เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้ > ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ตอบ
อ่าน: 7570 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 09-09-2012   #1
Member
 
Air conditioner's Avatar
 
วันที่สมัคร: May 2012
ข้อความ: 54
ถ่ายทอดพลัง: 64
คะแนนหรอย: 30
Default บทบาทพี่ไทยในประชาคมอาเซียน ด้านสังคมและวัฒนธรรม

ไทยหรือพี่ไทยในประชาคมอาเซียน ทำไมต้องพี่ไทยไม่ไทยธรรมดา พี่ไทยนั้นเป็นออกตัวว่าเราไม่ใช่ประเทศธรรมดาเมื่ออยู่ในอาเซียน เพราะเราเป็นผู้นำพอสมควรเลยในอาเซียน และแน่นอนว่าเมื่อมีประชาคมอาเซียนเราก็จะไปยืนอยู่หัวแถวเช่นกัน ไม่ใช่ปลายแถวอย่างแน่นอนครับพี่น้องชาวหรอยกู พี่ไทยของเราจะมีบทบาทอะไรบ้างในประชาคมอาเซียนในเรื่องด้านสังคมและวัฒนธรรม ไปอ่านกันดู


ในด้านสังคมและวัฒนธรรม ประเทศไทยร่วมมือกับอาเซียนแต่แรกเริ่ม นับแต่วันประกาศปฏิญญากรุงเทพ ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยสนับสนุนให้อาเซียนสร้างความยุติธรรมและความมั่นคงทางสังคมคู่ขนานไปกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการคงอัตลักษณ์ประจำชาติไว้ขณะที่จะต้องร่วมมือกันสร้างอัตลักษณ์อาเซียน จึงได้มีความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรมในอาเซียนอย่างแข็งขันต่อเนื่องโดยตลอด การส่งเสริมการศึกษาเรื่องอาเซียน ประเทศไทยสนับสนุนมาแต่แรกเริ่มอาเซียน ดังปรากฏในปฏิญญากรุงเทพ ปี 1967/2510 มาในปี 1995 ครั้งที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ ปฏิญญาที่ประชุมสุดยอด 1995 ก็ประกาศว่า:



?อาเซียนจะต้องปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยกระบวนการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้บรรลุศักยภาพสูงสุด มีขีดความสามารถที่จะช่วยและสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคมในฐานะสมาชิกในสังคมที่มีผลงานและมีความรับรับผิดชอบ?

ประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียน เห็นว่าการศึกษา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนามนุษย์ ปฏิญญาที่ประชุมสุดยอด 1995 ประกาศว่า:

?อาเซียนจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลก เพื่อจะได้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าในเวทีเศรษฐกิจโลก?

อาเซียน จะต้องลงทุนในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ สร้างขีดความสามารถเชิงสถาบันเพื่อการศึกษา วิจัย ฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายสถาบันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทยสนับสนุนให้อาเซียนสร้างความตระหนักรู้ในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะในเหล่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อปลูกฝังสำนึกในเรื่องจิตวิญญาณและอัตลักษณ์อาเซียน ใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆผ่านสื่อมวลชน การสื่อสารอื่น ผ่านกระบวนการศึกษา และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในหมู่พลเมืองอาเซียน ประเทศไทยส่งเสริมเรื่องการศึกษาตามที่ประกาศในปฏิญญาที่ประชุมสุดยอดอาเซียนปี 1995 ต่อไปว่า อาเซียนจะต้องกำจัดการไม่รู้หนังสือให้หมดสิ้นไป และเดินหน้าสร้างสังคมที่มีการศึกษา มีความรอบรู้ดีกว่าเดิม ผ่านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาการศึกษาต่างๆ แบบสหสาขาวิชาการ และให้พลเมืองอาเซียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยทั่วหน้ากันเป็นอย่างน้อยในด้านศิลปะ และ วัฒนธรรม

ปฏิญญาจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯประกาศว่าอาเซียนจะต้องพยายามอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางศิลปะ และ วัฒนธรรม ให้เป็นส่วนแนบแน่นของชีวิต และจิตวิญญาณของอาเซียน เพื่อให้บรรลุซึ่งเป้าหมายนี้ อาเซียนจะต้องพยายามหล่อหลอมสรรค์สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ในค่านิยมและวัฒนธรรม ทั้งตามแบบดั้งเดิม และที่เป็นงานร่วมสมัยของอาเซียน ขณะที่ยังคงยอมรับความเหมือนกันและความแตกต่างกันของวัฒนธรรมประเพณี อันเป็นแหล่งสร้างสรรค์ศิลปะอันยิ่งใหญ่

จากปี 1967/2510 ปี่ที่ราชอาณาจักรไทยเชิญชวน 4 มิตรประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมก่อตั้งอาเซียน โดยการประชุมปรึกษาหารือ และลงนาม บนแผ่นดินไทย ถึงปี 2007 / 2550 รวมเวลา 40 ปีเต็ม ไทยไม่เคยลดราในความพยามร่วมกับมิตรประเทศอาเซียน สร้างอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นประชาคมหนึ่งเดียวกัน ให้เกิดความเจริญมั่งคั่ง สุขสมบูรณ์ สงบ สันติ สร้างชีวิตในประชาคมร่วมภูมิภาคเดียวกันให้เป็นสุขอย่างยั่งยืนสืบไป

สมเกียรติ อ่อนวิมล
เดลินิวส์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน




__________________
Air conditioner is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
ด้านสังคมและวัฒนธรรม, บทบาทพี่ไทยในประชาคมอาเซียน, ประชาคม, ประชาคมอาเซียน, อาเซียน
คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด