เว็บการ์ตูนหรอยกู

เว็บการ์ตูนหรอยกู (http://board.roigoo.com/index.php)
-   การศึกษาและเรียนรู้ (http://board.roigoo.com/forumdisplay.php?f=21)
-   -   รูปภาพดาวหางไอซอน เป็นอย่างไร โคจรไปที่ไหน ใกล้โลกแค่ไหน (http://board.roigoo.com/showthread.php?t=7091)

Knooch C 26-11-2013 11:55

รูปภาพดาวหางไอซอน เป็นอย่างไร โคจรไปที่ไหน ใกล้โลกแค่ไหน
 
รูปภาพดาวหางไอซอน เป็นอย่างไร โคจรไปที่ไหน ใกล้โลกแค่ไหน

<table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="baseline"><table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="700"><tbody><tr><td align="center" valign="Top" width="700">http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...015162601.JPEG </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ภาพดาวหางไอซอนเมื่อวันที่ 6 พ.ย.56 โดย สดร.</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">http://www.manager.co.th/images/blank.gif</td> </tr> </tbody></table> สดร.ชวนชม ?ดาวหางไอซอน? ทิ้งทวนก่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 28 พ.ย.นี้ พร้อมลุ้นดาวหางจะสว่างจ้าหรือแตกสลาย ระบุหากพ่นฝุ่นหลังโคจรออกมาจากดวงอาทิตย์จะสว่างมากที่สุดในศตวรรษ พร้อมยังมีดาวหางอีก 3 ดวงที่สว่างขึ้นมาไล่เลี่ยกันระหว่างนี้ให้ชม

รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กล่าวถึงดาวหางไอซอน (C/2012 S1 ISON) ระหว่างการแถลงข่าวชวนชมดาวหางดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 56 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าดาวหางไอซอนถูกค้นพบตั้งแต่เดือน ก.ย.55 โดย ไวลาลี เนปสกี นักดาราศาสตร์ชาวเบลารุส และ อาร์เตียม โนวิคโคนอค นักดาราศาสตร์ชาวรัสเซีย ในโครงการไอซอน (ISON: International Scientific Network)

จากการติดตามวงโคจรและศึกษาขนาด รศ.บุญรักษากล่าวว่า ทำให้รู้ว่าดาวหางดังกล่าวเป็นดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ (Sungrazing Comet) ซึ่งกำเนิดของไอซอนมาจากขอบระบบสุริยะที่เรียกว่า ?เมฆออร์ต? (Oort cloud) พร้อมทั้งอธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า อาจมีแรงภายนอกระบบสุริยะที่ผลักให้ดาวหางโคจรเข้ามาในระบบสุริยะ และเป็นวงโคจรแบบไฮเปอร์โบลาทำให้เมื่อดาวหางดวงนี้เข้ามาในระบบสุริยะเพียง ครั้งเดียว และจะไม่กลับเข้ามาอีก

ทางด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สดร.ให้ข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างการแถลงข่าวว่า ดาวหางมีส่วนที่เป็นน้ำแข็งที่เรียกว่า ?นิวเคลียส? ซึ่งเมื่อตอนดาวหางยังอยู่ที่ระยะห่างในวงโคจรของดาวเนปจูน นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบว่าดาวหางมีขนาดนิวเคลียสเท่าไร แต่มีความสว่างมากแม้อยู่ไกลขนาดนั้น จากนั้นองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ถ่ายภาพและวัดขนาดของนิวเคลียส คาดว่าไอซอนมีนิวเคลียสไม่เกิน 2 กิโลเมตร

?เราไม่สามารถมองเห็นนิวเคลียสดาวหางได้จากบนโลก และเห็นได้ยากมาก ต้องใช้ยานอวกาศโคจรเข้าไปใกล้ เช่น เมื่อปี 2529 ก็มีการส่งยานอวกาศเข้าไปใกล้ดาวหางฮัลเลย์และวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของ นิวเคลียสได้ว่ามีขนาดมากกว่า 10 กิโลเมตร และดาวหางเฮล-พอพพ์ที่สว่างมากๆ ทางซีกโลกเหนือก็วัดขนาดนิวเคลียสได้มากกว่า 40 กิโลเมตร? ดร.ศรัณย์กล่าว

สำหรับดาวหางไอซอนนั้นจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระยะที่เรียกว่า ?เพอร์ริฮิเลียน? (Perihelion) ในวันที่ 28 พ.ย.56 ที่ระยะห่าง 1.2 ล้านกิโลเมตร ซึ่ง ดร.ศรัณย์อธิบายว่า ในความรู้สึกของคนทั่วไปอาจคิดว่าเป็นระยะที่ห่างมาก แต่เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 ล้านกิโลเมตรแล้ว หากไปยืนอยู่บนดาวหางไอซอนในช่วงเวลาดังกล่าวจะเห็นดวงอาทิตย์ใหญ่เต็มท้อง ฟ้า อุณหภูมิที่ผิวไอซอนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,700 องศาเซลเซียส ทำให้ดาวหางมีอัตราการปลดปล่อยก๊าซและฝุ่นละอองมหาศาล

ดร.ศรัณย์กล่าวว่ามีการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับดาวหางเมื่อเข้า ใกล้ดวงอาทิตย์หลายแบบ โดยดาวหางนั้นเป็นก้อนน้ำแข็งที่เกาะกันหลวมๆ ที่ทำให้ดาวหางแตกออกได้ทุกเมื่อ หรืออาจมีลำพุ่งจากภายในดาวหาง หรือแรงไทดัล (tidal force) แรงที่ทำให้เกิดทำขึ้นน้ำลงทำให้ดาวหางแตกเป็นผงเช่นเดียวกับกรณีที่เกิด ขึ้นกับดาวหางเอลินิน (Elenin) เมื่อปี 2555 จะทำให้ไม่เห็นดาวหางในช่วงขาออกจากดวงอาทิตย์ หรือหากมีการพ่นฝุ่นก่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะทำให้เกิดปฏิริยากับรังสี ของดวงอาทิตย์จนเกิดการสว่างจ้ามากๆ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับดาวหางเลิฟจอย 2011 (C/2011 W3 Lovejoy) หรือหากไม่เกิดอะไรขึ้นจะเห็นดาวหางเป็นก้อนออกมาจากดวงอาทิตย์ให้ติดตามต่อ ไปอีกหลายเดือนหลังจากนั้น

ส่วน รศ.บุญรักษาบอกด้วยว่าช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตดาวหางไอซอนมากที่สุดคือช่วง ที่ดาวหางกำลังเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ระหว่าง15-25 พ.ย.นี้ เพราะยิ่งใกล้จะยิ่งได้รังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้หางของดาวหางที่เป็นของแข็งระเหิดเป็นหางยาวขึ้นและสว่างมากขึ้น แต่เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์แล้วจะไม่ได้สามารถสังเกตเห็นได้เนื่องจาก ถูกแสงสว่างจ้าของดวงอาทิตย์บดบัง ซึ่งดาวหางไอซอนนั้นมีความคล้ายคลึงกับดาวหางอิเคยะ-เซกิ (C11965 S1 Ikeya-Seki) ที่เป็นดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์เหมือนกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า เฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าแต่ไม่พุ่งชนดวงอาทิตย์ และเคยถูกบันทึกไว้ว่าสว่างที่สุดในศตวรรษนี้ จึงคาดว่าไอซอนน่าจะรอดออกมาและจะมีความสว่างมากที่สุดในรอบร้อยปี

อย่างไรก็ดี ดร.ศรัณย์กล่าวว่า การสังเกตดาวหางไอซอนในช่วงเข้าใกล้ดวงอาทิตย์นี้จะสังเกตได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากดาวหางจะอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนวันที่ 28 พ.ย.ระหว่าง 05.00-05.40 น. ดาวหางจะอยู่สูงจากขอบฟ้า 10 องศา หลังจากนั้นจะมีแสงสนธยาขึ้นมา ดังนั้น แม้ดาวหางจะสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็จะถูกความสว่างของแสนสนธยาบดบัง โดยการสังเกตนั้นให้หันไปทางทิศตะวันออกแล้วสังเกตดาวพุธที่เป็นดาวสว่างที่ สุดบริเวณนั้น แล้วจะเห็นดาวหางไอซอนเป็นฝ้าๆ อยู่ทางขวาด้านล่างของดาวพุธ

พร้อมกันนี้ รองผู้อำนวยการ สดร.กล่าวว่า ปัจจุบันมีหุ่นยนต์ที่ค้นพบดาวหางเยอะขึ้น โดยปีหนึ่งค้นพบดาวหางได้นับ 100 ดวง แต่ที่มีสว่างไล่เลี่ยกับดาวหางไอซอนช่วงนี้ 3-4 ดวง ได้แก่ ดาวหางเลิฟจอย (C/2013 R1 Lovejoy) ที่ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ ดาวหางลิเนีย (LINEAR X1) ที่ค้นพบโดยหุ่นยนต์ค้นหาดาว และดาวหางเองเค (2P Enke) ที่เป็นดาวหางคาบสั้นมีรอบโคจรสามปีครึ่ง ซึ่งดาวหางที่โคจรเข้ามาประจำนี้จะทำให้ดาวหางหดสั้นเรื่อยๆ เหลือแต่หัวดาวหาง



</td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="700"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="700"> http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...015162602.JPEG </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ลักษณะทางกายภาพของดาวหาง </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">http://www.manager.co.th/images/blank.gif</td> </tr> </tbody></table>

</td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="700"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="700"> http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...015162604.JPEG </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ขนาดของดาวหางทั้ง 4 ดวงที่จะเห็นได้ไล่เลี่ยกันในช่วงนี้ </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">http://www.manager.co.th/images/blank.gif</td> </tr> </tbody></table>

</td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="680"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="680"> http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...015162603.JPEG </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ลักษณะวงโคจรของดาวหางเป็นรูปโพลาโบลาและตำแหน่งของดาวหางเมื่อวันที่ 1 พ.ย.56 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งวงโคจรของโลก </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">http://www.manager.co.th/images/blank.gif</td> </tr> </tbody></table>

</td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="600"> http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...015162605.JPEG </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ตำแหน่งของดาวหาวไอซอนบนท้องฟ้าระหว่างวันที่ 20-28 พ.ย.</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">http://www.manager.co.th/images/blank.gif</td> </tr> </tbody></table>

</td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="700"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="700"> http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...015162606.JPEG </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">รศ.บุญรักษา (ที่ 2 ซ้าย) พร้อมด้วย ดร.ศรัณย์ (ขวา) และ นาย นิรุตติ คุณวัฒน์ ที่ปรึกษากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างการแถลงข่าวเรื่องดาวหางไอ ซอน</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:37

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด


1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102