View Full Version : อยากรู้ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชียแล้วสิ ไขคำตอบได้ที่นี่


poohba
11-07-2012, 07:37
เพื่อนๆ อยากทราบไหมว่า ทวีปเอเชียที่เราอาศัยอยู่ เขาแบ่งลักษณะภูมิประเทศเป็นเช่นไร มีกี่เขต และแต่ละเขตมีที่ไหนบ้าง ไทยอยู่ในลักษณะภูมิประเทศแบบไหน แหม คิดไม่ออกกันล่ะสิ เรามีตัวช่วย มาอ่านบทความข้างล่างหาความรู้กันหน่อย เรื่องราวของภูมิศาสตร์ช่างน่าค้นหาจริงๆ ถ้าอยากรู้มาติดตามกันเลยจ้า

http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=4370&stc=1&d=1347034379


ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น 6 เขต คือ

1. เขตที่ราบต่ำทางเหนือ คือ บริเวณตอนบนของทวีปซึ่งอยู่ในเขตสหภาพโซเวียต(เดิม)ในเขต
ไซบีเรียส่วนใหญ่เป็นเขตโครงสร้างหินเก่า ที่เรียกว่า แองการาชีลด์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำอ็อบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีนาไหลผ่าน บริเวณมีอาณาเขตกว้างขวางมากไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่เพราะอากาศหนาวเย็นมาก

2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำต่างๆซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและ
มักมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่
- ในเอเชียตะวันออกได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน
- ในเอเชียใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถาน ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา
ในประเทศอินเดีย และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในบังคลาเทศ
- เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส ที่ราบลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีส ในประเทศอิรัก
- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชาและ
เวียตนามที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในประเทศเวียตนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทยที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่างที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในประเทศพม่า

3. เขตเทือกเขาสูง เป็นเขตหินใหม่ ตอนกลางประกอบด้วยที่ราบสูงและเทือกเขามากมายส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่แยกตัวไปจากจุดรวมเทือกเขาที่เรียกว่า ?ปามีร์นอต(Pamir Knot)?หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ?ปามีร์ดุนยา(PamirDunya)แปลว่า หลังคาโลก?
จุดรวมเทือกเขาปาร์มีนอต อาจแยกได้ ดังนี้

เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัยเทือกเขาอาระกันโยมา และเทือกเขาที่มีแนวต่อลงมาทางใต้ มีบางส่วนที่จมหายไปในทะเลและบางส่วนโผล่พ้นขึ้นมาเป็นเกาะในมหาสมุทร อินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิคถัดจากเทือกเขาหิมาลัยไปทางเหนือ มีเทือกเขาที่แยกไปทางตะวันออก ได้แก่เทือกเขาคุนลุน เทือกเขานานชาน และแนวที่แยกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเทียนชานเทือกเขาคินแกน
เทือกเขายาโบลนอย เทือกเขาสตาโนวอยและเทือกเขาโกลีมา
เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันตก แยกเป็นแนวเหนือและแนวใต้ ได้แก่เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูรซ ส่วนแนวทิศใต้ ได้แก่ เทือกเขาสุไลมานเทือกเขาซากรอส เมื่อเทือกเขา2แนวนี้มาบรรจบกันที่อาร์เมเนียนนอตแล้ว ยังแยกออกเป็นอีก2แนว ในเขตประเทศตุรกี คือแนวเป็นเทือกเขาปอนติกและแนวใต้เป็นเทือกเขาเตารัส

4. เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เป็นที่ราบสูงในเขตหินใหม่ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งมีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลกที่ราบสูงยูนาน ทางใต้ของจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่งคือ ที่ราบสูงตากลามากัน
(Takla Makan)ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชาน กับเทือกเขาคุนลุนแต่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก และมีอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทราย

5. เขตที่ราบสูงทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ที่ราบสูงขนาดใหญ่ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียมีความสูงน้อยกว่าที่ราบสูงทางตอนกลางของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคานในอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่านในอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในตุรกีที่ราบสูงอาหรับในซาอุดิอาระเบีย

6. เขตหมู่เกาะภูเขาไฟเป็นเขตหินใหม่ คือบริเวณหมู่เกาะอันเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟทั้งที่ดับแล้วและที่ยังคุกรุ่นอยู่ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้