เว็บการ์ตูนหรอยกู

เว็บการ์ตูนหรอยกู (http://board.roigoo.com/index.php)
-   หรอยกูคาเฟ่ (http://board.roigoo.com/forumdisplay.php?f=11)
-   -   ปัญหาการว่างงาน 2555 เด็กจบใหม่คณะไหนว่างงานมากที่สุด (http://board.roigoo.com/showthread.php?t=4499)

Air conditioner 28-08-2012 10:18

ปัญหาการว่างงาน 2555 เด็กจบใหม่คณะไหนว่างงานมากที่สุด
 
ตอนแรกอ่านข่าวนี้ไม่ได้คิดอะไรมาครับเพื่อนๆแต่มันมีคณะผมติดอันดับที่ว่างงานมากที่สุดด้วบละสิ อ่านแล้วก็ขนลุกเหมือนกัน ปัญหาการว่างงานดูแล้วยังไม่จบไม่สิ้นง่ายง่ายแน่นอนครับ เพื่อนๆเตรียมปรับตัวรับมือกันเอาไว้ด้วย แล้วก็ลองอ่านตัวเลขการว่างงานนี้ดูกันเล่นเล่นครับ




สศช.ชี้วิกฤตแรงงานไทยไม่ตรงความต้องการเด็กจบบริหาร-พาณิชย์-ศิลปกรรม-คอมพ์-มนุษย์ฯ-สังคมเตะฝุ่นแน่

วันนี้(27 ส.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมในไตรมาสที่ 2 ของปี 55 ว่า สถานการณ์แรงงานไทยกำลังประสบปัญหาเรื่องโครงสร้างแรงงานมาก เพราะไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่เป็นปัญหายืดเยื้อและจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตของแรงงานหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา ล่าสุดพบว่าในไตรมาสสอง ของปี 55 มีผู้จบการศึกษาในสาขาบริหารธุรกิจ บริหารและพาณิชยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วารสารศาสตร์และสารสนเทศ รวมถึงสาขาคอมพิวเตอร์ มีอัตราว่างงานสูงมาก หรือคิดเป็น 1ใน 3 ของอัตราการว่างงานทั้งหมด จึงต้องเร่งทบทวนเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตกำลังคน และลักษณะรายวิชาที่ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย

ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 2 มีผู้ว่างงาน 334,121 คน คิดเป็นอัตราว่างงาน 0.85% สูงกว่าปีก่อนที่มีอัตราว่างงาน 0.6% โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่จบการศึกษาในสาขาธุรกิจ บริหารและพาณิชยศาสตร์ ที่อ่อนไหวตามเศรษฐกิจมากและว่างงานเพิ่มขึ้นมากโดยผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงาน 2.1% ระดับปวส.1.8% และปวช.1% สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการลดต้นทุนหันมาเลือกจ้างแรงงานระดับปวช.แทน ขณะที่ผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาศิลปกรรมศาสตร์ ว่างงาน 4.4% และมนุษย์ศาสตร์ 2.4% ซึ่งทั้ง 2 สาขาเป็นปัญหาการผลิตคนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และตั้งแต่ปี 48-54 พบว่า

สาขาศิลปกรรมศาสตร์ ว่างงาน 3.6%

มนุษยศาสตร์ 3.5%

สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ 3%

และวารสารศาสตร์และสารสนเทศ มีการว่างงานสูงสุดที่ 5.3%


นอกจากนี้ผู้ที่จบการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยระดับปวส.ว่างงาน 4.1% ขณะที่อุดมศึกษาว่างงาน 3.6% และจากข้อมูลยังพบว่าตั้งแต่ปี 48-54 ผู้จบการศึกษาในสาขานี้มีอัตราว่างงานในทุกระดับการศึกษาที่สูงมาก โดยปวช.ว่างงาน 6% ปวส. 4.3% ขณะที่ระดับอุดมศึกษาว่างงาน 4.8%

ส่วนการจ้างงานในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้น 1.6% สูงกว่าไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 1% แต่เมื่อเทียบกับอัตราว่างงานที่ต่ำกว่า 1% แล้วแสดงให้เห็นว่าแรงงานไทยอยู่ในภาวะที่ตึงตัวอย่างมาก แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท หรือคิดเป็นค่าจ้างโดยเฉลี่ยที่ปรับขึ้น 19.2% แต่พบว่าคุณภาพแรงงานหรือผลิตภาพแรงงานปรับขึ้นเพียง 2.54% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3 % ขณะเดียวกันผลของการปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้ไม่ได้ทำให้การว่างงานเพิ่มขึ้นจนมีนัยสำคัญ แต่มีการโยกย้ายแรงงานไปสู่อาชีพอิสระหรือทำงานในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะแรงงานที่มีอายุน้อย มีทักษะต่ำและมีประสบการณ์น้อย ขณะที่แรงงานสูงอายุมีแนวโน้มเข้าร่วมในกำลังแรงงานมากขึ้น

นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสศช. กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ไขปัญหาโครงสร้างแรงงานโดยเร็ว โดยพิจารณาในเรื่องของแรงงานที่มีอายุน้อยแต่มีการศึกษาต่ำ ซึ่งจะกลายเป็นข้อจำกัดในการเพิ่มคุณภาพผลิตภาพแรงงานที่จะเข้ามาทดแทนกำลังแรงงานที่ชะลอลงหลังจากที่ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 67-68 รวมทั้งต้องพิจารณาด้วยว่าแรงงานไทยส่วนใหญ่มีอายุมากการศึกษาต่ำและทำงานนอกระบบจึงเป็นข้อจำกัดในการยกระดับขีดความสามารถเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตของประเทศและการยกระดับคุณภาพชีวิต

นอกจากนี้แรงงานไทยยังอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบทั้งในด้านภาษาอังกฤษและความหลากหลายของภาษาที่ใช้ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 58 ซึ่งจากการจัดอันดับของสถาบันไอเอ็มดีพบว่าไทยถูกจัดในอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับต่ำมาก และต่ำกว่าเวียดนาม จึงเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไขเพิ่มความรู้ให้เป็น 2 เท่า และต้องสนับสนุนให้มีความรู้เรื่องภาษามาลายูกลาง ที่เชื่อว่าเมื่อเข้าสู่เออีซีแล้วภาษามาลายูกลางจะเป็นอีก 1 ภาษาที่นำมาใช้เป็นภาษาสากลด้วย

เดลินิวส์

taira 29-08-2012 07:59

ถ้าไม่อยากตกงานก็ไม่ต้องสมัครงานค่ะ 5555
ทำงานขายเองเลย อย่างจบศิลปกรรมมาก็ ประยุกต์ศิลปะให้ใช้สอยได้ อย่างเพ้นท์พวกเฟอร์นิเจอร์ เพ้นท์ผ้า ขายเลยฝีมือ+ความคิดสร้างสรรค์ ก้มีเงินใช้ได้นะจ๊ะ อย่าไปยึดติดกับการสมัครงาน

HulaHoopBoy 29-08-2012 09:09

อ้างอิง:

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ taira (??? 13263)
ถ้าไม่อยากตกงานก็ไม่ต้องสมัครงานค่ะ 5555
ทำงานขายเองเลย อย่างจบศิลปกรรมมาก็ ประยุกต์ศิลปะให้ใช้สอยได้ อย่างเพ้นท์พวกเฟอร์นิเจอร์ เพ้นท์ผ้า ขายเลยฝีมือ+ความคิดสร้างสรรค์ ก้มีเงินใช้ได้นะจ๊ะ อย่าไปยึดติดกับการสมัครงาน

ขอบคุณมากมากครับ(พี่)Taira ผมยังเรียนมหาวิทยาลัยก็เครียดๆเรื่องนี้เหมือนกัน

taira 29-08-2012 16:43

อ้างอิง:

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ HulaHoopBoy (??? 13264)
ขอบคุณมากมากครับ(พี่)Taira ผมยังเรียนมหาวิทยาลัยก็เครียดๆเรื่องนี้เหมือนกัน

เป็นกำลังใจให้จ๊ะ ไม่ต้องเครียดนะ ลองสมัครงานดูก่อนก็ได้เป็นประสบการณ์ ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ดี สมัยนี้ไม่มีใครรวยได้เพราะเป็นลูกจ้างนะ รวยเพราะอาชีพใหม่ๆแปลกๆ ทั้งนั้น เลย ขนาดนักร้องเกาหลีที่ดังๆอยู่ตอนนี้หล่อก็ไม่หล่อแถมอ้วนด้วย ดังได้ด้วยความแปลกของเค้า เลดี้กาก้าก็ดังด้วยความบ้าบิ่น เจ้าของเฟสบุค กูเกิ้ล บิลเกต สตีฟ จ๊อบ ก็รวยได้เพราะความกล้าคิดกล้าทำในเรื่องที่แปลกใหม่ เป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนเลยนะคะ:kiss:

พ่อวัวตัวน้อย 30-09-2012 21:17

คนที่หางานทำได้คือคนที่เรียนในสิ่งที่ตนชอบ แต่คนที่หางานทำไม่ได้เพราะเรียนมาในสิ่งที่ตนไม่ชอบหรือเรียนตามค่านิยม/ตามเพื่อน... ไม่ว่าจะจบคณะอะไรมา ผมว่าคนเราสามารถทำได้ทุกอย่างละครับถ้ามีความพยายาม

ผมรู้จักรุ่นพี่วิศวะคนหนึ่งตอนนี้อยู่ปี 4 แต่ว่าเคยทำงานมาเยอะมาก ทั้งขายของกับแอมเวย์ เป็นนักดนตรีตามบาร์หรือร้านเหล้า เป็นนักร้อง+แต่งเพลงเอง เป็นนักกิจกรรมมีค่ายผู้นำเป็นของตนเองสำหรับกลับไปสอนน้องๆที่โรงเรียนเก่าตนเอง และล่าสุดตอนนี้เปิดบริษัทเป็นไกด์นำเที่ยวด้วยเงินเก็บตัวเอง(เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย)
ปล.ขอย้ำว่าพี่เค้าเรียนวิศวะ

คุณลองดูมีงานส่วนไหนบอกว่าคุณต้องไปสมัครงานเป็นลูกน้องใครมั้ยครับ???

คุณเป็นได้ทุกสิ่งไม่ว่าคุณจะจบอะไรมา เพียงแต่คุณเคยคิดที่จะทำมันหรือเปล่า
อย่าเรียนตามเพื่อน อย่าเรียนตามค่านิยม อย่าเรียนเพราะพ่อแม่บังคับ ชีวิตเป็นของเราเองเราเท่านั้นเป็นผุ้กำหนด


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:17

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด


1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102