เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้ > วิธีและเทคนิค

ตอบ
อ่าน: 6960 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 15-06-2013   #1
Moderator
 
อับดุล's Avatar
 
วันที่สมัคร: Jan 2013
ข้อความ: 173
ถ่ายทอดพลัง: 1
คะแนนหรอย: 34
Default วิธีการทางประวัติศาสตร์ ย้อนรอยอารยธรรม

เคยไหมที่บางทีก็คิดว่า สมัยก่อนนี้คนอยู่กันลำบากเหมือนทุกวันนี้ไหม หรือความลำบากในสมัยนั้นอาจมากกว่าในด้านสาธารณูปโภค เพราะไฟฟ้าก็ยังไม่มี น้ำประปาก็ไม่มี แถมรถรารึก็ไม่มี จะมีก็เพียงเกวียน ช้าง ม้า ระบบระบอบต่าง ๆ ก็คงจะเข้มงวดกว่าสมัยนี้ แต่จิตใจหรือศีลธรรมอาจสูงกว่าคนสมัยนี้ก็เป็นได้ หากเราได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวตามอนุสรณ์สถานสมัยโบราณ เช่น อยุธยา ก็จะสัมผัสได้ถึงกลิ่นไอของอดีตที่เคยรุ่งเรือง ทั้งทางด้านศาสนา และชุมชน ช่างเป็นมนต์ที่ทำให้เราเคลิบเคลิ้มจริง ๆ จนบางครั้งอยากรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ว่าเป็นอย่างไร อิฐทุกก้อนคงจะมีที่มาที่ไป ผนังหิน และซากปรักหักพังก็คงเก็บความทรงจำของอดีตเอาไว้มากมาย

ประวัติศาสตร์คือ การศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของสังคมมนุษย์ในอดีต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาและยุคสมัยต่างๆกัน คุณค่าสำคัญของประวัติศาสตร์คืออดีตเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับปัจจุบันและอนาคต

ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ
ทศวรรษ หมายถึงรอบ 10 ปี ลงท้ายด้วย 0 ถึงศักราชที่ลงท้าย 9
- ทศวรรษ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ. 1990-1999
- ทศวรรษ 2540 ตามพุทธศักราช หมายถึง พ.ศ. 2540-2549
ศตวรรษ หมายถึง รอบ 100 ปี ลงท้ายด้วย 01 ไปถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 00
- คริสต์ศตวรรษที่ 1 หมายถึง ค.ศ. 1-100
- พุทธศตวรรษที่ 25 หมายถึง พ.ศ. 2401-2500
สหัสวรรษ สหัสวรรษที่ 3 ตามคริสต์ศักราชหมายถึง ค.ศ. 2001-3000
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการใช้คัวอักษรบันทึกบอกเรื่องราว การศึกษาสมัยก่อนต้องอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีเป็นหลัก
1. ยุคหิน
- ยุคหินเก่า ระหว่าง 500,000-10,000 ปีมาแล้ว ใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่หยาบๆ อาศัยตามถ้ำและเพิงผา ไม่มีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง

- ยุคหินกลาง ระหว่างประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว ใช้หินกะเทาะที่ทำประณีตขึ้น

- ยุคหินใหม่ ระหว่างประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว ใช้เครื่องมือหินขัด พัฒนาที่สำคัญที่สุดในยุคนี้ เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า เครื่องจักสาน
2. ยุคโลหะ
ยุคสำริด ระหว่าง 4,000-2,500 มาแล้ว รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับด้วยสำริด เป็นสังคมเกษตรกรรม ชุมชนขยายใหญ่ขึ้น
ระหว่างประมาณ 2,500-1,500 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักถลุงเหล็กและนำมาหล่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
สมัยประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ในสังคมมีการใช้ตัวอักษรบันทึกบอกเรื่องราว ทั้งนี้การมีตัวอักษรใช้ในแต่ละสังคมจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของสังคมอาจใช้หลักฐานทางโบราณคดีเป็นส่วนประกอบ แบ่งเป็นสมัยย่อยๆได้หลายแบบ
แบ่งตามราชธานี
ได้แก่ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
แบ่งตามราชวงศ์
เฉพาะในสมัยอยุธยา สมัยราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง
แบ่งตามพระนามพระมหากษัตริย์
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระนารายณ์มหาราช
แบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง
สมัยอยุธยาแบ่งตาม 3 ระยะคือ อยุธยาตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์ศก แบ่งได้ 3 ระยะคือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศ สมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แบ่งตามลักษณะการปกครอง
เช่น สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งย่อยตามลักษณะการปกครองเป็น 2 สมัยย่อย
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยประชาธิปไตย
แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากล ช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ตามหลักประวัติศาสตร์สากลนิยมแบ่งเป็นสมัยย่อย 4 สมัย คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบัน
วิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่
เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองการรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร

ขั้นที่ 3 การตรวจสอบประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด

ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้นที่ 5 การเรียบเรียงและการนำเสนอ
การเรียบเรียงคือ การนำข้อมูลที่ตีความมาแล้วสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน เพื่ออธิบายหรือตอบปัญหาที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ของกระบวนการทางประวัติศาสตร์ หลังจากนั้นจึงนำเสนอด้วยวิธีการที่เหมาะสม

ที่มา guru.google




อับดุล is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
ประวัติศาสตร์, วิธีการทางประวัติศาสตร์, วิธีการประวัติศาสตร์

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด