เว็บการ์ตูนหรอยกู

เว็บการ์ตูนหรอยกู (http://board.roigoo.com/index.php)
-   การศึกษาและเรียนรู้ (http://board.roigoo.com/forumdisplay.php?f=21)
-   -   ภาษาถิ่น คืออะไร ภาษาถิ่น 4 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ ความหมายที่ซ่อนอยู่ (http://board.roigoo.com/showthread.php?t=6496)

อับดุล 13-07-2013 21:04

ภาษาถิ่น คืออะไร ภาษาถิ่น 4 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ ความหมายที่ซ่อนอยู่
 
ประเทศไทยนั้นมี 4 ภาค ภาษาไทยนั้นก็มีภาษาถิ่นในแต่ละภาค แต่ละที่วันนี้เราจะพาไปชม ภาษาถิ่น คืออะไร ภาษาถิ่น 4 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ ความหมายที่ซ่อนอยู่ ว่าสำเนียง การพูด ภาษาถิ่นนั้นสามารถส่งอารมณ์ ความเป็นอยู่ ความคุ้นเคยเหมือนได้กลับไปบ้านเกิด ที่ ๆ มีแต่คนคุ้นเคยและความดีงาม บางครั้งกระแสสังคมที่เร่งรีบก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียวในหุบเหวลึก ยิ่งหากต้องมาทำงานในถิ่นซึ่งใกลบ้าน ก็ย่อมต้องคิดถึงบ้านคิดถึงสถานที่ ๆ เติบโตมา ทุกคนล้วนเคยมีความรู้สึกเช่นนี้ ภาษาถิ่นนั้นยังแสดงออกถึงความเป็นมาและลักษณะแวดล้อมอีกด้วย เหมือนกับรวมเอาศิลปวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ในกลิ่นไอของภาษา เมื่อยามเราได้ใช้ก็หวนนึกถึงช่วงเวลาที่อยู่บ้านเกิด


ภาษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น

เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น

หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า

การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา
แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก

ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสังคมหนึ่งๆ
ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)

ภาษาเฉพาะวงการ
ภาษาสแลง

หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้นหรือถูกดัดแปลงในทุกกรณี


ที่มา http://upload.wikimedia.org/wikipedi...-th_f0nt02.gif


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:38

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด


1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102