View Full Version : ภาษาถิ่น คืออะไร ภาษาถิ่น 4 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ ความหมายที่ซ่อนอยู่


อับดุล
13-07-2013, 21:04
ประเทศไทยนั้นมี 4 ภาค ภาษาไทยนั้นก็มีภาษาถิ่นในแต่ละภาค แต่ละที่วันนี้เราจะพาไปชม ภาษาถิ่น คืออะไร ภาษาถิ่น 4 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ ความหมายที่ซ่อนอยู่ ว่าสำเนียง การพูด ภาษาถิ่นนั้นสามารถส่งอารมณ์ ความเป็นอยู่ ความคุ้นเคยเหมือนได้กลับไปบ้านเกิด ที่ ๆ มีแต่คนคุ้นเคยและความดีงาม บางครั้งกระแสสังคมที่เร่งรีบก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียวในหุบเหวลึก ยิ่งหากต้องมาทำงานในถิ่นซึ่งใกลบ้าน ก็ย่อมต้องคิดถึงบ้านคิดถึงสถานที่ ๆ เติบโตมา ทุกคนล้วนเคยมีความรู้สึกเช่นนี้ ภาษาถิ่นนั้นยังแสดงออกถึงความเป็นมาและลักษณะแวดล้อมอีกด้วย เหมือนกับรวมเอาศิลปวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ในกลิ่นไอของภาษา เมื่อยามเราได้ใช้ก็หวนนึกถึงช่วงเวลาที่อยู่บ้านเกิด

http://board.roigoo.com/members/ohmohm-albums-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99+4+%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89+15-7-13-picture5171-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99-4-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg (http://board.roigoo.com/members/ohmohm-albums-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99+4+%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89+15-7-13-picture5171-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99-4-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99.html)


ภาษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น

เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น

หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า

การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา
แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก

ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสังคมหนึ่งๆ
ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)

ภาษาเฉพาะวงการ
ภาษาสแลง
หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้นหรือถูกดัดแปลงในทุกกรณี


ที่มา http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/d/d5/Wikipedia-th_f0nt02.gif