poohba
24-07-2012, 07:49
แร่ธาตุ เหมาะกับ นักเรียน/นักศึกษา และผู้ต้องการเรียนรู้ทุกท่าน
มนุษย์ต้องพึ่งทรัพยากรชนิดนี้เพื่อให้ได้มีพลังงาน มีโลหะ และมีเชื้อเพลิงไว้ใช้ ยิ่งไปกว่านั้นต้องพึ่งแร่ธาตุ เพื่อช่วยให้ได้ใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ได้มากขึ้น เช่น ใช้แร่ธาตุช่วยในการขุดน้ำมันจากใต้พื้นดิน ใช้ในการทำให้ดินอุดมสมบูรณ์และทำให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ตลอดจนการทำป่าไม้และการทำการประมงต้องพึ่งแร่ธาตุทั้งสิ้น อนึ่ง มนุษย์ยังได้ใช้แร่ธาตุประดิษฐ์เครื่องมือ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต และเป็นเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ อันนี้นับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับแร่ธาตุ เพราะคนเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็ต้องการแร่ธาตุมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้แร่ธาตุลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ การอนุรักษ์ทรัพยากรจึงมุ่งไปในการทำให้มีแร่ธาตุมากเพียงพอในการใช้
http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=3927&stc=1&d=1343092829
แร่ หมายถึง ธาตุและสารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นโลก บนอากาศ หิน ดิน น้ำ แร่ส่วนมากจะพบในลักษณะเป็นสารอนินทรีย์เคมี แร่ที่พบในลักษณะของเหลวมีเพียง 3 แร่ คือ ปรอท โปรมีน น้ำ แร่ที่มี สารประกอบอินทรีย์เคมีหรือเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงสะสมตัวของสิ่งที่มีชีวิตมีอยู่ 2 แร่คือ ปิโตรเลียมและถ่านหิน แร่ที่พบในลักษณะธาตุแท้ ๆ เช่น ทองคำ ทองคำขาว เงิน แร่ที่พบในสภาพก๊าซก็ พบทั้งที่สะสมตัวอยู่ใต้โลก ในบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกโดยทั่ว ๆ ไป แร่ที่พบโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติเป็นสารประกอบ โดยมีออกซิเจน กำมะถัน ซิลิกอน ประกอบอยู่ด้วยเสมอ
การแบ่งประเภทของทรัพยากรแร่
แร่ คือ สารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจจะเป็นธาตุแท้หรือสารประกอบของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป แร่จึงมีองค์ประกอบทางเคมีคงที่ และมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์เฉพาะตัว เช่น มีลักษณะรูปร่าง สี ความวาว ความแข็ง รอยแยก และผิวแตก เป็นต้น แร่ในโลกนี้เท่าที่พบแล้วมีมากกว่า 2,000 ชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามองค์ประกอบทางเคมีได้ดังนี้
1. แร่ธาตุธรรมชาติ เช่น ทอง เงิน กำมะถัน เพชร
2. แร่ซัลไฟด์ เช่น ตะกั่ว พลวง โมลิบดินัม
3. แร่ออกไซด์ เช่น ดีบุก เหล็ก แมงกานีส พลอย ทับทิม
4. แร่คาร์บอเนต เช่น สังกะสี ทองแดง แคลไซด์
5. แร่ซัลเฟต เช่น แบไรท์ ยิบซั่ม
6. แร่ฟอสเฟส เช่น อปาไทท์
7. แร่ซิลิเกต เช่น ควอทซ์ โกเมน มรกต หยก ดินขาว
8. แร่ทังสเตน เช่น ซีไลท์ วุลแฟรมไมท์
9. แร่เซไลด์ เช่น ฟลูออไรด์ หินเกลือ
นอกจากการจัดกลุ่มของแร่ตามองค์ประกอบทางเคมีดังกล่าวแล้ว การแบ่งประเภทของทรัพยากรแร่
โดยทั่วไปมักนิยมแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของมัน ดังนี้
การจัดกลุ่มตามคุณสมบัติทางฟิสิกส์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
1. แร่ธาตุประเภทโลหะ
2. แร่ธาตุประเภทอโลหะ
3. แร่ธาตุประเภทเชื้อเพลิง
ถ้าจัดกลุ่มตามลักษณะของการใช้ประโยชน์จากแร่นั้น ๆ ก็แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. แร่ที่ต้องนำไปแปรสภาพเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เหล็ก ต้องนำมาถลุงเสียก่อน จึงนำไปทำวัตถุสำเร็จรูปอื่น ๆ ได้
2. แร่ที่ใช้เป็นตัวประกอบที่ช่วยทำให้แร่ชนิดอื่น ๆ มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น หินปูนที่ใช้ในการถลุง
เหล็กกล้าและทำให้ไม่เกิดสนิม ซึ่งเราเรียกว่าสแตนเลส เป็นต้น
3. แร่ที่เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และยูเรเนียม เป็นต้น
4. แร่ที่ใช้เป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เช่น โปรแตส และฟอสเฟต เป็นต้น
ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ธาตุเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้เสริมสร้างความสะดวกสบายให้กับการดำรงชีพ แร่ธาตุ
จะแตกต่างไปจากทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อยู่บ้าง กล่าวคือแร่ธาตุจะปรากฏอยู่ใต้พื้นผิวโลกเป็นแห่งและครอบคลุมพื้นที่จำกัด จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี จึงทำให้แร่ธาตุกลายเป็นทรัพยากรที่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์มากยิ่งขึ้น กอปรกับมีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำเหมืองแร่จากแบบยังชีพมาเป็นการอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลทำให้แร่ธาตุหลายชนิดถูกสำรวจและขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้ปริมาณแร่ธาตุลดน้อยลง และมีแนวโน้มจะทำให้เกิดการขาดแคลนแร่ธาตุ บางชนิดปรากฎขึ้นในการนำแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ในระยะแรกนั้น จะนำมาใช้ผลิตเครื่องมือสำหรับตัด ขุด ขูด และเจาะ ต่อมาแร่ธาตุถูกพัฒนามาใช้สำหรับผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ มากมาย เช่น ยวดยานพาหนะที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสาร เครื่องจักร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันว่าแร่ธาตุที่ถูกสำรวจขุดค้นขึ้นมาใช้จะเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณถ้าหากการขาดแคลนแร่ธาตุเกิดขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ ของโลกจะเกิดภาวะชะงักงัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องทำการอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ธาตุเอาไว้ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะทำให้อายุการใช้งานของแร่ธาตุบางชนิดยืนยาวมากยิ่งขึ้น
แร่ธาตุในประเทศไทยประเทศไทยเริ่มมีการทำเหมืองแร่กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา การทำเหมืองแร่ในสมัยนั้นใช้กำลังคนเป็นส่วนใหญ่ การทำก็ไม่มากนักเพราะไม่ได้ขุดแร่เพื่อเป็นการค้า แต่ขุดแร่เพื่อนำมาทำอาวุธเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนหล่อพระพุทธรูปต่าง ๆ และแร่ที่ขุดส่วนมากเป็นพวกเหล็ก ทองแดง ทองคำ และเริ่มขุดเพื่อการค้าเมื่อมีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ เช่น ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส และฮอลันดา ในสมัยพระเอกาทศรถ เป็นต้นมา โดยพวกฝรั่งตั้งสถานที่ รับซื้อแร่ขึ้น แร่ส่วนใหญ่เป็นพวกดีบุก และแร่ดีบุกก็มีความสำคัญตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา ส่วนแร่อื่น ๆ เช่น แร่ทองคำ แร่ทองแดงก็มีบ้าง
อย่างไรก็ตาม การทำเหมืองแร่ในสมัยสุโขทัยก็ไม่ทำเป็นล่ำเป็นสันนักจนกระทั่งปี พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้มีการปรับปรุงกิจการบริหารประเทศขึ้นใหม่และให้มีการสัมปทานการทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ขึ้น เช่น เหมืองทองคำที่โต๊ะโม๊ะ อำเภอละแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยกำหนดให้มีการทำเหมืองแร่โดยเสรี เฉพาะตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางใต้ ส่วนบริเวณนอกจากนั้นให้ถือเป็นเขตสงวนสำหรับคนไทยรุ่นหลังต่อไป และในพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำเหมืองแร่ฉบับแรกได้มีการระบุไว้ว่า ผู้ประกอบอาชีพหรือดำเนินการทำเหมืองแร่ได้ต้องแสดงหลักฐานว่ามีทุนเพียงพอเสียก่อน และนโยบายนี้ก็ยังถือปฏิบัติอยู่ในพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ฉบับปัจจุบัน
ถึงแม้กระนั้นการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ก็ยังไม่เจริญเท่าที่ควร ประชาชนส่วนใหญ่มีทุนน้อยไม่เพียงพอที่จะทำเหมืองแร่ใหญ่ ๆ และขาดความรู้ในการทำเหมือง จนกระทั่งกัปตันไมค์ชาวออสเตรเลีย ได้นำเอาเรือขุดมาขุดดีบุกครั้งแรกที่อ่าวทุ่งคา ในเดือนพฤศจิกายน 2450 เป็นผลให้การผลิตดีบุกได้มากขึ้น และเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่แท้จริง การพัฒนาเหมืองแร่ได้ทำควบคู่ไปกับประเทศมาเลเซีย คือมีการทำการพัฒนาเหมืองแร่ขึ้นเรื่อยๆเหมืองส่วนใหญ่เอกชนเป็นฝ่ายลงทุน รัฐมีส่วนร่วมด้วยเป็นส่วนน้อย การทำเหมืองในสมัยเริ่มแรกก็ อาศัยการลงทุนของชาวต่างประเทศ คือ ฝรั่งเศส และแคนาดา แต่บางอย่างรัฐก็เป็นผู้ริเริ่มทำ รัฐได้ส่งนักวิชาการไปอบรมต่างประเทศแล้วกลับมาทำงานด้านนี้ ต่อมาก็ได้ร่วมมือกับต่างประเทศ จัดตั้งสถาบันเอกเทศทำการสำรวจแหล่งแร่ให้กับเอกชนภายใต้เงื่อนไขบางประการที่จะก่อให้เกิดการกระจายรายได้และจัดให้ร่วมมือกับต่างประเทศในกรณีที่จำเป็นเรียกว่า ?โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาทรัพยากรธรณีแห่งประเทศไทย? ดำเนินการร่วมกับธนาคารโลกและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนั้นระยะหลังจึงพบว่ามีการผลิตแร่อื่น ๆ ในประเทศไทยอีกมาก เช่น ดีบุก วุลแฟรม พลวง ตะกั่วแมงกานีส เหล็กยิบซั่ม ลิกไนท์ และน้ำมัน เป็นต้น การขุดแร่เจริญขึ้นเป็นลำดับ จะเห็นว่าเดิมขุดแร่ริมฝั่งทะเล
บัดนี้ขยายออกไปขุดในทะเลลึกได้ ต่อมาได้เข้าเป็นภาคีสมาคมผู้บังเกิดแร่ดีบุกในปี พ.ศ. 2474 และเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ผลิตผลก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กิจการทำเหมืองก็ก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ มีการขุดแร่ มากมายหลายวิธี เพื่อให้เหมาะสมกับภูมิประเทศและความสมบูรณ์ของแร่การขุดแร่ได้มากนั้นเป็นผลดีต่อประเทศมาก
มนุษย์ต้องพึ่งทรัพยากรชนิดนี้เพื่อให้ได้มีพลังงาน มีโลหะ และมีเชื้อเพลิงไว้ใช้ ยิ่งไปกว่านั้นต้องพึ่งแร่ธาตุ เพื่อช่วยให้ได้ใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ได้มากขึ้น เช่น ใช้แร่ธาตุช่วยในการขุดน้ำมันจากใต้พื้นดิน ใช้ในการทำให้ดินอุดมสมบูรณ์และทำให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ตลอดจนการทำป่าไม้และการทำการประมงต้องพึ่งแร่ธาตุทั้งสิ้น อนึ่ง มนุษย์ยังได้ใช้แร่ธาตุประดิษฐ์เครื่องมือ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต และเป็นเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ อันนี้นับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับแร่ธาตุ เพราะคนเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็ต้องการแร่ธาตุมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้แร่ธาตุลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ การอนุรักษ์ทรัพยากรจึงมุ่งไปในการทำให้มีแร่ธาตุมากเพียงพอในการใช้
http://board.roigoo.com/attachment.php?attachmentid=3927&stc=1&d=1343092829
แร่ หมายถึง ธาตุและสารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นโลก บนอากาศ หิน ดิน น้ำ แร่ส่วนมากจะพบในลักษณะเป็นสารอนินทรีย์เคมี แร่ที่พบในลักษณะของเหลวมีเพียง 3 แร่ คือ ปรอท โปรมีน น้ำ แร่ที่มี สารประกอบอินทรีย์เคมีหรือเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงสะสมตัวของสิ่งที่มีชีวิตมีอยู่ 2 แร่คือ ปิโตรเลียมและถ่านหิน แร่ที่พบในลักษณะธาตุแท้ ๆ เช่น ทองคำ ทองคำขาว เงิน แร่ที่พบในสภาพก๊าซก็ พบทั้งที่สะสมตัวอยู่ใต้โลก ในบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกโดยทั่ว ๆ ไป แร่ที่พบโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติเป็นสารประกอบ โดยมีออกซิเจน กำมะถัน ซิลิกอน ประกอบอยู่ด้วยเสมอ
การแบ่งประเภทของทรัพยากรแร่
แร่ คือ สารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจจะเป็นธาตุแท้หรือสารประกอบของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป แร่จึงมีองค์ประกอบทางเคมีคงที่ และมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์เฉพาะตัว เช่น มีลักษณะรูปร่าง สี ความวาว ความแข็ง รอยแยก และผิวแตก เป็นต้น แร่ในโลกนี้เท่าที่พบแล้วมีมากกว่า 2,000 ชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามองค์ประกอบทางเคมีได้ดังนี้
1. แร่ธาตุธรรมชาติ เช่น ทอง เงิน กำมะถัน เพชร
2. แร่ซัลไฟด์ เช่น ตะกั่ว พลวง โมลิบดินัม
3. แร่ออกไซด์ เช่น ดีบุก เหล็ก แมงกานีส พลอย ทับทิม
4. แร่คาร์บอเนต เช่น สังกะสี ทองแดง แคลไซด์
5. แร่ซัลเฟต เช่น แบไรท์ ยิบซั่ม
6. แร่ฟอสเฟส เช่น อปาไทท์
7. แร่ซิลิเกต เช่น ควอทซ์ โกเมน มรกต หยก ดินขาว
8. แร่ทังสเตน เช่น ซีไลท์ วุลแฟรมไมท์
9. แร่เซไลด์ เช่น ฟลูออไรด์ หินเกลือ
นอกจากการจัดกลุ่มของแร่ตามองค์ประกอบทางเคมีดังกล่าวแล้ว การแบ่งประเภทของทรัพยากรแร่
โดยทั่วไปมักนิยมแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของมัน ดังนี้
การจัดกลุ่มตามคุณสมบัติทางฟิสิกส์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
1. แร่ธาตุประเภทโลหะ
2. แร่ธาตุประเภทอโลหะ
3. แร่ธาตุประเภทเชื้อเพลิง
ถ้าจัดกลุ่มตามลักษณะของการใช้ประโยชน์จากแร่นั้น ๆ ก็แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. แร่ที่ต้องนำไปแปรสภาพเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เหล็ก ต้องนำมาถลุงเสียก่อน จึงนำไปทำวัตถุสำเร็จรูปอื่น ๆ ได้
2. แร่ที่ใช้เป็นตัวประกอบที่ช่วยทำให้แร่ชนิดอื่น ๆ มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น หินปูนที่ใช้ในการถลุง
เหล็กกล้าและทำให้ไม่เกิดสนิม ซึ่งเราเรียกว่าสแตนเลส เป็นต้น
3. แร่ที่เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และยูเรเนียม เป็นต้น
4. แร่ที่ใช้เป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เช่น โปรแตส และฟอสเฟต เป็นต้น
ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ธาตุเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้เสริมสร้างความสะดวกสบายให้กับการดำรงชีพ แร่ธาตุ
จะแตกต่างไปจากทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อยู่บ้าง กล่าวคือแร่ธาตุจะปรากฏอยู่ใต้พื้นผิวโลกเป็นแห่งและครอบคลุมพื้นที่จำกัด จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี จึงทำให้แร่ธาตุกลายเป็นทรัพยากรที่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์มากยิ่งขึ้น กอปรกับมีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำเหมืองแร่จากแบบยังชีพมาเป็นการอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลทำให้แร่ธาตุหลายชนิดถูกสำรวจและขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้ปริมาณแร่ธาตุลดน้อยลง และมีแนวโน้มจะทำให้เกิดการขาดแคลนแร่ธาตุ บางชนิดปรากฎขึ้นในการนำแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ในระยะแรกนั้น จะนำมาใช้ผลิตเครื่องมือสำหรับตัด ขุด ขูด และเจาะ ต่อมาแร่ธาตุถูกพัฒนามาใช้สำหรับผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ มากมาย เช่น ยวดยานพาหนะที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสาร เครื่องจักร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันว่าแร่ธาตุที่ถูกสำรวจขุดค้นขึ้นมาใช้จะเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณถ้าหากการขาดแคลนแร่ธาตุเกิดขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ ของโลกจะเกิดภาวะชะงักงัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องทำการอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ธาตุเอาไว้ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะทำให้อายุการใช้งานของแร่ธาตุบางชนิดยืนยาวมากยิ่งขึ้น
แร่ธาตุในประเทศไทยประเทศไทยเริ่มมีการทำเหมืองแร่กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา การทำเหมืองแร่ในสมัยนั้นใช้กำลังคนเป็นส่วนใหญ่ การทำก็ไม่มากนักเพราะไม่ได้ขุดแร่เพื่อเป็นการค้า แต่ขุดแร่เพื่อนำมาทำอาวุธเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนหล่อพระพุทธรูปต่าง ๆ และแร่ที่ขุดส่วนมากเป็นพวกเหล็ก ทองแดง ทองคำ และเริ่มขุดเพื่อการค้าเมื่อมีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ เช่น ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส และฮอลันดา ในสมัยพระเอกาทศรถ เป็นต้นมา โดยพวกฝรั่งตั้งสถานที่ รับซื้อแร่ขึ้น แร่ส่วนใหญ่เป็นพวกดีบุก และแร่ดีบุกก็มีความสำคัญตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา ส่วนแร่อื่น ๆ เช่น แร่ทองคำ แร่ทองแดงก็มีบ้าง
อย่างไรก็ตาม การทำเหมืองแร่ในสมัยสุโขทัยก็ไม่ทำเป็นล่ำเป็นสันนักจนกระทั่งปี พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้มีการปรับปรุงกิจการบริหารประเทศขึ้นใหม่และให้มีการสัมปทานการทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ขึ้น เช่น เหมืองทองคำที่โต๊ะโม๊ะ อำเภอละแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยกำหนดให้มีการทำเหมืองแร่โดยเสรี เฉพาะตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางใต้ ส่วนบริเวณนอกจากนั้นให้ถือเป็นเขตสงวนสำหรับคนไทยรุ่นหลังต่อไป และในพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำเหมืองแร่ฉบับแรกได้มีการระบุไว้ว่า ผู้ประกอบอาชีพหรือดำเนินการทำเหมืองแร่ได้ต้องแสดงหลักฐานว่ามีทุนเพียงพอเสียก่อน และนโยบายนี้ก็ยังถือปฏิบัติอยู่ในพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ฉบับปัจจุบัน
ถึงแม้กระนั้นการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ก็ยังไม่เจริญเท่าที่ควร ประชาชนส่วนใหญ่มีทุนน้อยไม่เพียงพอที่จะทำเหมืองแร่ใหญ่ ๆ และขาดความรู้ในการทำเหมือง จนกระทั่งกัปตันไมค์ชาวออสเตรเลีย ได้นำเอาเรือขุดมาขุดดีบุกครั้งแรกที่อ่าวทุ่งคา ในเดือนพฤศจิกายน 2450 เป็นผลให้การผลิตดีบุกได้มากขึ้น และเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่แท้จริง การพัฒนาเหมืองแร่ได้ทำควบคู่ไปกับประเทศมาเลเซีย คือมีการทำการพัฒนาเหมืองแร่ขึ้นเรื่อยๆเหมืองส่วนใหญ่เอกชนเป็นฝ่ายลงทุน รัฐมีส่วนร่วมด้วยเป็นส่วนน้อย การทำเหมืองในสมัยเริ่มแรกก็ อาศัยการลงทุนของชาวต่างประเทศ คือ ฝรั่งเศส และแคนาดา แต่บางอย่างรัฐก็เป็นผู้ริเริ่มทำ รัฐได้ส่งนักวิชาการไปอบรมต่างประเทศแล้วกลับมาทำงานด้านนี้ ต่อมาก็ได้ร่วมมือกับต่างประเทศ จัดตั้งสถาบันเอกเทศทำการสำรวจแหล่งแร่ให้กับเอกชนภายใต้เงื่อนไขบางประการที่จะก่อให้เกิดการกระจายรายได้และจัดให้ร่วมมือกับต่างประเทศในกรณีที่จำเป็นเรียกว่า ?โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาทรัพยากรธรณีแห่งประเทศไทย? ดำเนินการร่วมกับธนาคารโลกและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนั้นระยะหลังจึงพบว่ามีการผลิตแร่อื่น ๆ ในประเทศไทยอีกมาก เช่น ดีบุก วุลแฟรม พลวง ตะกั่วแมงกานีส เหล็กยิบซั่ม ลิกไนท์ และน้ำมัน เป็นต้น การขุดแร่เจริญขึ้นเป็นลำดับ จะเห็นว่าเดิมขุดแร่ริมฝั่งทะเล
บัดนี้ขยายออกไปขุดในทะเลลึกได้ ต่อมาได้เข้าเป็นภาคีสมาคมผู้บังเกิดแร่ดีบุกในปี พ.ศ. 2474 และเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ผลิตผลก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กิจการทำเหมืองก็ก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ มีการขุดแร่ มากมายหลายวิธี เพื่อให้เหมาะสมกับภูมิประเทศและความสมบูรณ์ของแร่การขุดแร่ได้มากนั้นเป็นผลดีต่อประเทศมาก