View Full Version : รายละเอียดการทำหนังสือหรอยกูเล่มแรก


M150
05-11-2012, 16:00
1. โปรแกรมที่เหมาะสมในการทำอาร์ตเวิร์ค
ในการทำอาร์ตเวิร์ค จะแบ่งโปรแกรมที่ใช้เป็น 2 ส่วนดังนี้ค่ะ 1. โปรแกรมสำหรับจัดทำปก และ 2. โปรแกรมจัดทำเนื้อใน

โปรแกรมทำปก:
Adobe illustrator หรือ Abobe Photoshop ทั้ง 2 โปรแกรมแนะนำให้ส่งเป็นไฟล์ PDF ชนิด PDFX3:2002*** และ หากทำจากโปรแกรม Photoshop แนะนำให้ส่งส่งเป็นไฟล์ .psd แบบแยก เลเยอร์มาด้วยค่ะ (***สามารถดูการเซฟไฟล์งานเป็น PDF ได้ในข้อ 3 การ save ส่วนของเนื้อในเป็นไฟล์ pdf เพื่อส่งพิมพ์ )

โปรแกรมทำเนื้อใน:
Adobe Indesign ที่มีการเผื่อตัดตกรอบด้าน 3 มิลลิเมตร*** แล้ว export เป็น PDFX3:2002 ค่ะ
(***สามารถดูคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัดตกได้ที่หัวข้อที่ 5. ข้อจำกัดของการพิมพ์ในระบบ print on demand และประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ที่ควรทราบเพิ่มเติม)

การตั้งค่าหน้ากระดาษ ห่างจากขอบอะไรอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว ระยะขอบกระดาษที่ใช้จะมีค่าไม่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์ผลงานว่า ต้องการให้ขอบงานมีขนาดเท่าไหร่ แต่สำหรับหนังสือขนาด A5 (148X210 มม.) ฟาสต์บุ๊คส์แนะนำค่าโดยประมาณดังนี้ค่ะ

ระยะขอบบน ล่าง และด้านนอก 1.5 ซม. ด้านในฝั่งชิดสัน 1.8 หรือ 2 ซม. ค่ะ (ดูคำอธิบายด้วยภาพด้านล่างหาก)

http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=5078&stc=1&d=1352106129


สาเหตุที่ให้เผื่อระยะขอบด้านในมากกว่าด้านนอกเพราะ หากหนังสือมีจำนวนหน้าหลายหน้า (มากกว่า 150 หน้า) และเข้าเล่มแบบไสกาว เมื่อเปิดอ่านหน้าที่อยู่กลางเล่ม กระดาษปกและเนื้อในจะดีดตัวทำให้เปิดอ่านหน้าที่อยู่กลางเล่มไม่สะดวกเท่าใดนัก และหากเว้นระยะขอบด้านในมากกว่าด้านอื่นๆ จะทำให้ผู้ใช้หนังสือเปิดใช้งานหน้ากลางๆ เล่มได้ง่ายขึ้นค่ะ

2. การตั้งค่า Color Profile
การตั้งค่า Color Profile ในโปรแกรมตระกลู Adobe มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ

1) เลือกตั้งค่าสีจากโปรแกรมใดก็ได้ในตระกูล Adobe CS
Edit > Color Settings? ที่ช่อง Workings Spaces
-ช่อง RGB : เลือกเป็น Adobe RGB (1998)
-ช่อง CMYK : เลือกเป็น Coated FOGRA 39 ส่วนจุดอื่นๆ ตั้งตามเดิม > OK > save

2) เรียกใช้งาน Color Profile ให้เหมือนกันทุกโปรแกรมในครั้งเดียว ด้วย Adobe Bridge
Edit > Creative Suite Color Setting? > เลือกค่าสีที่ได้ Save ไว้ในข้อ 1 > กด Apply

***การตั้งค่า Color Profile นี้คือการตั้งค่าให้ตรงกับ Color Profile ที่โรงพิมพ์ใช้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เมื่อตั้งค่าตามที่แจ้งด้านบนแล้วสีของงานพิมพ์กับหน้าจอจะเหมือนกัน 100 เปอร์เซ็นต์ (สามารอ่านคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องสีเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อที่ 5. ข้อจำกัดของการพิมพ์ในระบบ print on demand และประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ที่ควรทราบเพิ่มเติม)

3. การ save ส่วนของเนื้อในเป็นไฟล์ pdf เพื่อส่งพิมพ์
หากใช้โปรแกรมในตระกูล Adobe มีวิธีทำเป็นไฟล์ PDF ดังนี้ค่ะ

- File > Save as? หรือ Export > ตั้งชื่อไฟล์งาน > เลือก Adobe PDF Preset เป็น PDF(PDF/X-3:2002) > Export

*** PDF/X-3: 2002 คือประเภท PDF ที่ฟาสต์บุ๊คส์ใช้ ซึ่งโรงพิมพ์อื่นอาจจะเลือกใช้ประเภทของ PDF ที่แตกต่างออกไป ***

4. ข้อจำกัดของการพิมพ์ในระบบ print on demandและประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ที่ควรทราบเพิ่มเติม
ข้อมูลที่ควรทราบเพิ่มเติมมีดังนี้ สี, ความโค้งงอของกระดาษ, การเตรียมไฟล์งาน เป็นต้น

4.1 สี
สีของสิ่งพิมพ์อาจเหมือนหรือแตกต่างกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ แม้จะใช้ไฟล์งานเดียวกันพิมพ์เพราะมีปัจจัยที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

หน้าจอที่ใช้ทำงาน:
การตรวจสอบสีของหน้าจอคอมพิวเตอร์ เนื่องจากจอคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น และแต่ละผู้ใช้งาน จะมีการตั้งค่าความสว่าง ค่าความเข้มของสีและแสงต่างกัน และอาจจะไม่มีการ
ความคุมความสเถียรของค่าสีและความสว่าง (Calibration) ทางฟาสต์บุ๊คส์จึงจะใช้ หลักการพิจารณาค่าสีจากจอคอมพิวเตอร์ของโรงพิมพ์เป็นหลัก ดังนั้นหากทางลูกค้า ต้องการตรวจสอบค่าสีของสิ่งพิมพ์และไฟล์งาน ลูกค้าสามารถเข้ามาที่โรงพิมพ์เพื่อพิจารณาในเรื่องนี้ได้ค่ะ

สีของกระดาษ
กระดาษแต่ละชนิดจะมีสีเนื้อกระดาษและวัสดุที่ใช้ต่างกัน สีและวัสดุทำกระดาษจะส่งผลต่อสีของงานพิมพ์ได้ ***แต่ทั้งนี้แม้จะบอกว่าสีที่พิมพ์ออกมาไม่เหมือนกัน แต่สีที่ออกมาจะอยู่ในโทนสีเดียวกันและอยู่ในเกณฑ์พิจารณาของโรงพิมพ์

4.2 ความโค้งงอของกระดาษ
ในบางครั้งการพิมพ์งานเนื้อใน เมื่อเข้าเล่มแล้ว กระดาษจะมีลักษณะโค้งงอเล็กน้อย เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้คือ ความร้อนของเครื่องพิมพ์ การพิมพ์งานด้วยเครื่องดิจิตอล เครื่องจะใช้ความร้อนในระบบพิมพ์ด้วย และหากเกร็นกระดาษ (การวางตัวของเยื่อกระดาษ) เป็นแนวขวาง และกระดาษมีความชื้น จะส่งผลให้งานพิมพ์มีความโค้งงอในบางครั้ง ***แต่เมื่อทิ้งงานไว้ระยะหนึ่งกระดาษจะคืนตัว ทำให้ได้กระดาษที่เรียบขึ้น และความโค้งของกระดาษจะลดลง

4.3 การเตรียมไฟล์งาน

ความละเอียดของภาพและความละเอียดของงานแต่ละหน้า:
ภาพประกอบ หรือความละเอียดของงานแต่ละหน้า ควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หากความละเอียดน้อยกว่านี้จะทำให้งานพิมพ์ออกมาไม่ชัดเจน

รูปภาพและข้อความไม่ควรอยู่ชิดขอบกระดาษมากเกินไป
ในการทำไฟล์งานควรมีการเผื่อตัดตก ด้านละ 3 มิลลิเมตร และควรเว้นระยะขอบงานอย่างเหมาะสม เพราะหากรูปภาพและข้อความอยู่ชิดขอบกระดาษมากเกินไป เมื่อนำงานพิมพ์ไปตัดเจียน ภาพและข้อความอาจถูกตัดออกไปได้

เส้นควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 0.25 pt
เส้นตรงหรือเส้นโค้งต่างๆ ไม่ควรเล็กกว่า 0.25 pt เพราะแครื่องพิมพ์ อาจจะอ่านค่าไม่ได้และเส้นเหล่านั้นก็จะไม่ปรากฏบนชิ้นงานค่ะ

bankbcool
05-11-2012, 21:32
เอาที่ผมเข้าใจเลยนะ คือไฟล์งานเป็น pdf และเว้นขอบด้านละ1.5cm และ ติดสันกระดาษ2cm แค่นี้แหละ มีอะไรเพิ่มเติมก้อบอกด้วยนะคร้าบ. เอาแบบเข้าใจง่ายๆเลยนะคร้าบ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง