View Full Version : ออตโตมัน


เติ้ล
05-05-2013, 16:12
อาณาจักร ออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมัน (อังกฤษ: Ottoman Empire) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ มีสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำ มีคอนสแตนติโนเปิล(อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง ในตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม
อาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้
อาณาจักรออตโตมันสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นสุลต่านองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก
ในช่วงที่เซลจุกเติร์กกำลังเสื่อมอำนาจ ชาวเติร์กเผ่าอื่นๆ ซึ่งได้อพยพตามเซลจุกเติร์กเข้ามายังอนาโตเลียจึงได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราช ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงชาวเติร์กกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของออสมัน เบย์ (Osman Bey) (?เบย์? ในภาษาตุรกีมีความหมายว่า ผู้นำ หรือ เจ้าเมือง) ผู้นำชาวเติร์กเผ่าคายี (Kayi) ซึ่งเป็นสายย่อยของเติร์กเผ่าโอกูซ (Oghuz) บิดาของออสมัน ชื่อ Ertugrul เป็นผู้นำเผ่าคายี ซึ่งเป็นเติร์กกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้าไปอยู่ในเปอร์เซีย ในกลางศตวรรษที่ 13 Ertugrul ได้พาเผ่าของตนอพยพเข้ามายังอนาโตเลีย เพื่อหลบหนีการโจมตีจากพวกมองโกล เมื่ออพยพเข้ามายังอนาโตเลียแล้ว Ertugrul เสียชีวิต ออสมันบุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ภายหลังที่อาณาจักรเซลจุกเสื่อมอำนาจ ออสมันได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราชและได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง ขึ้นในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย อาณาจักรแห่งนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า ออสโตมัน (Ottoman) แต่ในภาษาตุรกีจะเรียกว่า ออตแมนลึ (Osmanli) ตามพระนามของสุลต่านออสมัน (Osman) ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงค์

จักรวรรดิออสโตมันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองบูร์ซา เดิมชื่อเมืองโพรอุสซา (Proussa) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ออสมันได้ยกกำลังมาปิดล้อมเมืองนี้แต่ไม่สามารถยึดเมืองได้ หลังจากที่พยายามปิกล้อมเมืองอยู่นานเกือบ 10 ปี อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1869 (ค.ศ. 1326) ชาวเมืองโพรอุสซา ได้ยอมแพ้ต่อ ออร์ฮัน (Orhan) โอรสของออสมัน ซึ่งได้ขันมาเป็นผู้นำแทนบิดา การเข้ายึดครองเมืองดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อออสโตมัน ออตโตมันเติร์กซึ่งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้ลงหลักปักฐานที่เมืองนี้ พรัอมกับยุติการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน เมืองบูร์ซ่าเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก จนถึงปี พ.ศ. 1905 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านออร์ฮัน เมืองหลวงของออตโตมันก็ถูกย้ายไปเมืองเอดิร์เน (Edirne) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครคอนสแตนติโนเปิล
อาณาจักรออตโตมันตั้งประชิดติดกับอาณาจักรไบแซนไทน์ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลงตามลำดับ โดยมีดินแดนเหลืออยู่เพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและอาณาบริเวณโดยรอบเท่านั้น ซึ่งมีสภาพไม่ต่างอะไรไปจากนครเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบโดยอาณาจักรออตโตมัน ที่กำลังเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีนครรัฐไบแซนไทน์ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ โดยอาศัยกำแพงเมืองสูงใหญ่เป็นปราการป้องกันตนเอง กำแพงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมันจักรพรรดิธีโอดอซิอุสที่ 2 (Theodosius II) กำแพงแห่งนี้ได้ปกป้องคุ้มครองนครคอนสแตนติโนเปิลจากการปิดล้อมและโจมตีของออตโตมันเติร์ก ซากของกำแพงในปัจจุบันจัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นจนกระทั่งทุกวันนี้และได้รับการยกย่องจาอองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก
ในปี พ.ศ. 1933 (ค.ศ. 1390) และ พ.ศ. 1934 สุลต่านไบยัดซึที่ 1 ทรงพยายามปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตีเมืองได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422) สุลต่านมูราตที่ 2 ได้ทำการปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่ก็ไม่สามรถประสบความสำเร็จเช่นกัน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ได้เปิดฉากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองเหลืออยู่เพียงประมาณ 50,000 คน จากเดิมที่เคยมีมากกว่า 500,000 คน
การปิดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในต้นฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) ภายหลังที่ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ประมาณ 50 วัน กองทหารออตโตมันก็สามารถทะลวงกำแพงเมืองอันสูงใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) และเข้ายึดกรุงได้ในที่สุด ซึ่งการปิดฉากอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งสามารถยืนหยัดอยู่รอดมาได้ยาวนานถึง 1,123 ปี มีจักรพรรดิปกครองรวมทั้งสิ้น 82 พระองค์จากหลายราชวงศ์ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของไบแซนไทน์ทรงสิ้นพระชนม์อย่างมีปริศนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในวันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก
ความสำเร็จในการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชนเชื้อสายเติร์ก ซึ่งได้อพยพเข้าสู่อนาโตเลีย ภายหลังที่สุลต่าน Alparslan ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรพรรดิโรมานุสที่ 6 (Romanus IV) แห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ในสมรภูมิ ณ เมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt)
ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1701) ชัยชนะของสุลต่าน Alparslan ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อาณาจักรอนาโตเลีย ในขณะที่ชัยชนะของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 ในปี พ.ศ. 1996 ได้เปิดทางให้จักรวรรดิออตโตมันได้ก้าวไปสู่การเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
ภายหลังที่สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 พระองค์ก็ทรงได้รับการขานพระนามว่า ฟาติ เมห์เมต (Fatih Mehmet) ?ฟาติ? (Fatih) มีความหมายว่า ?ผู้พิชิต? (the conqueror) สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิจากเมืองเอดิร์เน มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้โปรดให้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่เป็น อิสลามบูล (Islambul) ภายหลังที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ. 2466 นครอิสลามบูลได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ?อิสตันบูล? (Istanbul) ในปัจจุบันในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี นับตั้งแต่ที่สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทรงสามารถตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ อาณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิมในเวลาต่อมา จักรวรรดิออตโตมันได้ขยายอำนาจครอบคลุมดินแดนถึง 3 ทวีป ได้แก่ ตะวันออกกลาง (เอเชีย) แอฟริกาเหนือ และยุโรปบอลข่าน
จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมาน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) ? พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย
ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอาเรเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า ?สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่? สำหรับชาวตุรกีพระองค์ได้รับสมัญญานามว่า ?สุไลมาน ผู้พระราชทานกฎหมาย? เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมาย สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่างวทำสงครามที่ฮังการีในปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) สิริรวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตดตมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไลมานเป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน
สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1566) ? พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาซิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1932 ? 1946) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง ทันทีที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 (ค.ศ. 1605) ทรงโปรดให้เปลี่ยนการสำเร็จโทษมาเป็นการกักบริเวณแทน การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่ามมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลตานได้ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ในยุคนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน
อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกรทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรป ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเสด็จเยือนจักรวรรดิออตโตมันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทรงวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้นไดเป็นอย่างดี โดยทรงวิเคราะห์ไว้ว่า แม้ว่าจักรวรรดิออตโตมันจะเสื่อมอำนาจ แต่ชาติตะวันตกก็ยังลังเลที่จะเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของเติร์กทั้งหมด เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ
หากขับไล่เติร์กออกจากดินแดนที่เติร์กปกครองอยู่ ชาติใดควรจะได้ครอบครอง ดินแดนเหล่านั้น หากชาติหนึ่งชาติใดได้ดินแดนเหล่านั้นไปย่อมจะทำให้ชาตินั้นมีอำนาจมากขึ้น ซึ่งสงผลกระทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
หากจะขับไล่เติร์กออกไปแล้วให้ดินแดนเหล่านั้นได้รับเอกราช ประเทศตะวันตก ซึ่งส่งกองทัพไปขับไล่เติร์กจะได้อะไรตอบแทน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว ออตโตมันจึงยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้ว่าจะอ่อนแอลงกว่าในอดีตมาก



จักรวรรดิออตโตมันเติร์กมีอายุยาวนานกว่า 600 ปี คือช่วงปีค.ศ.1299-1922 ครอบครองดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลทั้งยุโรป เอเชีย และอาฟริกา

สมัยสุลต่านมุรอดที่ 3 (ค.ศ.1546-95) ครองราชย์ช่วง 1574-95 จักรวรรดิออตโตมันมีเนื้อที่ใต้ปกครองถึง 19.9 ล้านตร.กม. หรือสองเท่าของเนื้อที่ประเทศอเมริกาขณะนี้

การล่มสลายของออตโตมันในปี 1922 มิได้ล่มสลายแค่จักรวรรดิ แต่ระบอบคอลีฟะฮ์แห่งอิสลามที่ยาวนานมากว่า 1,300 ปีก็มลายไปพร้อมกันด้วย

Timeline ของออตโตมันในยุโรปต่อไปนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจลำดับเหตุการณ์ใน "แคว้นรูมาลี" ("รูมาเลีย" Rumelia) หรือ "แคว้นยุโรปของจักรวรรดิออตโตมัน" ซึ่งเป็นที่มาของมุสลิมฝรั่งผมทองมากมายในยุโรปตะวันออกใน section ใหม่ของเรา "Muslims by Country"


1280

อุษมาน เบก หรือ อุษมาน เบย์ (Osman Beg หรือ Osman Bey ค.ศ.1258-1326) ครองบัลลังก์ 1280-1326

ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อุษมานียาฮ์ขึ้นเป็นผู้นำ

1299

อุษมานประกาศให้แคว้นเล็กๆ ของเขาไม่ขึ้นกับสุลต่านซัลจูกแห่งคอนยาอีกต่อไป

1326

ออร์ฮัน กาซี เบย์ (Orhan Gazi Bey ค.ศ.1284 - 1359) ครองบัลลังก์ 1326-59

ยกทัพเข้ายึดเมืองเบอร์ซา (Bursa) ตั้งเมืองนี้ให้เป็นเมืองหลวงของออตโตมัน ถือเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของออตโตมัน (เมืองหลวงแห่งแรกคือเมืองเล็กๆ ที่ชื่อ Sogut)

1346-53

กาฬโรคระบาดในยุโรป เป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ทำให้ผู้คนเสียชีวิตทั่วโลก 75 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาวยุโรป 25 ล้านคน หรือประมาณ 2/3 ของชาวยุโรป

1348

ออตโตมันยกทัพข้ามช่องแคบดาร์ดาแนลส์ไปฝั่งยุโรปเป็นครั้งแรก ตีแคว้นเทรซ (Thrace)

Thrace มีอาณาบริเวณกว้างมาก ปัจจุบันเป็นดินแดนที่อยู่ในตุรกี (ฝั่งยุโรป) กรีซ และบัลกาเรีย

1354

ออตโตมันก่อตั้งเมืองหัวหาดที่แกลลิโปลี หรือ กัลลิโปลี (Gallipoli) เป็นหน้าด่านเข้าไปตียุโรป

1362-89

สมัยสุลต่านมุรอดที่ 1 (Sultan Murad I ค.ศ.1326-89) ครองบัลลังก์เป็น 'เบย์' 1359-83 ครองราชย์เป็นสุลต่าน 1383 - 28 มิถุนายน 1389

เป็นสมัยแรกที่ออตโตมันเรียกผู้นำว่า "สุลต่าน" แทนที่คำว่า "เบย์" เหมือนผู้นำสองคนแรก

ออตโตมันขยายดินแดนสู่เทรซ มาซีโดเนีย บัลกาเรีย และเซอร์เบีย ทำให้จักรวรรดิออตโตมันในยุโรปมีความแข็งแกร่งมาก ออตโตมันตั้งชื่อดินแดนในแคว้นยุโรปของตัวเองว่า "แคว้นรูมาลี" หรือ "แคว้นรูมาเลีย" (Rumelia) จัดการให้พวกศักดินาดั้งเดิมดูแลที่ดินเหมือนเดิม แล้วส่งภาษีเข้าศูนย์กลาง ย้ายชาวเติร์กเข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนยุโรป บรรดาแม่ทัพเติร์กได้รางวัลเป็นที่ดิน ที่เรียกว่า "ติมาร์" (Timar) ซึ่งจะเก็บภาษีจากผู้ทำกิน สุลต่านมุรอดที่ 1 จัดตั้งหน่วยรบคัดทหารมาจากเด็กเชลยและทาสชาวคริสเตียนบอลข่านที่เอามาเลี้ยงเป็นมุสลิมและฝึกหัดทหารตั้งแต่ยังเป็นเด็กเรียกว่า 'แจนีสซารี' (Janissaries ภาษาเติร์กเรียกว่า 'เยนี' Yeni) ต่อมากองกำลังเหล่านี้เองที่ได้กลายเป็นกำลังสำคัญในการแผ่ขยายอาณาเขตของออตโตมันในยุโรป

1361

สุลต่านมุรอดยึดเมือง Edirne ตั้งเป็นเมืองเอเดรียนโนเปิล (Adrianople) เมืองหลวงของเทรซเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ (แห่งที่สาม) และเป็นฐานที่มั่นในการเข้าไปยึดครองยุโรปต่อไป

ปัจจุบันเมือง Edirne ตั้งอยู่ด้านตะวันตกสุดของแคว้นเทรซในตุรกี ติดชายแดนกรีซและบัลกาเรีย

1363

หลังยึดเมือง Edirne ได้ ออตโตมันเริ่มรุกคืบเข้าไปในบอลข่าน

ลาลา ซาฮิน ปาชา (Lala Sahin Pasha) แม่ทัพออตโตมัน นำกองทัพเข้าตีบัลกาเรียและ Plovdiv เมืองใหญ่อันดับสองของบัลกาเรีย ซึ่งตั้งอยู่ด้านใต้ของบัลกาเรีย และเป็นอาณาเขตตอนเหนือของแคว้นเทรซที่กว้างใหญ่

ส่วนทัพที่นำโดย Evrenos Bey ก็เข้าไปยึดเมือง Serez (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นมาซีโดเนียทางภาคเหนือของกรีซ)

สมัยยึดได้ตุรกีตั้งชื่อเมือง Plovdiv ใหม่เป็นภาษาเตอร์กิชว่า Filibe และในตุรกีก็ยังเรียกเมืองนี้ว่า Filibe จนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ของยุโรปที่ออตโตมันเคยยึดได้และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นภาษาเติร์ก ในเอกสารของตุรกีทุกวันนี้ก็ยังใช้ชื่อที่ตัวเองเคยเรียกเมื่อ 500-600 ปีก่อน (ด้วยความภาคภูมิใจ)

1364

หลังจากกองทัพมุสลิมออตโตมันเข้ายึดเมือง Edirne และ Plovdiv ได้ โป๊ปเออร์บันที่ 5 (Urban V) ได้เรียกร้องให้ประเทศคริสเตียนในยุโรปทำสงครามครูเสดครั้งใหม่กับชาวมุสลิม

กองทัพครูเสดประกอบด้วยทัพของเซอร์เบีย บัลกาเรีย ฮังการี บอสเนีย และ วัลลาเชีย (Wallachia ปัจจุบันคือ โรมาเนีย)

แต่ทัพครูเสดที่เดินทัพมาตามทุ่งราบมาริคา (Marica) เป็นกองทัพที่ไร้ระเบียบ ทาง Haci Ilbey แม่ทัพเติร์ก เลยแบ่งทหารเป็นสามทัพ เข้าโจมตีกองทัพครูเสดพร้อมกันในเวลากลางคืน ได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย สงครามครั้งนี้เรียกว่า "War of Sirp Sindigi"

วัลลาเชีย ในปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของโรมาเนีย ในปี 1862 วัลลาเชียกับมอลดาเวีย (Moldavia) ซึ่งขณะนั้นทั้งสองรัฐยังคงอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันได้รวมตัวกันกลายเป็นประเทศโรมาเนีย ต่อมาปี 1878 หลังสงครามออตโตมัน-รัสเซีย โรมาเนียได้รับเอกราชจากออตโตมัน กลายเป็นประเทศอิสระ มีกรุงบูคาเรสต์เป็นเมืองหลวง

1369

ยึดบัลกาเรีย

หลังจากบดขยี้กองทัพครูเสดได้แล้ว ออตโตมันเดินทัพไปยึดบัลกาเรียต่อไป ยึดได้ตอนเหนือของบัลกาเรีย กษัตริย์อีวาน อเล็กซานเดอร์ (Ivan Alexander ครองราชย์ 1331-71) แห่งบัลกาเรียยอมอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมัน และยกลูกสาวคือ Thamar (Kera Tamara) ให้เป็นภรรยาสุลต่านมุรอด

1371

ศึกมาริคา (Battle of Marica หรือ Maritsa) ระหว่างออตโตมันกับเซอร์เบีย

เป็นศึกเล็กๆ กองทัพออตโตมันนำโดยลาลา ซาฮิน ปาชา (Lala ??hin Pa?a) ส่วนฝ่ายเซอร์เบียนำโดย Vuka?in Mrnjav?evi? (ค.ศ.1320-71) กษัตริย์เซอร์เบียแห่ง Prilep และน้องชายคือ Uglje?a แถมยังมีทัพพันธมิตรจากบัลกาเรียเข้าร่วมด้วย

สองฝ่ายปะทะกันที่ริมฝั่งแม่น้ำมาริคาใกล้หมู่บ้าน Chernomen (ปัจจุบันคือ Ormenio อยู่ในประเทศกรีซ) ในวันที่ 26 กันยายน 1371

ปรากฎว่าทัพออตโตมันขยี้ทัพเซอร์เบียซะแหลกราญ แถมสังหาร Vuka?in Mrnjav?evi? กษัตริย์เซอร์เบียและ Uglje?a น้องชายได้ในที่รบ

ผลของการรบครั้งนี้ทำให้มาซีโดเนียตกอยู่ใต้การยึดครองของจักรวรรดิออตโตมัน

จากนั้นเจ้าชายมาร์โค (Prince Marko เจ้าชายเซอร์เบีย ครองดินแดนตอนกลางของมาร์ซีโดเนียช่วงปี 1371-95) โอรสของ Vuka?in Mrnjav?evi? กษัตริย์เซอร์เบียแห่ง Prilep ได้กลายเป็นขุนศึกของกองทัพออตโตมัน นำกองกำลังของตัวเองเข้ารบให้เติร์กตลอด จนต่อมาเจ้าชายมาร์โคเสียชีวิตในศึก Rovine (Battle of Rovine ที่โรมาเนียปี 1395) ที่สุลต่านบายาซิดรบชนะครูเสด ที่น่าสนใจคือศึก Rovine ที่บายาซิดนำทัพเอง มีทัพคริสเตียนมาเป็นกองกำลังของเติร์กสองทัพคือ เจ้าชายมาร์โคของเซอร์เบีย และสเตฟาน (Stefan Lazarevic ค.ศ.1374-1427) ของเซอร์เบีย

1371

ออตโตมันยึดครองแคว้นเทรซได้โดยสิ้นเชิง

1374-85

ปี 1374 กองทัพออตโตมันภายใต้การนำของ Candarli Hayreddin Pasha เข้ายึดครองเมืองสโลนิกา (Salonika) หรือ Thessaloniki ของกรีก (ปัจจุบันสโลนิกาเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของกรีซและเป็นเมืองหลวงของแคว้นมาซีโดเนียทางภาคเหนือของกรีซ)

จากนั้นปี 1375 ยึดเมือง Nis ของเซอร์เบีย

ปี 1382 ยึดเมืองต่างๆ ของมาซีโดเนีย ได้แก่ เมืองสติพ (Stip เติร์กเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองเป็น 'อิสติพ' Istip), เมืองบีโตลา (Bitola เติร์กปลี่ยนชื่อเป็น 'โมนาสตีร์' Monastir), เมือง Pirlepe (เติร์กเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น Pirlep)

ปี 1385 ยึดเมือง Ohrid ของมาซีโดเนีย เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น Ohri

1376

จักรพรรดิไบเซนไทน์ยกเมืองแกลลิโปลีให้ออตโตมัน

1376-1379

เกิดสงครามกลางเมืองในไบเซนไทน์ ออตโตมันเข้ายึด Germiyan และ Hamideli ของไบเซนไทน์

1386

ออตโตมันเข้ายึดครองโซเฟีย เมืองหลวงบัลกาเรีย

15 มิถุนายน 1389

การรุกคืบเข้าไปในบอลข่านของเติร์กทำให้ฝ่ายยุโรปก่อสงครามครูเสดครั้งใหม่

สงครามโคโซโวครั้งที่หนึ่ง; ทัพออตโตมันซึ่งนำโดย Vizier Candarli Ali Pasha มีชัยเหนือบัลกาเรีย

จากนั้นไปปะทะกับกองทัพชุดใหญ่ของครูเสดที่โคโซโว มีสุลต่านมุรอดนำทัพเอง ตอนแรกออตโตมันโดนรุกอย่างหนัก แต่ปีกขวาที่ 'บายาซิด' โอรสของสุลต่านมุรอด เป็นผู้นำทัพกลับตีโต้ขึ้นมาตลอด และบายาซิดก็ได้สมญานามว่า "Bayezid the thunderbolt" (บายาซิดสายฟ้า) จากสงครามครั้งนี้เอง

กษัตริย์ทั้งสองฝ่ายสิ้นพระชนม์ในสนามรบ คือทั้งสุลต่านมุรอดและเจ้าชายลาซาร์แห่งเซอร์เบีย (Prince Lazar of Serbia ค.ศ.1329-89) แต่บายาซิดเข้าสวมตำแหน่งแม่ทัพแทนพระราชบิดา นำทัพรบข้าศึกต่อไปจนออตโตมันเอาชนะกองทัพร่วมของเซิร์บและบอสเนียได้อย่างงดงาม ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งแรกของออตโตมันเหนือกองทัพขนาดใหญ่ของยุโรป

สุลต่านมุรอดเป็นสุลต่านองค์เดียวของออตโตมันที่สิ้นพระชนม์ในสนามรบ หลุมฝังศพของสุลต่านมุรอดตั้งอยู่ที่มุมหนึ่งของสนามรบนี้เองและยังอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้แม้ที่ผ่านมาสัมพันธภาพระหว่างตุรกีและเซอร์เบียจะไม่ดีนัก

บันทึกของตุรกี ระบุถึงดุอา (บทขอพร) ของสุลต่านมุรอดก่อนพระองค์จะสิ้นพระชนม์:

"สำหรับความสวยงามของใบหน้าท่านศาสนฑูตมุฮัมมัด สำหรับการนองเลือดที่กัรบาลา สำหรับดวงตาที่ร่ำไห้ในยามค่ำคืน สำหรับความโศกศัลย์ของผู้อยู่ในห้วงรัก... โอ้ พระผู้อภิบาล โปรดเมตตาต่อข้าพระองค์และปกป้องข้าพระองค์ตลอดไป โอ้พระผู้เป็นเจ้า!

โอ้ พระผู้อภิบาล! โปรดเมตตาต่อประชาชาติมุสลิม ปกป้องพวกเราจากเงื้อมมือศัตรู! โปรดอภัยแก่บาปของเราเมื่อประจักษ์ชัดถึงความสำนึกผิดที่มาจากก้นบึ้งของหัวใจเรา โปรดปกป้องบ่าวของพระองค์จากธนูของศัตรู ปกป้องเราจากหลุมฝังศพ ปกป้องอิสลามจากภยันตราย!!!

โปรดช่วยเหลือเราในสงครามศักดิ์สิทธิ์ และตอบรับคำวิงวอนของเรา โปรดอย่าทำลายชื่อของข้าพระองค์ โปรดธำรงศักดิ์ศรีของข้าพระองค์ต่อชาวออตโตมันสืบไป

โปรดอย่าให้เท้าของศัตรูเหยียบย่ำลงบนแผ่นดินอิสลาม และโปรดอย่าให้แผ่นดินอิสลามกลายเป็นดินแดนที่ผู้คนต้องอาศัยอยู่ด้วยความละอาย

โอ้ พระผู้อภิบาล! ข้าพระองค์สำนึกถึงพระเมตตาของพระองค์ต่อปวงผู้ศรัทธา ขอพระองค์โปรดแสดงพระเมตตาให้เห็นในสงครามครั้งนี้ด้วยเถิด

และขอวิงวอนให้ข้าพระองค์ได้พลีชีพเพื่ออิสลาม เพื่อที่ข้าพระองค์จะได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ในโลกหน้า"

ชัยชนะครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของออตโตมัน เซอร์เบียเริ่มจ่าย 'จิซญา' (Jizya) หรือภาษีประจำปีให้เติร์กและส่งทหารเข้ากองทัพออตโตมันเพื่อแลกกับการคุ้มครองโดยจักรวรรดิ และทหารเซอร์เบียซึ่งเป็นคริสเตียนเป็นกองกำลังสำคัญให้กองทัพมุสลิมออตโตมันตลอดมา

หลังศึกครั้งนี้บายาซิดเป็นพันธมิตรกับเจ้าชายสเตฟาน (Stefan Lazarevic ค.ศ.1389-1427 ครองราชย์ 1402-27) โอรสของเจ้าชายลาซาร์แห่งเซอร์เบียซึ่งสิ้นพระชนม์ในสนามรบ สเตฟานยกน้องสาวให้เป็นภรรยาบายาซิด คือเจ้าหญิง Olivera Despina (??????? ??????? ค.ศ.1372-หลัง 1444)

จากความสัมพันธ์ดังกล่าว สเตฟานจึงเป็นพันธมิตรเหนียวแน่นของบายาซิด ช่วยบายาซิดรบตลอด ทั้งศึก Rovine (1395) ที่รบกับ Mircea cel B?tr?n แห่งวัลลาเชีย (ครองบัลลังก์ 1386-1418), ศึกนิโกโปลิส (1396) ที่เอาชนะพวกครูเสด ทั้งๆ ที่สเตฟานและทัพเซอร์เบียเป็นคริสเตียน ซึ่งหนนี้บายาซิดให้รางวัลคือยกสมบัติของ Vuk Brankovic น้องชายของสเตฟานให้สเตฟานหมด, ต่อมาสเตฟานช่วยบายาซิดในศึกอังการา (Angora ปี 1402) ที่บายาซิดโดนติมูร์เลนจับตัวได้ทั้งๆ ที่สเตฟานเข้าช่วยบายาซิดสุดฤทธิ์ หลังจากสเตฟานเสียชีวิตกระทันหันในปี 1427 ?ura? Brankovi? หลานชายของสเตฟาน ซึ่งเป็นลูกชายของ Vuk Brankovic ขึ้นครองเซอร์เบียแทน ซึ่งตอนหลัง ?ura? ก็หักหลังฮังการีมาเข้าข้างออตโตมันอีก

1389-1402

สุลต่านบายาซิดที่ 1 หรือ 'บายาซิดสายฟ้า' (Sultan Bayezid I หรือ Bayezid the Thunderbolt ค.ศ.1354-1403) ครองราชย์ 28 มิถุนายน 1389 - 20 กรกฎาคม 1402

รับตำแหน่งต่อจากสุลต่านมุรอดผู้บิดา การเสียชีวิตของมุรอดทำให้หลายเมืองในอนาโตเลียกระด้างกระเดื่อง แต่บายาซิดก็ปราบเรียบ ทำให้ดินแดนส่วนใหญ่ของอนาโตเลียและบอลข่านเข้ามาอยู่ใต้ปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน

1391

โอรสจักรพรรดิไบเซนไทน์หลบหนีจากการเป็นตัวประกันในราชสำนักเติร์ก

ปี 1391 John V Palaiologos (ค.ศ.1322-91) จักรพรรดิไบเซนไทน์เสียชีวิตลง

'มานูเอล' (Manuel II Palaiologos ค.ศ.1350-1425) โอรสของจักรพรรดิไบเซนไทน์ซึ่งถูกพระราชบิดาส่งมาเป็นตัวประกันในราชสำนักออตโตมันที่เมืองเบอร์ซา และยังเคยช่วยบายาซิดรบในศึก Karaman เมื่อได้ยินข่าวว่าบิดาเสียชีวิตลง จึงได้หลบหนีออกจากราชสำนักเติร์ก กลับไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลด้วยเกรงว่าหลานชายจะแย่งบัลลังก์ และมานูเอลได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิไบเซนไทน์ต่อจากบิดา (ครองราชย์ช่วงปี 1391-1425)

เมื่อมานูเอลหลบหนีกลับไปคอนสแตนติโนเปิล บายาซิดไม่ไว้วางใจ เลยงดแผนไปตีฮังการี หันไปล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลแทน บายาซิดล้อมเมืองทั้งทางบกและทางทะเล แต่ก็ได้แค่ล้อม ไม่สามารถตีเอาเมืองได้ เพราะกำแพงแข็งแกร่งมาก ต่อมาเมื่อได้ข่าวว่ากองทัพฮังการีบุกเข้ามาตีดินแดนใต้ปกครองของออตโตมันในบอลข่าน บายาซิดเลยถอนกำลังออกจากคอนสแตนติโนเปิล ไปจัดการกับฮังการีก่อน และการรบในศึก ดานูบ-วัลลาเชีย ออตโตมันยึดสโลนิกาและเมืองอื่นๆ คืนได้

1391

ออตโตมันยึดครองสโกเปีย เมืองหลวงของมาซีโดเนีย

1393

ออตโตมันยึดครองเมือง Trnovo ประเทศบัลกาเรีย

1393-95

ออตโตมันยึดครองบางส่วนของอัลบาเนีย

1394

ออตโตมันยึดครอง Thessaly ประเทศกรีซ

1395

ออตโตมันยึดครอง Dobrija และยึดครองบางส่วนของวัลลาเชีย (โรมาเนีย) และฮังการี

1395

บายาซิดยกทัพล้อมคอนสแตนติโนเปิลเป็นครั้งที่สอง จักรพรรดิมานูแอลของไบเซนไทน์แอบหนีจากเมืองพร้อมลูกน้องอีก 40 คนเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากประเทศในยุโรป ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก อารากอน (ด้านเหนือของสเปน)

บายาซิดต้องถอนกำลังอีกเพราะได้ข่าวว่ากองทัพครูเสดทัพใหญ่กำลังมาโจมตีออตโตมัน

1396

ศึกนิโกโปลิส

ออตโตมันปราบกองทัพขนาดใหญ่ของนักรบคริสเตียนครูเสดซะราบคาบ หนนี้เป็นกองทัพร่วมของประเทศยุโรปหลายประเทศ ทั้งอังกฤษ, ฝรั่งเศส, ฮังการี, วัลลาเชีย (ทัพนี้นำโดย Mircea cel Batran ซึ่งอีก 20 ปีถัดมาโดนเติร์กไปตีจนเสียรัฐวัลลาเชียให้เติร์ก), และบัลกาเรีย โดยมีกษัตริย์ Sigismund แห่งฮังการีเป็นแม่ทัพใหญ่ยกมาเลียบแม่น้ำดานูบ เป็นกองทัพที่มาปกป้องคอนสแตนติโนเปิลที่โดนล้อมมา 5 ปี

กองทัพครูเสดเข้าล้อมนิโกโปลิส (เติร์กเรียกนิโกโปลิสว่า 'นิกโบลู' Nigbolu) ขณะนั้น Dogan เป็นแม่ทัพใหญ่ของออตโตมันผู้รักษาป้อมไว้ได้จนกระทั่งกองทัพออตโตมันเติร์กซึ่งนำโดยสุลต่านบายาซิดเดินทัพมาถึง กองทัพคริสเตียนครูเสดกับออตโตมันปะทะกันดุเดือดที่นิโกโปลิสในวันที่ 25 กันยายน 1396 ออตโตมันได้ชัยชนะอย่างงดงาม

ที่น่าสนใจในศึกนี้คือ ทัพเซอร์เบียที่นำโดยสเตฟาน (Stefan Lazarevic เป็นพี่เขยของบายาซิดและรบให้ออตโตมันตลอด) เป็นปีกซ้ายของออตโตมันดันไปจ๊ะเอ๋กับทัพของ Nikola II Gorjanski ซึ่งเป็นน้องเขยของสเตฟานเอง และมารบให้ครูเสด

เมื่อจบศึก ออตโตมันได้ดินแดนที่ครูเสดยึดไปคืนมาหมด ออตโตมันยึดบัลกาเรียได้หมดทั้งประเทศ ถือเป็นการสิ้นสุดราชอาณาจักรบัลกาเรีย

ศึกครั้งนี้ยิ่งทำให้กำลังของออตโตมันเข้มแข็งกว่าเดิม และทำให้กองทัพครูเสดไม่กล้ายกมารุกรานออตโตมันอีกเลยเป็นเวลา 50 ปีเต็ม

และจากศึกครั้งนี้ คอลีฟะฮ์แห่งอับบาซียะฮ์เรียกบายาซิดว่า "สุลต่านแห่งอนาโตเลีย"

1397-1402

หลังจบศึกนิโกโปลิส ออตโตมันล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นครั้งที่สาม แต่ตีไม่ได้อยู่ดี อย่างไรก็ตามบายาซิดรู้ว่าจุดอ่อนของกองทัพออตโตมันคือกองทัพเรือไม่แข็งแกร่ง ขาดปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ บายาซิดจึงเร่งปรับปรุงกองทัพเรือขนานใหญ่ สร้างป้อมที่ฝั่งเอเชียของคอนสแตนติโนเปิล

และเนื่องจากบายาซิดได้ข่าวว่ากษัตริย์ติมูร์เลน (Timurlane) จากเอเชียกลางกำลังยกทัพขนาดใหญ่มาบุกอนาโตเลีย เลยทำสนธิสัญญาสงบศึกกับไบเซนไทน์ แล้วถอนกำลังที่ล้อมคอนสแตนติโนเปิลออก

1402-13

เกิดสงครามกลางเมืองในออตโตมัน

กษัตริย์ติมูร์เลนยึดดินแดนอนาโตเลียได้บางส่วน สุลต่านบายาซิดยกทัพเข้าต่อต้านในศึกที่เรียกว่า "ศึกอังการา" (Angara วันที่ 28 กรกฎาคม 1402) แต่พ่ายกองทัพติมูร์เลน บายาซิดโดนจับเป็นตัวประกันและเสียชีวิตในที่คุมขังเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 1403 สองปีถัดมากษัตริย์ติมูร์เสียชีวิต จากนั้นเกิดสงครามกลางเมืองแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างบรรดาลูกชายของบายาซิด

1413

สุลต่านเมห์เมดที่ 1 (Sultan Mehmed I ค.ศ.1389-1421) ครองราชย์ 1413-21

ขึ้นครองบัลลังก์หลังจบศึกแย่งชิงบัลลังก์กับพี่น้อง สุลต่านเมห์เมดเป็นลูกชายของสุลต่านบายาซิด และเคยโดนติมูร์เลนจับตัวไปคุมขังพร้อมกับพ่อ

1416

เกิดกบฎมุสตาฟา (False Mustapha อ้างว่าตัวเองเป็นโอรสของสุลต่านบายาซิด และจะมาทวงบัลลังก์) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพวกคริสเตียนทั้งจักรพรรดิไบเซนไทน์และกษัตริย์วัลลาเชียต่อมามุสตาฟาต้องลี้ภัยไปพึ่งพิงจักรพรรดิไบเซนไทน์

1416

ชี้ค Bedreddin ก่อกบฎต่อออตโตมัน แต่โดนกองทัพออตโตมันปราบราบคาบ ปี 1420 ชี้ค Bedreddin โดนแขวนคอที่เมือง Serez (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นมาซีโดเนียทางภาคเหนือของกรีซ)

ในปี 1961 ศพของ Bedreddin ได้ถูกเคลื่อนย้ายจากกรีซไปฝังไว้ที่สุสานของสุลต่านมาห์มูดที่เมือง Divanyolu กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี

1417

ออตโตมันเข้าครอบครองวัลลาเชีย (โรมาเนีย) เจ้าชาย Mircea cel Batran (ค.ศ.1396-1418) แห่งวัลลาเชียจ่ายภาษีประจำปีให้ออตโตมัน

1421