ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 17-08-2012   #2
Air conditioner
Member
 
Air conditioner's Avatar
 
วันที่สมัคร: May 2012
ข้อความ: 54
ถ่ายทอดพลัง: 64
คะแนนหรอย: 30
Default

ประชาคมอาเซียน : เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง
โดย : ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร



อีกประมาณ 3 ปีข้างหน้าคือ ปี พ.ศ. 2558 อาเซียนก็จะเพิ่มระดับความเชื่อมโยงกันให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ที่เรียกว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


หรือ ?Asean Economic Community? ซึ่งนับเป็นความร่วมมือกันที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งถ้าหากดำเนินการได้สำเร็จก็จะทำให้เกิดตลาดเดียวในลักษณะที่คล้ายคลึง กันกับสหภาพยุโรป แต่ประชาคมอาเซียนยังไม่ก้าวไกลไปถึงขึ้นการใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะการจะใช้เงินร่วมเป็นเงินสกุลเดียวกันได้นั้นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ดุลการคลัง ดุลบัญชีเดินสะพัด หรือเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ต้องใกล้เคียงกัน เพราะมิฉะนั้นแล้วก็อาจจะเกิดปัญหาได้ ดังเช่น ในกรณีของประชาคมยุโรป

ความเป็นตลาดเดียวกันของอาเซียนคือ จะให้มีการเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และแรงงานมีฝีมือ อย่างเสรี ตลอดจนการเคลื่อนย้ายของเงินทุนที่จะเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้นภายในปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาที่ผ่อนปรนสำหรับประเทศที่ยังไม่พร้อม คือกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา การเป็นตลาดเดียวกันของอาเซียนจึงเป็นทั้งโอกาสและเป็นความเสี่ยงที่ผู้ ประกอบการตลอดจนประชาชนไทยเองต้องวางแผนในการรองรับ ที่พูดถึงกันมากคือเรื่องของภาษาอังกฤษ คงจะไม่ใช่มิติของเรื่องภาษาอย่างเดียว เพียงแต่ภาษาเป็นพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับการใช้สื่อสารระหว่างกัน ประกอบกับจุดอ่อนประการหนึ่งของคนไทยคือเรื่องภาษา โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือ ฟิลิปปินส์

นอกจากเรื่องภาษาแล้วก็คงจะต้องคำนึงถึงระดับขีดความแข่งขันในการประกอบ ธุรกิจ ที่ต้องประกอบไปด้วยหลายปัจจัยนับตั้งแต่ ปัจจัยการผลิตหลัก ได้แก่ แรงงาน ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ ยังมีโครงสร้างพื้นฐานประเภทสาธารณูปโภค ไปจนถึงโครงสร้างอัตราภาษีต่างๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีนิติบุคคล ที่จะต้องได้รับการดูแล

จุดแข็งของอาเซียน

(1) จำนวนประชากรสูงถึง 574 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 9 ของประชากรโลก และยังนับเป็นกลุ่มที่มีประชากรที่มีอายุน้อย ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 37 ของประชากรจะมีอายุน้อยกว่า 20 ปี ทำให้จะมีแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณปีละประมาณ 56 ล้านคน

(2) ขนาดของเศรษฐกิจที่วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่มีรวมกัน 1.719 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 2% ของ GDP รวมของโลก

(3) อาเซียนเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและรวดเร็ว ทั้งนี้โดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มอาเซียนมีอัตราการเติบโตได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 ต่อปีในสองทศวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ๆ ถึง 2 ครั้ง (วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี ค.ศ. 1997-98 และวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2008)

สำหรับปัจจัยท้าทายและข้อจำกัดของอาเซียน ก็คือ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศมีความแตกต่างกันมาก ในมิติของระดับการพัฒนาที่รายได้ต่อหัวของประชากรที่มีความแตกต่างกันมาก นับตั้งแต่ สิงคโปร์ บรูไน ที่มีรายได้ต่อหัวสูงระดับต้นๆ ของโลกและระดับต่ำของโลก เช่นกัมพูชา และพม่า ที่มีความจำเป็นที่จะต้องลดช่องว่างของความแตกต่างนี้ลงให้ได้โดยเร็ว

__________________

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Air conditioner : 17-08-2012 เมื่อ 16:34
Air conditioner is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102