ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 17-08-2012   #7
Air conditioner
Member
 
Air conditioner's Avatar
 
วันที่สมัคร: May 2012
ข้อความ: 54
ถ่ายทอดพลัง: 64
คะแนนหรอย: 30
Default

วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 13:35
เชลล์รุกกัมพูชา-พม่ารับประชาคมอาเซียน



"เชลล์ "เล็งลงทุนใหม่ในพม่า-กัมพูชาหลังเปิด AEC พร้อมแนะไทยเร่งพัฒนาทักษะทางภาษา ย้ำเสียเปรียบชาติอื่น


พร้อมเสนอรัฐตั้งหน่วยงานกลางดูแลเอทานอล-ไบโอดีเซลทั้งกระบวนการผลิต ยกระดับไทยเป็นฮับเชื้อเพลิงชีวภาพของอาเซียน


วันนี้หากธุรกิจใดไม่พูดถึงความเคลื่อนไหวของ 10 ชาติอาเซียน ที่รวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC ) ที่จะมีผลจริงจังในวันที่1 ม.ค. 2558 เห็นจะตกยุค เพราะเวลาที่เหลือไม่มาก ทำให้ทุกภาคส่วนกำลังนับถอยหลัง


เชลล์ ธุรกิจน้ำมันข้ามชาติที่มีฐานการการลงทุนทั่วโลก รวมถึงในไทยและประเทศอื่นๆในอาเซียน มองสถานการณ์นี้เป็นโอกาสที่จะเป็น One Asean , One Shell แบบคู่ขนาน
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ให้สัมภาษณ์กับ"กรุงเทพธุรกิจอาเซียนพลัส" ว่า เชลล์มอง AEC เป็นโอกาสของประเทศอาเซียนควบคู่ไปกับโอกาสของเชลล์ เพราะขนาดของตลาดที่ใหญ่ขึ้นและหากรวมจีน หรืออินเดียในภาคีความร่วมมือนี้ด้วย ก็จะกลายเป็นตลาดอันดับ 1 ในโลกแทนที่ตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป และส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียโดดเด่น และแข็งแกร่ง


เชลล์มอง ไทยเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญของอาเซียน ดังนั้นหากจะนำเสนอเทคโนโลยีน้ำมันใหม่ๆ ไทยจะเป็นประเทศแรกๆที่จะนำเข้ามาทำตลาด จากนั้นจึงจะกระจายออกไปในประเทศเครือข่ายต่างๆ
นอกจากตลาดที่เปิดกว้างแล้ว การเปิด AEC ยังเอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ ที่เข้ามารองรับจากการคลายกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก ของประเทศในอาเซียน ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการขนส่งมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
อย่างไรก็ตามการเป็นตลาดเดียวของอาเซียนนั้น ต้องใช้เวลาในการเดินทางพอสมควร โดยจะไม่ได้เห็นภาพว่าเมื่อถึงปี 2558 ทุกอย่างจะเปิดเสรีได้ทั้งหมด เพียงแต่ปี 2558 จะเป็นตัวตั้งต้น


จี้ปลดล็อกกฎขวางการค้า
นางพิศวรรณ เสนอว่า เหลือเวลาไม่มากนัก ดังนั้นควรมีการเร่งปลดล็อกกฎระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญก่อน โดยเฉพาะเรื่องของการจัดพิกัดสินค้าของแต่ละประเทศให้ตรงกัน โดยหากพูดถึงพิกัดใดต้องหมายถึงสินค้าที่เหมือนกันในทุกๆประเทศ และปลดล็อกข้อจำกัดในเรื่องความลักลั่นของภาษีของประเทศต่างๆ รวมถึงการแก้ไขกฎระเบียบที่ยุ่งยากในการนำเข้าส่งออกภายในอาเซียน และเมื่อเรื่องหลักๆคลี่คลายไปแล้ว จึงมาดูเรื่องรายละเอียด


"มองว่าการเคลื่อนตัวของภาครัฐต่อ AEC ช้าเกินไป เพราะเหลือเวลา 3 ปีเท่านั้น และ มีเรื่องที่ต้องทำพอสมควร ดังนั้น 3 ปีจากนี้ ควรต้องจัดลำดับความสำคัญว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง และโฟกัสเรื่องหลักก่อน เช่น กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่างๆ ไม่เช่นนั้นเราจะเสียโอกาส"นางพิศวรรณ กล่าว


เล็งเข้าลงทุนพม่า-กัมพูชา
เมื่อสแกนประเทศต่างๆในอาเซียนแล้ว พิศวรรณ บอกว่า พม่าและกัมพูชา เป็นประเทศที่เชลล์จับตาใกล้ชิด เพื่อมองหาโอกาสใหม่ในการลงทุน จากปัจจุบันที่เชลล์ไม่มีการลงทุนในสองประเทศนี้เลย
ในส่วนของพม่า นับเป็นประเทศมีศักยภาพมาก แต่มีข้อจำกัดที่ยังถูกคว่ำบาตร เนื่องจากหลายประเทศยังกังวลในเรื่องสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้จะต้องติดตามดูการพัฒนาประเทศพม่า ว่าจะไปในทิศทางที่ทำเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือไม่ และเมื่อหลายๆประเทศ พร้อมถอดพม่าออกจากบัญชีประเทศที่ถูกคว่ำบาตร เชลล์ก็ พร้อมจะเข้าไปลงทุน ซึ่งโอกาสในการทำลงทุนในพม่ามีหลายธุรกิจ ทั้งขุดเจาะสำรวจ ขายปลีกส่ง และบริการ ส่วนกัมพูชา เป็นตลาดที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน แต่ยังไมได้โฟกัสอย่างจริงจังมากนัก


สำหรับโอกาสของไทยหลังเปิด AEC นั้น พิศวรรณ บอกว่า ภูมิศาสตร์ที่ตั้งประเทศของเราได้เปรียบที่จะเป็นยุทธศาสตร์ และเป็น Hub ได้ในหลายธุรกิจ เช่น Hub การท่องเที่ยว เพราะปัจจุบันไทยเป็นศูนย์กลางการบินอยู่แล้ว จากการที่มีจำนวนสายการบินเข้ามามากที่สุดเมื่อเทียบประเทศอื่นในอาเซียน รวมถึงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่พร้อม และสามารถเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ต่างๆได้เป็นอย่างดี


อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ ทักษะทางภาษาของคนไทย เนื่องจากการขาดทักษะในเรื่องนี้ ทำให้เสียเปรียบชาติอื่นที่มีความพร้อมในเรื่องภาษามากกว่า เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รวมถึงจีน ทั้งที่คนไทยมีฝีมือ และมีวินัยในการทำงานสูง ดังนั้นรัฐจะต้องเป็นหลักในการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาครูให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษา เพื่อนำไปสอนเยาวชนต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นทางเลือกในการเป็น Hub ทางด้านบุคลากรของอาเซียน


มั่นใจไทยฮับพลังงานภูมิภาค
สำหรับกิจการพลังงาน นั้น พิศวรรณ มองว่า ไทยเป็น Hub ได้เช่นเดียวกัน เพราะมีความโดดเด่นในการเป็นผู้นำเสนอนโยบายพลังงาน และที่ก้าวหน้ามากที่สุดในเอเชียก็คือ ?เชื้อเพลิงชีวภาพ ? รวมถึงเป็นประเทศที่ตื่นตัวในเรื่องเรื่องสิ่งแวดล้อม และการลดก๊าซเรือนกระจก
นอกจากนี้ไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีศักยภาพของวัตถุดิบในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะเอทานอลที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่น แต่การที่เราจะก้าวต่อไปได้ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ทั้งอ้อยและมันสำปะหลัง เพื่อขยายการผลิต เอทานอล และบี 100 รองรับความต้องการ ซึ่งหากทำได้แล้ว การเป็น Hub ก็ไม่ใช่เรื่องยาก


อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ขาดหายไป ในการบริหารจัดการของไทยในเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ คือ แผนแม่บทการบริหารจัดการตลอดสายการผลิต ตั้งแต่เพาะปลูกจนถึงการผลิตเป็นพลังงาน สาเหตุมาจากขาดการบริหารจัดการแบบเป็นองค์กรวม


กระทุ้งรัฐปรับองค์กรเอื้อเอกชน
โดยปัจจุบันจะพบว่า ในเรื่องเดียวกัน แต่กระจายความรับผิดชอบไปตามภารกิจของกระทรวงต่างๆ เช่น เมื่อพูดเรื่องผลผลิต เป็นหน้าที่กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เรื่องการผลิตเป็นน้ำตาลหรือเอทานอล เป็นเรื่องของกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ในเรื่องของราคาเอทานอลอยู่ที่กระทรวงพลังงานและเกษตร เป็นต้น


"จำเป็นต้องมีการตั้งหน่วยงานกลาง เพื่อรวมศูนย์การทำงานให้ เห็นภาพตลอดสายการผลิต ซึ่งเชื่อว่าการมีหน่วยงานมาดูแลรับผิดชอบอย่างจริงจัง จะทำให้มองเห็นปัญหาชัดเจนขึ้น และสามารถผลักดันให้มีการแก้ไข รวมถึงช่วยให้ทุกฝ่ายเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน"นางพิศวรรณ กล่าว


นางพิศวรรณ มองราคาพลังงานในประเทศไทยว่า การตรึงราคาเป็นอุปสรรคหนึ่ง ในการทำให้ไทยเป็น Hub ซึ่งเกิดจากการที่น้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์การเมือง ดังนั้นจะมีความพยายามใช้อำนาจทุกรูปแบบ ที่จะทำให้เสียงการเมืองไม่กระทบ โดยเมื่อเวลาแพงก็จะเข้าไปอุดหนุน กระทั่งกลไกตลาดบิดเบือน และส่งผลให้ประชาชนไม่รับรู้และตระหนักว่าของแพงอย่างไร และเมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะไม่ถูกกระตุ้นให้ต้องลุกขึ้นมาเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานหรือประหยัด


"ไทยเป็นฮับได้ในหลายเรื่องหากปลดล็อกการเมืองกับเศรษฐกิจออกจากกัน เพราะการออกนโยบายที่ผิดเพี้ยน เพื่อหวังผลทางการเมือง มักทำให้การพัฒนาสะดุด ซึ่งในอดีตอาจไม่กระทบมาก เพราะการเมืองกับเศรษฐกิจแยกกัน ดังนั้นแม้การเมืองวุ่นวาย แต่เศรษฐกิจก็เดินหน้าไปได้ แต่มาช่วงหลังทั้งสองภาคเข้าใกล้จนคร่อมกันและกลายเป็นผูกพันกัน"นางพิศวรรณ กล่าว

__________________
Air conditioner is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102