View Full Version : หรือประชาคมอาเซียนจะไปไม่รอดด้วยปัญหาทะเลจีนใต้


Air conditioner
09-09-2012, 08:29
ประชาคมอาเซียนทำให้เด็กๆอย่างพวกผมต้องกระตือรือล้น เห็นบอกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อันไรมันก็ไม่แน่นอนทั้งนั้น ประชาคมอาเซียนปี 2558 อาจจะไม่เป็นความจริงก็ได้ เห็นปัญหาทะเลจีนใต้ที่ผ่านไปไม่กี่วันแล้วทำให้เข้าใจเลย การรวมเป็นประชาคมอาเซียนมันต้องอาศัยอะไรที่มากกว่านั้น สงสารเด็กไทยจริงๆตอนนี้ถูกบิ้วไว้เยอะว่าต้องงู้นงี้ ลองอ่านดูครับปัญหาทะเลจีนใต้ที่เขาแย่งน่านน้ำกันอยู่

http://board.roigoo.com/members/ohmohm-albums-aec-picture1164-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9916.jpg (http://board.roigoo.com/members/ohmohm-albums-aec-picture1164-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9916.html)


ปัญหาความขัดแย้ง แย่งชิงทรัพยากรในน่านน้ำทะเลจีนใต้ ถือเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่รอวันระเบิดตูมตามมานาน และนักวิเคราะห์มองว่า การแข่งขันด้านอาวุธในช่วงหลังของบรรดาประเทศคู่กรณี อาจเป็นตัวเร่งสถานการณ์ให้ลุกลาม กลายเป็นสงครามสู้รบ ทั้งขนาดย่อยและขนาดใหญ่ได้ไม่ยาก คู่กรณีที่ว่านี้หมายถึง จีน ไต้หวัน และ 4 ประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ที่โดดเด่นคือ หมู่เกาะสแปรตลีย์ และหมู่เกาะพาราเซล ส่วนที่เหลือเป็นเกาะแก่งหินโสโครกขนาดเล็ก เช่น เกาะสการ์โบโรจ์ ที่จีนเรียกเกาะหวงหยาน และกำลังเป็นปัญหากับฟิลิปปินส์

จีนอ้างอธิปไตยเหนือเกาะแก่งเหล่านี้ เกือบทั่วน่านน้ำทะเลจีนใต้ ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่เหลืออ้างแค่บางส่วน ที่อยู่ไม่ไกลจากชายฝั่งของตน

http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/147275.jpg

ปัญหานี้ทำให้กลุ่มอาเซียน ที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่การเป็น ?ประชาคมอาเซียน? ในปี พ.ศ. 2558 เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก ดังจะเห็นได้จากการประชุมประจำปี รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (เอเอ็มเอ็ม) ครั้งที่ 45 ครั้งล่าสุด ที่กรุงพนมเปญ เมืองหลวงกัมพูชา ระหว่างวันที่ 9?13 ก.ค. ที่ผ่านมา

ซึ่งการประชุมปิดฉากลงโดยไม่มีแถลงการณ์ร่วม ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 45 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา

การประชุมแต่ละปีที่ผ่านมา แถลงการณ์ ร่วมซึ่งจะมีการปรุงไว้ล่วงหน้า ถือเป็นข้อสรุปข้อตกลงที่บรรลุ ในรอบปีก่อนหน้านั้น และบันทึกประเด็นต่าง ๆ ที่ยังจำเป็นต้องแก้ไขให้ลุล่วง

ประเด็นที่ยังเป็นปัญหา ไม่มีการเอ่ยถึงหรือบรรจุไว้ในแถลงการณ์ปิดการประชุม ตรงจุดนี้ตามสายตานักการทูตวงนอกมองว่า เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางสังคมของอาเซียน ซึ่งเชื่อว่าปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ตามกำหนดเวลา สุดท้ายก็จะหาทางแก้ได้เองโดยธรรมชาติ

นี่คือ ?วิถีอาเซียน? วัฒนธรรมแบบสบาย ๆ เป็นกันเอง ไม่ซีเรียส ซึ่งต้องมาพังทลายลง จากความขัดแย้งในที่ประชุมเอเอ็มเอ็ม หนล่าสุดที่พนมเปญ

เท่ากับว่าเอเอ็มเอ็มจะไม่มีบันทึกประเด็น และข้อเสนอต่าง ๆ ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนได้พิจารณาและตัดสินใจ ระหว่างการประชุมปลายปีนี้

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีการต่างประเทศของไทย ปัจจุบันเป็นเลขาธิการอาเซียน กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างการประชุมครั้งนี้ว่า ?คาดไม่ถึง? และ ?น่าผิดหวังอย่างยิ่ง? และว่า อาเซียนจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีรวบรวมและประสานจุดยืน ไม่งั้นก็ไม่มีทางสู้กับประชาคมอื่น ๆ ได้

นักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่มองผลลงเอยการประชุมครั้งนี้ว่า แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกรุนแรงในกลุ่มอาเซียน เกี่ยวกับกรณีพิพาทเหนือทะเลจีนใต้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถของกลุ่ม ในการต่อกรกับคู่แข่งมหาอำนาจเกิดใหม่ในภูมิภาค กระทบต่อความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รวมทั้งบทบาทในการส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างมวลหมู่ชาติสมาชิก

เท่าที่จับกระแสรายงานข่าว ทั้งช่วงก่อนและระหว่างการประชุมเอเอ็มเอ็มที่พนมเปญ ปัญหาพิพาทในทะเลจีนใต้กลายเป็นเรื่องหลักของการประชุม แทนที่จะเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า อย่างเช่น เศรษฐกิจ หรือเรื่องความร่วมมือในอาเซียน และเป็นความขัดแย้งแบบเปิดเผย ระหว่าง 3 ชาติสมาชิก คือกัมพูชา ประเทศเจ้าภาพ ในฐานะชาติประธานหมุนเวียนของอาเซียนในปีนี้ กับฟิลิปปินส์และเวียดนาม

ฟิลิปปินส์กับเวียดนามต้องการให้อ้างอิง เหตุการณ์เผชิญหน้าในทะเลจีนใต้เมื่อไม่นานมานี้ ระหว่างเรือรบ-เรือประมง ของจีนกับสองประเทศ ในแถลงการณ์ร่วมปิดการประชุม แต่กัมพูชาคัดค้าน บอกว่าไม่เหมาะสมที่จะระบุความขัดแย้งทวิภาคีลงในแถลงการณ์

นายอัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ ถึงกับจวก นายฮอร์ นัมฮอง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาตรง ๆ ว่า ยืนหยัดปกป้องผลประโยชน์จีน แต่นายฮอร์บอกว่า กัมพูชาไม่ได้สนับสนุนใครที่เป็นคู่กรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ และการที่ไม่มีแถลงการณ์ร่วมปิดท้าย ต้องโทษสมาชิกอาเซียนทุกชาติ จะโทษกัมพูชาประเทศเดียวไม่ได้

ประชุมหนนี้รัฐมนตรีต่างประเทศจีนและสหรัฐ เข้าร่วมการหารือด้วย ในฐานะประเทศคู่เจรจา จีนยังยืนยันไม่เห็นด้วยกับความพยายามที่จะนำปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ เข้าสู่การหารือในเวทีระหว่างประเทศ ไม่ว่าเวทีใดโดยบอกว่าปัญหานี้ควรแก้ไขด้วยการเจรจาตัวต่อตัว ระหว่างจีนกับประเทศคู่กรณีเป็นราย ๆ ไป

สรุปก็คือ ประ ชุมเอเอ็มเอ็มครั้งที่ 45 ทะเลาะกันอยู่ 3 ชาติ ระหว่างกัมพูชาฝ่ายหนึ่ง กับฟิลิปปินส์กับเวียดนามอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว เป็นที่รู้กันโดยนัยว่า นี่เป็นอีกเวที ?สงครามตัวแทน? ระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจโลก สหรัฐ-จีน

ฟิลิปปินส์และเวียดนามดูเหมือนจะเลือกข้างสหรัฐ ให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น หลังการประกาศปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของพญาอินทรี ซึ่งเพิ่มสรรพกำลังทางทะเลในเอเชียตะวันออก-แปซิฟิก เป็น 60% และแอตแลนติก-ยุโรป เหลือ 40% จากที่เคยอยู่ที่ประมาณ 50:50

นายลีออน พาเนตตา รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ประกาศแผนปรับกำลังทางทะเลใหม่ ระหว่างการประชุมด้านความมั่นคง ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือนก่อน หลังจากนั้นก็เดินทางเยือนฟิลิปปินส์และเวียดนาม และมีการออกข่าวทำนองว่าสหรัฐอาจจะรื้อฟื้นฐานทัพเรือขนาดใหญ่ในประเทศทั้งสอง ขึ้นมาใช้งานอีกครั้ง

ส่วนกัมพูชา ช่วงหลังภาพของการเลือกข้างพญามังกร มองเห็นเด่นชัดเช่นกัน

คล้อยหลังความล้มเหลวการประชุมที่พนมเปญไม่กี่วัน ดร.สุรินทร์ต้องวานขอแรง นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เดินสายเจรจาประสานรอยร้าว ทั้งกัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ก่อนจะคลอดแถลงการณ์ร่วมออกมาจนได้ แต่ก็เป็นแบบพอถูไถไปก่อน

ปัญหาแตกคอกันในอาเซียน จากผลพวงการประชุมเอเอ็มเอ็มหนล่าสุดแทนที่จะจบ กลับปะทุขึ้นมาอีกจนได้ เมื่อ นายฮอส สเรยธน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำฟิลิปปินส์ เขียนบทความส่งถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ฟิลิปปินส์ สตาร์ สื่อยักษ์ใหญ่แดนตากาล็อก มีเนื้อหาโจมตีฟิลิปปินส์กับเวียดนาม ?เล่นการเมืองสกปรก? เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางทะเลกับจีน

นายฮอสกล่าวหา 2 ประเทศนี้ เป็นต้นเหตุความล้มเหลวของการออกแถลงการณ์ร่วม และว่า จุดยืนที่ไม่ยืดหยุ่น และไม่ยอมเจรจาต่อรองของมะนิลากับฮานอย ถือเป็นการเล่นเกมการเมืองแบบสกปรก

นายราอูล เฮร์นานเดซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ เพิ่งแถลงเมื่อวันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้เรียกตัวนายฮอสเข้าพบ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับความเห็นที่ส่งไปลงในหนังสือพิมพ์ แต่นายฮอสไม่ไปโดยอ้างว่าไม่สบาย

เฮอร์นานเดซบอกจะเรียกตัวไปเรื่อย ๆ จนกว่านายฮอสจะหายป่วย และเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงได้ งานนี้จับตามองให้ดี อาจจะมีรายการวิวาทะเผ็ดร้อน ตอบโต้กันให้สะดุ้งสะเทือนไปทั้งอาเซียนอีกหลายยก และดูท่าทางจะห้ามยากเสียด้วย

ตามสายตานักวิเคราะห์อย่าง ตัน เส็ง เชีย อาจารย์สถาบันศึกษากิจการระหว่างประเทศ เอส. ราชารัตนัม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ในสิงคโปร์ กรณีพิพาทในทะเลจีนใต้เป็นเรื่องซับซ้อนและยุ่งยาก เนื่องจากการอ้างสิทธิไม่ใช่แค่ให้ได้ดินแดน แต่เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่าปัญหาจะไม่สามารถแก้ไขได้ในเวลาอันสั้น

พิพาททะเลจีนใต้เกี่ยวพันเพียงแค่ 4 ประเทศสมาชิกอาเซียน กับจีน และไต้หวัน ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างอาเซียนกับจีน ซึ่งตามแนวทางปฏิบัติของอาเซียน ความขัดแย้งควรแก้ไขโดยสันติ ในระหว่างรัฐที่กล่าวอ้างสิทธิ โดยยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือที่เรียกกันว่า อันคลอส รวมทั้งปฏิญญาข้อควรปฏิบัติของคู่กรณีในทะเลจีนใต้ (ดีโอซี) และการปฏิบัติตามคำแนะนำปี 2011

ส่วน ซาบาม เซียเกียน ประธานชมรมอดีตเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย บอกว่า หากอาเซียนปล่อยให้ภูมิภาคเป็นสนามรบ ?สงครามกองโจรทางการทูต? ของสหรัฐกับจีนต่อไป โดยไม่มีการควบคุมหรือห้ามปราม ก็จะเป็นจุดเริ่มไปสู่ความหายนะของกลุ่มในอีกไม่นาน

ดังนั้นอาเซียนต้องรีบแก้ปัญหา ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ให้กลับคืนสู่เป้าหมายแนวทางเดิมโดยเร็วที่สุด.

สุพจน์ อุ้ยนอก
เดลินิวส์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (http://board.roigoo.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/)