ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 17-08-2012   #5
Air conditioner
Member
 
Air conditioner's Avatar
 
วันที่สมัคร: May 2012
ข้อความ: 54
ถ่ายทอดพลัง: 64
คะแนนหรอย: 30
Default

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ?ไทย? เสียเปรียบมหันต์ หากไม่เร่งปรับโครงสร้างรองรับ

โดย : ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าว




ทุกวันนี้หากไม่พูดถึงคำว่า ?ประชาคมอาเซียน? เห็นทีคงจะไม่ได้ เพราะกระแสนี้กำลังเป็นเทรนด์มาแรงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะที่ไหน วงการใด




ก็มีอันปรากฏคำนี้กัน แล้ว แต่ทว่าความเข้าใจในความเป็น ประชาคมอาเซียน ของประชาชนคนทั่วไป แท้จริงแล้วมันคืออะไร มันคือการรวมกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจใช่หรือไม่ หรือ การรวมกลุ่มกันเพื่ออำนาจประโยชน์อันใดอันหนึ่ง ตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องอธิบายกันพอสมควร แต่ในฐานะที่ประเทศไทย เป็นประเทศสมาชิก 1 ใน 10 ประเทศ และ เป็นประเทศแรกๆ ที่ทำการผลักดันการรวมกลุ่มนี้ จะได้ประโยชน์ หรือ เสียเปรียบ อะไรบ้าง และมาถึงตรงนี้มีเวลาอีก 3 ปี ที่จะประกาศอย่างเป็นทางการ ไทยมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในส่วนของความพร้อมนี่แหละจะเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะตอบว่า ประเทศไทยจะเสียเปรียบ หรือ ได้ประโยชน์อะไร จากการเข้าเป็นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน

ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังการปาฐกถา ของ ดร.สารสิน วีระผล และ อาจารย์ ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล ผู้เป็นกูรูในด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้ที่มีส่วนผลักดันการก่อเกิด ?การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน? ตั้งแต่ต้น ในงานครบรอบการสถาปนา 20 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หัวข้อ ?การรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : ผลกระทบทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อประเทศไทยและอาเซียน (ศึกษาเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป,EU)? ซึ่งเป็นข้อคิด สะท้อนมุมมองจนสามารถมองเห็นอนาคตข้างหน้าของประเทศไทยอย่างน่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมดังกล่าว ตลอดจนแนวโน้มความได้เปรียบเสียเปรียบของประเทศไทยต่อกรณีนี้ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า หลักการของการรวมตัวกันในกลุ่มประชาคมอาเซียน ในทางทฤษฎีเป็นเรื่องที่ดี แต่ในทางปฏิบัติขณะนี้นั้น ประเทศไทยจะต้องปรับตัวอีกมาก เพราะจากการที่องค์กรกลางสำรวจมานั้น ณ ปัจจุบันคนในประเทศไทยมีการรับรู้เรื่องอาเซียนอยู่ในลำดับที่ 8 จาก 10 ประเทศ เกือบท้ายสุด นอกจากนี้ยังไม่เห็นท่าทีของการปรับโครงสร้างต่างๆ เพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมนี้ จากหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนของรัฐบาล

ขณะนี้ภาครัฐมอง และบอกเพียงว่า ประเทศไทยจะขายของได้มากขึ้น ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้องมีการวางแผนอย่างชัดเจนและรัดกุม ต้องมามองว่าเรายังไม่มีความพร้อมตรงไหนบ้าง และเราจะต้องปรับกลยุทธ์รูปแบบไหนบ้างที่จะเข้าไปหยิบฉวยประโยชน์ หรือ กรณีที่ไม่ได้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มแต่ประชาชนหรือประเทศชาติก็ไม่เสียหาย แต่หากไม่พิจารณาและสร้างแนวทางรองรับให้พร้อมแล้ว แน่นอนจะเกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงในอนาคต เช่น ภาคการเกษตรซึ่งขณะนี้ภาคการผลิตค่อนข้างอ่อนไหวมาก เนื่องจากโครงสร้างเกษตรกรที่มีอายุมาก การทำนาข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ซึ่งเกษตรกรเอง และผู้ประกอบการจำนวนมากกำลังย่ำแย่อยู่แล้ว ไหนจะต้องมาประสบกับปัญหาการแข่งขันที่มากขึ้น จากการแข่งขันซึ่งเป็นลักษณะการแข่งขันกันบนพื้นฐานความเป็นจริง จะเกิดปัญหา เช่น การถูกคนพ่อค้ากลางบีบกดราคา เช่นเดียวกันยังไม่เห็นการกระตือรือร้นในการปรับโครงสร้างดังกล่าวอะไรเลย ภาคอื่นๆ ที่จะรองรับการไหลบ่าของระบบทุน ระบบการเงิน กิจการอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดไปถึงด้านโทรคมนาคม ฯลฯ

ปัจจุบันนี้การแข่งขันเป็นระบบการแข่งขันกันในแกนโลกที่ 3 และอาเซียนจะเป็นแหล่งที่นักลงทุนเข้ามาลงทุนมาก เพราะฐานความน่าจะเป็นที่มีมาก การปรับตัวที่ดีกว่า แน่นอนหลังเกิดการรวมกลุ่มแล้วจะมีการเข้ามาลงทุนจำนวนมาก ถามว่าไทยมีการวางแผนรับมือหรือการเข้าไปลงทุนในประเทศอื่นๆ หรือไม่ ขณะนี้มีหลายประเทศเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตรงนี้เรามองถึงการค้าการลงทุน อย่างไรในบริบทอาเซียน คนของประเทศไทยมีความสามารถ ทักษะ ฝีมือ เพียงหรือไม่ กลไกทางการตลาด ผู้ประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กหากไม่มีการปรับตัว ก็จะลำบาก ความรู้ของประชาชน รวมถึงตัวกฎหมายต่างๆ เรามีการพิจารณารองรับแล้วหรือไม่

สำหรับประเด็นที่จะต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน (ยังไม่สาย) มีอยู่ 7 ประการ ประกอบด้วย 1.สถานภาพทางด้านการเมือง เนื่องจากความมั่นคงของประเทศ เช่น เรื่องปราสาทเขาพระวิหาร สะท้อนให้ความไม่พร้อมทางด้านจิตใจเป็นปัญหาหลักที่น่าคิด เรื่องความขัดแย้งทางการเมือง หากยังไม่ทำให้มีเสถียรภาพ จะทำให้เกิดความเสียเปรียบในเชิงกลยุทธ์ได้ ฯลฯ 2.ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องรู้และเข้าใจและมีมาตรการเชิงรุกเข้าไปในประเทศอื่นด้วย ไม่ใช่รอรับให้เขาเข้ามาลงทุนอย่างเดียว และจะมีการปรับโครงสร้าง กลไกอย่างไร ให้มีสิ่งเอื้ออำนวย ระบบการพัฒนาการขนส่ง (Logistic) ระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีภูมิคุ้มกันในภาคการเงิน การลงทุนของประเทศอย่างไรเพื่อป้องกันการเข้ามาทุบตีแล้วจากไปของต่างชาติ และ จะต้องมีการปรับโครงสร้างระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก แบบรวดเร็วทันที (Real Time) 3. ด้านสังคมวิทยา วัฒนธรรม ต้องเข้าถึงวิถีชีวิตของคนแต่ละประเทศ เข้าใจถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญไม่น้อย เนื่องจากหากดำเนินการลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผิดขนบธรรมเนียมประเพณี ปฏิบัติ อาจสร้างความไม่พอใจ และเสื่อมเสียถึงประเทศชาติได้

4.ด้านเทคโนโลยี จะต้องมีการปรับโครงสร้างเรื่องนี้อย่างชัดเจน ทุกระบบ ไม่เช่นนั้นจะเสียเปรียบ และเสียหาย ยกตัวอย่างง่ายๆ กรณีการทำเกษตรกรรม หากเรามัวแต่ผลิตด้วยกำลังคน ขณะที่ประเทศอื่น ทำการศึกษา คิดค้นด้านการผลิตโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มกำลังการผลิต สร้างมูลค่าให้กับราคาสินค้า 5.ด้านกฎหมาย เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องละเลยไม่ได้ นอกจากจะเป็นมาตรการการเข้ามาของต่างประเทศแล้ว ยังมีส่วนช่วยเอื้อคนไทยในการดำเนินการต่างๆ กับต่างประเทศ เช่น เรื่องภาษี สิทธิประโยชน์ต่าง สวัสดิการ สวัสดิภาพ ความมั่นคง หลักประกัน เป็นต้น

6.ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้ก็ต้องมีการปรับโครงสร้างที่ชัดเจนรองรับ เนื่องจากเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญ การดำเนินการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งต้องคำนึงและมีแผนโครงสร้างที่ชัดเจน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจนสูญสิ้น และ 7.เรื่องการศึกษาของประชาชน ตรงนี้หากประชาชนอยู่ในประเทศไม่มีความรู้ที่ดีพอไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ภูมิรู้ของประชาชนเกี่ยวกับบริบทอาเซียนทั้งหมด รู้และเข้าใจถึง มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฯ รู้เรื่องภาษา วัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศสมาชิกด้วยกัน หากละเลยสิ่งเหล่านี้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจำต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน และแยบยล เพราะในเวลาอันน้อยนิด ขณะที่ความพร้อมเรื่องเหล่านี้ ยังมีให้เห็นอยู่น้อยมาก ไม่แน่ใจว่ารัฐบาล ผู้บริหาร ตลอดถึงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนให้เข้าไปสร้างความอยู่ดีกินดี มีสุขให้กับประชาชนเอง ได้ตระหนักคิดเกี่ยวกับความพร้อมตรงนี้หรือไม่ หรือแค่เล่มเกมอำนาจการเมือง มัวคิดที่จะแก้ หรือไม่แก้ มาตรา 112 คิดแต่จะเยียวยาคนเจ็บตายจากฝีมือเหล่าการเมือง หรือคิดแต่สร้างระบบประชานิยมแบบมั่วๆ ไม่ทั่วถึง ฯลฯ ถ้าเป็นอย่างนี้ละก็จะเป็นเรื่องเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ แทนที่ประเทศไทยจะได้เปรียบต่อกรณีการรวมกลุ่มที่ว่านี้ กลับกลายเป็นถูกกลืนกินในที่สุด ไม่แตกต่างจากกรณีการเปิดรับระบบทุนนิยม จักรวรรดินิยม จากตะวันตกเข้ามา

ก่อนปี ค.ศ. 1967 ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน ครั้งหนึ่งไทยเคยมีบทบาทแกนหลักในการรวมกลุ่มประชาชนอาเซียน เพราะฉะนั้นแล้วไม่มีเหตุผลใดที่ประเทศไทยจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกไม่ได้ หากทุกคน ทุกหน่วยตระหนักและวางแผนปรับโครงสร้างรองรับ มียุทธศาสตร์เชิงรุกชิงความได้เปรียบอย่างเป็นระบบ

__________________
Air conditioner is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102