View Full Version : คำนำรายงาน ตัวอย่างคำนำรายงาน


M150
24-02-2012, 22:07
น้องๆ หลายคนคงจะเคยทำรายงานมาแล้ว ส่วนประกอบของรายงานแบบง่ายๆ เห็นจะมี หน้าปก คำนำ สารบัญ เนื้อหา และ บรรณานุกรม ในส่วนที่ยากที่สุดรองจากเนื้อหา ก็คงจะเป็นส่วนคำนำ เพราะคำนำคืออะไรที่จะต้องบรรยายและสรุปว่าเหตุใดเราจึงทำรายงานเล่มนี้ออกมา โดยหากเป็นหนังสือที่วางขาย คำนำจะเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะผู้อ่านก่อนที่จะตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มไหน ก็จะอ่านคำนำแล้วตัดสินใจว่า เนื้อหาภายในเล่มตรงใจไหม และ น่าอ่านไหม ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมครับว่าแค่เพียงคำนำก็มีส่วนต่อการอ่านในหน้าต่อๆ ไปของผู้อ่านขนาดนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะในรายงานหรือในหนังสือ คำนำคือสิ่งที่ทรงพลังเสมอ เพราะมันเสมือนการเกริ่นนำหรือบิ้วอารมณ์ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวเนื้อหาจริงๆ เราลองมาดูตัวอย่างคำนำรายงานกันนะครับว่ามีวิธีการเขียนแบบไหนอย่างไรกันบ้าง


http://board.roigoo.com/attachments/1791d1330096049-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3.jpg (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87.html)



คํานำรายงาน ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ รายงาน ทุกเล่ม การเขียนคํานํา และ ตัวอย่างคํานํา. การเขียนคํานํา และ ตัวอย่างคํานํา. เป็นการเขียนเพื่อบอกความเป็นมา ตัวอย่างคํานํา มีเทคยิคการเขียนอย่างไร การเขียนคำนำ เป็นการเขียนเพื่อบอกความเป็นมา การเขียนคํานํารายงานที่ถูกวิธี ขอตัวอย่างการเขียนคำนำรายงาน ตัวอย่างคํานํารายงาน สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ต้องการทราบวิธีการ และองค์ประกอบของการเขียนคำนำที่ดี ว่าควรจะเขียนอย่างไร ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง ที่ดิฉันต้องการทราบนี้เพราะจะนำมาใช้ในการเขียนรายงานงานวิจัยทางสถิติ ขอรบกวนท่านผู้รู้ช่วยกรุณาอธิบายรายละเอียดให้ด้วยค่ะ หรือถ้าจะแนะนำเอกสารที่ต้องการให้ไปศึกษาเพิ่มเติม ก็ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะการเขียนคำนำ ตัวอย่างคำนำ หลักสำคัญของการเขียนคำนำให้ดีนั้นต้องมีอุบายหรือวิธีการชักชวน ให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ คำนำที่ดีคนอ่านจะติดตามเรื่องของเราโดยตลอด ถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่านแต่ตอนต้น ต้องก่อความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด

ตัวอย่างคํานํา ที่ 1

รายงานการประเมินตนเอง Self - Assessment Report : SAR ของวิทยาลัยการอาชีพปราสาทประจำปี การศึกษา 2552 เล่มนี้ เป็นรายงานผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา จำนวน 7 มาตรฐาน 43 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของวิทยาลัยการอาชีพปราสาท ที่จะจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช. ) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ) ให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
ขอขอบคุณ คณะกรรมการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง และผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำ เอกสารเล่มนี้จนสำเร็จลุล่วง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา ชุมชน และแหล่งการศึกษาอื่นๆ เพื่อนำไปพัฒนาสถานศึกษาให้เจริญยิ่งขึ้น จนเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม จนสำเร็จตามภารกิจของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อไป

ตัวอย่างคํานํา ที่ 2

คำนำรายงานฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพครู ตามที่โรงเรียนได้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาตามแนวทางแห่งงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปครูหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อมุ่งพัฒนาความสามารถของนักเรียนผู้วิจัยได้จัดทำการศึกษาค้นคว้าและจัดกิจกรรมหลากหลายโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญเพื่อฝึกทักษะการพูด ฟัง อ่าน และเขียน เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพ ดังนั้นรายงานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยให้เพื่อนช่วยสอนกับที่เรียนโดยครูผู้สอนผู้ทำวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้ที่สนใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ตัวอย่างคํานํา ที่ 3

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ท ๕๐๔ ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องลิลิตะเลงพ่าย ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้จากตำราพิชัยสงคราม การจัดทัพ การตั้งทัพ การเคลื่อนทัพ กลศึกต่าง ๆ โหราศาสตร์ในการทำสงคราม ตลอดจนการประยุกต์ใช้ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการรบของพระองค์ ผู้จัดทำได้เลือก หัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นการเทิดพระเกียรติวีรกษัตริย์ไทย และ ความฉลาดของบรรพบุรุษ ผู้จัดทำจะต้องขอขอบคุณ อ.บุญเรือน รัฐวิเศษ ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึกษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน

ตัวอย่างคํานํา ที่ 4

การจัดทำคู่มือ การเขียนรายงานการวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเสนอรายงานการวิจัยได้มีมาตรฐานเดียวกันสำหรับโครงการวิจัยทุกเรื่องที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อนักวิจัยในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการนำเสนอผลที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ทั้งจะทำให้ผู้มาศึกษารายงานการวิจัย ได้เข้าใจระบบการอ้างอิง การสืบค้นที่เป็นแบบมาตรฐานเดียวกันทำให้การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์มีความสะดวกและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ใคร่ขอขอบคุณศาสตราจารย์ ดร. สมบัติธำรงธัญวงศ์ ที่ได้ให้คำแนะนำเบื้องต้น ขอขอบคุณสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้มอบคู่มือการนำเสนอรายงานการวิจัยของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำ และขอขอบคุณสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งค้นคว้าและอ้างอิง เพื่อการจัดทำคู่มือฉบับนี้
สำนักงาน ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัย ในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อความพร้อมในการนำเสนอผลงานวิจัยที่สมบูรณ์และถูกต้องต่อไป


สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำได้แก่

1.อย่าเอาประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเป็นคำนำ
2.อย่าอธิบายฟุ้งซ่านจนไม่มีจุดหมายของเรื่อง
3.อย่าขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร


คำนำที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

1.เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
2.เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง
3.เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
4.เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง
5.เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
6.เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
7.เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
8.เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
ดังนั้นคำนำที่ดีต้องเป็นความคิดใหม่ ความคิดแปลก หรือความคิดสนุก ต้องมีลักษณะนำ หรือเชิญชวนให้ผู้อ่าน อ่านเรื่องของเราให้จบให้ได้ คำนำจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้นอ่านเรื่อง และดึงดูดใจให้อ่านเรื่องไปตลอด

ที่มา ราชบัณฑิตยสถาน