View Full Version : วันการบินแห่งชาติ 13 มกราคม วันแห่งความภูมิใจของนักบิน


poohba
18-06-2012, 08:06
วันการบินแห่งชาติ 13 มกราคม วันแห่งความภูมิใจของนักบิน
ทุกประเทศล้วนมีเครื่องบิน มีทั้งเครื่องบินการพาณิชย์และเครื่องบินใช้รบ ไม่ว่าเป็นเมื่อก่อนหรือสมัยนี้ การมีเครื่องบินไว้ใช้ในประเทศ ทั้งการท่องเที่ยวก็ดี การสำรวจสิ่งต่างๆ ก็ดี ตลอดจนการศึกสงครามก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ ช่วยย่นระยะทางมากโข การมีวันเครื่องบินแห่งชาติ ก็ถือเป็นเรื่องดี วันนี้ สถานที่เกี่ยวกับการบิน เขาก็จัดให้มีนิทรรศการอากาศยาน อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และผลงานการบินแสดงถึงประวัติการริเริ่มสถาปนากิจการบินขึ้นในประเทศไทยจากการบินทหารจนส่งผลให้ พัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบัน ซึ่งถ้าใครสนใจก็ไปติดตามชมกันได้นะค้าบ

http://board.roigoo.com/members/ohmohm-albums-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D+24513-picture4621-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D2.jpg (http://board.roigoo.com/members/ohmohm-albums-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D+24513-picture4621-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D2.html)





ในปี พ.ศ. 2454 ( 1911 ) ได้มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินแบบอองรีฟาร์มังมาแสดงการบินในประเทศไทย หลังการแสดงการบินของชาวต่างประเทศในปีเดียวกัน จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ (เสนาธิการ ทหารบก) ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบิน ที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ หลังนำความขึ้นกราบบังคมทูลกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้นายทหารนักบินจำนวน 3 นาย ได้แก่

นายพันโท หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ
นายพันตรี หลวงอาวุธสิธกร
นายร้อยเอกหลวงทยาน พิมาฎhttp://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=3500&stc=1&d=1339983046 (http://board.roigoo.com/tags/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4.html)


ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยในระหว่างที่นายทหารนักบินศึกษา วิชาการบินอยู่นั้น กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 8 ลำ หลังนายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย สำเร็จการศึกษาได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อม เครื่องบินจำนวน 8 ลำ ที่กระทรวงกลาโหมสั่งซื้อ เมื่อเครื่องบินถึงประเทศไทย นายทหารนักบินทั้ง 3 นาย ได้ ทดลองเครื่องบินครั้งแรกในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2456 หลังจากนั้นในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 (ขณะนั้นประเทศไทยนับ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึงปี พ.ศ. 2483) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแสดงการบินครั้งแรกของประเทศ โดยนายทหาร นักบินไทยจำนวน 3 นาย ที่สำเร็จ การศึกษาวิชาการบินจากประเทศฝรั่งเศสและ ใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของชาติไทยบิน ถวายหน้าพระที่นั่ง ซึ่งขณะนั้นประเทศไทย ได้เริ่มจัดตั้งแผนกการบิน โดยมีสนามบินและ โรงเก็บเครื่องบินที่สนามม้าสระปทุม นับเป็นการริเริ่มกิจการบินของประเทศไทย

จากเหตุการณ์ดังกล่าวมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อกิจการบินของชาติ จึงได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติคณะรัฐมนตรีได้เห็น ความสำคัญของเหตุการณ์ดังกล่าวและได้มีมติเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2537 กำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปีเป็นวันการบินแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา

ความเป็นมา
ความ คิดริเริ่มให้มี วันการบินแห่งชาติ พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ในบรรดาผู้ร่วมงานกับมูลนิธิฯ ในขณะที่ทำงาน บูรณะฟื้นฟู ทำการบิน เก็บรักษา อนุรักษ์ก็ทำให้มีการศึกษาทบทวนถึงประวัติศาสตร์การริเริ่มและพัฒนากิจการ บิน ของไทยที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างไว้ให้พร้อมกับการพัฒนาอากาศยานของอารย ประเทศในยุโรปและอเมริกา หลังจากที่พี่น้องตระกูลไรท์ ประดิษฐ์เครื่องบินสำเร็จเป็น รายแรกของโลกได้เพียง ๘ ปี โดยที่ขณะนั้นประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ยังไม่มีโอกาส ริเริ่มกิจการบินของตนได้ กิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้าง อากาศยานใช้ราชการได้ในช่วงระยะเวลาเดียวกับ ในยุโรปและอเมริกาแต่ก็มาหยุดชงัก ไปในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ การริเริ่มและพัฒนากิจการบินที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ก่อให้เกิดความเจริญทาง ด้าน ความมั่งคง ได้แก่กิจการบินทางทหารสามารถป้องปรามการล่วงล้ำอธิปไตยและป้องกัน ประเทศ ทั้งในสงครามอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปราบปรามการก่อ การร้ายมาโดยตลอด ด้านสังคมสามารถให้การช่วยเหลือ ลำเลียงผู้เจ็บป่วย ส่งไปรษณีย์ อากาศ และช่วยเหลือประชาชน ในท้องถิ่นทุรกันดาร ทั้งในภาวะปกติ และเมื่อประสบภัยพิบัติ เช่น กรณีเกิดโรคระบาด อุทกภัย ฯลฯ หลังจากได้สถาปนากิจการบินพลเรือนเปิด สายการบินในประเทศขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจ และสังคม การเดินทางขนส่งไปรษณีย์ สินค้าและทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้นจนพัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมการบินขนส่งทางอากาศ เป็นสายการบินระหว่างประเทศ แต่อุตสาหกรรมด้านกิจการบินทั่วไปสำหรับภาคเอกชน และอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงอากาศยานแทบไม่พัฒนาเลย ไม่เพียงพอกับความต้องการการขนส่งและการจราจร จึงทำให้ล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ทั้งๆ ที่เราเริ่มต้นก่อนเขาเป็นเวลานาน

ประวัติศาสตร์การริเริ่มพัฒนากิจการบินอันเป็นเกียรติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของคน ในชาติและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบันดังกล่าว น่าจะ ได้เผยแพร่ให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งในภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทั่วไปได้ทราบ เห็นคุณค่าประโยชน์ ช่วยกันแก้ปัญหาพัฒนาและส่งเสริมกิจการบินและอุตสาหกรรม การบินของชาติให้เจริญสืบไปมูลนิธิฯ จึงริเริ่ม ให้มีวันการบินแห่งชาติขึ้นเพื่อเผยแพร่ ดังกล่าว

การดำเนินการให้มีวันการบินแห่งชาติ มูลนิธิฯ ร่วมกับกองทัพอากาศเชิญ ชวนส่วนราชการและภาคเอกชนประชุมหารือ ๒ ครั้ง ที่ประชุมมีมติเห็นสมควรให้ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรการแสดง การบินโดยนักบินไทยและใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของชาติไทยเป็นครั้งแรก และได้ทรงสถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหม เป็นผลให้กิจการบินของไทยเจริญมาโดย ลำดับกองทัพอากาศได้ดำเนินการ นำเรียนผู้บัญชาการการทหารสูงสุดเสนอกระทรวง กลาโหมขอความเห็นชอบ จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบเมื่อ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ กำหนดให้วันที่ ๑๓ มกราคม ของทุกปีเป็นวัน การบินแห่งชาติ กับให้จัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญดังกล่าว ความมุ่งหมายและขอบเขตในการจัดงาน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงประวัติความเป็นมาและ วิวัฒนาการ การบินของไทย เห็นคุณค่าประโยชน์ของกิจการบิน สนับสนุนส่งเสริมให้อุตสาหกรรม การบินของชาติเจริญก้าวหน้าสืบไป