เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > RoiGOo City > หรอยกูคาเฟ่

ตอบ
อ่าน: 1420 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 05-04-2012   #1
Member
 
เติ้ล's Avatar
 
วันที่สมัคร: Oct 2011
ข้อความ: 51
บล็อก: 1
ถ่ายทอดพลัง: 6
คะแนนหรอย: 27
Send a message via Skype™ to เติ้ล
Default เทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนสภาพดาวเคราะห์ กับพล็อตนิยายวิทยาศาสตร์

เมื่อไม่นานมานี้ ผมเบื่อๆขึ้นมาลองค้นเว็บเกี่ยวกับ terraforming ดู

เว็บเหล่านั้นมีการพูดถึงความเป็นไปได้ และเทคโนโลยีที่ต้องการ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพดาวเคราะห์ให้เหมือนกับโลก ในหลายเว็บเหล่านี้ เว็บที่เสนอรายละเอียดทางเทคนิคก็มีมากมาย ผมเลยลองเลือกมาสักสองเว็บ ซึ่งสามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์พวกนี้ครับ
Technological Requirements for Terraforming Mars
http://www.geocities.com/alt_cosmos/

จากเว็บเหล่านี้ทำให้ผมคิดถึงนิยายวิทยาศาสตร์ชุดหนึ่งที่ผมพยายามอดใจจนได้เล่มมือสอง ครบไตรภาคเมื่อไม่นานมานี้ นั่นคือชุด Mars Trilogy ของ Kim Stanley Robinson ซึ่งประกอบด้วย Red Mars(ได้รับรางวัลเนบิวลา), Green Mars(เข้ารอบสุดท้ายของรางวัลฮิวโก), และ Blue Marsเล่มสุดท้ายในชุดไตรภาค ที่ผู้ประพันธ์ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ในการเขียนถึงสิบเจ็ดปี

ในเล่ม(ผมยังไม่ได้อ่าน) พลิกคร่าวๆมีกล่าวถึงช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงของแต่ละยุค ตั้งแต่ยุคบุกเบิกจนกระทั่งยุคที่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติซ้ำรอย เมื่อชาวอาณานิคม เกิดขัดแย้งทางการเมืองกับโลกจนมีการเรียกร้องเอกราช เช่นเดียวกับโลกในสมัยบุกเบิก
อเมริกานั่นเอง

แต่ในทางเทคนิคนั้นเล่า เราจะเปลี่ยนสภาพของดาวเคราะห์(Terraform) ดาวที่แห้งแล้ง มีบรรยากาศเบาบาง มีความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา และการเปลี่ยนแปลงสภาพภายในดาวเพียงเล็กน้อย จนเกือบปราศจากสนามแม่เหล็ก(magnetosphere) ที่ห่อหุ้มดาวอยู่ให้พ้นจากลมสุริยะ และรังสีต่างๆจากดวงอาทิตย์ได้อย่างไร

ในเปเปอร์ที่อยู่ในเว็บไซต์นี้นั้น การเปลี่ยนสภาพดาวเคราะห์แดงดวงนี้สามารถกระทำได้ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุจำพวกไมลาร์เคลือบผิวด้วยอลูมิเนียม ที่ใช้ทำเรือใบอวกาศ ที่นาซาเคยทดสอบไปเมื่อไม่นานมานี้ ร่วมกับการใช้อุกกาบาตที่มีแอมโมเนียอยู่มากในการบอมบาร์ดพื้นผิวดาว ซึ่งได้ประโยชน์สองต่อนั่นคือ นอกจากเพิ่มก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ในการตกกระทบของวัตถุไปเป็นความร้อนเพิ่มอุณหภูมิให้กับผิวดาวอีกด้วย ไปจนถึงการสร้างก๊าซเรือนกระจกจำพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอน แต่จะต้องมีอัตราส่วนของคลอรีนน้อยลง หากต้องการสัดส่วนของก๊าซผสมที่พอดีสำหรับการก่อให้เกิดโอโซน

แต่แน่นอนว่าเราไม่สามารถกักเก็บก๊าซพวกนี้ได้บนดาวเคราะห์ที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำได้ โดยมันจะค่อยๆหลุดออกไปในอวกาศ เนื่องจากความเร็วหลุดพ้นบนดาวเคราะห์แดงดวงนี้มีค่าน้อยนั่นเอง ซึ่งอาจจะต้องมีการคิดกันต่อไปว่าเราจะหาทางกักเก็บก๊าซในบรรยากาศภายหลังเทอร์ราฟอร์ม ไม่ให้เสียไปได้อย่างไร หรือจะทำอย่างไรให้มีการป้อนก๊าซให้กับบรรยากาศอย่างต่อเนื่องให้พอดีกับที่มีการสูญเสียไป

ในความคิดของผม พล็อตที่น่าสนใจนำมาเล่น ได้แก่

- อุบัติเหตุในการนำส่งอุกกาบาต หรือเศษชิ้นส่วนดาวหางพวกนั้น ซึ่งมีความเสี่ยงสูง
- โรคระบาดจากการที่นาซ่านำเศษชิ้นส่วนก้อนหินจากดาวอังคารที่(อาจจะ)มีจุลินทรีย์ก่อโรคติดอยู่ กลับมาวิเคราะห์บนโลกในปี 2008 ? 2010
- เครื่องสร้างสนามแม่เหล็กเทียมให้กับดาวเคราะห์ดวงนี้
- การสร้าง ?หลังคา? ให้กับดาวอังคาร(สร้างทรงกลมวัสดุใสน้ำหนักเบา ป้องกันก๊าซระเหยจากผิวดาว) ด้วยเทคโนโลยีที่ดูจะเหนือกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบัน แต่อาจจะพัฒนาต่อให้เป็น Dyson Sphere ได้
- พล็อตเกี่ยวกับการค้นพบร่องรอยอารยธรรมบนผิวดาว(พล็อตนี้เก่าแล้ว ถ้าจะนำมาใช้ต้องระวัง)
- ระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก(Inter-Planetary Network)ระหว่างอาณานิคม และผลกระทบต่อมนุษย์ชาวอาณานิคม กับมนุษย์โลก ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง อารมณ์ และสังคม แน่นอนว่า อินเตอร์เน็ตยุคปัจจุบันในตอนนั้น คงกลายเป็นตำนานเล่าขานแบบเดียวกับอาร์พาเน็ต และ BBS ไปแล้ว

ใครนึกอะไรน่าสนใจออกก็นำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ




__________________
มีดาวเป็นล้านเอเลี่ยนเป็นร้อย
เติ้ล is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
กับพล็อตนิยายวิทยาศาสตร์

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด