เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้

ตอบ
อ่าน: 2889 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 13-07-2013   #1
Moderator
 
อับดุล's Avatar
 
วันที่สมัคร: Jan 2013
ข้อความ: 173
ถ่ายทอดพลัง: 1
คะแนนหรอย: 34
Default ภาษาถิ่น คืออะไร ภาษาถิ่น 4 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ ความหมายที่ซ่อนอยู่

ประเทศไทยนั้นมี 4 ภาค ภาษาไทยนั้นก็มีภาษาถิ่นในแต่ละภาค แต่ละที่วันนี้เราจะพาไปชม ภาษาถิ่น คืออะไร ภาษาถิ่น 4 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ ความหมายที่ซ่อนอยู่ ว่าสำเนียง การพูด ภาษาถิ่นนั้นสามารถส่งอารมณ์ ความเป็นอยู่ ความคุ้นเคยเหมือนได้กลับไปบ้านเกิด ที่ ๆ มีแต่คนคุ้นเคยและความดีงาม บางครั้งกระแสสังคมที่เร่งรีบก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียวในหุบเหวลึก ยิ่งหากต้องมาทำงานในถิ่นซึ่งใกลบ้าน ก็ย่อมต้องคิดถึงบ้านคิดถึงสถานที่ ๆ เติบโตมา ทุกคนล้วนเคยมีความรู้สึกเช่นนี้ ภาษาถิ่นนั้นยังแสดงออกถึงความเป็นมาและลักษณะแวดล้อมอีกด้วย เหมือนกับรวมเอาศิลปวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ในกลิ่นไอของภาษา เมื่อยามเราได้ใช้ก็หวนนึกถึงช่วงเวลาที่อยู่บ้านเกิด



ภาษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น

เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น

หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า

การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา
แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก

ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสังคมหนึ่งๆ
ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)

ภาษาเฉพาะวงการ
ภาษาสแลง

หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้นหรือถูกดัดแปลงในทุกกรณี


ที่มา




อับดุล is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
ความหมายที่ซ่อนอยู่, คืออะไร, ใต้, ภาค, ภาษาถิ่น, เหนือ, อีสาน
คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด