Knooch C
07-01-2014, 16:23
ประมวลสถานการณ์ 4G ปี 2013 ใน อาเซียน ::: ไทย หม่า ลาว เวียดนาม อินโด มาเลย์
<table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="504"><tbody><tr><td align="center" valign="Top" width="504">http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000000047402.JPEG
</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">http://www.manager.co.th/images/blank.gif</td> </tr> </tbody></table> สำนักข่าว ?เทค อิน เอเชีย? ประเมินสถานการณ์ตลาด 4G หรือบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ 11 ชาติอาเซียนไว้อย่างน่าสนใจ การประเมินนี้ทำให้เห็นว่าทุกชาติในอาเซียนตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อบริการ 4G ในฐานะโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีสถานการณ์ที่ด้อยกว่าเมื่อเทียบกับ ประเทศเพื่อนบ้านที่ล่วงหน้าให้บริการอย่างจริงจังไปก่อนเรียบร้อย
สมาคมผู้ประกอบการโอเปอเรเตอร์ หรือ GSMA คาดว่าภายในปี 2017 โลกจะมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี 4G LTE มากกว่า 500 เส้นทางใน 128 ประเทศ โดยขณะนี้ ประเทศในเอเชียที่ให้บริการ 4G แล้วคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฮ่องกง
ในขณะที่ 3 ประเทศเอเชียได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่บริการ 4G มีความเร็วสูงที่สุดในโลก แต่บางประเทศในอาเซียนยังมีเพียงบริการ 2G เท่านั้น ซึ่งถือเป็นการสวนทางในวันที่เกาหลีใต้กำลังเตรียมการให้บริการ 5G, ผู้ผลิตสินค้าโทรคมนาคมจีนอย่าง Huawei กำลังเตรียมผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยี 5G และโอเปอเรเตอร์จีนอย่าง China Mobile ได้เริ่มให้บริการเครือข่าย 4G แรกของประเทศเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
บรูไน
ประเทศที่มีประชากรไม่ถึง 5 แสนคนอย่างบรูไนนั้นเปิดให้บริการเทคโนโลยี 4G แล้ว ผู้ให้บริการหลักคือ 1 ใน 2 โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของประเทศนามว่า DST ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าบริษัท B-Mobile คู่แข่งของ DST จะเปิดให้บริการ 4G แก่ลูกค้าในบรูไนเมื่อใด
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี 4G เพิ่งเปิดให้บริการที่บรูไนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำ ให้ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลสถิติผู้ใช้ 4G โดยเฉพาะกลุ่มที่เปลี่ยนจาก 3G มาใช้บริการ 4G แม้ว่าชาวบรูไนจะตื่นตัวกับบริการ 4G มานานแล้วก็ตาม (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 11 พฤศจิกายน 2013)
กัมพูชา
ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่าง Emaxx และ Xinwei Technologies ได้รับใบอนุญาตหรือไลเซนส์จากกระทรวงโทรคมนาคมและไปรษณีย์ (Ministry of Posts and Telecommunications) หรือ MPTC ของรัฐบาลกัมพูชาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2011 แต่รายงานความคืบหน้านั้นมีการเปิดเผยเฉพาะฝั่ง Emaxx
ก่อนหน้านี้ Emaxx ประกาศเลือก Purewave เป็นบริษัทที่จะดำเนินการขยายโครงข่าย 4G เพื่อให้บริการลูกค้า 25 เมืองภายในปี 2012 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลยืนยันสถิติการให้บริการ 4G ในกัมพูชาอย่างชัดเจน มีเพียงหน้าเว็บไซต์ของ Emaxx ที่ระบุว่ามีการเปิดให้ใช้งาน 4G อย่างเป็นทางการแล้วในแดนเขมร (ไม่พบวันที่อ้างอิงข้อมูล)
อินโดนีเซีย
ตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา โอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย 2 ราย ได้แก่ Telkomsel และ XL Axiata ประกาศความสำเร็จของการทดลองให้บริการ 4G ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC Summit ที่เกาะบาหลี โดยการทดลองครอบคลุมพื้นที่สาธารณะอย่างสนามบิน Ngurah Rai, หอประชุม Bali Nusa Dua Convention Center, ศูนย์ประชุมนานาชาติ Bali International Convention Center, โรงแรม Hotel Sofitel รวมถึงถนนและพื้นที่โดยรอบการประชุม
รายงานระบุว่า ขณะนี้ชาวอินโดนีเซียที่อาศัยใน 4 เมืองใหญ่อย่าง Jakarta, Bogor, Depok, Tangerang และ Bekasi สามารถเลือกใช้บริการ 4G ได้แล้วผ่านอุปกรณ์ที่ทำตลาดในชื่อ Bolt อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือการพัฒนาของบริษัท Internux ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP ซึ่งทำให้อุปกรณ์ Bolt สามารถกระจายสัญญาณ 4G เพื่อให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตสามารถเชื่อมต่อ 4G ได้ทุกที่ทุกเวลา
ยังมีบริษัท Indosat ที่ได้รับไลเซนส์จากกระทรวงไอซีทีของอินโดนีเซียเพื่อให้บริการโครงข่าย 4G ตั้งแต่เดือนกันยายน 2012 จุดนี้รายงานระบุว่า Indosat ยังเดินหน้าขยายโครงข่าย 4G ต่อเนื่องจนทำให้มีความเป็นไปได้ว่า 4G ของแดนอิเหนาจะครอบคลุมทั่วประเทศในเร็ววัน (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 15 พฤศจิกายน 2013)
ลาว
ย้อนกลับไปในเดือนพฤศจิกายน 2012 รายงานระบุว่า 4G เปิดให้ใช้บริการแล้วที่เมืองหลวงของลาวอย่างเวียงจันทน์ ผ่านการให้บริการของโอเปอเรเตอร์อย่าง Beeline และ Laotel อย่างไรก็ตาม การให้บริการครั้งนั้นกลับเป็นเพียงการทดลองให้บริการ เพื่อทดลองใช้ในช่วงงานประชุม Asia-Europe Meeting Summit ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์เมื่อวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2012
จากนั้นมา พบว่า 4G ในลาวไม่ถูกพัฒนาต่อ ทำให้สามารถสรุปได้ว่าจนถึงธันวาคม 2013 ลาวยังไม่มีการให้บริการ 4G อย่างเป็นทางการ (ไม่พบวันที่อ้างอิงข้อมูล)
มาเลเซีย
โอเปอเรเตอร์อย่าง Telekom Malaysia Bhd ของมาเลเซียประกาศชัดเจนว่า จะให้บริการ 4G อย่างเป็นทางการทั่วประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 หลังจากขณะนี้ชาติเสือเหลืองมี 4G ให้บริการบนรถหรือ in-car 4G internet โดยโอเปอเรเตอร์อย่าง Yes และ Proton แล้ว รวมถึงบริการ 4G บนอุปกรณ์พกพาจากบริษัทอย่าง Celcom, Digi และ Maxis ที่ให้บริการมาตั้งแต่ต้นปี 2013 (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2013)
เมียนมาร์
รัฐบาลเมียนมาร์ให้ใบอนุญาตแก่บริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติ 2 ราย คือ Telenor และ Ooredoo ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2013 เพื่อให้ทั้งคู่เริ่มพัฒนาโครงข่ายพื้นฐาน แต่น่าเสียดายที่เงื่อนไขในสัมปทานระบุไว้เฉพาะโครงข่ายเทคโนโลยี 3G ทำให้มีการประเมินว่า 4G ในเมียนมาร์จะยังต้องรอไปอีก
เบื้องต้น บริษัทวิจัย IDC ประเมินว่าตลาดอุปกรณ์ไอทีพกพาของเมียนมาร์จะเติบโตต่อเนื่องไปตลอด 3 ปีนับจากนี้ โดยเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนที่จะมียอดขายเพิ่มจาก 0 เป็น 6 ล้านเครื่องภายในปี 2017
ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ 2 แห่งครองตลาดอยู่ ได้แก่ Smart และ Globe โดย Smart เริ่มเปิดให้บริการ 4G ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2012 ก่อนที่ Globe จะให้บริการตามมาใน 2 เดือนต่อมา (ตุลาคม 2012) ทั้งหมดนี้ทำให้ตลาด 4G มีการแข่งขันดุเดือดในแดนตากาล็อก รายงานระบุว่าตลอดปี 2013 ที่ผ่านมา ทั้ง 2 โอเปอเรเตอร์พยายามเพิ่มจำนวนลูกค้า 4G ด้วยการออกโปรโมชันมากมาย รวมถึงผลิตภัณฑ์ซิมพรีเพดหลากแพกเกจ
ล่าสุด Smart ประกาศว่ากำลังทดสอบบริการ LTE Advanced เพื่อการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยิ่งกว่า ขณะที่ Globe ให้บริการข้ามแดน LTE data roaming บนความร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์แดนกิมจิอย่าง SK telecom แล้วตั้งแต่ต้นปี 2013
สิงคโปร์
สิงคโปร์ถือเป็นประเทศแรกของภูมิภาคอาเซียนที่มีบริการ 4G ครอบคลุมทั่วประเทศ น่าแปลกที่โอเปอเรเตอร์แรกที่ให้บริการคือ SingTel แต่ M1 Limited กลับเป็นโอเปอเรเตอร์แรกที่สามารถขยายโครงข่าย 4G ไปทั่วประเทศ ขณะนี้ 3 โอเปอเรเตอร์สิงคโปร์ล้วนให้บริการ 4G แก่ชาวสิงคโปร์เรียบร้อย โดย Starhub คือรายสุดท้ายที่ขยายโครงข่าย 4G คลุมทั่วเกาะสิงคโปร์ (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 5 มิถุนายน 2012)
ไทย
สื่อต่างประเทศยกให้ไทยเป็นประเทศที่มีสถานการณ์ 4G น่าสนใจ เพราะแม้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะให้สัมปทาน 3G แก่ 3 โอเปอเรเตอร์ใหญ่อย่าง Dtac, AIS และ TrueMove ไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อปี 2012 แต่ปัจจุบัน กสทช.กลับยังไม่ประกาศวันประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่ใช้รองรับบริการ 4G LTE ให้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ต้นปี 2013 TrueMove เริ่มให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิจารณ์หนาหู เพราะ TrueMove ให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่เดียวกับ 3G ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดมาตรฐาน เนื่องจากปกติแล้ว 4G จะใช้คลื่นความถี่ 850 MHz
ในที่สุด สถานการณ์ 4G ในประเทศไทยถูกสรุปว่ามีบริการ 4G แล้วจาก TrueMove รายเดียว โดยเปิดให้บริการเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ขณะที่อีก 2 โอเปอเรเตอร์อย่าง Dtac นั้นถูก กสทช.ปฏิเสธแผนพัฒนาบริการ 4G ไปแล้ว ด้าน AIS ประกาศว่ากำลังทดสอบ 4G เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริการทันทีที่ได้รับใบอนุญาต (อ้างอิงข้อมูล 8 พฤษภาคม 2013)
เวียดนาม
รายงานระบุว่า ชาวเวียดนามจะต้องรอไปถึงปี 2015 เพราะต้องรอให้รัฐบาลให้ใบอนุญาตบริการ 4G อย่างเป็นทางการ จุด นี้มีการตั้งข้อสังเกตว่า สถานการณ์ 4G ในเวียดนามมีความคล้ายกับประเทศไทยที่ภาครัฐยังต้องใช้เวลาศึกษาและวิจัยว่า จะให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ใด
น่าเสียดายที่ ?ติมอร์ ตะวันออก? นั้นไม่มีรายงานความคืบหน้า 4G อย่างเป็นทางการ แต่อย่างน้อย ความเคลื่อนไหว 4G ใน 10 ชาติอาเซียนตลอดปี 2013 นี้สะท้อนว่าทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีพลเมืองมากกว่า 610 ล้านคนจะให้ความสำคัญ9jvการพัฒนา 4G ในปีม้าทอง 2014 อย่างจริงจังแน่นอน
<table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="504"><tbody><tr><td align="center" valign="Top" width="504">http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000000047402.JPEG
</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">http://www.manager.co.th/images/blank.gif</td> </tr> </tbody></table> สำนักข่าว ?เทค อิน เอเชีย? ประเมินสถานการณ์ตลาด 4G หรือบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ 11 ชาติอาเซียนไว้อย่างน่าสนใจ การประเมินนี้ทำให้เห็นว่าทุกชาติในอาเซียนตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อบริการ 4G ในฐานะโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีสถานการณ์ที่ด้อยกว่าเมื่อเทียบกับ ประเทศเพื่อนบ้านที่ล่วงหน้าให้บริการอย่างจริงจังไปก่อนเรียบร้อย
สมาคมผู้ประกอบการโอเปอเรเตอร์ หรือ GSMA คาดว่าภายในปี 2017 โลกจะมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี 4G LTE มากกว่า 500 เส้นทางใน 128 ประเทศ โดยขณะนี้ ประเทศในเอเชียที่ให้บริการ 4G แล้วคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฮ่องกง
ในขณะที่ 3 ประเทศเอเชียได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่บริการ 4G มีความเร็วสูงที่สุดในโลก แต่บางประเทศในอาเซียนยังมีเพียงบริการ 2G เท่านั้น ซึ่งถือเป็นการสวนทางในวันที่เกาหลีใต้กำลังเตรียมการให้บริการ 5G, ผู้ผลิตสินค้าโทรคมนาคมจีนอย่าง Huawei กำลังเตรียมผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยี 5G และโอเปอเรเตอร์จีนอย่าง China Mobile ได้เริ่มให้บริการเครือข่าย 4G แรกของประเทศเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
บรูไน
ประเทศที่มีประชากรไม่ถึง 5 แสนคนอย่างบรูไนนั้นเปิดให้บริการเทคโนโลยี 4G แล้ว ผู้ให้บริการหลักคือ 1 ใน 2 โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของประเทศนามว่า DST ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าบริษัท B-Mobile คู่แข่งของ DST จะเปิดให้บริการ 4G แก่ลูกค้าในบรูไนเมื่อใด
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี 4G เพิ่งเปิดให้บริการที่บรูไนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำ ให้ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลสถิติผู้ใช้ 4G โดยเฉพาะกลุ่มที่เปลี่ยนจาก 3G มาใช้บริการ 4G แม้ว่าชาวบรูไนจะตื่นตัวกับบริการ 4G มานานแล้วก็ตาม (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 11 พฤศจิกายน 2013)
กัมพูชา
ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่าง Emaxx และ Xinwei Technologies ได้รับใบอนุญาตหรือไลเซนส์จากกระทรวงโทรคมนาคมและไปรษณีย์ (Ministry of Posts and Telecommunications) หรือ MPTC ของรัฐบาลกัมพูชาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2011 แต่รายงานความคืบหน้านั้นมีการเปิดเผยเฉพาะฝั่ง Emaxx
ก่อนหน้านี้ Emaxx ประกาศเลือก Purewave เป็นบริษัทที่จะดำเนินการขยายโครงข่าย 4G เพื่อให้บริการลูกค้า 25 เมืองภายในปี 2012 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลยืนยันสถิติการให้บริการ 4G ในกัมพูชาอย่างชัดเจน มีเพียงหน้าเว็บไซต์ของ Emaxx ที่ระบุว่ามีการเปิดให้ใช้งาน 4G อย่างเป็นทางการแล้วในแดนเขมร (ไม่พบวันที่อ้างอิงข้อมูล)
อินโดนีเซีย
ตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา โอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย 2 ราย ได้แก่ Telkomsel และ XL Axiata ประกาศความสำเร็จของการทดลองให้บริการ 4G ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC Summit ที่เกาะบาหลี โดยการทดลองครอบคลุมพื้นที่สาธารณะอย่างสนามบิน Ngurah Rai, หอประชุม Bali Nusa Dua Convention Center, ศูนย์ประชุมนานาชาติ Bali International Convention Center, โรงแรม Hotel Sofitel รวมถึงถนนและพื้นที่โดยรอบการประชุม
รายงานระบุว่า ขณะนี้ชาวอินโดนีเซียที่อาศัยใน 4 เมืองใหญ่อย่าง Jakarta, Bogor, Depok, Tangerang และ Bekasi สามารถเลือกใช้บริการ 4G ได้แล้วผ่านอุปกรณ์ที่ทำตลาดในชื่อ Bolt อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือการพัฒนาของบริษัท Internux ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP ซึ่งทำให้อุปกรณ์ Bolt สามารถกระจายสัญญาณ 4G เพื่อให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตสามารถเชื่อมต่อ 4G ได้ทุกที่ทุกเวลา
ยังมีบริษัท Indosat ที่ได้รับไลเซนส์จากกระทรวงไอซีทีของอินโดนีเซียเพื่อให้บริการโครงข่าย 4G ตั้งแต่เดือนกันยายน 2012 จุดนี้รายงานระบุว่า Indosat ยังเดินหน้าขยายโครงข่าย 4G ต่อเนื่องจนทำให้มีความเป็นไปได้ว่า 4G ของแดนอิเหนาจะครอบคลุมทั่วประเทศในเร็ววัน (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 15 พฤศจิกายน 2013)
ลาว
ย้อนกลับไปในเดือนพฤศจิกายน 2012 รายงานระบุว่า 4G เปิดให้ใช้บริการแล้วที่เมืองหลวงของลาวอย่างเวียงจันทน์ ผ่านการให้บริการของโอเปอเรเตอร์อย่าง Beeline และ Laotel อย่างไรก็ตาม การให้บริการครั้งนั้นกลับเป็นเพียงการทดลองให้บริการ เพื่อทดลองใช้ในช่วงงานประชุม Asia-Europe Meeting Summit ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์เมื่อวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2012
จากนั้นมา พบว่า 4G ในลาวไม่ถูกพัฒนาต่อ ทำให้สามารถสรุปได้ว่าจนถึงธันวาคม 2013 ลาวยังไม่มีการให้บริการ 4G อย่างเป็นทางการ (ไม่พบวันที่อ้างอิงข้อมูล)
มาเลเซีย
โอเปอเรเตอร์อย่าง Telekom Malaysia Bhd ของมาเลเซียประกาศชัดเจนว่า จะให้บริการ 4G อย่างเป็นทางการทั่วประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 หลังจากขณะนี้ชาติเสือเหลืองมี 4G ให้บริการบนรถหรือ in-car 4G internet โดยโอเปอเรเตอร์อย่าง Yes และ Proton แล้ว รวมถึงบริการ 4G บนอุปกรณ์พกพาจากบริษัทอย่าง Celcom, Digi และ Maxis ที่ให้บริการมาตั้งแต่ต้นปี 2013 (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2013)
เมียนมาร์
รัฐบาลเมียนมาร์ให้ใบอนุญาตแก่บริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติ 2 ราย คือ Telenor และ Ooredoo ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2013 เพื่อให้ทั้งคู่เริ่มพัฒนาโครงข่ายพื้นฐาน แต่น่าเสียดายที่เงื่อนไขในสัมปทานระบุไว้เฉพาะโครงข่ายเทคโนโลยี 3G ทำให้มีการประเมินว่า 4G ในเมียนมาร์จะยังต้องรอไปอีก
เบื้องต้น บริษัทวิจัย IDC ประเมินว่าตลาดอุปกรณ์ไอทีพกพาของเมียนมาร์จะเติบโตต่อเนื่องไปตลอด 3 ปีนับจากนี้ โดยเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนที่จะมียอดขายเพิ่มจาก 0 เป็น 6 ล้านเครื่องภายในปี 2017
ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ 2 แห่งครองตลาดอยู่ ได้แก่ Smart และ Globe โดย Smart เริ่มเปิดให้บริการ 4G ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2012 ก่อนที่ Globe จะให้บริการตามมาใน 2 เดือนต่อมา (ตุลาคม 2012) ทั้งหมดนี้ทำให้ตลาด 4G มีการแข่งขันดุเดือดในแดนตากาล็อก รายงานระบุว่าตลอดปี 2013 ที่ผ่านมา ทั้ง 2 โอเปอเรเตอร์พยายามเพิ่มจำนวนลูกค้า 4G ด้วยการออกโปรโมชันมากมาย รวมถึงผลิตภัณฑ์ซิมพรีเพดหลากแพกเกจ
ล่าสุด Smart ประกาศว่ากำลังทดสอบบริการ LTE Advanced เพื่อการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยิ่งกว่า ขณะที่ Globe ให้บริการข้ามแดน LTE data roaming บนความร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์แดนกิมจิอย่าง SK telecom แล้วตั้งแต่ต้นปี 2013
สิงคโปร์
สิงคโปร์ถือเป็นประเทศแรกของภูมิภาคอาเซียนที่มีบริการ 4G ครอบคลุมทั่วประเทศ น่าแปลกที่โอเปอเรเตอร์แรกที่ให้บริการคือ SingTel แต่ M1 Limited กลับเป็นโอเปอเรเตอร์แรกที่สามารถขยายโครงข่าย 4G ไปทั่วประเทศ ขณะนี้ 3 โอเปอเรเตอร์สิงคโปร์ล้วนให้บริการ 4G แก่ชาวสิงคโปร์เรียบร้อย โดย Starhub คือรายสุดท้ายที่ขยายโครงข่าย 4G คลุมทั่วเกาะสิงคโปร์ (อ้างอิงข้อมูลวันที่ 5 มิถุนายน 2012)
ไทย
สื่อต่างประเทศยกให้ไทยเป็นประเทศที่มีสถานการณ์ 4G น่าสนใจ เพราะแม้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะให้สัมปทาน 3G แก่ 3 โอเปอเรเตอร์ใหญ่อย่าง Dtac, AIS และ TrueMove ไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อปี 2012 แต่ปัจจุบัน กสทช.กลับยังไม่ประกาศวันประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่ใช้รองรับบริการ 4G LTE ให้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ต้นปี 2013 TrueMove เริ่มให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิจารณ์หนาหู เพราะ TrueMove ให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่เดียวกับ 3G ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดมาตรฐาน เนื่องจากปกติแล้ว 4G จะใช้คลื่นความถี่ 850 MHz
ในที่สุด สถานการณ์ 4G ในประเทศไทยถูกสรุปว่ามีบริการ 4G แล้วจาก TrueMove รายเดียว โดยเปิดให้บริการเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ขณะที่อีก 2 โอเปอเรเตอร์อย่าง Dtac นั้นถูก กสทช.ปฏิเสธแผนพัฒนาบริการ 4G ไปแล้ว ด้าน AIS ประกาศว่ากำลังทดสอบ 4G เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริการทันทีที่ได้รับใบอนุญาต (อ้างอิงข้อมูล 8 พฤษภาคม 2013)
เวียดนาม
รายงานระบุว่า ชาวเวียดนามจะต้องรอไปถึงปี 2015 เพราะต้องรอให้รัฐบาลให้ใบอนุญาตบริการ 4G อย่างเป็นทางการ จุด นี้มีการตั้งข้อสังเกตว่า สถานการณ์ 4G ในเวียดนามมีความคล้ายกับประเทศไทยที่ภาครัฐยังต้องใช้เวลาศึกษาและวิจัยว่า จะให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ใด
น่าเสียดายที่ ?ติมอร์ ตะวันออก? นั้นไม่มีรายงานความคืบหน้า 4G อย่างเป็นทางการ แต่อย่างน้อย ความเคลื่อนไหว 4G ใน 10 ชาติอาเซียนตลอดปี 2013 นี้สะท้อนว่าทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีพลเมืองมากกว่า 610 ล้านคนจะให้ความสำคัญ9jvการพัฒนา 4G ในปีม้าทอง 2014 อย่างจริงจังแน่นอน