View Full Version : รวมข่าวประชาคมอาเซียน รวมทุกข่าว!!!!(ขอพื้นที่หน่อยครับ)


Air conditioner
17-08-2012, 16:28
รวมข่าวประชาคมอาเซียน รวมทุกข่าว!!!!(ขอพื้นที่หน่อยครับ)
ขอพื้นที่เว็บไซต์การ์ตูนหรอยกูเป็นที่รวมข่าที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียนหน่อยแล้วกันครับ เอาไว้ใช้ในเว็บให้เป็นประโยชน์ด้วยก็เอาลงในบอร์ดนี้เสียเลยแล้วกัน ประชาคมอาเซียนเมื่อกี้เห็นพี่โอมตั้งกระทู้เกี่ยวกับนักวาดการ์ตูนเวียดนามที่จะเข้ามาทำงานในอาเซียนแล้วสุดยอดครับ ขอรวมข่าวเอาไว้หน่อนแล้วกันครับจะทำงานส่งอาจารย์เรื่องประชาคมอาเซียน แล้วก็ส่งงานให้เพื่อนๆดูด้วย ขอบคุณพื้นที่ในเว็บหรอยมากมากจ้าาาาาาาาาาา


:kiss:

ข่าวทั้งหมดจาก : bangkokbiznews.com

http://board.roigoo.com/members/ohmohm-albums-aec-picture1157-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9910.jpg (http://board.roigoo.com/members/ohmohm-albums-aec-picture1157-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9910.html)

นักศึกษาไทยต้องปรับตัว!!!!
http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=4338&stc=1&d=1347031060


บทวิเคราะห์ : ผลกระทบของประชาคมอาเซียน ต่อธุรกิจไทย และกลยุทธ์ในการตั้งรับ (ตอนที่ 1)


องค์ประกอบหลักของประชาคมอาเซียน โดยสรุป ในประเทศไทย เรามักจะได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสำคัญ


มีผลกระทบในด้านต่างๆ กันมาพอสมควร จนทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวกันว่าการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจะมีแต่ด้าน เศรษฐกิจหรือเศรษฐกิจเป็นแกนนำแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือ แต่อันที่จริงแล้ว องค์ประกอบหลักของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกสามปี (พ.ศ. 2558) นั้น จะประกอบไปด้วยแกนหลักๆ 3 ด้านด้วยกัน ซึ่งจะเรียกว่า 3 เสาหลักก็ว่าได้ และองค์ประกอบหลักๆ ทั้ง 3 ส่วนนี้ ประกอบไปด้วย

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community - (APSC))

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - (AEC))

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC))

ผลกระทบในทางบวกต่อประเทศไทย

ในทัศนะของผู้เขียน เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์ในทางบวกหรือผลดีที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยเน้นย้ำกันเป็นพิเศษ จะมีดังนี้ คือ

ประการแรก ก็คือ จะมีตลาดสินค้าและบริการที่ใหญ่ขึ้น นักธุรกิจไทยจะมีตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 580 ล้านคน เพราะทั้ง 10 ประเทศนี้ต่างก็มีจำนวนมหาศาลพอสมควร โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรประมาณ 220 ล้านคน บวกกับ ฟิลิปปินส์ ประมาณ 87 ล้านคน เวียดนาม 84 ล้านคน ไทยอีกประมาณ 63 ล้านคน เหล่านี้เป็นต้น นับว่าจะการเพิ่มโอกาสทางการค้าเนื่องจากมีขนาดตลาดที่ใหญ่โตขึ้น และจะเอื้อให้การผลิตในลักษณะที่ผลิตมากขึ้นต้นทุนต่ำลงย่อมมีโอกาสมากขึ้น ด้วย (Economies of Scale) แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ แต่ละประเทศก็ต้องออกแรงขยันหาตลาดและมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการหาลูกค้าเช่น กัน

กลยุทธ์ในด้านการตลาดการหาลูกค้าจะต้องทบทวนกันใหม่ เพราะลูกค้าใหม่ที่จะเข้ามาในประเทศย่อมนำกลยุทธ์ที่เขาเคยประสบความสำเร็จ หรือเหนือกว่าเราออกมาใช้และจะมีการนำวัฒนธรรมในการบริโภคสินค้าเข้ามาให้ นักการตลาดของเราได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม เราต้องเรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการตลอดจนลูกเล่นทางการค้าของ เขา รวมทั้งความเชื่อต่างๆ การปรับตัวของธุรกิจภายในประเทศจะต้องทันต่อเหตุการณ์และสภาพของตลาดอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครปรับตัวหรือมีการเตรียมการที่ดีย่อมได้ผลในทางบวกแต่ในทางตรงกันข้ามหาก พ่อค้าของเราปรับตัวช้า จะสูญเสียโอกาสและอาจจะสูญเสียฐานของลูกค้าเดิมไปด้วยเช่นกัน

ประการที่สอง ประเทศไทยจะได้อานิสงส์ ในการที่จะกลายมาเป็นเป้าหมายในการดึงดูดการลงทุน เงินลงทุน จากต่างประเทศได้มากขึ้นเพราะต่อไปนี้การขยายการลงทุนจากต่างประเทศมาไทยจะ กระทำได้ง่ายขึ้น หากเป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ และประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ หลายประการโดยเฉพาะทัศนคติของคนไทยที่มีต่อนักลงทุนชาวต่างชาตินั้นดีมาก แม้ว่าบางครั้งการลงทุนของต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยไม่ได้ก่อให้เกิดราย ได้แก่ ชุมชน การจ้างงาน หรือการนำเทคโนโลยีมาช่วยประเทศไทยเลย แต่คนไทยก็ไม่เคยรังเกียจนักลงทุนเหล่านี้ เหมือนดังประเทศอื่น อีกทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการลงทุน ประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่าเปิดโอกาสมากกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ แม้กระทั่งหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวหรือพม่า เป็นต้น

กลยุทธ์ในด้านการลงทุนและการเงิน ของประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ทันกาลการเข้ามาของต่างชาติ การเปิดเสรีมากเกินไปนอกจากจะทำให้ฐานะของประเทศไทยเกิดความเสี่ยงมากขึ้น แล้ว ไทยจะไม่สามารถหาประโยชน์ได้มากเหมือนแต่ก่อนที่ยังไม่เปิดเสรีในด้านนี้ กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐด้านการลงทุนและการเงินจะต้องรื้อปรับระบบกันใหม่ (Reengineering) ในขณะนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศได้รับผลดีอย่างเต็มที่และต้องหามาตรการในการลดความเสี่ยงใน ด้านการลงทุนและการเงิน ทุกรูปแบบ แต่มิใช่เป็นการสกัดกั้นอย่างมีอคติต่อนักลงทุนชาวต่างชาติเช่นกัน ทั้งนี้ รวมทั้งกฎหมายที่ว่าด้วยการถือครองอสังหาริมทรัพย์เช่น ที่ดินเป็นต้น มิฉะนั้นแล้ววันข้างหน้าคนไทยจะไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ธุรกิจก็เป็นธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจท้องถิ่นที่มีมา แต่ช้านานสูญหายไปหมด โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย

ประการที่สาม การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถทำให้ประเทศไทยมีอำนาจในการเจรจาต่อ รองต่อเวทีโลกได้มากขึ้น เพราะต่อไปนี้จะมีฐานประชาคมอาเซียนสนับสนุนอยู่และไม่ใช่ไปแบบโดดเดี่ยว เหมือนเมื่อก่อน ซึ่งสามารถทำให้ประเทศคู่ค้าต้องรับฟังมากขึ้น เพราะดีไม่ดีอาจจะไปกระทบกับประชาคมอาเซียนไปด้วย เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิกของประชาคมประเทศหนึ่ง

กลยุทธ์ที่จะช่วยได้อาจเป็นไปในรูปการสร้างและการขยายเครือข่ายโดยมี พันธมิตรคู่ค้าที่เป็นนักลงทุนต่างชาติในกลุ่มอาเซียนเพื่อจะเป็นฐานหรือตัว ช่วยในการเจรจาต่อรองมากขึ้น ทั้งนี้ โดยอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผลประโยชน์ร่วมกันและภายใต้ความเป็นธรรมและเสมอภาค รวมทั้งการเรียนรู้เทคนิคในการเจรจาต่อรองในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องต่อประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ

ประการที่สี่ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะทำให้นักธุรกิจไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจและการค้ามีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของ ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้นจากเดิม เพื่อการรองรับการแข่งขัน และสามารถนำมาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พร้อมจะออกไปเพื่อการแข่งขัน รวมทั้งประเทศไทยสามารถเรียนรู้เทคนิคด้านต่างๆ ของประเทศในกลุ่มนี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้าน การผลิต การตลาด การขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการ การเจรจาต่อรอง การเงิน การท่องเที่ยว การเดินอากาศ และอื่นๆ

กลยุทธ์ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ ก็คือ เราต้องหาเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดำรงความเหนือกว่า ให้ได้ การลงทุนพัฒนาและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นหนทางในการอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในด้านการแข่ง ขัน ภาครัฐต้องเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาในด้านการผลิตและการบริการและ ต้องมาช่วยภาคเอกชนในทุกวิถีทาง เพราะหากปล่อยให้ภาคเอกชนกระทำการแต่เพียงฝ่ายเดียวจะไม่ประสบความสำเร็จใน ระยะยาว เนื่องจากขาดงบประมาณและความร่วมมือของหน่วยงานราชการ การสร้างนวัตกรรมของประเทศไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างความแตกต่างและ ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไทยในวันข้างหน้าเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ประการที่ห้า จะมีผลต่อการจ้างแรงงานเพราะสามารถเข้าโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างแรงงาน ที่สูงกว่าเดิม รวมทั้งการออกไปหารายได้เพิ่มขึ้นจากค่าแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนสถานประกอบการสามารถที่จะสร้างรายได้ของสถานประกอบการให้มากขึ้นจากการ ขยายตลาดและการเพิ่มปริมาณลูกค้ามากขึ้น และในที่สุด ก็จะมีผลต่อรายได้ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทยดีขึ้นรวมทั้งการได้ รับสินค้าและการบริการที่ดีขึ้นหรือมีตัวเลือกและทางเลือกมากขึ้นจากเดิม

กลยุทธ์ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ ก็คือ การเพิ่มทักษะในด้านภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ที่เคยมีมาแต่ก่อน แต่จำเป็นที่จะต้องมีการเรียนการสอนด้านภาษามาเลย์ ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร ลาว และภาษาพม่าให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ในประเด็นนี้ผู้เขียนได้ทราบว่าประเทศมาเลเซียได้มีการเรียนการสอนภาษาไทย กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะ ดังนั้น ภาครัฐไม่ว่าจะเป็นระดับประถม มัธยม สายวิชาชีพ หรือแม้กระทั่งระดับอุดมศึกษาก็น่าที่จะมีการปรับตัวเตรียมการกันได้แล้ว เพราะเรื่องของภาษาเป็นเรื่องของการใช้เวลาและการฝึกหัดที่ต้องกินเวลาพอ สมควรเพื่อให้ได้ผลดี ในส่วนการศึกษาของภาคเอกชนโดยเฉพาะสถานศึกษาภาคเอกชนก็ควรปรับปรุงหลักสูตร การเรียนการสอนเพื่อเตรียมการผลิตนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีความพร้อมในด้านนี้ออกไปเช่นกัน

ประการที่หก เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็เท่ากับว่าต่อไปนี้จะมีการปรับปรุงแรงงานฝีมือในสาขาวิชาชีพต่างๆ (7 วิชาชีพ) ให้เท่าเทียมนานาประเทศ สาขาวิชาชีพเหล่านี้ ได้แก่ วิศวกร แพทย์ พยาบาล นักบัญชี นักสำรวจ ทันตแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปนิก เพราะสาขาวิชาชีพเหล่านี้เป็นสาขาวิชาชีพหน้าด่านของไทยที่มีความพร้อมสูง มีสมาคมและการรวมตัวที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์ และเป็นสมาคมที่ประชาคมอาเซียนได้ยกมาเป็นกลุ่มแรกของไทยที่จะมีการวาง กฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ หากจะมีคนในประเทศสมาชิกเข้ามาทำงานในกลุ่มวิชาชีพทั้งเจ็ดนี้ในไทย แต่ในทางกลับกันหากคนไทยที่ทำงานในกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้ยังไม่พร้อมในการ ปรับตัว ปัญหาก็จะตกมาสู่พวกเขาเช่นกัน ในประเด็นนี้ข้อสรุป ก็คือ การเปิดให้ผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการประสานงานวิชาชีพ สาขาต่างๆ ทั้ง 7 สาขา (ASEAN Joint Coordinating Committee) และหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพหรือองค์การระดับประเทศสมาชิกต่างๆ หรือสภาวิชาชีพ (Professional Regulatory Authority) หรือกระทรวง/องค์การที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก ขึ้นทะเบียนหรือออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพชาวต่างชาติเข้ามาประกอบ วิชาชีพในประเทศอาเซียนได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎและระเบียบภายในประเทศนั้นๆ ในทำนองกลับกันหากคนไทยที่ประกอบวิชาชีพเหล่านี้ ก็สามารถที่จะไปทำงานยังประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการไทย หรือแรงงานไทยก็จะมีโอกาสออกไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศมากขึ้น และได้รับค่าตอบแทนที่สูงจากเดิม

กลยุทธ์ที่ควรนำมาพิจารณาในประเด็นนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่จะทำอย่างไรให้ความรู้ในด้านภาษาของคนในกลุ่มวิชาชีพ เหล่านี้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถสื่อสารได้หลายภาษามากขึ้นจากแต่เดิม รวมทั้งเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพในด้านนั้นๆ ที่จะต้องนำมาเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้มากขึ้นจากเดิม รวมทั้งกลยุทธ์ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หาหนทางจูงใจให้คนดีและคน เก่งอยู่ในองค์การของเราให้นานที่สุด ศาสตร์ในด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าไว้ในองค์การหรือ Talent Management ควรจะถูกหยิบยกมาพิจารณาและให้ความสำคัญมากขึ้น มิฉะนั้น จะเกิดเหตุการณ์สมองไหลไปสู่องค์การของต่างชาติทั้งในและนอกประเทศไทยกันหมด

ประการที่เจ็ด ประเทศไทยสามารถอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือกันในภาคเศรษฐกิจหรือ AEC นี้ เข้าไปเสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านการเมือง การปกครองการป้องกันประเทศให้ดีขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและลดข้อขัดแย้งต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็น พม่า กัมพูชา หรือประเทศอื่นๆ โดยผ่านความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนเป็นหัวหอกเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต และจะช่วยให้ด้านอื่นๆ มีสัมพันธภาพอันดีตามมาในที่สุด

กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการเรียนรู้และการปรับตัวโดยอาศัยการศึกษาและการ เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมข้ามชาติหรือที่เรียกว่า Cross Cultural Management มาเป็นหลักเพื่อให้เกิดการผนึกความร่วมมือร่วมใจ ปรองดองกันระหว่างคนไทยและประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ร่วมกันโดยปราศจากข้อขัด แย้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจและการเมือง

Air conditioner
17-08-2012, 16:30
ประชาคมอาเซียน : เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง
โดย : ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร
http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2012/03/28/images/news_img_444228_1.jpg


อีกประมาณ 3 ปีข้างหน้าคือ ปี พ.ศ. 2558 อาเซียนก็จะเพิ่มระดับความเชื่อมโยงกันให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ที่เรียกว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


หรือ ?Asean Economic Community? ซึ่งนับเป็นความร่วมมือกันที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งถ้าหากดำเนินการได้สำเร็จก็จะทำให้เกิดตลาดเดียวในลักษณะที่คล้ายคลึง กันกับสหภาพยุโรป แต่ประชาคมอาเซียนยังไม่ก้าวไกลไปถึงขึ้นการใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะการจะใช้เงินร่วมเป็นเงินสกุลเดียวกันได้นั้นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ดุลการคลัง ดุลบัญชีเดินสะพัด หรือเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ต้องใกล้เคียงกัน เพราะมิฉะนั้นแล้วก็อาจจะเกิดปัญหาได้ ดังเช่น ในกรณีของประชาคมยุโรป

ความเป็นตลาดเดียวกันของอาเซียนคือ จะให้มีการเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และแรงงานมีฝีมือ อย่างเสรี ตลอดจนการเคลื่อนย้ายของเงินทุนที่จะเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้นภายในปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาที่ผ่อนปรนสำหรับประเทศที่ยังไม่พร้อม คือกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา การเป็นตลาดเดียวกันของอาเซียนจึงเป็นทั้งโอกาสและเป็นความเสี่ยงที่ผู้ ประกอบการตลอดจนประชาชนไทยเองต้องวางแผนในการรองรับ ที่พูดถึงกันมากคือเรื่องของภาษาอังกฤษ คงจะไม่ใช่มิติของเรื่องภาษาอย่างเดียว เพียงแต่ภาษาเป็นพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับการใช้สื่อสารระหว่างกัน ประกอบกับจุดอ่อนประการหนึ่งของคนไทยคือเรื่องภาษา โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือ ฟิลิปปินส์

นอกจากเรื่องภาษาแล้วก็คงจะต้องคำนึงถึงระดับขีดความแข่งขันในการประกอบ ธุรกิจ ที่ต้องประกอบไปด้วยหลายปัจจัยนับตั้งแต่ ปัจจัยการผลิตหลัก ได้แก่ แรงงาน ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ ยังมีโครงสร้างพื้นฐานประเภทสาธารณูปโภค ไปจนถึงโครงสร้างอัตราภาษีต่างๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีนิติบุคคล ที่จะต้องได้รับการดูแล

จุดแข็งของอาเซียน

(1) จำนวนประชากรสูงถึง 574 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 9 ของประชากรโลก และยังนับเป็นกลุ่มที่มีประชากรที่มีอายุน้อย ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 37 ของประชากรจะมีอายุน้อยกว่า 20 ปี ทำให้จะมีแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณปีละประมาณ 56 ล้านคน

(2) ขนาดของเศรษฐกิจที่วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่มีรวมกัน 1.719 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 2% ของ GDP รวมของโลก

(3) อาเซียนเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและรวดเร็ว ทั้งนี้โดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มอาเซียนมีอัตราการเติบโตได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 ต่อปีในสองทศวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ๆ ถึง 2 ครั้ง (วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี ค.ศ. 1997-98 และวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2008)

สำหรับปัจจัยท้าทายและข้อจำกัดของอาเซียน ก็คือ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศมีความแตกต่างกันมาก ในมิติของระดับการพัฒนาที่รายได้ต่อหัวของประชากรที่มีความแตกต่างกันมาก นับตั้งแต่ สิงคโปร์ บรูไน ที่มีรายได้ต่อหัวสูงระดับต้นๆ ของโลกและระดับต่ำของโลก เช่นกัมพูชา และพม่า ที่มีความจำเป็นที่จะต้องลดช่องว่างของความแตกต่างนี้ลงให้ได้โดยเร็ว

Air conditioner
17-08-2012, 16:32
วันที่ 17 กรกฎาคม 2555 22:13
ครม.เตรียมรับมือเปิดประชาคมอาเซียน


น.ส.ศันสนีย์ กล่าวว่า นายกฯได้แจ้งในที่ประชุมครม.ว่า ในวันที่ 26 ก.ค. เวลา 09.00-16.00 น. จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยการประชุมจะเน้นสามเสาหลักที่เกี่ยวข้องประชาคมอาเซียน ได้แก่ 1.ด้านการศึกษา 2.ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และ 3.ด้านความมั่นคงและการเมือง ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมในภาพรวม ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขาธิการ
สำหรับกำหนดการในการประชุมวันที่ 26 ก.ค. นั้น นายกฯจะเป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม จากนั้นสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะเป็นผู้ชี้แจงกรอบในการทำงานว่าแต่ละกระทรวงจะต้องร่วมกันดำเนินการอย่าง ไร โดยให้ทุกกระทรวงเตรียมเสนอผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ในการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียนของกระทรวงนั้นๆ ตลอดจนแผนงานและกรอบเวลาในการเตรียมความพร้อม และประเด็นเร่งด่วนที่ต้องนำมาพิจารณา เช่น อุปสรรคหรือข้อจำกัดที่เกิดจากกฎระเบียบต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละกระทรวงจะให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้นำเสนอรายละเอียดต่างๆด้วยตัว เองด้วย
น.ส.ศันสนีย์ กล่าวว่า ผลการจัดประชุมจะเป็นการประเมินหาทางแก้ไข และวิเคราะห์เป็นรายกระทรวง ก่อนที่ในโอกาสต่อๆไปจะมีการประชุมโดยแยกเจาะจงในรายละเอียด เช่น การประชุมเศรษฐกิจโดยเฉพาะ การประชุมสังคมและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เป็นต้น นอกจากนี้นายกฯต้องการให้แต่ละกระทรวงมีผู้ที่รับผิดชอบเรื่องของอาเซียนโดย เฉพาะ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิ์ภาพขึ้นด้วย

Air conditioner
17-08-2012, 16:33
วันที่ 22 กรกฎาคม 2555 11:51
สวทน.จัดสัมมนา ?Sinnovation? เดินหน้าประชาคมอาเซียน


http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2012/07/22/images/news_img_462660_1.jpg


สวทน.ร่วมกับหน่วยงาน GIZ จากประเทศเยอรมนี จัดสัมมนาภาย ใต้หัวข้อ ?SInnovation ASEAN-Germany 1st International Conference: Increase Innovativeness / More Value Innovations - From Policy to Practical Implementation / Pursuing the Krabi Initiative? ระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป และอาเซียนร่วมอภิปรายในประเด็นความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบนวัตกรรมระหว่างภูมิภาค เสริมความพร้อมประเทศอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ. 2558

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยการสนับสนุนของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่ง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดงานสัมมนาใน หัวข้อ ?SInnovation ASEAN-Germany 1st International Conference: Increase Innovativeness / More Value Innovations - From Policy to Practical Implementation / Pursuing the Krabi Initiative?

การประชุมนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศเยอรมนี ของคณะกรรมการอาเซียนด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology - ASEAN COST) และเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามเพื่อดำเนินงานผลักดันสาขาความร่วมมือตามข้อริ เริ่มกระบี่ (Krabi Initiative) 8 ด้าน (thematic track) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวอาเซียนด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ได้แก่ 1) นวัตกรรมอาเซียนสู่ ตลาดโลก (ASEAN Innovation for Global Market) 2) สังคมดิจิทัล สื่อใหม่และเครือข่ายสังคม (Digital Economy, New Media and Social Networking) 3) เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) 4) ความมั่นคงทางอาหาร ( Food Security) 5) ความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) 6) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Management) 7) ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ (Biodiversity for Health and Wealth) 8) วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Science and Innovation for Life)

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการ สวทน. เปิดเผยว่า การก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นอกจากจะเปิดโอกาสด้านการค้าและการลงทุนสู่ตลาดอาเซียนซึ่ง มีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคนแล้ว ยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานฝีมือและผู้เชี่ยวชาญของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน

ข้อริเริ่มกระบี่ (Krabi Initiative) ริเริ่มและจัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรองรับการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558

ทั้งนี้ข้อริเริ่มกระบี่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาเซียนว่า ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 เป็นแนวทางการสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา

?ขณะนี้ สวทน.กำลังดำเนินการขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่ ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาด้าน วทน.ของภูมิภาคอาเซียนคือ การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่สังคมดีมีคุณภาพ และต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสมดุล ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศอาเซียนยัง มีข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพด้าน วทน.ดังกล่าว ดังนั้นความร่วมมือกับประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้าน วทน.ระดับโลก จะเป็นโอกาสให้ประเทศอาเซียนได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดี (best practices) เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับประเทศของตนต่อไป? เลขาธิการ สวทน. กล่าว

ดร. โยอาคิม ลังบายน์ ผู้จัดการโครงการอาวุโส แผนกพัฒนาศักยภาพมนุษย์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำกรุงบอนน์ กล่าวว่า การจัดการสัมมนาในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศเยอรมนีและประชาคมอาเซียนเพื่อ สร้างความร่วมมือและการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ตลอดจนกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้าน วทน.

ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักเลขาธิการอาเซียน

การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 100 ท่าน จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน จากประเทศเยอรมนีและประเทศประชาคมอาเซียน กว่า 10 ประเทศ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งสองภูมิภาคได้มีโอกาสสร้าง เครือข่าย และร่วมอภิปรายถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ตลอดจนกลไกและเครื่องมือที่เหมาะสมในการเสริมความเข้มแข็งให้ระบบนวัตกรรม

?การออกแบบและจัดทำระบบนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดจำเป็นจะต้องจัดทำทั้งระบบ โดยเริ่มผลักดันตั้งแต่ระดับนโยบายลงมา และจำเป็นที่นักจัดทำนโยบายต้องเรียนรู้จากรูปแบบระบบนวัตกรรมที่มีอยู่หลาก หลายรูปแบบในโลกนี้ ดังนั้นการประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมาจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานนวัตกรรมในประเทศนั้น ๆ ได้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม นักวิจัยนโยบายได้มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์จากมุมมองของตนได้อย่างเต็มที่? ดร. โยอาคิม กล่าวเสริม

Air conditioner
17-08-2012, 16:36
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ?ไทย? เสียเปรียบมหันต์ หากไม่เร่งปรับโครงสร้างรองรับ

โดย : ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าว




ทุกวันนี้หากไม่พูดถึงคำว่า ?ประชาคมอาเซียน? เห็นทีคงจะไม่ได้ เพราะกระแสนี้กำลังเป็นเทรนด์มาแรงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะที่ไหน วงการใด




ก็มีอันปรากฏคำนี้กัน แล้ว แต่ทว่าความเข้าใจในความเป็น ประชาคมอาเซียน ของประชาชนคนทั่วไป แท้จริงแล้วมันคืออะไร มันคือการรวมกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจใช่หรือไม่ หรือ การรวมกลุ่มกันเพื่ออำนาจประโยชน์อันใดอันหนึ่ง ตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องอธิบายกันพอสมควร แต่ในฐานะที่ประเทศไทย เป็นประเทศสมาชิก 1 ใน 10 ประเทศ และ เป็นประเทศแรกๆ ที่ทำการผลักดันการรวมกลุ่มนี้ จะได้ประโยชน์ หรือ เสียเปรียบ อะไรบ้าง และมาถึงตรงนี้มีเวลาอีก 3 ปี ที่จะประกาศอย่างเป็นทางการ ไทยมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในส่วนของความพร้อมนี่แหละจะเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะตอบว่า ประเทศไทยจะเสียเปรียบ หรือ ได้ประโยชน์อะไร จากการเข้าเป็นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน

ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังการปาฐกถา ของ ดร.สารสิน วีระผล และ อาจารย์ ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล ผู้เป็นกูรูในด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้ที่มีส่วนผลักดันการก่อเกิด ?การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน? ตั้งแต่ต้น ในงานครบรอบการสถาปนา 20 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หัวข้อ ?การรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : ผลกระทบทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อประเทศไทยและอาเซียน (ศึกษาเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป,EU)? ซึ่งเป็นข้อคิด สะท้อนมุมมองจนสามารถมองเห็นอนาคตข้างหน้าของประเทศไทยอย่างน่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมดังกล่าว ตลอดจนแนวโน้มความได้เปรียบเสียเปรียบของประเทศไทยต่อกรณีนี้ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า หลักการของการรวมตัวกันในกลุ่มประชาคมอาเซียน ในทางทฤษฎีเป็นเรื่องที่ดี แต่ในทางปฏิบัติขณะนี้นั้น ประเทศไทยจะต้องปรับตัวอีกมาก เพราะจากการที่องค์กรกลางสำรวจมานั้น ณ ปัจจุบันคนในประเทศไทยมีการรับรู้เรื่องอาเซียนอยู่ในลำดับที่ 8 จาก 10 ประเทศ เกือบท้ายสุด นอกจากนี้ยังไม่เห็นท่าทีของการปรับโครงสร้างต่างๆ เพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมนี้ จากหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนของรัฐบาล

ขณะนี้ภาครัฐมอง และบอกเพียงว่า ประเทศไทยจะขายของได้มากขึ้น ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้องมีการวางแผนอย่างชัดเจนและรัดกุม ต้องมามองว่าเรายังไม่มีความพร้อมตรงไหนบ้าง และเราจะต้องปรับกลยุทธ์รูปแบบไหนบ้างที่จะเข้าไปหยิบฉวยประโยชน์ หรือ กรณีที่ไม่ได้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มแต่ประชาชนหรือประเทศชาติก็ไม่เสียหาย แต่หากไม่พิจารณาและสร้างแนวทางรองรับให้พร้อมแล้ว แน่นอนจะเกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงในอนาคต เช่น ภาคการเกษตรซึ่งขณะนี้ภาคการผลิตค่อนข้างอ่อนไหวมาก เนื่องจากโครงสร้างเกษตรกรที่มีอายุมาก การทำนาข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ซึ่งเกษตรกรเอง และผู้ประกอบการจำนวนมากกำลังย่ำแย่อยู่แล้ว ไหนจะต้องมาประสบกับปัญหาการแข่งขันที่มากขึ้น จากการแข่งขันซึ่งเป็นลักษณะการแข่งขันกันบนพื้นฐานความเป็นจริง จะเกิดปัญหา เช่น การถูกคนพ่อค้ากลางบีบกดราคา เช่นเดียวกันยังไม่เห็นการกระตือรือร้นในการปรับโครงสร้างดังกล่าวอะไรเลย ภาคอื่นๆ ที่จะรองรับการไหลบ่าของระบบทุน ระบบการเงิน กิจการอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดไปถึงด้านโทรคมนาคม ฯลฯ

ปัจจุบันนี้การแข่งขันเป็นระบบการแข่งขันกันในแกนโลกที่ 3 และอาเซียนจะเป็นแหล่งที่นักลงทุนเข้ามาลงทุนมาก เพราะฐานความน่าจะเป็นที่มีมาก การปรับตัวที่ดีกว่า แน่นอนหลังเกิดการรวมกลุ่มแล้วจะมีการเข้ามาลงทุนจำนวนมาก ถามว่าไทยมีการวางแผนรับมือหรือการเข้าไปลงทุนในประเทศอื่นๆ หรือไม่ ขณะนี้มีหลายประเทศเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตรงนี้เรามองถึงการค้าการลงทุน อย่างไรในบริบทอาเซียน คนของประเทศไทยมีความสามารถ ทักษะ ฝีมือ เพียงหรือไม่ กลไกทางการตลาด ผู้ประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กหากไม่มีการปรับตัว ก็จะลำบาก ความรู้ของประชาชน รวมถึงตัวกฎหมายต่างๆ เรามีการพิจารณารองรับแล้วหรือไม่

สำหรับประเด็นที่จะต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน (ยังไม่สาย) มีอยู่ 7 ประการ ประกอบด้วย 1.สถานภาพทางด้านการเมือง เนื่องจากความมั่นคงของประเทศ เช่น เรื่องปราสาทเขาพระวิหาร สะท้อนให้ความไม่พร้อมทางด้านจิตใจเป็นปัญหาหลักที่น่าคิด เรื่องความขัดแย้งทางการเมือง หากยังไม่ทำให้มีเสถียรภาพ จะทำให้เกิดความเสียเปรียบในเชิงกลยุทธ์ได้ ฯลฯ 2.ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องรู้และเข้าใจและมีมาตรการเชิงรุกเข้าไปในประเทศอื่นด้วย ไม่ใช่รอรับให้เขาเข้ามาลงทุนอย่างเดียว และจะมีการปรับโครงสร้าง กลไกอย่างไร ให้มีสิ่งเอื้ออำนวย ระบบการพัฒนาการขนส่ง (Logistic) ระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีภูมิคุ้มกันในภาคการเงิน การลงทุนของประเทศอย่างไรเพื่อป้องกันการเข้ามาทุบตีแล้วจากไปของต่างชาติ และ จะต้องมีการปรับโครงสร้างระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก แบบรวดเร็วทันที (Real Time) 3. ด้านสังคมวิทยา วัฒนธรรม ต้องเข้าถึงวิถีชีวิตของคนแต่ละประเทศ เข้าใจถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญไม่น้อย เนื่องจากหากดำเนินการลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผิดขนบธรรมเนียมประเพณี ปฏิบัติ อาจสร้างความไม่พอใจ และเสื่อมเสียถึงประเทศชาติได้

4.ด้านเทคโนโลยี จะต้องมีการปรับโครงสร้างเรื่องนี้อย่างชัดเจน ทุกระบบ ไม่เช่นนั้นจะเสียเปรียบ และเสียหาย ยกตัวอย่างง่ายๆ กรณีการทำเกษตรกรรม หากเรามัวแต่ผลิตด้วยกำลังคน ขณะที่ประเทศอื่น ทำการศึกษา คิดค้นด้านการผลิตโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มกำลังการผลิต สร้างมูลค่าให้กับราคาสินค้า 5.ด้านกฎหมาย เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องละเลยไม่ได้ นอกจากจะเป็นมาตรการการเข้ามาของต่างประเทศแล้ว ยังมีส่วนช่วยเอื้อคนไทยในการดำเนินการต่างๆ กับต่างประเทศ เช่น เรื่องภาษี สิทธิประโยชน์ต่าง สวัสดิการ สวัสดิภาพ ความมั่นคง หลักประกัน เป็นต้น

6.ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้ก็ต้องมีการปรับโครงสร้างที่ชัดเจนรองรับ เนื่องจากเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญ การดำเนินการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งต้องคำนึงและมีแผนโครงสร้างที่ชัดเจน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจนสูญสิ้น และ 7.เรื่องการศึกษาของประชาชน ตรงนี้หากประชาชนอยู่ในประเทศไม่มีความรู้ที่ดีพอไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ภูมิรู้ของประชาชนเกี่ยวกับบริบทอาเซียนทั้งหมด รู้และเข้าใจถึง มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฯ รู้เรื่องภาษา วัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศสมาชิกด้วยกัน หากละเลยสิ่งเหล่านี้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจำต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน และแยบยล เพราะในเวลาอันน้อยนิด ขณะที่ความพร้อมเรื่องเหล่านี้ ยังมีให้เห็นอยู่น้อยมาก ไม่แน่ใจว่ารัฐบาล ผู้บริหาร ตลอดถึงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนให้เข้าไปสร้างความอยู่ดีกินดี มีสุขให้กับประชาชนเอง ได้ตระหนักคิดเกี่ยวกับความพร้อมตรงนี้หรือไม่ หรือแค่เล่มเกมอำนาจการเมือง มัวคิดที่จะแก้ หรือไม่แก้ มาตรา 112 คิดแต่จะเยียวยาคนเจ็บตายจากฝีมือเหล่าการเมือง หรือคิดแต่สร้างระบบประชานิยมแบบมั่วๆ ไม่ทั่วถึง ฯลฯ ถ้าเป็นอย่างนี้ละก็จะเป็นเรื่องเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ แทนที่ประเทศไทยจะได้เปรียบต่อกรณีการรวมกลุ่มที่ว่านี้ กลับกลายเป็นถูกกลืนกินในที่สุด ไม่แตกต่างจากกรณีการเปิดรับระบบทุนนิยม จักรวรรดินิยม จากตะวันตกเข้ามา

ก่อนปี ค.ศ. 1967 ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน ครั้งหนึ่งไทยเคยมีบทบาทแกนหลักในการรวมกลุ่มประชาชนอาเซียน เพราะฉะนั้นแล้วไม่มีเหตุผลใดที่ประเทศไทยจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกไม่ได้ หากทุกคน ทุกหน่วยตระหนักและวางแผนปรับโครงสร้างรองรับ มียุทธศาสตร์เชิงรุกชิงความได้เปรียบอย่างเป็นระบบ

Air conditioner
17-08-2012, 16:37
วันที่ 17 มิถุนายน 2555 17:38
กทม.เล็งส่งนักเรียนแลกเปลี่ยน รับเวที"ประชาคมอาเซียน"





กทม.เล็งส่งนักเรียนแลกเปลี่ยน รับเวที"ประชาคมอาเซียน" ปี 58 พร้อมทำคู่มือแจกเด็กชั้นประถม-มัธยม ศึกษาประวัติศาสตร์ 10 ประเทศ




นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ขณะนี้กทม.ได้เตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันนออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)หรือ "อาเซียน" ในปีพ.ศ.2558 จึงได้มีการเตรียมจัดทำคู่มือให้ความรู้เกี่ยวกับที่มาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อเผยแพร่ให้แก่นักเรียนในสังกัดกทม. ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจะมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ฉบับ แบ่งเป็น 1.สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 2.ชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งเนื้อหาจะแตกต่างกัน โดยชั้นประถมศึกษาจะแสดงเป็นภาพการ์ตูนเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย เป็นต้น

นาง ทยา กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ การจัดทำคู่มือดังกล่าว กทม.อยากให้นักเรียนและครู มีความเข้าใจและพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สมาคมอาเซียน ถึงสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า ว่าแต่ละประเทศมีการปกครอง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างไร โดยเฉพาะการสื่อสาร ที่จะต้องมีการพัฒนาทักษะ

ซึ่งนักเรียนต้องทราบว่ามีการใช้ภาษาใดบ้างในประเทศต่างๆ รวมทั้งความสามารถในด้านอื่นด้วย นอกจากนี้เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กทม.ได้วางแผนไว้ว่าจะดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความรู้ความสามารถในด้านต่างๆด้วย

Air conditioner
17-08-2012, 16:40
วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 13:35
เชลล์รุกกัมพูชา-พม่ารับประชาคมอาเซียน

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2012/05/15/images/news_img_451818_1.jpg

"เชลล์ "เล็งลงทุนใหม่ในพม่า-กัมพูชาหลังเปิด AEC พร้อมแนะไทยเร่งพัฒนาทักษะทางภาษา ย้ำเสียเปรียบชาติอื่น


พร้อมเสนอรัฐตั้งหน่วยงานกลางดูแลเอทานอล-ไบโอดีเซลทั้งกระบวนการผลิต ยกระดับไทยเป็นฮับเชื้อเพลิงชีวภาพของอาเซียน


วันนี้หากธุรกิจใดไม่พูดถึงความเคลื่อนไหวของ 10 ชาติอาเซียน ที่รวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC ) ที่จะมีผลจริงจังในวันที่1 ม.ค. 2558 เห็นจะตกยุค เพราะเวลาที่เหลือไม่มาก ทำให้ทุกภาคส่วนกำลังนับถอยหลัง


เชลล์ ธุรกิจน้ำมันข้ามชาติที่มีฐานการการลงทุนทั่วโลก รวมถึงในไทยและประเทศอื่นๆในอาเซียน มองสถานการณ์นี้เป็นโอกาสที่จะเป็น One Asean , One Shell แบบคู่ขนาน
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ให้สัมภาษณ์กับ"กรุงเทพธุรกิจอาเซียนพลัส" ว่า เชลล์มอง AEC เป็นโอกาสของประเทศอาเซียนควบคู่ไปกับโอกาสของเชลล์ เพราะขนาดของตลาดที่ใหญ่ขึ้นและหากรวมจีน หรืออินเดียในภาคีความร่วมมือนี้ด้วย ก็จะกลายเป็นตลาดอันดับ 1 ในโลกแทนที่ตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป และส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียโดดเด่น และแข็งแกร่ง


เชลล์มอง ไทยเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญของอาเซียน ดังนั้นหากจะนำเสนอเทคโนโลยีน้ำมันใหม่ๆ ไทยจะเป็นประเทศแรกๆที่จะนำเข้ามาทำตลาด จากนั้นจึงจะกระจายออกไปในประเทศเครือข่ายต่างๆ
นอกจากตลาดที่เปิดกว้างแล้ว การเปิด AEC ยังเอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ ที่เข้ามารองรับจากการคลายกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก ของประเทศในอาเซียน ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการขนส่งมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
อย่างไรก็ตามการเป็นตลาดเดียวของอาเซียนนั้น ต้องใช้เวลาในการเดินทางพอสมควร โดยจะไม่ได้เห็นภาพว่าเมื่อถึงปี 2558 ทุกอย่างจะเปิดเสรีได้ทั้งหมด เพียงแต่ปี 2558 จะเป็นตัวตั้งต้น


จี้ปลดล็อกกฎขวางการค้า
นางพิศวรรณ เสนอว่า เหลือเวลาไม่มากนัก ดังนั้นควรมีการเร่งปลดล็อกกฎระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญก่อน โดยเฉพาะเรื่องของการจัดพิกัดสินค้าของแต่ละประเทศให้ตรงกัน โดยหากพูดถึงพิกัดใดต้องหมายถึงสินค้าที่เหมือนกันในทุกๆประเทศ และปลดล็อกข้อจำกัดในเรื่องความลักลั่นของภาษีของประเทศต่างๆ รวมถึงการแก้ไขกฎระเบียบที่ยุ่งยากในการนำเข้าส่งออกภายในอาเซียน และเมื่อเรื่องหลักๆคลี่คลายไปแล้ว จึงมาดูเรื่องรายละเอียด


"มองว่าการเคลื่อนตัวของภาครัฐต่อ AEC ช้าเกินไป เพราะเหลือเวลา 3 ปีเท่านั้น และ มีเรื่องที่ต้องทำพอสมควร ดังนั้น 3 ปีจากนี้ ควรต้องจัดลำดับความสำคัญว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง และโฟกัสเรื่องหลักก่อน เช่น กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่างๆ ไม่เช่นนั้นเราจะเสียโอกาส"นางพิศวรรณ กล่าว


เล็งเข้าลงทุนพม่า-กัมพูชา
เมื่อสแกนประเทศต่างๆในอาเซียนแล้ว พิศวรรณ บอกว่า พม่าและกัมพูชา เป็นประเทศที่เชลล์จับตาใกล้ชิด เพื่อมองหาโอกาสใหม่ในการลงทุน จากปัจจุบันที่เชลล์ไม่มีการลงทุนในสองประเทศนี้เลย
ในส่วนของพม่า นับเป็นประเทศมีศักยภาพมาก แต่มีข้อจำกัดที่ยังถูกคว่ำบาตร เนื่องจากหลายประเทศยังกังวลในเรื่องสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้จะต้องติดตามดูการพัฒนาประเทศพม่า ว่าจะไปในทิศทางที่ทำเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือไม่ และเมื่อหลายๆประเทศ พร้อมถอดพม่าออกจากบัญชีประเทศที่ถูกคว่ำบาตร เชลล์ก็ พร้อมจะเข้าไปลงทุน ซึ่งโอกาสในการทำลงทุนในพม่ามีหลายธุรกิจ ทั้งขุดเจาะสำรวจ ขายปลีกส่ง และบริการ ส่วนกัมพูชา เป็นตลาดที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน แต่ยังไมได้โฟกัสอย่างจริงจังมากนัก


สำหรับโอกาสของไทยหลังเปิด AEC นั้น พิศวรรณ บอกว่า ภูมิศาสตร์ที่ตั้งประเทศของเราได้เปรียบที่จะเป็นยุทธศาสตร์ และเป็น Hub ได้ในหลายธุรกิจ เช่น Hub การท่องเที่ยว เพราะปัจจุบันไทยเป็นศูนย์กลางการบินอยู่แล้ว จากการที่มีจำนวนสายการบินเข้ามามากที่สุดเมื่อเทียบประเทศอื่นในอาเซียน รวมถึงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่พร้อม และสามารถเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ต่างๆได้เป็นอย่างดี


อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ ทักษะทางภาษาของคนไทย เนื่องจากการขาดทักษะในเรื่องนี้ ทำให้เสียเปรียบชาติอื่นที่มีความพร้อมในเรื่องภาษามากกว่า เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รวมถึงจีน ทั้งที่คนไทยมีฝีมือ และมีวินัยในการทำงานสูง ดังนั้นรัฐจะต้องเป็นหลักในการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาครูให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษา เพื่อนำไปสอนเยาวชนต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นทางเลือกในการเป็น Hub ทางด้านบุคลากรของอาเซียน


มั่นใจไทยฮับพลังงานภูมิภาค
สำหรับกิจการพลังงาน นั้น พิศวรรณ มองว่า ไทยเป็น Hub ได้เช่นเดียวกัน เพราะมีความโดดเด่นในการเป็นผู้นำเสนอนโยบายพลังงาน และที่ก้าวหน้ามากที่สุดในเอเชียก็คือ ?เชื้อเพลิงชีวภาพ ? รวมถึงเป็นประเทศที่ตื่นตัวในเรื่องเรื่องสิ่งแวดล้อม และการลดก๊าซเรือนกระจก
นอกจากนี้ไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีศักยภาพของวัตถุดิบในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะเอทานอลที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่น แต่การที่เราจะก้าวต่อไปได้ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ทั้งอ้อยและมันสำปะหลัง เพื่อขยายการผลิต เอทานอล และบี 100 รองรับความต้องการ ซึ่งหากทำได้แล้ว การเป็น Hub ก็ไม่ใช่เรื่องยาก


อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ขาดหายไป ในการบริหารจัดการของไทยในเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ คือ แผนแม่บทการบริหารจัดการตลอดสายการผลิต ตั้งแต่เพาะปลูกจนถึงการผลิตเป็นพลังงาน สาเหตุมาจากขาดการบริหารจัดการแบบเป็นองค์กรวม


กระทุ้งรัฐปรับองค์กรเอื้อเอกชน
โดยปัจจุบันจะพบว่า ในเรื่องเดียวกัน แต่กระจายความรับผิดชอบไปตามภารกิจของกระทรวงต่างๆ เช่น เมื่อพูดเรื่องผลผลิต เป็นหน้าที่กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เรื่องการผลิตเป็นน้ำตาลหรือเอทานอล เป็นเรื่องของกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ในเรื่องของราคาเอทานอลอยู่ที่กระทรวงพลังงานและเกษตร เป็นต้น


"จำเป็นต้องมีการตั้งหน่วยงานกลาง เพื่อรวมศูนย์การทำงานให้ เห็นภาพตลอดสายการผลิต ซึ่งเชื่อว่าการมีหน่วยงานมาดูแลรับผิดชอบอย่างจริงจัง จะทำให้มองเห็นปัญหาชัดเจนขึ้น และสามารถผลักดันให้มีการแก้ไข รวมถึงช่วยให้ทุกฝ่ายเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน"นางพิศวรรณ กล่าว


นางพิศวรรณ มองราคาพลังงานในประเทศไทยว่า การตรึงราคาเป็นอุปสรรคหนึ่ง ในการทำให้ไทยเป็น Hub ซึ่งเกิดจากการที่น้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์การเมือง ดังนั้นจะมีความพยายามใช้อำนาจทุกรูปแบบ ที่จะทำให้เสียงการเมืองไม่กระทบ โดยเมื่อเวลาแพงก็จะเข้าไปอุดหนุน กระทั่งกลไกตลาดบิดเบือน และส่งผลให้ประชาชนไม่รับรู้และตระหนักว่าของแพงอย่างไร และเมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะไม่ถูกกระตุ้นให้ต้องลุกขึ้นมาเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานหรือประหยัด


"ไทยเป็นฮับได้ในหลายเรื่องหากปลดล็อกการเมืองกับเศรษฐกิจออกจากกัน เพราะการออกนโยบายที่ผิดเพี้ยน เพื่อหวังผลทางการเมือง มักทำให้การพัฒนาสะดุด ซึ่งในอดีตอาจไม่กระทบมาก เพราะการเมืองกับเศรษฐกิจแยกกัน ดังนั้นแม้การเมืองวุ่นวาย แต่เศรษฐกิจก็เดินหน้าไปได้ แต่มาช่วงหลังทั้งสองภาคเข้าใกล้จนคร่อมกันและกลายเป็นผูกพันกัน"นางพิศวรรณ กล่าว

Air conditioner
17-08-2012, 16:42
วันที่ 27 มกราคม 2555 14:00
ม.วลัยลักษณ์ฉลองครบ20ปี เดินหน้าสู่ประชาคมอาเซียน



http://www.thoondd.com/images/content/2012021670512.jpg



ศ.ดร.ชลธิราเผยม.วลัยลักษณ์ฉลองสถาปนาครอบ 20 ปี เตรียมเดินหน้าเข้าสู่เวทีประชาคมอาเซียน


ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา คณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์ กล่าวว่า ตลอดเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งที่จะเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential University ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ?บ่มเพาะศึกษิต ผลิตความรู้ เปิดประตูสู่สังคม? พร้อมกับวิสัยทัศน์ที่ว่า ?เป็นองค์การธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล?


การเปลี่ยนแปลงสำคัญในอีกสามปีข้างหน้า ซึ่งประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิบประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเข้าสู่การเป็น ?ประชาคมอาเซียน? (ASEAN Community) อย่างเต็มตัว โดยมีกฎบัตรอาเซียน เป็นธรรมนูญสูงสุด และมีเสาหลักสามด้านเป็นหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย เสาหลัก ด้านการเมืองและความมั่นคง เสาหลักด้านเศรษฐกิจ และเสาหลักด้านสังคม-วัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายที่จะสร้าง ?วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว? ภายใต้รูปแบบความร่วมมือภูมิภาค คือ การเปลี่ยนแปลงสำคัญซึ่งรอให้สังคมไทยเข้าเผชิญหน้า



การสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะของคนให้มีทักษะ ความสามารถทางด้านภาษา เทคโนโลยี ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐาน เป็นยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของชาติเพื่อการร่วมประชาคมอาเซียนของไทย ในขณะที่สภาการศึกษาแห่งชาติ ได้แถลงถึงการสำรวจความตระหนักของประชาชนในประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ในเรื่องของการรวมเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ปรากฏว่า ประชาชนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาวมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนสูง เป็นอันดับ 1 ในขณะที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศริเริ่มและมีการลงนามปฏิญญาอาเซียนนั้น กลับมีความตระหนักรู้ในลำดับที่ 8 ในวาระครบรอบปีที่ 20 ของการสถาปนามหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2555 บทบาทของการสร้างความรู้และเตรียมพร้อมประชาคมให้มีความเข้าใจและพร้อมรับ ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นภารกิจที่ต้องกระทำอย่างเพิก เฉยมิได้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่สังคม จึงเป็นหน้าที่สำคัญของมหาวิทยาลัย อันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยมีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง



"เราหวังอย่างยิ่งถึงการได้ร่วมเฉลิมฉลองครบปีที่ 20 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะที่เป็น "อุทยานการศึกษาแห่งอาเซียน" ซึ่งได้กำหนดรู้ร่วมกันให้เป็น ?เอกลักษณ์? ของมหาวิทยาลัย ร่วมตระหนักและเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในสังคมไทย สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กับประชาคมท้องถิ่นที่ สำคัญหมาวิทยาลัยเข้าไปร่วมสรรค์สร้าง ?พลเมืองอาเซียน? รุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจต่อความสำคัญของอาเซียน เข้าใจปัญหาเศรษฐกิจการเมือง ซาบซึ้งลุ่มลึกใน ?รากร่วมวัฒนธรรมอาเซียน? และมีอุดมการณ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ (Greening ASEAN) ซึ่งตลอด 20 ปีที่ผ่านมานั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบทบาทด้านการศึกษาที่สูงมากและจะ เป็นสถาบันการศึกษาที่โดดเด่นในอาเซียน? ศ.ดร.ชลธิรา กล่าว

Air conditioner
17-08-2012, 16:45
วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 01:00
เปลี่ยนความเคยชินเดิม รับประชาคมอาเซียน

http://www.cityvariety.com/files/entertainment.joke/20080905133723qmkkz.jpg



อีก 2 ปีเศษๆ ก็จะถึงปี 2558 ซึ่งเริ่มต้นเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี




อันจะเป็นจุดเริ่มต้นแห่ง โอกาสทางเศรษฐกิจประดามี เนื่องจากการรวมอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวหรือหนึ่งตลาด มีลูกค้าอยู่ถึงกว่า 600 ล้านคน และยังมีผู้วาดภาพให้กว้างกว่านั้นว่าจะต้องมองลูกค้าระดับกว่า 3,200 ล้านคน เพราะจีน กับอินเดีย 2 ประเทศที่มีฐานประชากรสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ก็เป็นเป้าหมายของการรวมกลุ่มเออีซีครั้งนี้ด้วย แต่ท่ามกลางโอกาสมหาศาล การเตรียมพร้อม เตรียมตัวเป็นอย่างดีเยี่ยมจะต้องเกิดขึ้น และควรเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบต่อเนื่องยาวนาน อาจต้องล่วงหน้าเป็นสิบๆ ปี หากประเทศไทยหาเป็นเช่นนั้นไม่ คือมองเห็นโอกาส แต่ขาดการเตรียมพร้อมอย่างเข้มข้น

จุดอ่อนด้อยจากอดีตถึงปัจจุบันเรื่องหนึ่งของคนไทยคือ ภาษาอังกฤษ ที่เดิมอาจมองว่าเป็นภาษาของนักล่าอาณานิคม คนในประเทศเมืองขึ้นเท่านั้นถึงจะใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ประเทศไทย คนไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้น เป็นขี้ข้าใคร อยู่ในประเทศไทยก็สุขสบายดี ทำไมต้องรู้ภาษาอังกฤษ ทำไมต้องเก่งภาษาอังกฤษ แต่ยุคปัจจุบัน ภาษาอังกฤษคือภาษาสากล ภาษาของเทคโนโลยี ภาษาของการก้าวไปข้างหน้า ตราบใดที่เรายังไม่สามารถค้นคิดเทคโนโลยีด้วยตัวของตัวเอง ยังต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ยังทำให้ประเทศอื่นๆ ยอมรับเทคโนโลยี หรือยินยอมให้ภาษาไทยเป็นภาษาสากลไม่ได้ ก็คงหลีกหนีความจริงไปไม่พ้นว่า ต้องรู้ ต้องพัฒนาภาษาอังกฤษให้ได้ อาจไม่ต้อง "เป๊ะ" เท่ากับเจ้าของภาษา แต่ต้องอยู่ระดับสื่อสารกับประชาคมทั่วไปได้

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เล่าในงานสัมมนาแห่งหนึ่งว่า ไม่ใช่เฉพาะอังกฤษอย่างเดียว แต่คนไทยจะต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน ภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันด้วย ยกตัวอย่างภาษามาเลย์ ซึ่งครึ่งหนึ่งของประชากรอาเซียนพูดภาษามาเลย์ และยังมีข้อมูลที่ว่ามีคนพม่าเรียนภาษาไทยระดับปริญญาโท มากกว่าคนไทยที่เรียนภาษาพม่า การรู้มากกว่า 1 ภาษาถือเป็นข้อได้เปรียบสำหรับการติดต่อสื่อสารกัน แม้จะอยู่กับบ้าน อยู่ในประเทศ แต่อีกไม่นานนี้ ชาวต่างชาติ การเคลื่อนย้ายถิ่น ย้ายแรงงานระหว่างกันต้องเกิดอย่างแน่นอน หากใครไม่ยอมปรับปรุง ยังย่ำอยู่กับที่ โอกาสที่อยู่ตรงหน้า อาจกลับกลายเป็นด้อยโอกาสโดยพลัน

"ภาษา" อาจเป็นเพียงหนึ่งปัจจัยที่ชี้วัดความพร้อมหรือไม่ของไทย ต่อโอกาสที่กำลังใกล้เข้ามา แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึง และเร่งมือปรับปรุงความพร้อม โดยเฉพาะการทำได้หลายๆ งานพร้อมกัน หรือความสามารถทำงานที่แตกต่างกันได้ตามความสนใจ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง สอดคล้องกับอายุคนที่ยืนยาวขึ้น การเลือกประกอบอาชีพจะทำได้หลากหลาย ฉะนั้นต้องจัดการเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้จริงจัง ใครต้องการเปลี่ยนอาชีพ เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ต้องมีช่องทางที่ทำได้ตลอดเวลา ต้องสร้างคนให้รู้จักประมวลผลเองได้ วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่รอคำสั่ง รอตัวเลือก หรืออยู่อย่างเพ้อฝัน ฉาบฉวย คิดว่าจะทำงานง่ายๆ ได้เงินมาง่ายๆ ไร้การพัฒนาเพื่อจะก้าวสู่อนาคต

Air conditioner
17-08-2012, 16:47
วันที่ 17 ตุลาคม 2554 10:56
เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 2558




http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/10/17/images/news_img_414115_1.jpg

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนของไทย


ช่วงเวลาที่สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน (เออีซี) ใกล้เข้ามาทุกขณะ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มกังวลว่า ไทยพร้อมหรือไม่กับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกประมาณ 3 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเตรียมความพร้อมให้คนไทยในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อให้เราไม่พลาดโอกาสที่ดีจากการรวมตัวเป็นประชาคม และทำให้ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมดังกล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิ


นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงค์ศักดิ์ นักวิชาการชั้นแนวหน้าของไทย ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการเตรียมความพร้อมของไทย สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในคอลัมน์เกาะติดเศรษฐกิจการเงิน นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 ก.ย. ซึ่งข้อเสนอแนะต่างๆ ที่นายเกรียงศักดิ์ให้ไว้ มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะสำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรง


เพื่อให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน กรมอาเซียนจึงขอเล่าความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนของไทย ดังนี้


การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียนในหมู่ประชาชน คำว่า ?ประชาคม? ตามพจนานุกรมของราชบัญฑิตยสถาน หมายถึง ชุมชน หรือกลุ่มชน ซึ่งอยู่รวมกัน และมีการติดต่อสัมพันธ์กัน นั่นหมายความว่า การจะจัดตั้งประชาคมให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ หัวใจสำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน


ดังนั้น นอกจากการส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีอาเซียนแล้ว การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียนให้ประชาชนได้รับทราบ จึงเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญของกรมอาเซียน
ในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา กรมอาเซียนร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยต่างๆ กระทรวงพานิชย์ รวมทั้งภาคเอกชน ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแก่ ประชาชน รวมถึงเข้าร่วมการบรรยายและงานเสวนา ที่หน่วยงานราชการและองค์กรต่างๆ จัดขึ้นจำนวนกว่า 120 ครั้ง ในกรุงเทพฯ กว่า 98 ครั้ง และต่างจังหวัด 22 ครั้ง ครอบคลุมประชาชนทุกสาขาอาชีพหลายหมื่นคน


นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอาเซียนสัญจรไปบรรยายและให้ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน แก่หน่วยงานระดับจังหวัดและสถานศึกษาใน 5 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี มุกดาหาร นครพนม พิษณุโลก ขอนแก่น และกาญจนบุรี


อย่างไรก็ตาม กรมอาเซียนยอม รับว่า การเข้าถึงประชาชนทุกคนทั่วทั้งประเทศโดยวิธีการให้ความรู้เป็นแห่งๆ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องด้วยอุปสรรคด้านงบประมาณและบุคลากร จึงจำเป็นต้องผลักดันการตระหนักรู้ในด้านนี้ของประชาชนในเชิงโครงสร้าง โดยถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียน ผ่านครู อาจารย์ นักวิชาการ รวมทั้งผู้นำชุมชนท้องถิ่น เพื่อนำไปเผยแพร่ในสถาบันการศึกษาและชุมชนต่อไป


ล่าสุด กรมอาเซียนจัดการอบรมสัมมนาครูจำนวน 84 คน ในลักษณะ ?train the trainer? ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 5-8 ก.ย.


ส่วนข้อเสนอแนะของนายเกรียงศักดิ์ ในเรื่องการตั้งศูนย์ศึกษาประเทศเพื่อนบ้านให้ครบทุกประเทศในอาเซียน และการจัดตั้ง ?สำนักงานคลังสมองไทยเพื่อประชาคมอาเซียน? (Thai Think Tank for ASEAN Community) เพื่อช่วยเสริมสร้างการตระหนักรู้เรื่อง กรมอาเซียนมีการร่วมมือกับภาควิชาการ จัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือด้านวิชาการเอเชียตะวันออกเมื่อปี 2550
คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 20 สถาบัน เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการของไทยในกรอบอาเซียน และอาเซียน+3 ซึ่งหมายถึง อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (เอยูเอ็น) และกรมอาเซียน ร่วมเป็นฝ่ายเลขานุการ นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งสำนักงานคลังสมองไทยเพื่อประชาคมอาเซียนในอนาคต


กระนั้นก็ดี การริเริ่มโครงการหรือผลักดันกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน งบประมาณเป็นอีกปัจจัยที่ต้องให้สำคัญ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับการจัดทำงบประมาณในปี 2555-2558 แบบบูรณาการ เพื่อเตรียมความพร้อมของคนไทยเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน และกรมอาเซียนจะดำเนินการร่วมกับสำนักงบประมาณต่อไป

Air conditioner
17-08-2012, 16:49
วันที่ 17 มกราคม 2555 16:05
เปิดเสรีประชาคมศก.อาเซียนการแพทย์ไทยได้มากกว่าเสีย




http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2012/01/17/images/news_img_430367_1.jpg
ประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 ความรู้ความเข้าใจ-การเตรียมตัวของภาครัฐ-เอกชนและประชาชน"ในเรื่องของสายแพทย์"

อ่านต่อที่ : bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20120117/430367/เปิดเสรีประชาคมศก.อาเซียนการแพทย์ไทยได้มากกว่าเสีย.html

Air conditioner
17-08-2012, 16:52
วันที่ 26 มกราคม 2555 10:47
สสอท.วอนรัฐหนุน'ม.เอกชน'รองรับประชาคมอาเซียน



http://talk.mthai.com/uploads/2009/03/20/11580-attachment.jpg



นายกสมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย จวกม.รัฐอย่าแข่งขันกับม.เอกชน ย้ำรัฐบาลควรส่งเสริมสาขาที่เอกชนมีศักยภาพรองรับประชาคมอาเซียน


ผศ.ดร.ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ ในฐานะนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) กล่าวถึงการจัดตั้งและการเปลี่ยนประเภทของมหาวิทยาลัยเอกชน ว่า คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีมติให้ชะลอการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนทั้งหมด เนื่องจากว่ามีปัญหาเรื่องคุณภาพและความพร้อม เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของรัฐ และที่ประชุมยังหารือกันถึงเรื่องการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ว่าจะสามารถเป็นไปได้หรือไม่ ที่ไม่ให้มหาวิทยาลัยของรัฐเปิดสอนในสาขาที่เหมือนกับมหาวิทยาลัยเอกชน
โดยที่ประชุมเห็นว่่า มหาวิทยาลัยของรัฐ ควรจะเปิดสอนในสาขาที่มีการลงทุนด้านการเรียนการสอนสูงๆ อย่างสาขาเทคโนโลยี สาขาแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยเอกชนไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยของรัฐมีงบประมาณสนับสนุน และเมื่อมหาวิทยาลัยเอกชน ต่างก็ทำหน้าที่แบ่งเบาภาระด้านการศึกษา ขอให้มหาวิทยาลัยรัฐอย่าเปิดสาขาที่มหาวิทยาลัยเอกชนสอนอยู่ แล้วมาแข่งขันกัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดแรงงานด้วย จากนั้นรัฐบาลก็ควรที่จะช่วยสนับสนุนงบประมาณกับมหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีศักยภาพโดดเด่นในการผลิตนักศึกษาแต่ละสาขา เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน ปี 2558

อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ ยังกล่าวถึงการปรับเปลี่ยนปฏิทินการเปิด-ปิดภาคเรียน เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน 2558 ว่า มหาวิทยาลัยรัฐบาล จะปรับปฏิทินการเปิด-ปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2556 ในหลักสูตรนานาชาติ ก่อนที่จะปรับหลักสูตรไทยในปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดว่าภาคเรียนที่ 1 เริ่มตั้งแต่เดือน ส.ค.-ธ.ค. ภาคเรียนที่ 2 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ค. และภาคฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ก.ค. ซึ่งทาง สสอท. กำลังพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง ก่อนที่ตัดสินใจว่าจะดำเนินการตามมหาวิทยาลัยรัฐหรือไม่ ทั้งนี้น่าจะได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งหน้า

อย่าง ไรก็ตาม ดร.ประดิษฐ์ ยังแสดงความเป็นห่วงเรื่องแอดมิชชัน ที่นักเรียนขั้นพื้นฐานจะต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เนื่องจากจะมีช่วงเวลาที่เด็กจะต้องเว้นว่าง ไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะยังไม่ถึงเวลาเปิดภาคเรียนของทางอุดมศึกษา แต่ก็ได้มีการเตรียมการสอนภาษาต่างๆ ทดแทนไปก่อน นอกจากนี้ยังห่วงว่า สถาบันต่างประเทศจะเข้ามาเปิดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งอาจจะเกิดความซ้ำซ้อนในเรื่องสาขาได้