M150
10-10-2011, 16:09
ใครที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย และ รู้สึกเหมือนชีวิตมันไม่มั่นคง ไม่เสถียร ไม่รู้จะเอาอะไรเป็นสรณะให้กับชีวิต บางทีพี่น้องอาจจะกำลังอยู่ในช่วง Quarter-life Crisis วิกฤตหนึ่งในสี่ของชีวิต ผมเลยลองมองหาบทความที่ดีๆ เกี่ยวกับเรื่อง Quarter-life Crisis วิกฤตหนึ่งในสี่ของชีวิต เพื่อตอบคำถามทั่วไปของตัวเอง และ ในที่สุดก็ได้เจอบทความหนึ่ง เขียนได้ดี ผมขอยกนำมาเป็นบทสนทนาประจำบทความนี้นะครับ ในเรื่อง " Quarter-life Crisis วิกฤตหนึ่งในสี่ของชีวิต ปัญหาชีวิตที่ใครก็อาจจะเจอ "
ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก วิกฤตการณ์หนึ่งในสี่ของชีวิต | The Psychoanalysis of Neuropanda (http://neuropanda.exteen.com/20080419/entry) โดย Neuropanda
หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า "วิกฤตการณ์วัยกลางคน" (Midlife crisis) ซึ่งเป็นภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆในคนอายุประมาณ 41-60 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันจนอาจปรับตัวไม่ทัน เช่น การเกษียณอายุทำงาน การที่ลูกๆมีครอบครัวแล้วแยกบ้านออกไป หรือปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคิดว่าเราหลายคนคงจะเห็นจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมาบ้าง แต่ผมคิดว่าในเมืองไทยมีคนที่เป็นวิกฤตวัยกลางคนไม่มากเท่าประเทศทางตะวันตก เพราะโครงสร้างทางครอบครัวของคนไทยเรากับของต่างประเทศนั้นยังต่างกันอยู่ในหลายด้าน
แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราอาจได้ยินอีกคำศัพท์หนึ่งที่น่าจะโดนกับพวกเราๆท่านๆ คือคำว่า "วิกฤตการณ์หนึ่งในสี่ของชีวิต" (Quarter-life crisis) คำๆนี้เป็นการกล่าวถึงคนในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น คืออายุประมาณ 21-29 ปี ซึ่งเมื่อผมลองได้อ่านดูคร่าวๆ จากข้อมูลในวิกิพีเดีย (Quarter-life crisis - Wikipedia, the free encyclopedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Quarter-life_crisis)) ผมก็รู้สึกว่า อาการของวิกฤตนี้ไม่น่าจะอยู่เพียงแค่ในสังคมตะวันตก แต่รวมถึงสังคมชาวตะวันออกและในคนไทยด้วย ในญี่ปุ่นเองก็มีคำเฉพาะที่กล่างถึงคนกลุ่มนี้ คือ ฟุริตะ (furita) หรือฟรีเตอร์ (freeter)
ลักษณะของคนที่ตกอยู่ในวิกฤตหนึ่งในสี่ของชีวิต มักจะมีลักษณะอย่างนี้ครับ (ลองเช็คตัวเองดูก็ได้นะครับ)
+ ความรู้สึกสับสนในอัตลักษณ์ (identity) ของตัวเอง
+ ความรู้สึกไม่พึงพอใจในงานที่ตัวเองทำ หรืออยากเปลี่ยนงานอยู่เรื่อยๆ เพราะ คิดว่างานที่ตัวเองทำอยู่นั้น "ไม่ดีพอ" กับความรู้ความสามารถที่ตนได้ร่ำเรียนมา โดยเฉพาะคนที่จบมาในสายที่การสมัครงานจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์การทำงาน
+ ความตึงเครียดจากภาวะการแข่งขันในการทำงาน เนื่องจากในแต่ละปีมีผู้จบการศึกษามาก จึงมักต้องมีการแข่งขันกันตั้งแต่การสมัครงานจนไปถึงการพยายามไม่ให้เป็น "ผู้แพ้" ในสายตาคนอื่น
+ ความรู้สึกไม่มั่นคงในอนาคต เช่น หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป้าหมายในชีวิต ฯลฯ
+ ความเครียดทางด้านการเงินและค่าครองชีพ
การสูญเสียความใกล้ชิดกับเพื่อนในสมัยเรียน และความรู้สึกโหยหาอดีต (nostalgia)
+ ความรู้สึกเบื่อหน่ายสังคม และความเปล่าเปลี่ยว
+ มีแนวโน้มที่จะมีความเห็นที่รุนแรง และไม่รับฟังผู้อื่น
+ มีความรู้สึกอยากจะ"ทบทวน"ความสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เรื่อยๆ (เช่น "ตกลงเรายังเป็นแฟนกันอยู่หรือเปล่า")
ประเด็นนึงที่ผมรู้สึกสนใจ คืออะไรที่ทำให้เกิดวิกฤตนี้ขึ้นมาได้ อาจเป็นเพราะระบบการศึกษาที่บ่มเพาะคนให้อยู่ใน"โลกมายา"มากเกินไปหรือเปล่า จนเมื่อออกมาอยู่ใน"โลกความจริง"จึงไม่สามารถปรับตัวได้ หรืออาจเป็นเพราะภาวะทางเศรษฐกิจที่ผลักดันคนรุ่นใหม่ไร้เดียงสาให้เผชิญกับการแข่งขันกันยิ่งกว่าเรียลลิตี้โชว์
ผลกระทบของวิกฤตการณ์หนึ่งในสี่ของชีวิตนี้ได้เริ่มแสดงออกมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่น่าจะเรียกได้ว่ามีสภาพของสังคมเมืองที่เป็นสูตรสำเร็จในการทำให้เกิดวิกฤตนี้ บัณฑิตจบใหม่บางคนเลือกที่จะเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่ในบ้าน เพื่อหลีกหนีการแข่งขันกับผู้อื่น บางคนไม่พยายามที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับใคร เพื่อเลี่ยงที่จะถูกเปรียบเทียบ ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้คนๆนั้นหมกตัวอยู่แต่ใน"อาณาเขตส่วนตัว"โดยแทบไม่ออกไปหาใครเลยแม้แต่พ่อแม่ที่อยู่ในบ้านตัวเอง อาการนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่า "ฮิคิโคโมริ" (Hikikomori เรียกเล่นๆว่า ฮิกกี้) ซึ่งกลายเป็นพฤติกรรมที่ควรจับตามองในทางจิตเวช
หันมามองบ้านเมืองเรา ผมยังรู้สึกโล่งใจที่เพื่อนๆที่ผมรู้จักหลายคนก็ไม่ได้มีวิกฤตนี้เท่าใดนัก บางคนแม้จะทำงานหนัก แต่เมื่อได้คุยกัน เจ้าตัวก็ยังบอกว่าเขาพอใจกับงานที่เขาทำดี ผมเองก็หวังว่าวิกฤตชีวิตนี้คงไม่รุนแรงในบ้านเรานัก เราต่างก็มีวิกฤตชีวิตกันทั้งนั้น วิกฤตในช่วงวัยรุ่น วิกฤตในช่วงวัยทำงาน จนวิกฤตในบั้นปลายชีวิต น่าจะเรียกได้ว่าชีวิตเราประกอบด้วยการเรียงซ้อนกันของวิกฤตการณ์ต่างๆนานา ที่ยากจะผ่านพ้น แต่ผมเชื่อว่า วิกฤตนั้นเองที่ทำให้เรารู้สึกถึงความมีชีวิต
ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก วิกฤตการณ์หนึ่งในสี่ของชีวิต | The Psychoanalysis of Neuropanda (http://neuropanda.exteen.com/20080419/entry) โดย Neuropanda
หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า "วิกฤตการณ์วัยกลางคน" (Midlife crisis) ซึ่งเป็นภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆในคนอายุประมาณ 41-60 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันจนอาจปรับตัวไม่ทัน เช่น การเกษียณอายุทำงาน การที่ลูกๆมีครอบครัวแล้วแยกบ้านออกไป หรือปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคิดว่าเราหลายคนคงจะเห็นจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมาบ้าง แต่ผมคิดว่าในเมืองไทยมีคนที่เป็นวิกฤตวัยกลางคนไม่มากเท่าประเทศทางตะวันตก เพราะโครงสร้างทางครอบครัวของคนไทยเรากับของต่างประเทศนั้นยังต่างกันอยู่ในหลายด้าน
แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราอาจได้ยินอีกคำศัพท์หนึ่งที่น่าจะโดนกับพวกเราๆท่านๆ คือคำว่า "วิกฤตการณ์หนึ่งในสี่ของชีวิต" (Quarter-life crisis) คำๆนี้เป็นการกล่าวถึงคนในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น คืออายุประมาณ 21-29 ปี ซึ่งเมื่อผมลองได้อ่านดูคร่าวๆ จากข้อมูลในวิกิพีเดีย (Quarter-life crisis - Wikipedia, the free encyclopedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Quarter-life_crisis)) ผมก็รู้สึกว่า อาการของวิกฤตนี้ไม่น่าจะอยู่เพียงแค่ในสังคมตะวันตก แต่รวมถึงสังคมชาวตะวันออกและในคนไทยด้วย ในญี่ปุ่นเองก็มีคำเฉพาะที่กล่างถึงคนกลุ่มนี้ คือ ฟุริตะ (furita) หรือฟรีเตอร์ (freeter)
ลักษณะของคนที่ตกอยู่ในวิกฤตหนึ่งในสี่ของชีวิต มักจะมีลักษณะอย่างนี้ครับ (ลองเช็คตัวเองดูก็ได้นะครับ)
+ ความรู้สึกสับสนในอัตลักษณ์ (identity) ของตัวเอง
+ ความรู้สึกไม่พึงพอใจในงานที่ตัวเองทำ หรืออยากเปลี่ยนงานอยู่เรื่อยๆ เพราะ คิดว่างานที่ตัวเองทำอยู่นั้น "ไม่ดีพอ" กับความรู้ความสามารถที่ตนได้ร่ำเรียนมา โดยเฉพาะคนที่จบมาในสายที่การสมัครงานจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์การทำงาน
+ ความตึงเครียดจากภาวะการแข่งขันในการทำงาน เนื่องจากในแต่ละปีมีผู้จบการศึกษามาก จึงมักต้องมีการแข่งขันกันตั้งแต่การสมัครงานจนไปถึงการพยายามไม่ให้เป็น "ผู้แพ้" ในสายตาคนอื่น
+ ความรู้สึกไม่มั่นคงในอนาคต เช่น หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป้าหมายในชีวิต ฯลฯ
+ ความเครียดทางด้านการเงินและค่าครองชีพ
การสูญเสียความใกล้ชิดกับเพื่อนในสมัยเรียน และความรู้สึกโหยหาอดีต (nostalgia)
+ ความรู้สึกเบื่อหน่ายสังคม และความเปล่าเปลี่ยว
+ มีแนวโน้มที่จะมีความเห็นที่รุนแรง และไม่รับฟังผู้อื่น
+ มีความรู้สึกอยากจะ"ทบทวน"ความสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เรื่อยๆ (เช่น "ตกลงเรายังเป็นแฟนกันอยู่หรือเปล่า")
ประเด็นนึงที่ผมรู้สึกสนใจ คืออะไรที่ทำให้เกิดวิกฤตนี้ขึ้นมาได้ อาจเป็นเพราะระบบการศึกษาที่บ่มเพาะคนให้อยู่ใน"โลกมายา"มากเกินไปหรือเปล่า จนเมื่อออกมาอยู่ใน"โลกความจริง"จึงไม่สามารถปรับตัวได้ หรืออาจเป็นเพราะภาวะทางเศรษฐกิจที่ผลักดันคนรุ่นใหม่ไร้เดียงสาให้เผชิญกับการแข่งขันกันยิ่งกว่าเรียลลิตี้โชว์
ผลกระทบของวิกฤตการณ์หนึ่งในสี่ของชีวิตนี้ได้เริ่มแสดงออกมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่น่าจะเรียกได้ว่ามีสภาพของสังคมเมืองที่เป็นสูตรสำเร็จในการทำให้เกิดวิกฤตนี้ บัณฑิตจบใหม่บางคนเลือกที่จะเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่ในบ้าน เพื่อหลีกหนีการแข่งขันกับผู้อื่น บางคนไม่พยายามที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับใคร เพื่อเลี่ยงที่จะถูกเปรียบเทียบ ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้คนๆนั้นหมกตัวอยู่แต่ใน"อาณาเขตส่วนตัว"โดยแทบไม่ออกไปหาใครเลยแม้แต่พ่อแม่ที่อยู่ในบ้านตัวเอง อาการนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่า "ฮิคิโคโมริ" (Hikikomori เรียกเล่นๆว่า ฮิกกี้) ซึ่งกลายเป็นพฤติกรรมที่ควรจับตามองในทางจิตเวช
หันมามองบ้านเมืองเรา ผมยังรู้สึกโล่งใจที่เพื่อนๆที่ผมรู้จักหลายคนก็ไม่ได้มีวิกฤตนี้เท่าใดนัก บางคนแม้จะทำงานหนัก แต่เมื่อได้คุยกัน เจ้าตัวก็ยังบอกว่าเขาพอใจกับงานที่เขาทำดี ผมเองก็หวังว่าวิกฤตชีวิตนี้คงไม่รุนแรงในบ้านเรานัก เราต่างก็มีวิกฤตชีวิตกันทั้งนั้น วิกฤตในช่วงวัยรุ่น วิกฤตในช่วงวัยทำงาน จนวิกฤตในบั้นปลายชีวิต น่าจะเรียกได้ว่าชีวิตเราประกอบด้วยการเรียงซ้อนกันของวิกฤตการณ์ต่างๆนานา ที่ยากจะผ่านพ้น แต่ผมเชื่อว่า วิกฤตนั้นเองที่ทำให้เรารู้สึกถึงความมีชีวิต