เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้ > วิธีและเทคนิค

ตอบ
อ่าน: 31255 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 25-07-2013   #1
Moderator
 
อับดุล's Avatar
 
วันที่สมัคร: Jan 2013
ข้อความ: 173
ถ่ายทอดพลัง: 1
คะแนนหรอย: 34
Default วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางและในขวดพลาสติก และเทคนิควิธีเอาต้นไม้ลงดิน

วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางและในขวดพลาสติก และเทคนิควิธีเอาต้นไม้ลงดิน คน อยู่คู่กับ ต้นไม้ มานานแสนนาน ต้นไม้ทำให้เราได้รับอากาศบริสุทธิ์ บางครั้งเราก็ทำที่อยู่อาศัยจากต้นไม้ อาหารก็มาจากพืชผัก วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางและในขวดพลาสติก และเทคนิควิธีเอาต้นไม้ลงดิน ยิ่งหากเราเป็นคนรักสุขภาพแล้วเวลาไปจ่ายตลาด เลือกซื้อผักสด ก็เกรงเรื่องสารพิษตกค้าง บางอารมณ์เราคงอยากปลูกเองให้รู้แล้วรู้รอด เพราะนอกจากประหยัดแล้วยังสะอาดอีกด้วย



อิงวิถีธรรมชาติและภูมิใจเพราะเราปลูกเองกับมือ การจะปลูกตรงไหนนั้น เราสามารถดัดแปลงวัสดุเหลือใช้ใกล้ตัวมาปลูกได้ นอกจากจะเป็นพืชผักสวนครัวแล้ว เราอาจประยุกต์ปลูกไม้ดอกน่ารัก ๆ และตกแต่งให้กลายเป็นมุมสวนสวยด้วยตัวเองที่บ้านได้อีกด้วย เรียกว่า ลงมือทำครั้งเดียวได้สองต่อเลย



ทำสวนกระถาง หรือกระบะ
ปลูก พริก ผักที่เราชอบกินประจำ เช่น
สะระแหน่ โหระพา กระเพรา ผักชี ใบหอม
ลงในกระถางหรือกระบะ
กระถางหรือกระบะ เราสามารถหาที่วาง
ไว้ทีระเบียงอพาร์ทเม้นท์ คอนโด
หรือข้างบันได ขอบระเบียง บ้าน

ปลูกต้นพริก
ขุดหลุมตื้นๆลึกประมาณ 1 นิ้ว แล้วหยอดเมล็ดพริกลงไป
กลบดิน แล้วก็รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอด...ก็เริ่มงอกมาให้เห็น
ส่วนพวกโหระพา กะเพราะ สะระแหน่
ก็ใช้ก้านที่เราเด็ดใบแล้วมาปัก
ตะไคร้นี่ง่ายสุดๆ แค่เอาต้นตะไคร้มาปัก(ด้านหัวลงดิน)
เผลอแป๊บเดียวจะเป็นกอ



การทำสวนครัวแขวน
คือการนำพืชผักสวนครัว เช่น
พริก ตะไคร้ มะกรูด ผักชีฝรั่ง
ต้นหอม เป็นต้น
มาดัดแปลงปลูกลงในวัสดุเหลือใช้
ในรูปแบบต่างๆ
ที่สามารถแขวนไว้แถวชายคา
หรือข้างๆ บ้านได้
ซึ่งนอกจากผู้ปลูกเลี้ยงจะได้ประโยชน์
คือสามารเก็บรับประทานได้แล้ว
ยังสามารถใช้ประดับประดาบ้านเรือน
ให้สวยงามแทนไม้ดอกไม้ประดับ
ทั่วไปได้อีกด้วย

ในการปลูกผักหรือพืช จำเป็นต้องมีดินหรือวัสดุให้ต้นพืชยึดเกาะ
รวมทั้งมีน้ำ แหล่งธาตุอาหารและสิ่งที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช
ซึ่งพิจารณาจากส่วนประกอบดังนี้

สภาพแสงและร่มเงา
มีความจำเป็นในขบวนการสังเคราะห์แสง
ของพืชเพื่อสร้างอาหาร
โดยทั่วไปแล้วอาจแบ่ง
ความต้องการแสง ในการปลูกผัก ดังนี้

- สภาพที่ไม่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
ควรปลูกพืชผักที่สามารถเจริญเติบโตในร่มได้
เช่น ต้นชะพลู สะระแหน่ ตะไคร้ โหระพา ขิง ข่า และกะเพรา เป็นต้น

- สภาพที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
ควรเลือกปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตได้ในแสงปกติ
เช่น ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดเขียว กวางตุ้ง พริกต่างๆ
ยกเว้น พริกขี้หนูสวน

ดินและธาตุอาหารพืช
ดินที่เหมาะสมแก่การปลูกผัก คือ ดินที่มีลักษณะร่วนซุย
ถ่ายเทอากาศได้ดี ระบายน้ำดี อุดมด้วยอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช

การปลูกผักในภาชนะ
ควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ

พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ
และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ
ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้
ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋
ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน
กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก
สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด)
พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)

วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว
เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น
สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี

- เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก
ซึ่งพืชที่ควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่
ผักบุ้งจีน - คะน้าจีน - ผักกาดขาวกวางตุ้ง - ผักชี - กุยฉ่าย
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง - ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน) - ตั้งโอ๋
ปวยเล้ง -ผักกาดหอม - ผักโขมจีน - ขึ้นฉ่าย - โหระพา - ผักชีฝรั่ง
กระเทียมใบ - หัวผักกาดแดง - กะเพรา - แมงลัก - หอมหัวใหญ่


- ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว ได้แก่
หอมแบ่ง (หัว) - ผักชีฝรั่ง - กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก)
หอมแดง (หัว) - บัวบก (ไหล) - ตะไคร้ (ต้น)
สะระแหน่ (ยอด) - ชะพลู (ต้น) - โหระพา (กิ่งอ่อน)
กุยช่าย (หัว) - กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) - แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)

20 Do & Don't : มือใหม่หัดปลูกต้นไม้

การปลูกต้นไม้ให้สวยงามต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งการสังเกตสิ่งต่าง ๆรอบตัวที่อาจมีผลกระทบต่อต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตที่ดี แข็งแรง และสามารถใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ตามต้องการ ครั้งนี้เรามีเรื่องน่ารู้สำหรับผู้เริ่มปลูกต้นไม้ เรื่องใดควรหรือไม่ควรทำ เทคนิคและขั้นตอนการปลูกที่พึงระวัง ติดตามข้อคิดดีๆ จาก คุณอุไร จิรมงคลการ บรรณาธิการหนังสือเล่ม สำนักพิมพ์บ้านและสวน เจ้าของผลงาน "หนังสือมือใหม่หัดปลูก" ที่จะช่วยให้การปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

การปลูก
1. เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกซื้อต้นไม้ ควรเลือกซื้อต้นที่แข็งแรง ไม่พบโรคหรือแมลงปะปน และควรสอบถามวิธีดูแลจากผู้ที่เชื่อถือได้ หรือหาความรู้จากหนังสือเพิ่มเติม เพื่อคุณจะได้รู้จักต้นไม้ที่กำลังจะปลูกให้ดีที่สุด

2. ควรรดน้ำต้นไม้ก่อนย้ายไปปลูก เพื่อให้ดินจับตัวเป็นก้อน ตุ้มดินไม่แตกง่าย และช่วยป้องกันรากขาด

3. ไม่ควรย้ายต้นไม้ในช่วงเช้า เพราะเมื่อแสงแดดร้อนมากขึ้นในช่วงกลางวันจะทำให้ต้นไม้มีการคายน้ำมาก อาจทำให้เหี่ยวเฉาได้ง่าย เวลาย้ายต้นไม้ที่ดีที่สุดควรเป็นช่วงบ่าย เพราะเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ใกล้ตก อุณหภูมิของอากาศจะค่อยลดต่ำลง ทำให้ต้นไม้ไม่ได้รับความร้อนต่อเนื่องเป็นเวลานานจนถึงรุ่งเช้า

4. ควรนำภาชนะดินเผาไปแช่น้ำก่อนนำไปปลูก เพื่อให้ภาชนะอิ่มตัว และไม่ดูดซับความชื้นออกจากวัสดุปลูก ส่วนภาชนะที่ทำจากไม้ เช่น กระเช้ากล้วยไม้ ควรนำไปแช่น้ำ และล้างหลาย ๆครั้ง เพื่อให้ยางของไม้หลุดออก เนื่องจากยางไม้อาจเป็นอันตรายต่อรากพืชได้

5. ไม่ควรนำวัสดุปลูกเก่าที่ผ่านการปลูกพืชมาใช้ซ้ำทันที ควรนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค และกำจัดแมลงต่าง ๆที่อาจปะปนอยู่ในดิน จากนั้นผสมอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพิ่มลงไปเพื่อชดเชยธาตุอาหารที่สูญเสียไป และปรับโครงสร้างวัสดุปลูกให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น

6. ไม่ควรนำปุ๋ยคอกซึ่งยังไม่ผ่านการย่อยสลายดีพอมาใช้ เนื่องจากกระบวนการย่อยสลายจะเกิดความร้อน ซึ่งเป็นอันตรายต่อรากพืช ปุ๋ยคอกที่ดีควรมีลักษณะร่วน แห้ง และไม่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง รวมไปถึงวัสดุปลูกที่มีปุ๋ยคอกผสมอยู่ หากซื้อมาใหม่ไม่ควรใช้ทันทีควรเปิดทิ้งไว้ในที่ร่มก่อนนำไปใช้

7. ต้นไม้บางชนิดต้องการช่วงแล้งเพื่อกระตุ้นให้ออกดอกจึงไม่ควรให้น้ำบ่อย เช่น ชวนชม เฟื่องฟ้า คูน เพราะจะทำให้ต้นไม้มีใบเขียวตลอด ออกดอกได้น้อย

การดูแลรักษา
8. ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ในช่วงกลางวันที่มีแสงแดดร้อน เนื่องจากภายในดินมีการสะสมความร้อนสูง การรดน้ำจะทำให้ดินคายความร้อนออกมาระอุภายในทรงพุ่มต้นไม้ อาจทำให้ต้นไม้เกิดการเหี่ยวเฉา หรือที่เรียกว่า "อาการตายนึ่ง" แต่หากจำเป็นควรใช้วิธีรดน้ำให้ชุ่มมาก ๆ จนเหมือนกับฝนตก เพื่อลดความร้อนที่สะสมอยู่ในดิน ทางที่ดีควรรดน้ำในช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงเย็น

9. ควรเปลี่ยนกระถางหรือนำต้นไม้ลงดิน เมื่อรากในกระถางเริ่มแน่น สังเกตได้จากรากพืชขึ้นมาอยู่บริเวณปากกระถางมากขึ้น หรือมีรากแทงทะลุออกมา และควรผสมวัสดุปลูกให้มีความโปร่งเพื่อให้รากชอนไชได้ดี แต่หากต้องการปลูกต้นไม้ในกระถางเดิม ควรดูแลด้วยการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่ม และเติมวัสดุปลูกใหม่เพิ่มลงไป

10. หลังจากต้นไม้ออกดอกหรือผล ควรตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบำรุงต้น เพื่อให้ต้นมีการสะสมอาหารใหม่ และแตกกิ่งชุดต่อไป

11. ไม่ควรนำกิ่งที่เกิดโรค หรือแมลงไปทิ้งในบริเวณที่ปลูกต้นไม้ ควรนำไปเผาทำลายให้ไกลจากต้นเดิม หากพบศัตรูพืชระบาดมาก อาจใช้สารกำจัดศัตรูพืชฉีดทำลาย และควรฉีดพ่นในช่วงเช้า

12. เมื่อดินปลูกไม้น้ำเริ่มเป็นเลนควรเปลี่ยนดินใหม่ และหากน้ำขุ่นให้ใช้วิธีโรยทรายทับบาง ๆบนผิวดิน

การขยายพันธุ์
13. ไม่ควรซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านที่วางซองเมล็ดไว้ในบริเวณที่แสงแดดส่องโดยตรง เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของเมล็ด ควรสังเกตวันที่ผลิตและหมดอายุ ยิ่งผลิตมานานเปอร์เซ็นต์การงอกก็จะลดลงตามไปด้วย

14. ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เหลือจากการปลูกในซองกระดาษ และใส่กล่องพลาสติกเก็บในช่องผักในตู้เย็น เพื่อเก็บรักษาคุณภาพของเมล็ด

15. ควรเลือกเก็บเมล็ดพืชที่แก่จัด นำมาทำความสะอาด และรีบนำไปเพาะทันที เพราะหากเก็บไว้นานจะมีผลทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลง

16. เมล็ดที่มีขนาดเล็กมาก ก่อนนำไปปลูกควรผสมทรายเพื่อให้หว่านเมล็ดได้ง่าย และกระจายได้ทั่วแปลง แต่หากต้นกล้าขึ้นเบียดกันแน่น ควรถอนออกเพื่อให้มีพื้นที่ในการเจริญเติบโตได้มากขึ้น

17. ควรตัดกิ่งชำให้เฉียง 45 องศา หรือบากโคนกิ่งให้เป็นรอยสั้น ๆ ในแนวตั้งเพื่อเพิ่มพื้นที่การเกิดราก สำหรับพืชที่มียางควรผึ่งให้ยางแห้งก่อนนำไปปลูก สิ่งที่ต้องระวังคือควรใช้มีดหรือกรรไกรที่คม เพื่อไม่ให้แผลช้ำ และริดใบออกบางส่วนเพื่อลดการคายน้ำ

18. ควรเลือกกิ่งที่มีลักษณะกึ่งอ่อนกึ่งแก่มาปักชำ สังเกตได้จากกิ่งที่มีสีน้ำตาลปนเขียว สำหรับไม้เนื้อแข็งบางชนิดที่ออกรากยาก ควรทาฮอร์โมนเร่งรากบริเวณรอยตัดเพื่อกระตุ้นให้แตกรากได้ง่ายขึ้น

19. ควรรดสารป้องกันเชื้อราเมื่อเพาะเมล็ดพืชในหน้าฝน และคลุมตาข่ายเพื่อป้องกันนก หนู ตั๊กแตนที่จะกินเมล็ดหรือยอดอ่อนต้นไม้ในช่วงที่ต้นไม้เริ่มงอก

20. ไม้หัวมักจะพักตัวในฤดูหนาว สังเกตได้จากใบเริ่มฟุบ ช่วงนี้จึงควรงดน้ำหรือขุดหัวมาเก็บ โดยล้างและนำไปชุบสารป้องกันเชื้อรา ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ที่สำคัญควรระวังมด และเพลี้ยดูดน้ำเลี้ยง ซึ่งจะทำให้หัวฝ่อ และไม่สมบูรณ์
ที่มาจาก : บ้านและสวน

ที่มา arunsawat.com




อับดุล is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
และเทคนิควิธีเอาต้นไม้ลงดิน, และในขวดพลาสติก, วิธี ปลูกต้นไม้ในขวดพลาสติก, วิธีปลูกต้นไม้ในกระถาง

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด