกับชาวจีนที่ได้ล่องเรือมาขายถ้วยชามต่างๆ นิทานพื้นบ้านภาคใต้จะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการค้าขายในสมัยก่อนต้องใช้เวลาและมีความอันตรายมากกว่าสมัยนี้มากมายหลายเท่า นิทานพื้นบ้านภาคใต้เรื่องตากใบสะท้อนให้เราเห็นว่าภาคใต้ของบ้านเรามีความเจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว


http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=1784&stc=1&d=1330055901 (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.html)



ตากใบ

นิทานเรื่องนี้มีผู้บันทึกไว้ในหนังสือของจังหวัด นราธิวาส ไว้ดังนี้

.?เมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว ในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีพ่อค้าจีนคนหนึ่งล่องเรือสำเภามาจากประเทศจีน เพื่อไปขายสินค้ายังแหลมมลายู ในเรือสำเภานั้นได้บรรทุกสินค้า เครื่องปั้นดินเผามาเต็มลำเรือ เช่น เครื่องลายคราม ชามเบญจรงค์ โอ่ง ไห ลายมังกร เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีลวดลายสีสันงดงามมาก

วันหนึ่งขณะที่เรือสำเภาแล่นอยุ่กลางทะเลใกล้ปากอ่าวทางตอนใต้ของไทย ได้บังเกิดลมพายุ คลื่นลมแรงจัดมาก จนในที่สุดเรือกำลังจะจม พ่อค้าจีนจึงได้สั่งให้ปลดใบเรือลง จากนั้นเรือค่อย ๆ จมลงในท้องทะเล

พ่อค้าจีน ไต้ก๋ง พร้อมลุกเรือทุกคนได้พยายามช่วยเหลือตัวเองจนสามารถขึ้นเกาะที่อุดมสมบุรณ์แห่งหนึ่งได้ทุกคน เมื่อคลื่นลมสงบ ทุกคนจึงพากันไปกู้เรือและนำสินค้าขึ้นฝั่งได้สำเร็จ จากนั้นจึงเอาใบเรือเสื้อผ้า ขึ้นไปตากตามต้นไม้และกิ่งไม้

มีแขกมลายูคนหนึ่งมีอาชีพตัดไม้ไปขาย ได้มาตัดไม้ใกล้บริเวณที่พ่อค้าจีนตากใบเรือและเสื้อผ้า เมื่อเห็นสิ่งเหล่านั้น แขกมลายูจึงคิดที่จะขดมย จึงไปตัดต้นไม้ที่มีเสื้อผ้าตากอยู่ แต่พ่อค้าจีนและลูกเรือกลับมาเห็นเสียก่อนจึงร้องตะโกนขึ้นว่า เจ๊ะ?.เฮ้ ๆ ๆ ๆ เอาเสื้อผ้าอั้วคืนมา แขกมลายูตกใจมาก จึงกล่าวขอโทษและรักปากว่าจะไม่ทำอย่างนี้อีก พ่อค้าจีนและลูกเรือทั้งหมดจึงยกโทษให้ และได้อาศัยทำมาหากินบนเกาะนี้อย่างมีความสุข


http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=1785&stc=1&d=1330055901 (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.html)


ต่อมาได้มีพ่อค้าสำเภาาจีนลำอื่นล่องเรือมาค้าขายบนเกาะนี้มากขึ้น สินค้าส่วนใหญ่ที่นำมาขายมีชามเบญจรงคฺ์ โอ่ง ไหลายมังกร เครื่องลายคราม จนทำให้ชาวเกาะแห่งนี้มีเครื่องใช้เหล่านี้ทุกครัวเรือน นับเป็นการนำศิลปะ ประติมากรรมมาเผยแพร่ในประเทศไทย จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งสามารถไปชมได้ที่วัดชลธาราสิงเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส?

ขอย้ำว่าที่คัดมาเป็นนิทานของชาวบ้านที่นราธิวาส ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างคนมลายูพื้นเมืองกับพ่อค้าจีน ที่มาจากทางทะเลตรงตามสภาพภูมิศาสตร์จริงๆ