เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้

ตอบ
อ่าน: 8552 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 15-02-2012   #1
Senior Member
 
JigSaW's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2011
ข้อความ: 340
บล็อก: 18
ถ่ายทอดพลัง: 317
คะแนนหรอย: 255
Default 3 โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นปี 2543 กันค่ะ

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์บ้านเรามีการจัดแข่งขันกันทุกปีค่ะ โดยปีเแรกของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ก็ไม่รู้ตั้งแต่ปีที่เท่าไรเหมือนกันวันนี้เราลองมาดูโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ดีดีในสมัยก่อนกันนะค่ะสมัยนี้คนที่ได้รับรางวัลคนจะทำงานแต่งงานกันไปเยอะแล้วล่ะค่ะ แต่ยังไงก็สามารถนำมาเป็นตัวอย่างการทำการทำลองโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ได้ค่ะ




โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ ปี 2543 ชิ้นที่ 1
เลขทะเบียน คง 2543 ต002
โรงเรียน โรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม อำเภอเมือง นครสวรรค์ 2543
เกียรติบัตร ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง A MAGIC SWITCH
จำนวนหน้า 23 หน้า ภาพประกอบ
สาระสังเขป โครง งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสวิทซ์ไฟฟ้าที่สามารถเปิดปิดไฟได้โดย อัตโนมัติ เมื่อไม่มีคนอยู่ อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ เครื่องวัดระดับเสียง วงจรสวิทซ์แสง วิธีดำเนินการทดลองคือ ทำการวัดระดับความดังของเสียงในขณะที่มีคนอยู่ในห้องและไม่มีคนอยู่ บันทึกไว้ต่อมาเปรียบเทียบแรงไฟและแสงสว่างระหว่างเวลากลางวันและกลางคืน ทำการบันทึก แล้วนำความแตกต่างของเสียงและแสงสว่างที่วัดได้ไปตั้งค่ากับเครื่องมือ เชื่อมต่อกับปลั๊กไฟฟ้าที่ทำการจ่ายกระแสไฟให้กับหลอดไฟ จากผลการทดลองพบ ว่า เครื่องมือดังกล่าวสามารถทำงานได้ดี คือเมื่อห้องว่างไม่มีนักเรียนอยู่ในห้อง เครื่องมือจะทำการดับไฟ และไม่มีเสียงดังเกินค่าที่ตั้งไว้ เครื่องมือก็จะทำการปิดไฟได้อย่างถูกต้อง โดยอาจมีความผิดพลาดบ้างเมื่อมีเสียงออดระหว่างคาบเรียน
หัวเรื่อง สวิทซ์

ไฟฟ้า



โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ ปี 2543 ชิ้นที่ 2
เลขทะเบียน คง 2543 ป014
โรงเรียน โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ อำเภอเมือง นครสวรรค์ 2543
เกียรติบัตร ม.ปลาย วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่อง เครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำระบบอิเล็กทรอนิกส์
จำนวนหน้า 43 หน้า ภาพประกอบ
สาระสังเขป โครง งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ตาม ปริมาณแสงและศึกษาการสร้างเครื่องมือต้นแบบเพื่อใช้วัดความขุ่นของน้ำ อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า D.C หลอดไฟ สายไฟ กล่องทึบแสง หลอดแก้ว แอมมิเตอร์ และเครื่องมือวัดความขุ่นของน้ำมาตรฐาน วัสดุที่ใช้ได้แก่ ดินเหนียว ตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ตามปริมาณแสง (LDR) แผ่นพลาสติก ฟิวเจอร์บอร์ด วิธีการโดย ทำการเตรียมน้ำที่มีความขุ่นแตกต่างกัน โดยใช้ดินเหนียวผสมกับน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยหลอดแรกใส่ดินเหนียวแห้งบดละเอียด 1 ช้อนชา หลอดที่ 2 2 ช้อนชา หลอดที่ 3 3 ช้อนชา และหลอดที่ 4 4 ช้อนชา จากนั้นนำไปทดสอบกับตัวต้านทาน โดยนำหลอดวางคั่นระหว่างตัวต้านทานกับหลอดไฟ จากนั้นทำการวัดสเกลที่เคลื่อนที่บนหน้าปัดของเครื่องวัดความขุ่นของน้ำ มาตรฐาน จากนั้นนำแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดมาสร้างเป็นเครื่องมือใช้วัดความขุ่นของน้ำ โดยนำตัวต้านทานและหลอดไฟมาต่อแบบอนุกรม และสุดท้ายนำแผ่นพลาสติกมาใช้ทำตัวเครื่องแทนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดและพัฒนาให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการเทียบความขุ่นที่วัดได้ ปรับสเกลให้ตรงกับเครื่องวัดมาตรฐานแล้วทำการศึกษาเปรียบเทียบผลที่ได้ โดยนำน้ำจากสระบัว น้ำประปา น้ำกลั่น และน้ำกรองมาทดสอบ สรุปผลการทดลองพบ ว่า ดินเหนียวแห้ง 1 ช้อนผสมกับน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรจะทำให้เครื่องอ่านความขุ่นมีการเบนเข็มน้อยที่สุด ในขณะที่เมื่อใส่ดินเหนียว 4 ช้อน จะทำให้เครื่องมีการเบนเข็มมากที่สุด และจากการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยปรับค่าให้เท่ากับเครื่องมือ มาตรฐานพบว่า สามารถทดสอบความขุ่นของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเครื่องมือ มาตรฐาน
หัวเรื่อง ความขุ่น

ตัวต้านทาน




โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและสิ่งประดิษฐ์ ปี 2543 ชิ้นที่ 3
เลขทะเบียน คง 2543 ต027
โรงเรียน โรงเรียนเขลางค์นคร อำเภอเมือง ลำปาง 2543
เกียรติบัตร ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง กรวยป่ารักษาโรค
จำนวนหน้า 47 หน้า ภาพประกอบ
สาระสังเขป โครง งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดของสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคผดผื่นคันอัน เกิดจากแมลงสัตว์กัดต่อยและโรคผิวหนังบางชนิดได้ วัสดุที่ใช้ได้แก่ ใบกรวยป่า ใบตำลึง ใบข่อย ใบยูคาลิปตัส ใบสะเดา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันระกำ กานพลู และขี้ผึ้ง เป็นต้น โดยมีวิธีการทดลองโดย การนำใบกรวยป่า ตำลึง ใบข่อย ใบยูคาลิปตัส และใบสะเดา นำมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว กานพลู เมนทอล การบูร น้ำมันระกำ และพาราฟิน โดยผสมขี้ผึ้งและวาสลีน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำมาทดสอบกับอาสาสมัครที่เป็นโรคผิวหนังบางชนิดและมีอาการผดผื่นคัน รวมไปถึงโรคกลากเกลื้อนด้วย สุดท้ายเป็นการทดสอบประสิทธิภาพจากกากใบกรวยป่า และตำลึง เพื่อนำมาใช้ทำเชื้อเพลิง โดยนำกากดังกล่าวมาผสมกับเถ้าแกลบและแป้งข้าวเจ้า เติมน้ำเล็กน้อย คนให้เข้ากัน อัดให้เป็นแท่งโดยทำการทดสอบเปรียบเทียบกับ ถ่านที่ทำจากซังข้าวโพด ผสมกับใบกรวยป่าและใบตำลึง จากนั้นทำการวัดค่าพลังงานที่ได้ ผลการทดลองพบว่า ใบกรวยป่าและใบตำลึงสามารถรักษาอาการคันจากยุงกัดได้ดี ดีที่สุดคือใบกรวยป่า รองลงมาคือ ใบตำลึง แต่ขี้ผึ้งที่ผลิตได้ไม่สามารถรักษาอาการโรคกลากเกลื้อนได้อย่างหายขาดแต่จะ มีอาการทุเลาลงแตกต่างกันตามบุคคล อัตราส่วนในการทำขี้ผึ้งคือ กรวยป่า 1 ส่วน ต่อ น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ผสมกับ กานพลู 40 กรัม ที่ตำละเอียด และใส่เมนทอล การบูร น้ำมันระกำ วาสลีน และพาราฟิน อย่างละ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร และใส่ขี้ผึ้งจำนวน 400 กรัมลงไปด้วย นำมาผสมกัน โดยที่สามารถเก็บไว้ในภาชนะหรือขวดเพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะคล้ายขี้ ผึ้ง และพบว่าขี้ผึ้งที่ทำจากสมุนไพรจากใบกรวยป่า จะให้ผลในการรักษาอาการคันและบรรเทาโรคกลากเกลื้อนได้ดีกว่าขี้ผึ้งที่ทำจาก ใบตำลึง และยังพบว่า ถ่านที่ทำมาจากใบกรวยป่าจะให้พลังงานความร้อนมากกว่าถ่านที่ทำจากใบกรวยป่า ผสมใบตำลึง และถ่านที่ทำจากใบตำลึงจะให้พลังงานความร้อนต่ำที่สุด
หัวเรื่อง ยาหม่อง

สมุนไพร




รูปขนาดเล็ก
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองและ.jpg  
__________________
สงสัยเรื่องการใช้ยาแวะเข้ามาถามได้จ๊ะ ที่นี่ (อย่ายากมากนะค่ะ)
JigSaW is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
2543, กันค่ะ, โครง, โครงงาน, โครงงานวิทยาศาสตร์, โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง, งานวิทยาศาสตร์, งานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง, งานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์, ดีเด่นปี, ประเภททดลอง, และ, วิทยาศาสตร์, สิ่งประดิษฐ์
คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด