poohba
12-07-2012, 06:42
ดูท่าทางจะเข้าใจยากเนอะ พิกัดภูมิศาสตร์ของโลก
ถ้าเพื่อนๆ ทำงานกันแล้ว หรือเพิ่งจบออกมาทำงาน ลองนึกๆ ย้อนไปในวัยเรียน บางคนอาจคิดเหมือนกับเราว่า ไม่รู้เราเรียนวิชาภูมิศาสตร์ผ่านมาได้อย่างไร เพราะต้องมีความรู้ และท่องจำเนื้อหาแบบแน่นปึ๊ก ก็ดูอย่างเรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลกนี่สิ ต้องมีส่วนประกอบสำคัญๆ เยอะเลย อ่านแล้วเวียนหัว มีชื่อเฉพาะให้เรียกเพียบ เพื่อนๆ พอจำกันได้ไหมว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง ถ้าจำไม่ได้ หรือจำได้แค่นิดหน่อย ไม่ต้องเสียใจ ลองมาอ่านเรื่องพิกัดภูมิศาสตร์วันนี้ดูเลยจ้า
http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=3789&stc=1&d=1342067263
ลักษณะรูปทรงสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมแบบ Speriod แต่ในทางปฎิบัติเราถือว่าโลกมีลักษณะทรงกลมทางเรขาคณิต ดังนั้นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ของโลกจึงมีส่วนประกอบต่อไปนี้
1. เส้นวงกลมใหญ่ (Great Circle)
คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม เรียกว่า"วงกลมใหญ่" ตัวอย่าง เช่น เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนที่อยู่ตรงข้ามกัน เส้นแบ่งเขตมืด-สว่าง
2. เส้นวงกลมเล็ก (Small Circle)
คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยไม่ผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม ตัวอย่าง เช่น เส้นขนาน
3. เส้นศูนย์สูตร (Equator)
คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวตะวันออกและตะวันตก โดยจุดเริ่มต้นของเส้นที่ 0 องศาทางตะวันออก ซึ่งเป็นวงกลมใหญ่วงหนึ่งเช่นกัน
4. เส้นเมริเดียน (Meridians)
คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวเหนือและใต้ โดยลากเชื่อมระหว่างจุดขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้
5. เส้นเมริเดียน ปฐม (Prime Meridian)
คือ เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวที่ตำบลกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ ใช้เป็นเส้นหลักในการกำหนดค่าลองกิจูด ซึ่งถูกกำหนดให้มีลองกิจูดเป็นศูนย์ ถ้าถือตามข้อตกลงนานาชาติ ค.ศ. 1884 จะเรียกว่า เส้นเมริเดียนกรีนิช ก็ได้
6. เส้นขนาน (Parallels)
คือ เส้นที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตร หรือ วงกลมเล็ก
7. ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง
คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร นับจาก 0 องศาไปทางเหนือและทางใต้ 90 องศา
8. ลองกิจูด (Longitude) หรือ เส้นแวง
คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดจากเมริเดียนปฐมซึ่งถือที่ 0 องศา ตำบลกรีนิชเป็นหลัก วัดไปทางตะวันออก 180 องศาตะวันออก และทางตะวันตก 180 องศาตะวันตก "รุ้งตะแคง แวงตั้ง" เป็นคำเรียกขานเพื่อให้ง่ายต่อการจำว่า เส้นละติจูดและลองกิจูดคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
9. เส้นโครงแผนที่
คือ ระบบของเส้นที่สร้างขึ้นในพื้นที่แบนราบ เพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียนอันเป็นผลจากแบบและวิธีการสร้าง รูปทรงเรขาคณิต และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ในการถ่ายทอดเส้นเหล่านั้นจากผิวโลก ซึ่งเป็นทรงกลมลงบนพื้นที่แบนราบ ซึ่งวิธีการนั้น เรียกว่าการฉายแผนที่ โดยการใช้พื้นผิวรูปทรงเรขาคณิต 3 ชนิด คือ รูประนาบ (Plane) รูปทรงกรวย (Cone) และรูปทรงกระบอก (Cylinder) ในการฉายเส้นโครงแผนที่
10. โปรเจคชั่นของแผนที่
คือ ระบบการเขียนแนวเส้นที่แทนเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (Meridians and Parallels) ของพิภพทั้งหมด หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งลงบนพื้นแบนราบตามมาตราส่วน
11. ทิศเหนือจริง (True North)
คือแนวที่นับจากตำบลใดๆ บนพิภพไปยังขั้วโลกเหนือจะเห็นว่าเส้น Longitude ทุกเส้น ก็คือแนวทิศเหนือจริง ตามปกติใช้สัญลักษน์รูปดาวแทนทิศเหนือจริง
โดยทั่วโปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนที่
12. ทิศเหนือกริด (แผนที่) (Grid North)
คือแนวเส้นกริดใต้-เหนือบนแผนที่ ใช้สัญลักษณ์ GN ทิศเหนือกริดให้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนเเผนที่และมุมภาคของทิศ
13. ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North)
คือแนวตามปลายลูกศรที่แสดงทิศเหนือของเข็มทิศ. ซึ่งโดยปกติเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกเสมอ ในแผนที่จะใช้สัญลักษณ์รูปลูกศรครึ่งซีก ทิศเหนือแม่เหล็กจะใช้ประโยชน์ในการหาทิศทางเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง
14. อะซิมุท ( Azimuth)
เป็นวิธี การที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง คือวัดขนาดของมุมทางราบที่วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบ กับแนวเป้าหมายที่ต้องการ มุมทิศอะซิมุทนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใด ก็จะเรียกตามทิศเหนือหลักนั้น เช่น อะซิมุทจริง, อะซิมุทกริด, อะซิมุทแม่เหล็ก
ถ้าเพื่อนๆ ทำงานกันแล้ว หรือเพิ่งจบออกมาทำงาน ลองนึกๆ ย้อนไปในวัยเรียน บางคนอาจคิดเหมือนกับเราว่า ไม่รู้เราเรียนวิชาภูมิศาสตร์ผ่านมาได้อย่างไร เพราะต้องมีความรู้ และท่องจำเนื้อหาแบบแน่นปึ๊ก ก็ดูอย่างเรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลกนี่สิ ต้องมีส่วนประกอบสำคัญๆ เยอะเลย อ่านแล้วเวียนหัว มีชื่อเฉพาะให้เรียกเพียบ เพื่อนๆ พอจำกันได้ไหมว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง ถ้าจำไม่ได้ หรือจำได้แค่นิดหน่อย ไม่ต้องเสียใจ ลองมาอ่านเรื่องพิกัดภูมิศาสตร์วันนี้ดูเลยจ้า
http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=3789&stc=1&d=1342067263
ลักษณะรูปทรงสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมแบบ Speriod แต่ในทางปฎิบัติเราถือว่าโลกมีลักษณะทรงกลมทางเรขาคณิต ดังนั้นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ของโลกจึงมีส่วนประกอบต่อไปนี้
1. เส้นวงกลมใหญ่ (Great Circle)
คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม เรียกว่า"วงกลมใหญ่" ตัวอย่าง เช่น เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนที่อยู่ตรงข้ามกัน เส้นแบ่งเขตมืด-สว่าง
2. เส้นวงกลมเล็ก (Small Circle)
คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยไม่ผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม ตัวอย่าง เช่น เส้นขนาน
3. เส้นศูนย์สูตร (Equator)
คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวตะวันออกและตะวันตก โดยจุดเริ่มต้นของเส้นที่ 0 องศาทางตะวันออก ซึ่งเป็นวงกลมใหญ่วงหนึ่งเช่นกัน
4. เส้นเมริเดียน (Meridians)
คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวเหนือและใต้ โดยลากเชื่อมระหว่างจุดขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้
5. เส้นเมริเดียน ปฐม (Prime Meridian)
คือ เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวที่ตำบลกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ ใช้เป็นเส้นหลักในการกำหนดค่าลองกิจูด ซึ่งถูกกำหนดให้มีลองกิจูดเป็นศูนย์ ถ้าถือตามข้อตกลงนานาชาติ ค.ศ. 1884 จะเรียกว่า เส้นเมริเดียนกรีนิช ก็ได้
6. เส้นขนาน (Parallels)
คือ เส้นที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตร หรือ วงกลมเล็ก
7. ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง
คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร นับจาก 0 องศาไปทางเหนือและทางใต้ 90 องศา
8. ลองกิจูด (Longitude) หรือ เส้นแวง
คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดจากเมริเดียนปฐมซึ่งถือที่ 0 องศา ตำบลกรีนิชเป็นหลัก วัดไปทางตะวันออก 180 องศาตะวันออก และทางตะวันตก 180 องศาตะวันตก "รุ้งตะแคง แวงตั้ง" เป็นคำเรียกขานเพื่อให้ง่ายต่อการจำว่า เส้นละติจูดและลองกิจูดคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
9. เส้นโครงแผนที่
คือ ระบบของเส้นที่สร้างขึ้นในพื้นที่แบนราบ เพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียนอันเป็นผลจากแบบและวิธีการสร้าง รูปทรงเรขาคณิต และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ในการถ่ายทอดเส้นเหล่านั้นจากผิวโลก ซึ่งเป็นทรงกลมลงบนพื้นที่แบนราบ ซึ่งวิธีการนั้น เรียกว่าการฉายแผนที่ โดยการใช้พื้นผิวรูปทรงเรขาคณิต 3 ชนิด คือ รูประนาบ (Plane) รูปทรงกรวย (Cone) และรูปทรงกระบอก (Cylinder) ในการฉายเส้นโครงแผนที่
10. โปรเจคชั่นของแผนที่
คือ ระบบการเขียนแนวเส้นที่แทนเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (Meridians and Parallels) ของพิภพทั้งหมด หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งลงบนพื้นแบนราบตามมาตราส่วน
11. ทิศเหนือจริง (True North)
คือแนวที่นับจากตำบลใดๆ บนพิภพไปยังขั้วโลกเหนือจะเห็นว่าเส้น Longitude ทุกเส้น ก็คือแนวทิศเหนือจริง ตามปกติใช้สัญลักษน์รูปดาวแทนทิศเหนือจริง
โดยทั่วโปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนที่
12. ทิศเหนือกริด (แผนที่) (Grid North)
คือแนวเส้นกริดใต้-เหนือบนแผนที่ ใช้สัญลักษณ์ GN ทิศเหนือกริดให้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนเเผนที่และมุมภาคของทิศ
13. ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North)
คือแนวตามปลายลูกศรที่แสดงทิศเหนือของเข็มทิศ. ซึ่งโดยปกติเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกเสมอ ในแผนที่จะใช้สัญลักษณ์รูปลูกศรครึ่งซีก ทิศเหนือแม่เหล็กจะใช้ประโยชน์ในการหาทิศทางเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง
14. อะซิมุท ( Azimuth)
เป็นวิธี การที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง คือวัดขนาดของมุมทางราบที่วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบ กับแนวเป้าหมายที่ต้องการ มุมทิศอะซิมุทนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใด ก็จะเรียกตามทิศเหนือหลักนั้น เช่น อะซิมุทจริง, อะซิมุทกริด, อะซิมุทแม่เหล็ก