ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 15-02-2012   #1
JigSaW
Senior Member
 
JigSaW's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2011
ข้อความ: 340
บล็อก: 18
ถ่ายทอดพลัง: 317
คะแนนหรอย: 255
Default 3 โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นปี 2543 กันค่ะ

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์บ้านเรามีการจัดแข่งขันกันทุกปีค่ะ โดยปีเแรกของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ก็ไม่รู้ตั้งแต่ปีที่เท่าไรเหมือนกันวันนี้เราลองมาดูโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ดีดีในสมัยก่อนกันนะค่ะสมัยนี้คนที่ได้รับรางวัลคนจะทำงานแต่งงานกันไปเยอะแล้วล่ะค่ะ แต่ยังไงก็สามารถนำมาเป็นตัวอย่างการทำการทำลองโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ได้ค่ะ




โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ ปี 2543 ชิ้นที่ 1
เลขทะเบียน คง 2543 ต002
โรงเรียน โรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม อำเภอเมือง นครสวรรค์ 2543
เกียรติบัตร ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง A MAGIC SWITCH
จำนวนหน้า 23 หน้า ภาพประกอบ
สาระสังเขป โครง งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสวิทซ์ไฟฟ้าที่สามารถเปิดปิดไฟได้โดย อัตโนมัติ เมื่อไม่มีคนอยู่ อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ เครื่องวัดระดับเสียง วงจรสวิทซ์แสง วิธีดำเนินการทดลองคือ ทำการวัดระดับความดังของเสียงในขณะที่มีคนอยู่ในห้องและไม่มีคนอยู่ บันทึกไว้ต่อมาเปรียบเทียบแรงไฟและแสงสว่างระหว่างเวลากลางวันและกลางคืน ทำการบันทึก แล้วนำความแตกต่างของเสียงและแสงสว่างที่วัดได้ไปตั้งค่ากับเครื่องมือ เชื่อมต่อกับปลั๊กไฟฟ้าที่ทำการจ่ายกระแสไฟให้กับหลอดไฟ จากผลการทดลองพบ ว่า เครื่องมือดังกล่าวสามารถทำงานได้ดี คือเมื่อห้องว่างไม่มีนักเรียนอยู่ในห้อง เครื่องมือจะทำการดับไฟ และไม่มีเสียงดังเกินค่าที่ตั้งไว้ เครื่องมือก็จะทำการปิดไฟได้อย่างถูกต้อง โดยอาจมีความผิดพลาดบ้างเมื่อมีเสียงออดระหว่างคาบเรียน
หัวเรื่อง สวิทซ์

ไฟฟ้า



โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ ปี 2543 ชิ้นที่ 2
เลขทะเบียน คง 2543 ป014
โรงเรียน โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ อำเภอเมือง นครสวรรค์ 2543
เกียรติบัตร ม.ปลาย วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่อง เครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำระบบอิเล็กทรอนิกส์
จำนวนหน้า 43 หน้า ภาพประกอบ
สาระสังเขป โครง งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ตาม ปริมาณแสงและศึกษาการสร้างเครื่องมือต้นแบบเพื่อใช้วัดความขุ่นของน้ำ อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า D.C หลอดไฟ สายไฟ กล่องทึบแสง หลอดแก้ว แอมมิเตอร์ และเครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำมาตรฐาน วัสดุที่ใช้ได้แก่ ดินเหนียว ตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ตามปริมาณแสง (LDR) แผ่นพลาสติก ฟิวเจอร์บอร์ด วิธีการโดย ทำการเตรียมน้ำที่มีความขุ่นแตกต่างกัน โดยใช้ดินเหนียวผสมกับน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยหลอดแรกใส่ดินเหนียวแห้งบดละเอียด 1 ช้อนชา หลอดที่ 2 2 ช้อนชา หลอดที่ 3 3 ช้อนชา และหลอดที่ 4 4 ช้อนชา จากนั้นนำไปทดสอบกับตัวต้านทาน โดยนำหลอดวางคั่นระหว่างตัวต้านทานกับหลอดไฟ จากนั้นทำการวัดสเกลที่เคลื่อนที่บนหน้าปัดของเครื่องวัดความขุ่นของน้ำ มาตรฐาน จากนั้นนำแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดมาสร้างเป็นเครื่องมือใช้วัดความขุ่นของน้ำ โดยนำตัวต้านทานและหลอดไฟมาต่อแบบอนุกรม และสุดท้ายนำแผ่นพลาสติกมาใช้ทำตัวเครื่องแทนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดและพัฒนาให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการเทียบความขุ่นที่วัดได้ ปรับสเกลให้ตรงกับเครื่องวัดมาตรฐานแล้วทำการศึกษาเปรียบเทียบผลที่ได้ โดยนำน้ำจากสระบัว น้ำประปา น้ำกลั่น และน้ำกรองมาทดสอบ สรุปผลการทดลองพบ ว่า ดินเหนียวแห้ง 1 ช้อนผสมกับน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรจะทำให้เครื่องอ่านความขุ่นมีการเบนเข็มน้อยที่สุด ในขณะที่เมื่อใส่ดินเหนียว 4 ช้อน จะทำให้เครื่องมีการเบนเข็มมากที่สุด และจากการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยปรับค่าให้เท่ากับเครื่องมือ มาตรฐานพบว่า สามารถทดสอบความขุ่นของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเครื่องมือ มาตรฐาน
หัวเรื่อง ความขุ่น

ตัวต้านทาน




โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ ปี 2543 ชิ้นที่ 3
เลขทะเบียน คง 2543 ต027
โรงเรียน โรงเรียนเขลางค์นคร อำเภอเมือง ลำปาง 2543
เกียรติบัตร ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง กรวยป่ารักษาโรค
จำนวนหน้า 47 หน้า ภาพประกอบ
สาระสังเขป โครง งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดของสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคผดผื่นคันอัน เกิดจากแมลงสัตว์กัดต่อยและโรคผิวหนังบางชนิดได้ วัสดุที่ใช้ได้แก่ ใบกรวยป่า ใบตำลึง ใบข่อย ใบยูคาลิปตัส ใบสะเดา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันระกำ กานพลู และขี้ผึ้ง เป็นต้น โดยมีวิธีการทดลองโดย การนำใบกรวยป่า ตำลึง ใบข่อย ใบยูคาลิปตัส และใบสะเดา นำมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว กานพลู เมนทอล การบูร น้ำมันระกำ และพาราฟิน โดยผสมขี้ผึ้งและวาสลีน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำมาทดสอบกับอาสาสมัครที่เป็นโรคผิวหนังบางชนิดและมีอาการผดผื่นคัน รวมไปถึงโรคกลากเกลื้อนด้วย สุดท้ายเป็นการทดสอบประสิทธิภาพจากกากใบกรวยป่า และตำลึง เพื่อนำมาใช้ทำเชื้อเพลิง โดยนำกากดังกล่าวมาผสมกับเถ้าแกลบและแป้งข้าวเจ้า เติมน้ำเล็กน้อย คนให้เข้ากัน อัดให้เป็นแท่งโดยทำการทดสอบเปรียบเทียบกับ ถ่านที่ทำจากซังข้าวโพด ผสมกับใบกรวยป่าและใบตำลึง จากนั้นทำการวัดค่าพลังงานที่ได้ ผลการทดลองพบว่า ใบกรวยป่าและใบตำลึงสามารถรักษาอาการคันจากยุงกัดได้ดี ดีที่สุดคือใบกรวยป่า รองลงมาคือ ใบตำลึง แต่ขี้ผึ้งที่ผลิตได้ไม่สามารถรักษาอาการโรคกลากเกลื้อนได้อย่างหายขาดแต่จะ มีอาการทุเลาลงแตกต่างกันตามบุคคล อัตราส่วนในการทำขี้ผึ้งคือ กรวยป่า 1 ส่วน ต่อ น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ผสมกับ กานพลู 40 กรัม ที่ตำละเอียด และใส่เมนทอล การบูร น้ำมันระกำ วาสลีน และพาราฟิน อย่างละ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร และใส่ขี้ผึ้งจำนวน 400 กรัมลงไปด้วย นำมาผสมกัน โดยที่สามารถเก็บไว้ในภาชนะหรือขวดเพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะคล้ายขี้ ผึ้ง และพบว่าขี้ผึ้งที่ทำจากสมุนไพรจากใบกรวยป่า จะให้ผลในการรักษาอาการคันและบรรเทาโรคกลากเกลื้อนได้ดีกว่าขี้ผึ้งที่ทำจาก ใบตำลึง และยังพบว่า ถ่านที่ทำมาจากใบกรวยป่าจะให้พลังงานความร้อนมากกว่าถ่านที่ทำจากใบกรวยป่า ผสมใบตำลึง และถ่านที่ทำจากใบตำลึงจะให้พลังงานความร้อนต่ำที่สุด
หัวเรื่อง ยาหม่อง

สมุนไพร




รูปขนาดเล็ก
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและ.jpg  
__________________
สงสัยเรื่องการใช้ยาแวะเข้ามาถามได้จ๊ะ ที่นี่ (อย่ายากมากนะค่ะ)
JigSaW is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102