ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 11-03-2013   #1
NuRay
Senior Member
 
NuRay's Avatar
 
วันที่สมัคร: Sep 2011
ข้อความ: 954
บล็อก: 7
ถ่ายทอดพลัง: 1,013
คะแนนหรอย: 588
Default อย่ามัวแต่ท่องดอกไม้ประจําชาติอาเซียนคะน้องๆ รู้ไหมประชาคมจะไม่ได้เปิดแล้ว

อาจจะเป็นบทความที่ยาวเสียหน่อยแต่อยากให้น้องน้องอ่านกันนะคะ อย่าไปเชื่อทีวีของเรามากว่าประชาคมอาเซียนจะเปิดแล้ว เดียวมันกำลังจะเปิด แท้ที่จริงแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับการเปิดประชาคมอาเซียนมากมายเลยทีเดียว น้องๆหลายคนที่โรงเรียนให้หาการบ้านเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เรื่องดอกไม้ประจำชาติอาเซียน ธงชาติของประเทศอาเซียนอะไรทำนองนี้ แต่ลองอ่านข่าวนี้กันดูคะ ประชาคมอาเซียนของเรายังมีทีท่าว่าจะไม่ได้เปิดกันต่อไป

อย่าเชื่อที่ทีวีเขาพูดนะคะ
คนพวกนี้ต้องการสร้างกระแสเท่านั้น


อินโดนีเซีย ระบุ ยังไม่พร้อมสำหรับการเตรียมเปิดเสรีการบินในภูมิภาค ในขณะที่สายการบินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเพลิดเพลินกับผลประโยชน์ที่ได้จากนโยบายเปิดเสรีการบินในภูมิภาค แต่อินโดนีเซียซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดยังคงถ่วงเวลา โดยอ้างว่าไม่พร้อม ขอเวลาเตรียมตัวมากกว่านี้



นโยบายเปิดเสรีทางการบินถูกนำเสนอตั้งแต่ พ.ศ.2552 ทำให้สายการบินต้นทุนต่ำเติบโตรวดเร็วมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไลอ้อนแอร์ของอินโดนีเซีย แอร์เอเชียของมาเลเซีย และเซบู แปซิฟิกของฟิลิปปินส์ แต่ต้องเจออุปสรรคสำคัญเมื่ออินโดนีเซียไม่เต็มใจเปิดเสรีการบิน

มารี ปังเกสตู รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวอินโดนีเซีย เผยว่า อินโดนีเซียมีแผนที่จะเปิดเสรีการบินภายในปี 2558 ตามกำหนดอย่างแน่นอน แต่ตอนนี้ยังไม่รีบร้อน ทั้งนี้ เพราะอินโดนีเซียแตกต่างจากประเทศอื่น เช่น สิงคโปร์มีสนามบินเพียงแห่งเดียว ในขณะที่อินโดนีเซียมีถึง 20 แห่ง อินโดนีเซียยึดมั่นในพันธะสัญญาและจะเปิดสนามบินหลักให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างสายการบินการูด้า และสายการบินเมอร์ปาตี นูซันตารา ต่างเตรียมตัวในเรื่องนี้แล้ว แต่รัฐบาลยังไม่พร้อม

เพื่อความพร้อมในการแข่งขัน อินโดนีเซียมีแผนสร้างและยกระดับสนามบินมากกว่า 20 แห่ง รวมทั้งสนามบินจาการ์ต้าที่ขณะนี้รับผู้โดยสารมากกว่าสองเท่าของศักยภาพที่สนามบินรองรับได้ปีละ 22 ล้านคน

สายการบินการูด้าและซิตี้ลิงค์ ซึ่งเป็นสายการบินในเครือทุ่มเงินกว่าร้อยล้านดอลลาร์ซื้อเครื่องบินเพิ่ม เช่นเดียวกับไลอ้อนแอร์ สายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้งมากกว่า 200 ลำเมื่อปีที่แล้ว

แอร์เอเชีย สายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคกำลังจัดตั้งสำนักงานใหญ่ในจาการ์ต้า ที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน แม้แต่โทนี่ เฟอร์นันเดซ ประธานบริหารของบริษัทแอร์เอเชียต้องยอมย้ายจากมาเลเซียมาอินโดนีเซีย เพื่อผลักดันการเปิดเสรีการบิน ซึ่งแอร์เอเชียจะได้ประโยชน์มากหากนโยบายสำเร็จ



นโยบายเปิดเสรีการบินจะช่วยลดข้อจำกัดในการเพิ่มเที่ยวบิน ตัวอย่างเช่น ระหว่างมาเลเซียและไทย สายการบินของทั้งสองประเทศสามารถเพิ่มเที่ยวบินระหว่างกันและกันได้มากตามที่สายการบินต้องการ แต่การเพิ่มเที่ยวบินเข้าหรือออกจากอินโดนีเซียต้องใช้เวลาในการเจรจานานนับเดือน

นักวิเคราะห์ เชื่อว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้รับแรงกดดันจากสายการบินแห่งชาติการูด้าและสายการบินอื่น ๆ ให้ปกป้องตลาดการบินของอินโดนีเซียให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เอมิร์เยาะห์ ซาตาร์ ประธานบริหารสายการบินการูด้า เปิดเผยว่า อินโดนีเซียยินดีที่จะเปิดรับสายการบินจากประเทศอาเซียน แต่ต้องการความมั่นใจว่า ประเทศเหล่านั้นต้องไม่ใช้กฎระเบียบใด ๆ มาสกัดกั้นสายการบินของอินโดนีเซีย

อลัน ตัน ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายการบิน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า อินโดนีเซียยังคงถ่วงเวลาเปิดเสรีการบิน เพื่อปกป้องผลประโยชน์สายการบินของอินโดนีเซีย ด้วยจำนวนประชากรเกือบครึ่งของภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด การตัดสินใจชะลอเรื่องนี้ของอินโดนีเซียย่อมมีผลต่อความเป็นตลาดเดียวของอาเซียน และทำให้การเปิดเสรีภายในอาเซียนยังห่างไกลความจริงอยู่มาก

ขอบคุณกรุงเทพธุรกิจจ้าาาา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน




__________________

ชมรมคนรักน้อง Bailee Madison
NuRay is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102