View Full Version : เขียนบทหนังให้หักมุมแบบง่ายๆ สไตล์เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์


M150
26-08-2011, 19:45
หลังจากเขียนบทความเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนมุกหักมุมของตัวผมเองไปในบทความอันก่อน วันนี้ก็ไปเจอบทความดีๆ เกี่ยวกับการเขียนมุกหักมุมของพี่เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ จากบทความอันนี้ครับ เขียนบทหนังให้หักมุมแบบง่ายๆ สไตล์เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ (http://fuse.in.th/blogs/diy/3004) เลยนำมาให้อ่านเพิ่มพูนความรู้แบบรายวันกันเลย

คอลัมน์ทำเองก็ได้ง่ายจังในครั้งนี้ เราได้ พี่เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ ที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดีในฐานะของนักวาดการ์ตูน ครีเอทีฟโฆษณา นักเขียนบทภาพยนตร์ที่มีผลงานอย่าง ?13 เกมสยอง? (รวมถึง 12 และ 11) ?ยันต์สั่งตาย? (1 ในเรื่องสั้นของ ?สี่แพร่ง?) ?บอดี้ ศพ19? และผลงานล่าสุดที่พึ่งจะออกฉายไป ?ใครในห้อง? ซึ่งในทุกเรื่องต่างก็เป็นผลงานการเขียนบทภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพี่เอกสิทธิ์ทั้งสิ้นโดยในครั้งนี้ เราจะขอให้พี่เอกแนะนำวิธีการเขียนบทภาพยนตร์ที่หักมุมในสไตล์เอกสิทธ์ ด้วยวิธีการแบบบ้านๆ ที่นักทำหนังมือใหม่น่าจะนำไปใช้ได้ไม่ยาก โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนเขียนบทภาพยนตร์มาก่อนเลยด้วยซ้ำไป

http://upload.roigoo.com/image.php?id=CC09_4E57962C&jpg
อันนี้ไม่ใช่นายเอ็มนะครับ นี่คือรูปของพี่เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ คนหล่อของเรานั่นเอง


1. หาเรื่องที่ใกล้ตัวเราที่สุดมาเล่า
เรื่องทุกเรื่องที่น่าสนใจ จะต้องเริ่มมาจากเรื่องที่เราได้มีประสบการณ์ร่วมมา เป็นเรื่องที่เรารู้สึกประทับใจ สะเทือนใจ หรือเป็นเรื่องที่เรารู้ลึก รู้จริง ซึ่งข้อดีของการหยิบเรื่องใกล้ตัวขึ้นมาเป็นไอเดียในการเขียนบทก็คือ เราจะสามารถสร้างสถานการณ์ในเนื้อเรื่องได้อย่างสมจริงและมีเรื่องที่จะเล่า ได้เยอะ (ก็เราเคยเจอมาเองนี่) ซึ่งจะส่งผลให้บทของเราสามารถสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชมได้ง่าย ซึ่งจริงๆ แล้ว หากเราอยากจะทำเรื่องที่เราไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมมาก่อนเลย มันก็ทำได้ แต่การจะเขียนบทให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมได้ เราต้องเสียเวลาค้นคว้าหาข้อมูลเยอะมาก ถ้าจะทำแบบบ้านๆ ก็เอาเรื่องใกล้ตัวนี่แหละสะดวกที่สุด

2. ตั้งโจทย์ให้ตัวเองในการหาไอเดียใหม่ๆ เสมอ
พี่ชอบท้าทายตัวเองมากในการแสวงหาไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมาเขียนเป็นบทหนัง อย่างเช่นถ้าจะทำหนังสยองขวัญ พี่จะตั้งโจทย์ขึ้นมาเองว่า เราทำให้คนกลัวผีน่ะมันง่าย หรือกลัวฆาตกรน่ะมันง่าย เพราะมันเป็นสิ่งที่พูดถึงคนก็กลัวอยู่แล้ว แต่พี่จะคิดว่าเราทำให้คนกลัวทิชชู่ กลัวแก้วน้ำ กลัวข้าวโพดได้มั้ย? พี่มักจะตั้งโจทย์บ้าๆ อย่างนี้

นอกจากนั้น ไอเดียที่พี่ชอบคิดออกมาเขียนเป็นบท จะต้องเป็นไอเดียที่ตั้งคำถามให้คนดูว่า ?มัน มีเรื่องแบบนี้จริงๆ หรือเปล่า?? ยิ่งถ้าเป็นเรื่องแนวสยองขวัญ ก็ยิ่งจำเป็นที่ว่าเราจะต้องเขียนบทที่ทำให้คนดูพาความสยองกลับบ้านไปด้วย หลอนไปด้วย กลับไปกลัวทิชชู่ที่บ้านไปด้วยถ้าเป็นไปได้ เหมือนกับ เอ็ม ไนท์ ชยามาลาน สร้างหนังเรื่อง The Happening ที่ทำให้คนดูกลัวต้นไม้ได้ ประมาณนี้3. จินตนาการคนดูปลอมๆ ที่มีตัวตนจริงๆ ขึ้นมาทดสอบไอเดียของเรา
หลังจากที่คิดไปเดียอะไรใหม่ๆ ออก พี่มักจะนึกภาพของคนๆ นึงขึ้นมาในหัว อาจจะเป็นคนที่เรารู้จัก หรือเป็นเพื่อนเราก็ได้ ซึ่งเป้าหมายของเราก็คือ จะต้องทำให้คนๆ นี้เกิดความสนใจหรือตกใจในไอเดียของเราให้ได้ จุดสำคัญก็คือ คนที่เราจินตนาการขึ้นมาคนนี้นั้น ต้องมีตัวตนอยู่จริง! เพราะพี่จะได้โทรไปเช็คได้ทันทีเลยว่า เรื่องราวของเรานั้นน่าสนใจจริงๆ ไหม ซึ่งส่วนใหญ่คงไม่มีใครจะมารับโทรศัพท์เราแล้วมานั่งฟังเรื่องของเราได้นานๆ แต่ถ้าเราสามารถดึงความสนใจจากเรื่องที่เขากำลังทำอยู่ได้ ด้วยเรื่องที่เราเกริ่นไปแค่ประโยคแรก อย่าง เฮ้ย! พี่จะทำให้คุณกลัวทิชชู่นะ อยากรู้ไหมว่าพี่จะทำยังไง? ถ้าคนๆ นั้นเกิดปฏิกิริยาตอบสนองแนวให้ความสนใจ ก็ถือได้ว่าไอเดียของเรามีความน่าสนใจในระดับหนึ่งแล้ว

4. ทำเรื่องของเราให้เป็นเรื่องของเขา
หลังจากการหยิบเอาเรื่องใกล้ตัวของเรามาเป็นประเด็นในการเขียนบทแล้ว แต่ไอเดียของเราบางครั้งก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวคนอื่น อย่างเรื่องของ ?คนทำรายการทีวี? หรือแม้กระทั่งเรื่องของ ?ฮิคิโดโมริ? ที่อาจจะเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนที่อยู่ในวงการโฆษณา และตามข่าวการ์ตูนอย่างเรา แต่กับคนอื่นนั้นบางทีมันไม่ใช่ ดังนั้นเมื่อเราได้ไอเดียจากเรื่องใกล้ตัวเราแล้ว เราก็ต้องพยายามเขียนบทออกมาให้คนดูเข้าใจได้ง่าย (จากไอเดียที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม (Niche) แปรสภาพให้มันเข้าถึงทุกคนได้ง่าย (Mass)) ซึ่งจะทำให้คนดูที่ไม่เคยรู้เรื่องราวแบบนี้มาก่อนเกิดความสนใจด้วย

อย่างภาพยนตร์เรื่อง ?13 เกม สยอง? ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวพี่ เพราะคลุกคลีอยู่กับวงการโทรทัศน์มาตลอด แต่กับคนทั่วไปที่ดูทีวีนี่งานเบื้องหลังเขาจะไม่รู้เลย เราก็เลยหยิบประเด็นตรงนี้มาเล่น แต่ทำไปทำมาก็แปรสภาพจากไอเดียด้านคนทำโปรดักชั่นเบื้องหลัง กลายเป็นเรื่องราวของคนที่เล่นเกมโชว์ไป คือต้องทำให้ไอเดียตั้งต้นมันย่อยเป็นเรื่องที่คนดูเข้าใจได้ง่ายและดูรู้ เรื่องทุกคน

5. สร้างวิธีเล่าเรื่องที่น่าสนใจยิ่งกว่าไอเดียตั้งต้น
พอเราได้ไอเดียที่เอ่ยมาแค่ประโยคเดียวก็ทำให้คนร้องเฮ้ยได้แล้ว ต่อจากนี้เราก็ต้องเล่าเรื่องจากไอเดียตั้งต้นเนี่ย ให้มันเด็ดยิ่งกว่า เพราะเขารู้ชื่อเรื่องแล้ว รู้เรื่องจั่วหัวแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะเริ่มเดาละ ถ้าเราจะเล่าไปแบบธรรมดาๆ ให้คนเดาได้ มันก็จะไม่สนุก ไม่น่าสนใจ เพราะฉะนั้นในขั้นต่อไปซึ่งยากแต่ก็สนุกขึ้น ก็คือเราจะต้อง ?เดา? คนดูว่าเขาจะ ?เดา? อะไรต่อไป ถ้าเราคาดว่าเขาจะเดาเนื้อเรื่องแบบนี้ เราก็ต้องเขียนบทให้มันไปอีก ไปอีก แล้วก็ต้องรีบเฉลยก่อนที่คนดูจะคิดออก ซึ่งการเขียนบทหนังให้หักมุมแบบนี้มันก็เหมือนกับการเล่นมายากล ก็คือการทำให้คนดูสงสัย ในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องไปสงสัย แต่สิ่งที่คนดูไม่ได้สงสัยนั่นแหละ มันกลับเป็นตัวเฉลยเรื่อง ซึ่งจริงๆ มันก็เป็นหลักการที่ง่ายๆ บ้านๆ เลยนั่นแหละครับ


6. สร้างตัวละครที่คนดูสามารถแทนตัวเองเข้าไปได้
พี่มักจะสร้างตัวละครเอกที่ใช้ดำเนินเรื่องให้เป็นคนธรรมดาทั่วๆ ไป ที่คนดูสามารถแทนตัวเองเข้าไปเป็นตัวละครนั้นได้ง่าย ดังนั้นตัวละครของพี่มักจะไม่เป็นยอดมนุษย์ หรือเป็นตัวละครที่เกินจริง มันเหมือนกับคำถาม หรือจุดพลิกผันต่างๆ ในบทที่พี่เขียนทั้งหมด คนดูคือปัจจัยสำคัญที่พี่คำนึงถึง ?ถ้าเป็นเราอยู่ในเหตุการณ์นั้น เราจะทำยังไง? เห็นได้ชัดมากกับตัวเอกในภาพยนตร์เรื่อง 13 เกมสยอง และเรื่อง ใครในห้อง นี่แหละ ที่ตัวละครเอกเป็นเซลล์ขายของให้บริษัทธรรมดาๆ หรือเป็นแม่ค้าขายแผ่นผีตามตลาดนัด เป็นต้น7. พยายามประทับทรงเป็นคนอื่นระหว่างเขียนบทของตัวเอง
ระหว่างที่เราเขียนและอ่านทบทวนบทที่เรากำลังเขียนนั้น เราต้องมองงานของเราด้วยสายตาของคนที่เราสมมุติขึ้นเป็นกลุ่มเป้าหมายตลอด เวลา และต้องพยายามทำให้คนๆ นั้น มีความสนใจต่อเนื้องานของเราให้ได้ มันเหมือนกับเรากำลังจะแต่งเรื่องขึ้นมาแกล้งคนๆนี้ ให้ตกใจ กิมกี่หรือช็อกไปเลย เราก็ต้องสวมร่างกลายเป็นคนๆ นั้นแล้วลองอ่านบทดูว่ามันทำให้เราเกิดความรู้สึกเช่นนั้นได้ไหม ซึ่งพี่มักจะทำงานแบบนี้และมันก็กลายเป็นความสนุกของเราอีกแบบหนึ่ง ซึ่งพี่มองว่าทั้งหมดนี้มันเป็นหลักการเขียนบทที่บ้านๆ มากๆ เลย ใครก็สามารถเอาหลักการตรงนี้ไปใช้ได้ ก็หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์แก่น้องๆ นักทำหนังมือใหม่ที่กำลังเกลาบทของตัวเองอยู่ในขณะนี้ครับ

ohmohm
27-08-2011, 00:49
ให้หรอยไปก่อนแล้วเดี๋ยวจะกลับมาอ่านครับผม

ohmohm
27-08-2011, 14:39
อ่านจบแล้วครับ แนวคิดเจ๋งมากๆแต่ดูแล้วเป็นเหมือนไอเดียตั้งต้นที่ยังมีกระบวนการคิดยิบย่อยอีกเยอะ
กระทู้นี้ปริ้นเก็บไว้ดูเป้นที่เรียบร้อยแล้วครับ อยากให้น้องๆได้อ่านกันเพราะมันเป็น ไอเดียที่ดี ในการ
เขียนการ์ตูนเลยหละ

gancat
05-09-2011, 20:19
บทความดีมากเลยครับ

ลุงปลวก
25-04-2012, 20:03
ชอบจริง

RewindzeVII
25-04-2012, 22:12
ผมอ่านมาจากเฟซก่อนแล้วครับ

อ.แกเจ๋งจริง ชอบตอน Ice-t ครับ ผมซื้ออ่านมาตั้งแต่เล่มแรกที่ออกเลยทีเดียว :D