View Full Version : วันมาฆบูชามาวัดสระเกศกันค่ะ มารู้ถึงความสำคัญของประวัติวันมาฆบูชา(กิจกรรมดีดี)


JigSaW
05-03-2012, 20:18
เห็นกรุงเทพเค้าโฆษณากันว่าจะจัดงานวันมาฆบูชากันใหญ่โตที่วัดวัดสระเกศค่ะ โดยมีกิจกรรมเยอะเยอะในนั้น ใครอยู่แถวนั้นก็เข้าไปร่วมงานกันได้เลยนะค่ะ แถมยังงานยังมีบอกถึงประวัติวันมาฆบูชาแบบเป็นนิทรรศการด้วย โดยงานวันมาฆบูชาก็จัดกันจนถึงวันที่ 7 นั้นแหละค่ะ อันที่จริงเค้าจัดกันมาหลายวันแล้ว ใครอยู่ในกรุงเทพก็ลองเดินทางไปดูค่ะ วันมาฆบูชาเค้าหยุดงานกันอย่าบอกว่าไม่ว่างนะค่ะ

http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=1977&stc=1&d=1330953731



บรรยากาศงานวันมาฆบูชาที่วัดสระเกศค่ะ

http://www.thannews.th.com/images/stories/article2012/2719/cyy12.jpg



สำนัก งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมแห่งสถาบัน ชาติ พระศาสนาและพระมหากษัตริย์จัดงานวันมาฆบูชา ๒๕๕๕ เพื่อเฉลิมฉลอง ?พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า?

หรือเรียกว่า ?พุทธชยันตี? อันเป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้น ระหว่างวันที่ ๕-๗ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร โดยมีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาและคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนและพุทธ ศาสนิกชนมากมาย

http://www.thannews.th.com/images/stories/article2012/2719/cyy13.jpg


นาย นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า งานเฉลิมฉลอง ?พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า? ถือเป็นวาระสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก ในประเทศต่างๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา ๓ ปี (๒๕๕๓-๒๕๕๕) ดังเช่นในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดีย เป็นต้น ก็ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัวและยิ่งใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ก็ได้มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของวาระพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเห็นชอบตามมติของมหาเถรสมาคมที่จะให้ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นปีแห่งการฉลองพุทธชยันตี โดยกำหนดให้จัดกิจกรรมเป็นพิเศษ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๓ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬบูชา โดยจะเริ่มพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ในวันมาฆบูชานี้ รัฐบาลใคร่ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ด้วยการระลึก ถึงพระคุณแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และน้อมนำพระธรรมคำสั่งสอนมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ร่วมกันทำบุญและปฏิบัติบูชาตามแนววิถีพุทธ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสพระชนมายุครบ ๘๕ พรรษา และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติสืบไป

http://www.thannews.th.com/images/stories/article2012/2719/cyy14.jpg


นาย นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า วันมาฆบูชา ที่จะเวียนมาถึงในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันเนื่องจากเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง ?โอวาทปาติโมกข์? แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรกหลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา ๙ เดือน ดังนั้น วันมาฆบูชาปีนี้นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญทางศาสนาที่ยึดถือปฏิบัติกันมาทุก ปี ยังเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ ๒,๖๐๐ปี ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ธรรม วันมาฆบูชาถือเป็นวันแห่งพระธรรม จึงเป็นวาระสำคัญพุทธศาสนิกชนได้ยึดหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามหลัก เนื้อหาที่ว่า ?ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจ ให้บริสุทธิ์? เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ จึงนับเป็นปีแห่งการปฏิบัติบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ การจัดงานวันมาฆบูชา ๒๕๕๕ ในปีนี้ถือเป็นการเฉลิมฉลอง ?พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า?





โดยวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป วันที่ ๕-๗ มีนาคม ๒๕๕๕ เช่น การปล่อยขบวนรถบุพชาติประชาสัมพันธ์งานมาฆบูชา การประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยสรภัญญะ การประกวดร้องเพลงส่งเสริมศีลธรรม การประกวดตอบปัญหาธรรม การประกวดนิทานคุณธรรม การประกวดหนังสั้นส่งเสริมคุณธรรม การเจริญพระพุทธมนต์ปาฏิโมกข์ การเวียนเทียน สักการะพระบรมสารีริกธาตุ การเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศลฯ และการสาธยายธรรม ธรรมทัศนา เนื่องในพุทธวาระมาฆบูชา ๒๕๕๕ ในรูปแบบของสื่อผสมที่จะทำให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าใจถึงที่มาความหมายและความ สำคัญของพุทธชยันตีอย่างแท้จริง สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในงานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวัน มาฆบูชา ณ พุทธมณฑล ในวันที่ ๓-๗ มีนาคม ๒๕๕๕ มีกิจกรรมที่เน้นการปฎิบัติบูชาต่างๆ เช่นการปฏิบัติธรรม กิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพิธีเวียนเทียน พิธีเจริญพระพุทธมนต์เสริมสร้างความเป็นสิริมงคล การประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชาและโคมแขวน วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๗.๓๐ น. ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป เวลา ๑๖.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ประกอบพิธีเวียนเทียนที่ลานองค์พระประธานพุทธมณฑล เป็นต้น

พระพรหมสิทธิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กล่าวว่า พุทธชยันตีเป็นวาระที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาพุทธชยันตี โดยรากศัพท์ของคำว่าชยันตีมาจากคำว่า ?ชย? คือชัยชนะ อันหมายถึง ชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก ?พุทธชยันตี? จึงมีความหมายว่าเป็นการตรัสรู้ และการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึงชัยชนะของพุทธศาสนาและชาว พุทธด้วย ส่วนวันมาฆบูชา ซึ่งถือว่าเป็นวันพระใหญ่ที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเช่นกันคือเป็นที่ ตรงกับ ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ซึ่งในปีนี้คือวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ มีพระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖ พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายการประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเอง

วันมาฆบูชานี้ถือเป็นวันแห่งพระธรรม พุทธศาสนิกชนจึงควรปฏิบัติบูชาด้วยการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนและนำไปปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์ ความสุขและสิริมงคลแก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมสืบไปและการเฉลิมฉลอง ?พุทธยันตี ๒,๖๐๐ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า? นั้นพุทธศาสนิกชนควรได้ศึกษาและเข้าใจถึงที่มาแห่งความหมายและความสำคัญของ พุทธชยันตีอย่างแท้จริง ปฏิบัติบูชาด้วยการทำจิตใจให้สูงขึ้นตระหนักรู้ละอายชั่วกลัวบาป และใฝ่กุศล ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา การปฏิบัติบูชาตามแนววิถีพุทธของคนไทย จึงถือเป็นแบบอย่างสำคัญที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติ การสืบสานและปกป้องพระศาสนาถือเป็นการจรรโลงพระศาสนาให้คงอยู่สืบไป



ประวัติการถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่างๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่ นั้นๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง

ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา

นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย


โดยมีกิจกรรมส่งเสริมศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ตามฐานต่างๆ ตลอดวัน คือ

ฐานที่ ๑ ฐานสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ

ฐานที่ ๒ ฐานตอบปัญหาธรรมะ (บิงโกธรรมะ)

ฐานที่ ๓ ฐานแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

ฐานที่ ๔ ฐานละครธรรมะ / บรรยายธรรม / วาดภาพ

ฐานที่ ๕ ฐานประกวดร้องเพลงส่งเสริมศีลธรรม

- การออกร้านจำหน่ายหนังสือธรรมะ / สื่อธรรมะ ราคาถูก

- การเจริญจิตตภาวนา นั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ไหว้พระ

ภายในพระอุโบสถ, พระวิหารพระอัฏฐารสฯ,พระวิหารหลวงพ่อโต, พระวิหารหลวงพ่อดำและ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ บนบรมบรรพต











ประวัติวันมาฆาบูชาค่ะ(อันนี้แถม)


วัน มาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิด ขึ้นเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่าม กลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน ๔ ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง ๑,๒๕๐ รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรง อภิญญา ๖, และ วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลใน วันเพ็ญเดือน ๓ ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
นอก จากนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วย งานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชาในพุทธประวัติ
ความสำคัญ

"วัน มาฆบูชา" เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์แก่มหาสังฆ สันนิบาตในมณฑลวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งในวันนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๔ ประการคือ
๑. พระ สงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
๒. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา ๖ ข้อ
๔. วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓)
ด้วย เหตุการณ์ประจวบกับ ๔ อย่าง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จาตุรงคสันนิบาต (มาจากศัพท์บาลี จตุ+องฺค+สนฺนิปาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ) โดยประชุมกัน ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน (๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช)
มูลเหตุ

มี ผู้กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสาวกทั้ง ๑,๒๕๐ องค์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย มาจากในวันเพ็ญเดือน ๓ ตามคติพราหมณ์ เป็นวันพิธีศิวาราตรี พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัว กันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์ มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน
หลัง จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และได้ทรงประกาศพระศาสนาและส่งพระอรหันตสาวกออกไปจาริกเพื่อเผยแพร่พระพุทธ ศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ล่วงแล้วได้ ๙ เดือน ในวันที่ใกล้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓) พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นต่างได้ระลึกว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาของตนอยู่เดิม ก่อนที่จะหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และในลัทธิศาสนาเดิมนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยมนับถือกันว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี โดยจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ แต่มาบัดนี้ตนได้เลิกลัทธิเดิมหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงควรเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชาฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เหล่านั้นซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม จึงพร้อมใจกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
จาตุรงคสันนิบาต

โดย พระอรหันต์ทั้งหลายนั้นต่างไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ อันเป็นที่ประทับ โดยมีคณะทั้ง ๔ คือ คณะศิษย์ของชฎิล ๓ พี่น้อง คือ คณะพระอุรุเวลกัสสปะ (มีศิษย์ ๕๐๐ องค์) คณะพระนทีกัสสปะ (มีศิษย์ ๓๐๐ องค์) คณะพระคยากัสสปะ (มีศิษย์ ๒๐๐ องค์) และคณะของพระอัครสาวกคือคณะพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ (มีศิษย์ ๒๕๐ องค์) รวมนับจำนวนได้ ๑,๒๕๐ รูป (จำนวนนี้ไม่ได้นับรวมชฎิล ๓ พี่น้อง และพระอัครสาวกทั้งสอง

การ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันมาฆฤกษ์นี้ เป็นไปโดยมิได้มีการนัดหมาย และเป็นการเข้าประชุมของพระอรหันต์จำนวนมากเป็นมหาสังฆสันนิบาต และประกอบด้วย "องค์ประกอบอัศจรรย์ ๔ ประการ" คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง ๑,๒๕๐ องค์นั้น ได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นพระสงฆ์ได้รับการอุปสมบทจาก พระพุทธเจ้าโดยตรง , พระ สงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ดังกล่าวแล้ว
ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์

พระ พุทธเจ้าเมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆสันนิบาตอันประกอบไปด้วยเหตุอัศจรรย์ ดังกล่าว จึงทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" อันเป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่า นั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันตสาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้
* พระพุทธพจน์คาถาแรกทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่าเป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ดังพระบาลีว่า "นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา"
* พระพุทธพจน์คาถาที่สองทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธ บริษัททั้ง ปวงโดยย่อ" คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น
* ส่วนพระพุทธพจน์คาถาสุดท้าย ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา ๖ ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร, การไม่ทำร้ายใคร , การมีความสำรวมในปาฏิโมกข์ทั้งหลาย, การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร และการรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด