ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 17-08-2012   #4
Air conditioner
Member
 
Air conditioner's Avatar
 
วันที่สมัคร: May 2012
ข้อความ: 54
ถ่ายทอดพลัง: 64
คะแนนหรอย: 30
Default

วันที่ 22 กรกฎาคม 2555 11:51
สวทน.จัดสัมมนา ?Sinnovation? เดินหน้าประชาคมอาเซียน





สวทน.ร่วมกับหน่วยงาน GIZ จากประเทศเยอรมนี จัดสัมมนาภาย ใต้หัวข้อ ?SInnovation ASEAN-Germany 1st International Conference: Increase Innovativeness / More Value Innovations - From Policy to Practical Implementation / Pursuing the Krabi Initiative? ระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป และอาเซียนร่วมอภิปรายในประเด็นความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบนวัตกรรมระหว่างภูมิภาค เสริมความพร้อมประเทศอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ. 2558

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยการสนับสนุนของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่ง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดงานสัมมนาใน หัวข้อ ?SInnovation ASEAN-Germany 1st International Conference: Increase Innovativeness / More Value Innovations - From Policy to Practical Implementation / Pursuing the Krabi Initiative?

การประชุมนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศเยอรมนี ของคณะกรรมการอาเซียนด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology - ASEAN COST) และเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามเพื่อดำเนินงานผลักดันสาขาความร่วมมือตามข้อริ เริ่มกระบี่ (Krabi Initiative) 8 ด้าน (thematic track) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวอาเซียนด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ได้แก่ 1) นวัตกรรมอาเซียนสู่ ตลาดโลก (ASEAN Innovation for Global Market) 2) สังคมดิจิทัล สื่อใหม่และเครือข่ายสังคม (Digital Economy, New Media and Social Networking) 3) เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) 4) ความมั่นคงทางอาหาร ( Food Security) 5) ความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) 6) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Management) 7) ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ (Biodiversity for Health and Wealth) 8) วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Science and Innovation for Life)

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการ สวทน. เปิดเผยว่า การก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นอกจากจะเปิดโอกาสด้านการค้าและการลงทุนสู่ตลาดอาเซียนซึ่ง มีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคนแล้ว ยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานฝีมือและผู้เชี่ยวชาญของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน

ข้อริเริ่มกระบี่ (Krabi Initiative) ริเริ่มและจัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรองรับการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558

ทั้งนี้ข้อริเริ่มกระบี่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาเซียนว่า ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 เป็นแนวทางการสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา

?ขณะนี้ สวทน.กำลังดำเนินการขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่ ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาด้าน วทน.ของภูมิภาคอาเซียนคือ การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่สังคมดีมีคุณภาพ และต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสมดุล ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศอาเซียนยัง มีข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพด้าน วทน.ดังกล่าว ดังนั้นความร่วมมือกับประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้าน วทน.ระดับโลก จะเป็นโอกาสให้ประเทศอาเซียนได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดี (best practices) เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับประเทศของตนต่อไป? เลขาธิการ สวทน. กล่าว

ดร. โยอาคิม ลังบายน์ ผู้จัดการโครงการอาวุโส แผนกพัฒนาศักยภาพมนุษย์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำกรุงบอนน์ กล่าวว่า การจัดการสัมมนาในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศเยอรมนีและประชาคมอาเซียนเพื่อ สร้างความร่วมมือและการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ตลอดจนกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้าน วทน.

ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักเลขาธิการอาเซียน

การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 100 ท่าน จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน จากประเทศเยอรมนีและประเทศประชาคมอาเซียน กว่า 10 ประเทศ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งสองภูมิภาคได้มีโอกาสสร้าง เครือข่าย และร่วมอภิปรายถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ตลอดจนกลไกและเครื่องมือที่เหมาะสมในการเสริมความเข้มแข็งให้ระบบนวัตกรรม

?การออกแบบและจัดทำระบบนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดจำเป็นจะต้องจัดทำทั้งระบบ โดยเริ่มผลักดันตั้งแต่ระดับนโยบายลงมา และจำเป็นที่นักจัดทำนโยบายต้องเรียนรู้จากรูปแบบระบบนวัตกรรมที่มีอยู่หลาก หลายรูปแบบในโลกนี้ ดังนั้นการประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมาจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานนวัตกรรมในประเทศนั้น ๆ ได้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม นักวิจัยนโยบายได้มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์จากมุมมองของตนได้อย่างเต็มที่? ดร. โยอาคิม กล่าวเสริม

__________________
Air conditioner is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102