เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้ > ภูมิศาสตร์

ตอบ
อ่าน: 8580 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 11-07-2012   #1
Senior Member
 
poohba's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2011
ข้อความ: 398
ถ่ายทอดพลัง: 0
คะแนนหรอย: 332
Default อยากรู้ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชียแล้วสิ ไขคำตอบได้ที่นี่

เพื่อนๆ อยากทราบไหมว่า ทวีปเอเชียที่เราอาศัยอยู่ เขาแบ่งลักษณะภูมิประเทศเป็นเช่นไร มีกี่เขต และแต่ละเขตมีที่ไหนบ้าง ไทยอยู่ในลักษณะภูมิประเทศแบบไหน แหม คิดไม่ออกกันล่ะสิ เรามีตัวช่วย มาอ่านบทความข้างล่างหาความรู้กันหน่อย เรื่องราวของภูมิศาสตร์ช่างน่าค้นหาจริงๆ ถ้าอยากรู้มาติดตามกันเลยจ้า



ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น 6 เขต คือ

1. เขตที่ราบต่ำทางเหนือ คือ บริเวณตอนบนของทวีปซึ่งอยู่ในเขตสหภาพโซเวียต(เดิม)ในเขต
ไซบีเรียส่วนใหญ่เป็นเขตโครงสร้างหินเก่า ที่เรียกว่า แองการาชีลด์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำอ็อบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีนาไหลผ่าน บริเวณมีอาณาเขตกว้างขวางมากไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่เพราะอากาศหนาวเย็นมาก

2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำต่างๆซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและ
มักมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่
- ในเอเชียตะวันออกได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน
- ในเอเชียใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถาน ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา
ในประเทศอินเดีย และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในบังคลาเทศ
- เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส ที่ราบลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีส ในประเทศอิรัก
- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชาและ
เวียตนามที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในประเทศเวียตนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทยที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่างที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในประเทศพม่า

3. เขตเทือกเขาสูง เป็นเขตหินใหม่ ตอนกลางประกอบด้วยที่ราบสูงและเทือกเขามากมายส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่แยกตัวไปจากจุดรวมเทือกเขาที่เรียกว่า ?ปามีร์นอต(Pamir Knot)?หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ?ปามีร์ดุนยา(PamirDunya)แปลว่า หลังคาโลก?
จุดรวมเทือกเขาปาร์มีนอต อาจแยกได้ ดังนี้

เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัยเทือกเขาอาระกันโยมา และเทือกเขาที่มีแนวต่อลงมาทางใต้ มีบางส่วนที่จมหายไปในทะเลและบางส่วนโผล่พ้นขึ้นมาเป็นเกาะในมหาสมุทร อินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิคถัดจากเทือกเขาหิมาลัยไปทางเหนือ มีเทือกเขาที่แยกไปทางตะวันออก ได้แก่เทือกเขาคุนลุน เทือกเขานานชาน และแนวที่แยกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเทียนชานเทือกเขาคินแกน
เทือกเขายาโบลนอย เทือกเขาสตาโนวอยและเทือกเขาโกลีมา
เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันตก แยกเป็นแนวเหนือและแนวใต้ ได้แก่เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูรซ ส่วนแนวทิศใต้ ได้แก่ เทือกเขาสุไลมานเทือกเขาซากรอส เมื่อเทือกเขา2แนวนี้มาบรรจบกันที่อาร์เมเนียนนอตแล้ว ยังแยกออกเป็นอีก2แนว ในเขตประเทศตุรกี คือแนวเป็นเทือกเขาปอนติกและแนวใต้เป็นเทือกเขาเตารัส

4. เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เป็นที่ราบสูงในเขตหินใหม่ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งมีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลกที่ราบสูงยูนาน ทางใต้ของจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่งคือ ที่ราบสูงตากลามากัน
(Takla Makan)ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชาน กับเทือกเขาคุนลุนแต่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก และมีอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทราย

5. เขตที่ราบสูงทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ที่ราบสูงขนาดใหญ่ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียมีความสูงน้อยกว่าที่ราบสูงทางตอนกลางของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคานในอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่านในอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในตุรกีที่ราบสูงอาหรับในซาอุดิอาระเบีย

6. เขตหมู่เกาะภูเขาไฟเป็นเขตหินใหม่ คือบริเวณหมู่เกาะอันเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟทั้งที่ดับแล้วและที่ยังคุกรุ่นอยู่ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




รูปขนาดเล็ก
553.jpg  

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย poohba : 11-07-2012 เมื่อ 07:40
poohba is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
ของ, ไขคำตอบ, ไขคำตอบได้ที่นี่, ได้ที่นี่, ทวีปเอเชีย, ประเทศของทวีปเอเชีย, ประเทศของเอเชีย, ภูมิประเทศของทวีป, ภูมิประเทศของทวีปเอเชีย, ลักษณะ, ลักษณะภูมิ, ลักษณะภูมิประเทศ, ลักษณะภูมิประเทศของทวีป, ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชีย, แล้วสิ, อยากรู้, เอเชีย

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด