View Full Version : การบวชและการเตรียมตัวก่อนบวชครับน้องๆ


ohmohm
15-09-2011, 11:25
จริงๆแล้วกะเอาไว้อ่านเองนั้นแหละ แต่เอามาลงเพื่อบิ้วอารมณ์นายเอ็มให้ชวชพร้อมกันซะเลยอายุอานามก็มากแล้วนะครับ มาบวชพร้อมผมเลยดีกว่าจะได้ทดแทนบุณคุณพ่อแม่ำร้อมกันไปเสียเลยท่านเอ็มเดี๋ยวคุณแม่จะเสียใจเอา


ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย การได้บวชถือเป็นมหากุศล อันยิ่งใหญ่ ผลบุญจะแผ่ไปถึง บุคคลผู้ใกล้ชิด และลบล้างกรรมชั่วในอดีตได้ ตามแต่กำลังการบำเพ็ญตน หรือหากท่านยินดี ที่จะดำรงสถานภาพของสมณเพศ ไปจนตลอดชีวิต ก็นับว่า เป็นการอุทิศตน ช่วยธำรงค์ไว้ซึ่งการสืบต่อ ของศาสนาพุทธ ไปจนตราบชั่วกาลนาน


คุณสมบัติของผู้ที่จะบวชได้
สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศ การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวชให้คนทั่วไปเขากราบไหว้ นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระแล้วก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้วยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้
ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด
๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ

ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่
๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
๒.เป็นคนหลบหนีราชการ
๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา
๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย
๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้
สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ

ohmohm
15-09-2011, 11:28
การเตรียมตัวก่อนบวช

ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้


เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)
๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
๑๔.สันถัต (อาสนะ)
๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง
ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์


ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน
๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
๕.รองเท้า ร่ม
๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
*อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา



คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช"กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพานเทอญ"




การบวชนาคและแห่นาคการจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)
แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)
ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด
ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)
ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)
บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช
ของถวายพระอันดับ
บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช
เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช

ohmohm
15-09-2011, 11:30
ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ
ใช้ในพิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)

รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า
อุกาสะ วันทามิ ภันเต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต
(นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า)
อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
(กล่าว ๓ ครั้งว่า)
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ (เสร็จแล้วพระอุปัชฌาจะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)
(กล่าว ๓ ครั้งว่า)
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ
พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
อุกาสะ วันทามิ ภันเต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ

อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา
ติสะระเณนะ สะหะ
สีลานิ เทถะ เม ภันเต
(นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้)
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
(พระจะกล่าว ๓ ครั้งว่า)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)
ต่อจากนั้นให้รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้
อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต
(นั่งคุกเข่า)
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
(กล่าว ๓ ครั้งว่า)
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ๓ ครั้งแล้วว่าดังนี้
(กล่าว ๓ ครั้งว่า)
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)
ลำดับต่อไปพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้ขอบวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอดๆไปดังนี้
<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="40%" cols=2><TBODY><TR><TD>อะยันเต ปัตโต</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง สังฆาฏิ</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง อุตตะราสังโค</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะยัง อันตะระวาสะโก</TD><TD>(รับว่า) อามะ ภันเต</TD></TR></TBODY></TABLE>จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้
<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="50%" cols=2><TBODY><TR><TD>พระจะถามว่า</TD><TD>ผู้บวชกล่าวรับว่า</TD></TR><TR><TD>กุฏฐัง</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>คัณโฑ</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>กิลาโส</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>โสโส</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะปะมาโร</TD><TD>นัตถิ ภันเต</TD></TR><TR><TD>มะนุสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปุริโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ภุชิสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะนะโณสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>นะสิ๊ ราชะภะโฏ</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD>ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง</TD><TD>อามะ ภันเต</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left>กินนาโมสิ</TD><TD>อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ</TD></TR><TR><TD vAlign=top>โก นามะ เต อุปัชฌาโย</TD><TD>อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...</TD></TR><TR><TD></TD><TD>*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ</TD></TR></TBODY></TABLE>*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย
เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้ สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี


อ่านต่อได้ที่นี่เลยนะเธอว์ http://www.salatham.com/ordane/