เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > พักผ่อนหย่อนใจ > ที่กินที่ท่องเที่ยว

ตอบ
อ่าน: 6691 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 19-06-2013   #1
Moderator
 
อับดุล's Avatar
 
วันที่สมัคร: Jan 2013
ข้อความ: 173
ถ่ายทอดพลัง: 1
คะแนนหรอย: 34
Default สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสระบุรี แหมใกล้จริ๊ง

เอาล่ะ วันนี้จะพาเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสระบุรีกัน อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าสระบุรีนั้นอยู่ใกล้กรุงเทพนิดเดียวเอง แถมอัดแน่นไปด้วยสถานที่เที่ยวมากมายได้หลายอารมณ์ หากอกหัก อยากหนีปัญหาสังคม อยากใจเย็นไม่ร้อนลุ่ม สระบุรีช่วยคุณได้ มานั่งพักดูวัดวาอาราม กราบไหว้สิ่งศักสิทธิ์ต่าง ๆ หรืออยากสงบก็แวะไปเขาใหญ่กันเลย เผื่อเข้าป่าแล้วจะดีขึ้นมาบ้าง หรือถ้าอยากถ่ายรูปก็เลือกไปช่วงทุ่งทานตะวันบานก็ไม่ว่ากัน หากอยากไปดูวัวนมตัวเป็น ๆ หรือกินกะหรี่ปั๊ปให้หายเซ็ง สระบุรีคือคำตอบ รับรองทำใจได้ง่ายแถมใกล้กรุงเทพอกหักปั๊ปขับรถไปปุ๊บ ทำใจรวดเร็วแล้วกลับมาสู้ชีวิตกันต่อ แต่สำหรับคนมีความรักยังไงโลกก็สีชมพูอยู่แล้วหากได้ไปเที่ยวรับรองรักหวานชื่นกว่าเดิมแน่นอน


วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
"....ผู้ที่ได้มีโอกาสไปสักการะรอยพระพุทธบาทถึง 7 ครั้ง ด้วยความศรัทธาจะได้ขึ้นสวรรค์.." คือความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวไทย รอยพระพุทธบาท คาดว่าค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม บันไดทางขึ้นสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ลักษณะเป็นนาคสามสาย ทอดชนานกับหัวบันไดเป็นรูปเศียรพญานาคหน้าเศียรนามว่ามุจลินทร์ โดยสายที่ 1 จากด้านซ้ายถือเป็นบันไดเงิน สายที่ 2 เป็นบันไดแก้ว และสายที่ 3 เป็นบันไดทอง เชื่อกันว่าหากปรารถนาเงินให้ขึ้นบันไดเงิน ปรารถนาทองให้ขึ้นบันไดทอง และปรารถนายศฐาบรรดาศักดิ์ หรืออื่นๆ (ส่วนใหญ่จะปรารถนาด้านคู่ครอง) ให้ขึ้นบันไดแก้ว โดยให้กลั้นหายใจพร้อมกล่าวคำอธิษฐานจนถึงบันไดขึ้นบนสุด

เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้สร้างพระมณฑป พร้อมกับ ทรงสร้างพระอารามขึ้นแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการ ทรงกำหนด งานสำหรับให้บรรดาประชาชนขึ้นไปมนัสการรอยพระพุทธบาทนั้น กับรับสั่งให้จัดงานนักขัตฤกษ์เพื่อให้ประชาชนได้เกิดความรื่นเริง ภายหลังจากที่ได้มีศรัทธาน้อมนมัสการแล้ว โดยกำหนดให้จัดงาน ในเดือน 3 ครั้งหนึ่ง และในเดือน 4 อีกครั้งหนึ่ง เป็นประเพณี นับตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา โดยงานเทศกาลเดือน 3 เริ่มงานตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (เพ็ญเดือน 3) รวม 15 วัน ส่วนเทศกาลในเดือน 4 เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 8 ค่ำ ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (เพ็ญเดือน 4) รวม 8 วัน แต่ในยุคปัจจุบัน ในเทศกาลทั้ง 2 เดือน ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยถือเอาวันตรุษจีนเป็นเกณฑ์ เช่นในปีใดตรุษจีนตรงกับเดือน 4 ก็จะ ให้เปลี่ยนเทศกาลเดือน 3 เป็นเริ่มจากวันขึ้น 8 ค่ำถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดิน 3 สลับกันไป

การกำหนดเวลาเพื่อเปิดพระมณฑปให้ประชาชนได้ขึ้นไป นมัสการในเทศกาลเดือน 3 และเทศกาล เดือน 4 จะเริ่มเปิดเวลา 06.00 น. จนถึง 19.00 น. จากนั้นเวลา 20.00 น. จะเป็นเวลาที่พระภิกษุกสงษ์ ที่เดินทางมาจาริกแสวงบุญ ได้ขึ้นไปนมัสการไหว้พระและสวดมนต์ ส่วนในวันปกติ ธรรมดา จะเปิดให้ ประชาชนทั่วไปได้ขึ้นไปนมัสการ พระพุทธบาท ทุกวันในเวลา 06.00-18.00 น.

ปัจจุบันงานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาทมีพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมานมัสการ พระพุทธบาท เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเทศกาลที่ตรงกับ ตรุษจีนจะมี ชาวไทยเชื้อสายจีนเดินทาง มานมัสการมากเป็นพิเศษ จนลานวัดที่กว้างขวางแลดูแคบไปถนัดตา

โบราณสถาน วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ที่ปากถ้ำมีอักษรมอญโบราณ (ปัลลวะ) ซึ่งเป็นแบบอักษรของชาวอินเดียฝ่ายใต้ ปรากฎมีในภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยก่อนสุโขทัย จนวิวัฒนาการมาเป็นอักษรขอมและ มอญโบราณ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง นำมาดัดแปลงประดิษฐ์เป็นต้นกำเนิดอักษรไทย จนถึงทุกวันนี้อักษรจารึกถ้ำนารายณ์ มีข้อความ ๓ บรรทัด ถูกจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (ยุคทวาราวดี) ในยุคนั้น ชนชาติมอญมีอำนาจรุ่งเรือง อักษรจารึก เขียนเป็นคำบอกร้อยแก้ว กรมศิลปากรแปลไว้ว่า ?กัณทราชัย ผู้ตั้งแคว้นอนุราธปุระ ได้มอบให้พ่อลุงสินาธะ เป็นตัวแทนพร้อมกับชาวเมือง (อนุราธปุระ) จัดพิธีร้องรำ เพื่อเฉลิมฉลอง(สิ่ง)ซึ่งประดิษฐานไว้แล้วข้างในนี้?
(อ้างอิงจาก เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ?จารึกบนผนังปากถ้ำนารายณ์? ในวารสารศิลปากร หน้า ๕๓-๕๗ ม.ป.ป.)
จารึกนี้บอกให้ทราบว่า ท้องถิ่นแถบนี้มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเวลานาน และอาจจะเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง มาก่อน ซึ่งคำว่า ?อนุราธปุระ? เป็นชื่อเมืองโบราณในประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย และอาจจะแสดงว่าชาวลังกากับคนท้องถิ่นนี้ (มอญโบราณ) มีการติดต่อสัมพันธ์กัน จึงมีการอ้างชื่อเมือง เพื่อกำหนดให้ระลึกถึงกัน พร้อมทั้งจารึกอักษรไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้เปรียบเทียบศึกษาจากบันทึกในพงศาวดาร หลายฉบับระบุว่า ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑) เคยมีปรากฏคณะสงฆ์ไทยเดินทางไปเมืองลังกาเพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ แต่ พระภิกษุลังกาได้บอกว่ามีรอยพระพุทธบาทในประเทศไทยที่เขาสุวรรณบรรพต และเกิดการค้นพบรอยพระพุทธบาทบริเวณเทือกเขานี้ในเวลาต่อมา หรืออาจจะหมายถึงการแลก เปลี่ยนวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และสยามวงศ์ตามที่ปรากฏในพงศาวดารของชาติไทยเราด้วย ก็อาจจะเป็นได้

สถานที่แห่งนี้ เป็นศาสนสถานมาเป็นเวลายาวนาน สืบความไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จจากวังนารายณ์ เมืองละโว้(ลพบุรี) ไปว่าราชการ ณ กรุงศรีอยุธยา ทรงผ่านประทับแรม ณ ถ้ำนารายณ์ ...และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมซึ่งเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาท ก็ได้เสด็จประทับพักแรมในถ้ำนารายณ์ ซึ่งมีอากาศเย็นสบายตลอดปี และจากจารึกอักษรผนังปากถ้ำก็ปรากฏหลักฐานว่าถ้ำนี้ได้เคยเป็นที่บำเพ็ญกุศล มาตั้งแต่สมัยอนุราธปุระ เมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว ผ่านความรุ่งเรืองและเสื่อมโทรม และฟื้นฟูขึ้นเป็นวัดตามประเพณีการปกครองแผ่นดินและการสืบพระพุทธศาสนา ดังกล่าวข้างต้น

ปัจจุบันนี้ โดยการนำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และพระธรรมสิทธินายก (ธงชัย สุขญาโณ) แห่งวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร วัดเขาวง ได้พัฒนาขึ้นมาสู่สภาพวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรแล้วเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง และยังเป็นแหล่งพันธุ์ไม้และสัตว์หาดูยาก คือโมกราชินี (Wrightia SIRIKITIAE D.J. Middleton&Santisuk) จันผา, นกหัวจุก, กระรอกเผือก ฯลฯ เพื่อรักษาไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมศาสนาของชาติไทยสืบไป

วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสระบุรี และปฏิบัติกรรมฐานตามสาย พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) มีหลักเจริญภาวนา มหาสติปัฏฐานสูตร รับผู้เข้าพัก ปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก


พระพุทธฉาย

เงาพระพุทธเจ้าบนผาหิน พุทธศิลปอายุกว่า 1,000 ปี

รอยพระฉายบนผาหิน หรือเงาพระพุทธเจ้า ที่ปรากฎมีเรื่องราวเป็นตำนานให้ชาวพุทธได้มาสักการะ นอกจากจะได้ชมความศักดิ์สิทธิ์และได้มีโอกาสมากราบไหว้ เพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเอง บริเวณด้านบนเหนือผาหินมีทางเดินขึ้นเขา เพื่อไปสักการะรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา เรียกได้ว่า มาจังหวัดสระบุรีรอบเดียว จะได้มีโอกาสสักการะรอยพระพุทธบาทถึง 2 รอยด้วยกัน นั่นคือ รอยแรก คือรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ณ วัดพระพุทธฉายแห่งนี้

บริเวณด้านบนเขาที่ประดิษฐานเป็นภูเขาสูง ที่สามารถมองเห็นบรรยากาศรอบๆ ของจังหวัดสระบุรี ที่รายล้อมด้วยภูเขา สลับด้วยสีเขียวสดของต้นไม้ อากาศเย็นสบาย บริสุทธิ์ ตลอดระยะเวลาเดิน-ขึ้นลงเขา เป็นทางเดินทางขึ้นเขาที่ร่างกายของเราจะถูกล้อมรอบด้วยป่าเขียวขจี

นอกจากนั้นยังมีสัตว์เล็ก สัตว์น้อย ตลอดเป็นรายทางไป ที่เห็นจะมีมากกว่าเขา แถมเป็นเพื่อนสนิทของบรรพบุรุษมนุษย์เรามากไม่รู้ว่ากี่พัน กี่ร้อย ล้านปีมาแล้ว นั่นคือ "คุณลิง เจี๊ยก" นั่นเอง รอยที่ สอง คือ รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย ที่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ที่ชาวพุทธ เคารพสูงสุด


พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นธงชัย เป็นที่กราบไหว้สักการบูชาของชาวไทยทั้งสี่ทิศ กรมการรักษาดินแดน (Territorial Defense Department)

ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู
่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยสร้างขึ้น 4 องค์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พงศ.2509 เป็นพระปางขัดสมาธิ วัสดุโลหะผสม ทองเหลือง 2 ส่วน ทองแดง 1ส่วน ทองขาว 1 ส่วน น้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 69 นิ้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้โปรดฯ พระราชทานแก่ชาวสระบุรี เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำทิศตะวันออก ชาวสระบุรี จึงได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาจตุรมุขขึ้น และได้อัญเชิญพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ขึ้นประดิษฐานไว้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ศาลาจตุรมุขหลังนี้ได้สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคของชาวสระบุรี สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2515 เป็นเงินค่าก่อสร้าง 1,192,798.40 บาท

นิร แปลว่า "ปราศจาก" - โรคันตราย มาจากคำว่า "โรค+อันตราย" รวมความแล้ว "นิรโรคันตราย" หมายถึง "ความปราศจากโรคภัยอันตรายใดๆ"

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

ทิศเหนือ ประดิษฐานที่จังหวัดลำปาง - ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ทิศตะวันออก ประดิษฐานที่จังหวัดสระบุรี - ในวัดศาลาแดง หน้าศาลากลางจังหวัด
ทิศใต้ ประดิษฐานที่จังหวัดพัทลุง - ใกล้ศาลากลางจังหวัด
ทิศตะวันตก ประดิษฐานที่จังหวัดราชบุรี - บนยอดเขาแก่นจันทร์

โดยโปรดฯ เกล้า พระราชทานให้พร้อมกันทั้ง 4 จังหวัด ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2511


พระแก้วมรกตจำลอง

วัดศรีบุรีรตนาราม อ.เมือง จ.สระบุรี


พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร "พระแก้วมรกต" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์สำคัญที่สุดของชาติไทย เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงราย ต่อมาย้ายมาอยู่ที่เมืองลำปางและเชียงใหม่ ต่อมาพระไชยเชษฐา (เจ้าลาว) ได้มาอัญเชิญไปประดิษฐานเพื่อเป็นที่สักการะยังเมืองลาวเป็นการชั่วคราว แล้วไม่ยอมคืนไทย

ในปี พ.ศ. 2320 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ 1) เป็นแม่ทัพ ยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ จึงได้อัญเชิญ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต กลับคืนมาประดิษฐานไว้ในราชอาณาจักรไทยดังเดิม

ในคราวสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยาตราทัพกลับประเทศไทย เมือเดินทัพมาถึงจังหวัดสระบุรี ได้หยุดพำนักที่วัดศรีบุรีรตนาราม (วัดปากเพรียว) พร้อมกับอัญเชิญ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเตรียมการรับเสด็จและเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่มโหฬาร ณ กรุงธนบุรี

ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช เสด็จขึ้นมารับและอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต โดยขบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค อย่างมโหฬารเป็นประวัติการณ์ เมื่อเดือนยี่ ข้างแรม ปีกุน พ.ศ. 2322 ขบวนแห่พยุหยาตราได้ล่องมาถึงกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4 ปี พ.ศ. 2322

การที่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ได้มาประดิษฐานที่วัดศรีบุรีรตนาราม (วัดปากเพรียว) เป็นวาระแรกที่เข้ามาในประเทศไทย จึงนับว่าเป็นเกียรติประวัติมิ่งมหามงคลอันยิ่งใหญ่ของชาวสระบุรี ที่จะต้องจารึก จำจำประวัติศาสตร์สำคัญนี้ไว้ตราบชั่วกาลนาน


พระพุทธรูปทองคำ

วัดพะเยาว์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี


พระพุทธรูปทองคำ วัดพระเยาว์ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญยิ่งอีกองค์หนึ่งของชาติไทย ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยโลหะธาตุที่มีค่ายิ่งของมนุษยชาติ ไม่อาจสร้างขึ้นมาได้โดยง่าย ในสมัยแต่ก่อนมานั้น จะมีก็แต่พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระบุญญาบารมีเท่านั้น ที่สามารถสร้างได้

ในเมืองไทยแดนพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่งของโลก เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้ก็มีอยู่ด้วยกันไม่กี่องค์ ทุกองค์ล้วนเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยทั้งสิ้น เช่น พระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรวิทยาราม (พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร) พระพุทธรูปทองคำวัดมาหรรณพาราม (หลวงพ่อพระร่วง) พระพุทธรูปทองคำวัดหงส์รัตนาราม ฯลฯ ซึ่งได้เคลื่อนย้ายไปรวมไว้ในกรุงเทพมหานครในสมัยต่อมาทั้งสิ้น

ส่วนพระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์ จังหวัดสระบุรีที่กล่าวถึงนี้ เป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่องค์เดียวเท่านั้น ที่เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างอยุธยา ซึ่งอยากจะเรียกว่า ? สกุลช่างอยุธยาบริสุทธิ์? อันเกิดแต่พุทธศิลป์อู่ทองผสมกับพุทธศิลป์สุโขทัย? พระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์จึงแตกต่างกับพระพุทธรูปทองคำองค์อื่นใดโดยทั่วไป ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ส่วนผสมของทองคำนั้น พระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์อาจมีเปอร์เซ็นต์สูงเหนือพระพุทธรูปทองคำองค์อื่นใด ที่มีขนาดเดียวกันทั้งสิ้น กล่าวคือเท่าที่ผู้เขียนได้ทราบมา จากการเฝ้าติดตามถึงเรื่องราวของพระพุทธรูปทองคำสมัยสุโขทัยทั้ง 3 องค์ ที่ได้เผยโฉมออกมาสู่ชาวโลก ในระหว่างช่วงปี 2498-2500 ซึ่งรัฐบาลไทยสมัยนั้น (จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี) กำลังเตรียมจัดงานมหกรรมสมโภชเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนาครั้งยิ่งใหญ่ (ทางการเรียกว่า ? งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ? แต่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า ? งานฉลองกึ่งพุทธกาล?) เป็นเหตุบันดาลให้พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่ไม่มีใครรู้จัก ได้เปิดเผยประกาศตัวออกมา ท่ามกลางความปิติยินดีของชาวพุทธในเมืองไทยแทบถ้วนหน้า

จากการติดตามข่าวคราวในครั้งนั้น จึงได้ทราบว่าพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรมีส่วนผสมทองคำ 40% พระพุทธรูปทองคำวัดมหรรณพาราม (หลวงพ่อพระร่วง) มีส่วนผสมทองคำ 60% แต่พระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรมาตรวจดูแล้ว แจ้งว่ามีส่วนผสมทองคำสูงถึง 70% พระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์ จึงทรงคุณค่าสูงยิ่งทางด้านวัตถุ

แต่พระพุทธรูปทองคำของวัดไตรมิตรและวัดมหรรณพารามนั้น นับว่าเลิศยอดยิ่งทางด้านพุทธศิลป์ สมสกุลช่างชั้นครูของสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นที่เลื่องลือเกริกไกรมาช้านานแล้ว เป็นที่น่าสังเกตุว่าพระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์นี้ แทบจะไม่มีใครรู้จักเลย นอกจากชาวสระบุรี ก็มีอยู่ไม่มากนักเท่านั้น พระพุทธรูปทองคำองค์นี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่แสดงถึงศักยภาพของกรุงศรีอยุธยา ราชธรานีที่มีอายุยืนยาวที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยยุคใหม่ ในรอบ 400 ปีที่ผ่านมานี้

เชื่อว่าพระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์เดียวเท่านั้น ที่รอดพ้นจากน้ำมือของข้าศึก ซึ่งเข้ามาล้างผลาญสร้างความพินาศครั้งใหญ่หลวงให้แก่ราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 นั้น พระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์ จึงเป็นปูนชนียวัตถุที่ล้ำค่ายิ่งสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติภูมิความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยาแต่ครั้งอดีต ทั้งในด้านความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และแสนยานุภาพทางทหาร อีกทั้งทางเศรษฐกิจของบรรพชนไทย ในสมัยเมื่อ 500 ปีเศษมาแล้ว สืบไปตราบชั่วกาลนาน

พระพุทธรูปทองคำวัดพะเยาว์นี้ เป็นสิ่งที่ชาวสระบุรีภาคภูมิใจอีกสิ่งหนึ่งนอกเหนือไปจาก ? รอยพระพุทธบาท? อันทำให้สระบุรีเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธในราชอาณาจักรไทยมาเป็นเวลาช้านาน นับได้หลายร้อยปีมาแล้ว
ดูข้อมูลเพิ่มเติม


เจดีย์ศิลปล้านนา
วัดเขาแก้ววรวิหาร อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
วัดเขาแก้ววรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณวัดหนึ่งตั้งอบู่บนเขา ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตท้องที่ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นวัดราษฎร์สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ประมาณ ปี พ.ศ.2171 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนมัสการพระพุทธบาทและจะเสด็จนมัสการพระพุทธฉายได้ทรงแวะพักไพร่พลขบวนราบ ณ พลับพลาท่าหิน ลานหน้าวัดเขาแก้ว พระองค์ได้เสด็จขึ้นทอดพระเนตรวัดเขาแก้ว ทรงเลื่อมใสในภูมิฐานของวัด ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาเล็กๆ แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่งดงามเป็นที่สงบเหมาะสำหรับการบำเพ็ญสมณธรรม พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะบูรณปฏิสังขรณ์วัด นี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) เป็นแม่กองควบคุมการก่อสร้าง เจ้าพระยานิกรบดินทร์ได้จัดพวกนายกองโค พากันไปรับไม้เครื่องบนและสิ่งก่อสร้างจากกรุงเทพฯ มาบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ปรับปรุงขยายให้ใหญ่กว่าเดิม ก่อกำแพงรอบพระอุโบสถขึ้นมาใหม่ สร้างกุฏิไว้ด้านทิศเหนือของเจดีย์และบูรณะองค์พระเจดีย์ของเดิม เมื่อเสร็จแล้วมีพระกระแสรับสั่งให้สถาปนาวัดเขาแก้วขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า ? วัดคีรีรัตนาราม ?

เมื่อ พ.ศ.2456 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิโนรส องค์สังฆประมุขเสด็จออกตรวจการ คณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี เสด็จทอดพระเนตรวัดเขาแก้ว ทรงเห็นป้ายที่ติดไว้ท่าหินลาดหน้าวัดว่า ? วัดคีรีรัตนาราม ? รับสั่งว่าเป็นคำมคธ ทรงให้เรียกเป็นคำไทยว่า ? วัดเขาแก้ว ? ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

วัดสมุหประดิษฐาราม อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แม่น้ำป่าสัก เป็นเส้นทางสำหรับ เสด็จทางชลมารคอยู่เสมอ สำหรับการไปนมัสการรอยพระพุทธบาทซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีประตูน้ำท่าหลวง ในฤดูแล้ง น้ำในแม่น้ำป่าสัก บางช่วงจะแห้ง เช่น ครั้งหนึ่งกระบวนเสด็จมาติดเกยที่หน้า วัดสมุหประดิษฐาราม (ที่ครั้งนั้นยังไม่มีวัด) และขณะที่คอยราษฎร และข้าราชการช่วยโกยร่องน้ำเพื่อช่วยเรือ อยู่นั้น เจ้าพระยานิกรบดินทร์ มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต, ต้นตระกูลกัลยาณมิตร) สมุหนายก ผู้ตามเสด็จฯ ได้เดินขึ้นฝั่ง เที่ยวสถานที่ต่างๆ ได้พบวัดไไผ่จ้อก้อจึงกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะบูรณะและสร้างวัดไผ่จ้อก้อขึ้นใหม่ เมื่อได้รับ พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงย้ายวัดไผ่จ้อก้อมาสร้างณ ที่ "วัดสมุหประดิษฐาราม" ตามนามตำแหน่งของ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ และสถาปนาเป็น พระอารามหลวง
ชั้นตรี ชนิดสามัญ

สมัยก่อน บรรดาข้าราชการเมืองสระบุรี จะมาประชุมกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒ์สัตยาประจำปีกันที่วัดนี้ พ.ศ. 2451 ได้ตั้งโรงเรียนแห่งแรกในจังหวัดสระบุรีขึ้นที่วัดนี้ ระหว่าง พ.ศ. 2458-2492 ที่วัดพระศรีวิสุทธิดิลก (โต) เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ ได้จัดการศึกษาเจริญมาก พ.ศ. 2470 ท่านได้สร้างโรงเรียนปริยัติธรรมขึ้นหนึ่งหลัง

เมื่อ พ.ศ. 2443 พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม (เจ้าเมืองสระบุรี) ได้ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ เป็นภาพที่งดงามมาก มีทั้งเรื่องชาดก วิถีชาวบ้านในยุคสมัยนั้น (ชาวไทยวน ในอ.เสาไห้ จ.สระบุรี) สำหรับพระประธานในพระอุโบสถไม่มีพระนาม เป็นพระหล่อลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย สวยงาม พระพักตร์ได้สัดส่วนกลมกลึง พุทธลักษณะประทับใจผู้มาสักการะเป็นอันมาก
คัดจากหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโกศลวิหารกิจ
เขียนโดย อ.พิเนตร น้อยพุทธา


หลวงพ่อย้อย ปุญญมี

เกจิอาจารย์ดัง มรภาพ 25 ปี ร่างกายยังไม่เน่าเปื่อย

วัดอัมพวัน อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
วัดอัมพวัน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก แต่เดิมชื่อ "วัดม่วงล้อม" เพราะบริเวณวัดปรากฎว่าเต็มไปด้วยพันธุ์ไม้มะม่วงขนาดใหญ่ ยืนต้นอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาพระครูติ๊บ ซึ่งเป็นพระครูเมืองวัดเขาแก้ว ได้มาปฏิสังขรณ์วัดม่วงล้อมใหม่ สร้างกุฎิสงฆ์และพระอุโบสถขึ้นแล้วให้นามวัดว่า "วัดอัมพวัน" มีพระภิกษุสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ไม่มากนัก เพราะชาวบ้านในละแวกนี้มีน้อยมาก มีหลวงตาจั่นเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และเมื่อหวงตาจั่นได้มรณภาพไปแล้ว อาจารย์ย้อย ปุญญมี จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทนต่อมา

ในบริเวณวัดยังปรากฎมีวิหารเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ถือปูน ด้วยขนาดหน้าตักกว้าง 110 ซม. สูง 145 ซม. มีหลักฐานปรากฎว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีอายุความเก่าแก่ประมาณ 400 ปีเศษ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสาริริกธาตุ ที่ชาวบ้านละแวกนั้น ได้เห็นปาฎิหารย์รัศมีแสงเรืองรองนวลทั่วบริเวณหลายคน เมื่อสอบถามจึงทราบว่า แสงนั้นเปล่งมาจากพระบรมสารีริกธาตุ ที่กุฏิอาจารย์ย้อย จึงมีความเลื่อมใสยิ่ง และร่วมกันสร้างเจดีย์ สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

พระอาจารย์ย้อย ปุญญมี เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดัง ทางด้านการปลุกเศกเครื่องลางของขลัง แจกจ่ายให้บรรดาศิษยานุศิษย์ ไว้เป็นเครื่องป้องกันตัว เคยปรากฎผลศักดิ์สิทธิ์และมีอภินิหารเป็ฯที่เลื่อลือในบรรดาศิษย์และคนทั่วไป ที่ได้เคยมีประสบการณ์มาแล้ว เครื่องรางของขลังนั้น ท่านเคยทำหว้หลายชนิด โดยเฉพาะ ตระกรุดขนิดต่างๆ หลายรุ่น , สาริกาลิ้นทอง, ผ้ายันต์ต่างๆ, พระประจำวันต่างๆ และเหรียญและแหวนรูปหลวงพ่อย้อย
หลวงพ่อย้อย ปุญญมี มรณะภาพ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2525 รวมอายุได้ 90 ปี ปรากฎว่าจนปัจจุบัน เป็นเวลา 25 ปีแล้ว ร่างกายของท่านยังไม่เน่าเปื่อย


เสาร้องไห้ ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสระบุรี

วัดสูง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี


เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้ปราบดาภิเษาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2345 พระองค์ทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีของไทย ในการสร้างพระบรมมหาราชวังและเสาหลักเมืองครั้งนั้น มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ได้มีพระบรมราชโองการไปยังเหนือหัวเมืองต่างๆ ให้ตัดไม้ที่มีลักษณะดีส่งไปยังกรุงเทพฯ เพื่อคัดเลือกเป็นเสาหลักเมือง เมืองสระบุรี ได้ตัดไม้ตะเคียนส่งไปยังกรุงเทพฯ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก เสา (วิญญาณแม่ตะเคียนประจำเสา) เสียใจมากจึงลอยทวนกระแสน้ำมาตามลำน้ำป่าสัก หยุดลอยกลางลำน้ำเยื้องที่ว่าการอำเภอเสาไห้ทุกวันนี้ นางไม้ประจำเสาต้นนี้ได้ส่งเสียงร้องไห้คร่ำครวญให้ชาวบ้านได้ยินเสมอ แล้วจมลงใต้น้ำ ณ ที่ตรงนั้น ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านไผ่ล้อมน้อยว่าบ้านเสาไห้มาจนทุกวันนี้

ต้นปี พ.ศ. 2501 วิญญานแม่นางตะเคียงได้เข้าฝันนางเฉลียว จันทรประสิทธิ์ ว่าอยากขึ้นจากน้ำ ชาวบ้านจึงร่วมกันสำรวจใต้น้ำจึงพบว่ามีเสาไม้อยู่จริง และนำขึ้นมาใต้น้ำนำไปไว้ที่วัดสูง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2501 จากนั้นก็ถือเอาวันที่ 23 เมษายน เป็นวันสรงน้ำนางตะคียนเรื่อยมา

คัดจากหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโกศลวิหารกิจ
เขียนโดย อ.พิเนตร น้อยพุทธา


ภาพจำหลักศิลปทวาราวดีอายุกว่า 1000 ปี

พระพุทธเจ้าแสดงธรรม

วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ถ้ำพระโพธิสัตว์ มีอีกชื่อว่าถ้ำพระงามหรือถ้ำเขาน้ำพุ ประกอบด้วยคูหาน้อยใหญ่ 6 คูหา คูหาที่มีภาพสลักบนผนังเป็นคูหาติดทางปากเข้า และเป็นคูหาที่มีแสงสว่างส่องถึงมากที่สุด คูหานี้มีเจดีย์ปิดทองตั้งอยู่บนฐานโบกปูน ปูด้วยกระเบื้อง เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยปัจจุบัน ณ ผนังด้านเหนือของคูหานี้สูงขากพื้นถ้ำ 3.27 -5.25 เมตร มีภาพสลักนูนต่ำศิลปกรรมสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 13-14 ) ขอบเขตของภาพ 3.30 x 2.08เมตร เป็นภาพที่ประกอบด้วยรูปบุคคล 6 ภาพในอิริยาบถ ที่ต่างกัน

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นภาพตอนที่บรรดาเทพเจ้าเฝ้าทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมเพื่อโปรดสรรพสัตว์ในโลกและเมื่อทรงแสดงธรรมก็มีเทพเข้า มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ มาเฝ้าเพื่อสดับธรรม ดังที่มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในลลิตวิสตระอันเป็นคัมภีร์แสดงพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ซึ่งเข้าใจว่าความรู้เรื่องคัมภีร์นี้มีแพร่หลายในสมัยนั้น อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม สันนิษฐานถ้ำนี้ว่า ? น่าจะเป็นที่จำศีลภาวนาของนักบวชและฤาษี ภายในถ้ำโอ่โถงพอสมควร พอเป็นที่อาศัยพำนักได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในระดับที่สูงแต่ก็ไม่มีอะไรที่ลำบากแก่การดำรงชีวิต อันเนื่องมาจากบริเวณที่ตีนเขาตรงหน้าถ้ำนั้นมีธารน้ำตกเหมาะกับการตั้งหลักแหล่ง พำนักอาศัยของบรรดานักบวชหรือไม่ก็ชุมชน และผู้คนที่อยู่ในที่สูงป่าเขา อาศัยผลผลิตของป่าในบริเวณนั้นหาเลี้ยงชีพ ?

ถ้ำพระโพธิสัตว์เป็นถ้ำหินอ่อนล้วน มีภาพศิลปะนูนต่ำ ดังที่กล่าวมาและมีหินงอก หินย้อย รูป ช้าง สิงโต เต่า หัวจระเข้ ลิ้นพญามัจจุราช พระปางนั่งสมาธิบนเพดานถ้ำ เพชรน้ำ (น้ำหยดลงหินเป็นประกายลักษณะคล้ายหินปะการัง) ถัดจากถ้ำพระโพธิสัตว์ คือถ้ำธรรมทัศน์ มีความยาวประมาณ 800 เมตรเศษ เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ในอดีต ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปหัวพญานาค สันนิษฐานว่าเป็นเสาหลักเมืองเก่า

จากถนนมิตรภาพมุ่งหน้าไปทางโคราช ถึงโรงปูน 2 (ปูนนครหลวงนกอินทรี) กลับรถบนสะพานจากสะพานกลับรถถึงทางแยกระยะทางประมาณ 3 ก.ม. จะเห็นป้ายวัดถ้ำดาวเขาแก้ว ตรงสะพานลอยคนข้ามเลี้ยวซ้ายเข้าไปถึงทางแยกมีป้ายบอก ให้เลี้ยวซ้ายไปวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ จากทางแยกไปอีกประมาณ 6.5 กม. ก็ถึง


หลวงพ่อใหญ่

พระโบราณศิลปอยุธยา

อ.แก่งคอย จ.สระบุรี


หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย พุทธอยุธยาตอนปลาย ค้นพบภายในถ้ำพระใหญ่ ภายในถ้ำเมื่อพบครั้งแรก เป็นที่สำหรับเก็บถ้วยชาม ของโบราณ และพระพุทธรูปโบราณองค์เล็กอีกมากกรมศิลปกรได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นพระพุทธรูปโบราณ เมื่อปี 2478

เชื่อว่าในอดีตในถ้ำแห่งนี้จะเป็นที่สำหรับเก็บสมบัติล้ำค่า ของชุมชุนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง และยังเป็นที่สำหรับหลบภัยจากสงคราม หรือโจรผู้ร้าย หรือสัตว์ร้าย เช่นเสือ เนื่องจากมีร่องรอยของเล็บเสือที่กัดแทะบริเวณขอบประตู บริเวณปากถ้ำ

ชาวบ้านนิยมมาขอพรเพื่อให้หายจากอาการเจ็บป่วยไข้ บางครี้งมีทรัพย์สินของบุคคลสูญหาย ก็จะมาขอพรเพื่อให้ได้กลับคืน
อุโมงค์ต้นไม้

บนเส้นทางมวกเหล็ก-วังม่วง เส้นทางสาย 2089 มีอุโมงค์ต้นไม้ เกิดจากต้นกระถินใหญ่สองข้างถนนโน้มกิ่งเข้าหากัน ทำให้ถนนร่มครึ้มเป็นระยะทางยาวดูคล้ายอุโมงค์ และให้ความร่มรื่นสวยงามมีความยาวประมาณ 200 เมตร นักท่องเที่ยวมักจอดรถแวะถ่ายรูปเป็นประจำ
ถัดไปเล็กน้อยยังมีเนินพิศวง ซึ่งหากจอดรถเข้าเกียร์ว่าง จะเกิดภาพลวงตามองเห็นรถเคลื่อนที่จากที่ต่ำไปยังที่สูง นอกจากนี้ตามเส้นทางสายมวกเหล็ก-หนองย่างเสือ (ทางหลวงหมายเลข 2224) จะมีลำธารไหลเลียบถนนไปตลอดเส้นทางและมีรีสอร์ทของเอกชนหลายแห่งตั้งเรียงรายอยู่ริม
ธารน้ำตก

การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 แยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2089 อุโมงค์ต้นไม้จะอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 24-25 จะมีป้ายปักไว้ด้วยว่าอุโมงค์ต้นไม้



อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอมวกเหล็ก และอำเภอวังม่วง มีลำห้วยมวกเหล็กไหลผ่าน จุดเด่นซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวคือ น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นมาตามแนวลำธาร มีประมาณ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงราว 2-5 เมตร แอ่งน้ำมีบริเวณที่เล่นน้ำกว้าง และร่มรื่น นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมล่องแก่งเรือคยัคในห้วยมวกเหล็ก ติดต่อได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ
การเดินทาง
จากตัวเมืองสระบุรี ไปอำเภอมวกเหล็ก ถึงทางแยกถนนสายมวกเหล็ก-หนองย่างเสือ ระยะทาง 41 กิโลเมตร จากทางแยกเข้าสู่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยเป็นระยะทางอีก 12 กิโลเมตร หรือเดินทางโดยรถโดยสาร มีรถสายสระบุรี-แก่งคอย-มวกเหล็ก ผ่านหน้าอุทยานฯ
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 หรือ ถ.พหลโยธิน) เมื่อถึงตัวเมืองสระบุรีให้เลี้ยวขวาใช้เส้นทาง สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2 หรือ ถ.มิตรภาพ) กม.ที่ 142 ก่อนถึงตลาด อ.ส.ค. ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2224 (มวกเหล็ก-หนองย่างเสือ) ประมาณ 12 กม. ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
กิจกรรม
เล่นน้ำตก พายเรือคยัก พักผ่อนหย่อนใจ ล่องแก่ง เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
บริเวณอุทยาน มีบ้านพัก ที่กางเต้นท์ ห้องอาบน้ำ มีร้านอาหารบริการ ห่วงยางให้เช่าเล่นน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อล่องแก่งเรือยาง เรือคยัก และรถ ATV ได้ด้วย ติดต่อสอบถามข้อมูล โทร. 0 3622 6431 ติดต่อจองบ้านพักอุทยานแห่งชาติที่ โทร. 0 2562 0760 เว็บไซต์ www.dnp.go.th


ที่มา http://www.tat.or.th/travelplace.asp......9&nPageNo=5





แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย อับดุล : 19-06-2013 เมื่อ 19:02
อับดุล is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
กะหรี่ปั๊ป, เขาใหญ่, ทุ่งทานตะวัน, มวกเหล็ก, สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสระบุรี, สถานที่เที่ยวสระบุรี, สระบุรี, แหมใกล้จริ๊ง
คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด