เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้

ตอบ
อ่าน: 2253 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 04-12-2011   #1
Administrator
 
ohmohm's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2011
ข้อความ: 5,162
บล็อก: 182
ถ่ายทอดพลัง: 4,245
คะแนนหรอย: 2,838
Default การปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์ปลูกผักในบ้านง่ายง่าย

[FONT=Tahoma] เรื่องการปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์กำลังเป็นที่นิยมมาก(ในบ้านผม)
จริงแล้วไม่ได้อยากจะปลูกอะไรกันให้ร่ำรวยนักหรอกครับแต่แค่อยากทำอะไรขำ
ขำกับคุณแม่เท่านั้นเองเลยเอากิจกรรมการปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์มา
ทำรวมกันเผื่อจะได้กินผักกินอะไรกับเค้าบ้าง งานนี้ขอบคุณ
[/FONT]
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย



[FONT=Tahoma]
[/FONT]





[FONT=Tahoma]


การปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์


[/FONT]
[FONT=Tahoma]วิธีปลูกในสารละลายธาตุอาหาร ([/FONT][FONT=Tahoma]liquid culture)[/FONT][FONT=Tahoma] เป็นการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ที่ได้รับความนิยมมากกว่าแบบอื่นๆและใช้ได้ดี ในที่ที่มีแดดจัด วิธีการหลักคือการนำรากพืชจุ่มลงในสารละลายโดยตรง รากพืชไม่มีการเกาะยึดกับวัสดุใดๆ ยังสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ ดังนั้นจึงมักใช้การยึดเหนี่ยวในส่วนของลำต้นไว้แทนเป็นการรองรับรากของต้น พืชเพื่อการทรงตัว หลักการนำรากพืชจุ่มในสารละลายและข้อสังเกตในการปลูกพืชในน้ำ คือ ปกติแล้ว ถ้านำต้นพืชที่ขึ้นอยู่บนดินมาวางแช่น้ำ ในระยะแรกต้นพืชจะยังสามารถเจริญงอกงามต่อไปได้ แต่่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งกลับพบว่า ต้นพืชที่เจริญต่อไปนั้นกลับแสดงอาการเหี่ยวเฉาโดยสาเหตุมาจากเมื่อรากพืช แช่อยู่ในน้ำนานๆ จะเกิดการขาดออกซิเจนจึงทำให้พืชเฉาตาย ดังนั้น การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร จึงต้องมีหลัก และเทคนิควิธีการที่แตกต่างจากวิธีอื่น คือ ต้องพัฒนารากพืชในต้นเดียวกันนั้นให้สามารถทำงานได้ 2 หน้าที่พร้อมๆ กัน คือ รากดูดออกซิเจน (oxygen roots) และ รากดูดน้ำและธาตุอาหาร(water nutrient roots) การจะทำให้รากพืชทำงานได้ทั้ง 2 หน้าที่นั้นต้องพยายามให้ส่วนหนึ่งของรากพืชสัมผัสกับอากาศได้โดยตรงบริเวณโคนราก (ส่วนนี้ต้องให้มีช่องว่างของอากาศไว้สำหรับให้รากหายใจ เอาออกซิเจนเข้าไป และอีกส่วนหนึ่งตรงปลายรากจุ่มแช่อยู่ในสารละลาย) ซึ่งหลักการคือ รากส่วนที่มีหน้าที่ดูดน้ำและอาหารสามารถพัฒนาเป็นรากดูดอากาศได้ แต่รากดูดอากาศจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นรากดูดน้ำและแร่ธาตุได้ ดังนั้นจึงต้องไม่เติมสารละลายท่วมรากส่วนที่ทำหน้าที่ดูดอากาศเพราะพืชจะ ไม่่สามารถดูดออกซิเจนและตายได้ในที่สุด ด้วยหลักการดังกล่าวต้นพืชจึงสามารถจุ่มแช่อยู่ในสารละลายได้โดยไม่เน่าตาย และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการเติมอากาศกับพืชบางชนิด ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับของสารละลาย ให้มีความเหมาะสมกับความยาวของรากพืชในแต่ละช่วงอายุของพืชด้วย หรืออาจใช้เครื่องปั๊มอากาศช่วยเติมออกซิเจนให้แก่รากพืช และสำหรับระบบการให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืชนั้นแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

[/FONT][FONT=Tahoma]
[/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma]1. แบบสารละลายไม่หมุนเวียน (non-circulating system)[/FONT] สามารถทำได้โดยเตรียมภาชนะปลูกที่ไม่มีรอยรั่วซึม นำสารละลายที่เตรียมไว้เติมลงในระดับที่พอเหมาะ แล้วนำตะแกรงหรือแผ่นโฟมเจาะรูวางทาบที่ปากภาชนะเพื่อช่วยพยุงต้นให้ทรงตัว อยู่ได้หลังจากนั้นนำต้นกล้าที่เพาะบนฟองน้ำมาสอดเข้าในรูโฟม วิธีนี้ยังเป็นการช่วยปกป้องมิให้แสงสว่างสอดส่องลงมาในสารละลายได้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงคือการเว้นช่องว่างระหว่างพื้น ผิวสารละลายกับแผ่นโฟมเพื่อเป็นพื้นที่ให้ออกซิเจนแก่รากพืชการปลูกแบบสาร ละลายไม่หมุนเวียนนี้ยังจำแนกย่อยได้เป็น 2 วิธี คือ[/FONT] [FONT=Tahoma] 1.1 แบบไม่เติมอากาศ[/FONT]
[FONT=Tahoma][/FONT]
[FONT=Tahoma] รูปภาพการปลูกแบบสารละลายไม่หมุนเวียน[/FONT][FONT=Tahoma]ไม่เติมอากาศ [/FONT] [FONT=Tahoma] ที่มา : ถวัลย์[/FONT][FONT=Tahoma], 2534[/FONT]
[FONT=Tahoma]
[/FONT] [FONT=Tahoma]1.2 แบบเติมอากาศ[/FONT] [FONT=Tahoma] โดยใช้ปั๊มลมให้ออกซิเจน เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มทดลองหรือปลูกเป็นงานอดิเรก เพราะใช้ต้นทุนต่ำ[/FONT][FONT=Tahoma] ติดตั้งง่าย สามารถใช้งานได้เร็ว และสามารถควบคุมโรคที่มาจากการไหลเวียนของน้ำได้ง่าย[/FONT]
[FONT=Tahoma][/FONT]
[FONT=Tahoma] รูปภาพการปลูกแบบสารละลายไม่หมุนเวียน[/FONT] [FONT=Tahoma] เติมอากาศ[/FONT][FONT=Tahoma]
[/FONT][FONT=Tahoma]ที่มา : ถวัลย์[/FONT][FONT=Tahoma], 2534[/FONT]




[FONT=Tahoma] 2. [/FONT][FONT=Tahoma] แบบสารละลายหมุนเวียน ([/FONT][FONT=Tahoma]circulating system)[/FONT][FONT=Tahoma] จุดสำคัญของระบบนี้คือ การใช้ปั๊มในการผลักดันให้สารละลายมีการไหลเวียนดีขึ้นข้อดีของระบบนี้คือ นอกจากจะมีการเพิ่มออกซิเจนให้รากพืชโดยตรงแล้ว ยังเป็นการช่วยให้้สารละลายเกิดการเคลื่อนไหวช่วยไม่ให้ธาตุอาหารตกตะกอน ทำให้ต้นพืชได้รับอาหารเต็มที่ เป็นระบบที่ใช้แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 วิธี คือ

2.1 การให้สารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง (nutrient flow technique) มีวิธีการเหมือนการปลูกพืชแช่ในลำธารเล็กๆมีน้ำตื้นๆ ที่ระดับความลึกเพียง 5-10 เซนติเมตรไหลช้าๆ ผ่านรากพืชสม่ำเสมอ [/FONT]
[FONT=Tahoma][/FONT]
[FONT=Tahoma] รูปภาพการปลูกพืชแบบให้สารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง[/FONT][FONT=Tahoma]
[/FONT][FONT=Tahoma]ที่มา : ถวัลย์[/FONT][FONT=Tahoma], 2534[/FONT]
[FONT=Tahoma]
[/FONT][FONT=Tahoma] 2.2 การให้สารละลายผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ (nutrient film technique) เป็นเทคนิคที่ได้รับความสนใจอย่างมากเป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) ในลำรางปลูกพืชกว้างตั้งแต่่ 5-35 เซนติเมตร ขึ้นกับชนิดของพืชที่ปลูก ลำรางสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ความยาวของรางตั้งแต่ 5-20 เมตร แต่โดยทั่วไปไม่ควรเกิน10 เมตร เพราะจะทำให้เกิดความแตกต่างของปริมาณออกซิเจนระหว่างหัวและท้ายรางได้ รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้าขาวและดำหนา 80-200 ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป หรือทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรือ อลูมิเนียมบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย ต้นพืชจะลอยอยู่ในลำรางได้โดยใช้วัสดุห่อหุ้มต้นหรือให้รากพืชเกาะยึดกับ วัสดุรองรับรากที่สามารถดูดซับน้ำได้ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ polyurethane foam แต่สำหรับประเทศไทยการใช้วัสดุชนิดนี้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมากเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงต้องใช้วัสดุอื่นที่หาได้ในประเทศไทยแทนรางปลูกจะถูกปรับให้ลาดเทประมาณร้อยละ 2 สารละลายจะถูกปั๊มสูบน้ำจากถังเก็บสารละลาย แล้วปล่อยเป็นฟิล์มบางๆ ผ่านรากพืชด้วยความเร็วประมาณ 2 ลิตรต่อนาทีเพื่อให้รากพืชได้รับออกซิเจนเพียงพอ ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของลำรางจะมีรางนำรองรับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้แล้วไปรวมที่ถังเพื่อดูดกลับมาใช้ใหม่ [/FONT]
[FONT=Tahoma][/FONT]
[FONT=Tahoma] รูปภาพการปลูกพืชแบบให้สารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ[/FONT][FONT=Tahoma]
[/FONT][FONT=Tahoma]ที่มา : ถวัลย์[/FONT][FONT=Tahoma], 2534[/FONT]




[FONT=Tahoma] ข้อดีและข้อเสียของระบบ [/FONT] [FONT=Tahoma]N.F.T.
[/FONT]
[FONT=Tahoma] ข้อดี[/FONT]
[FONT=Tahoma] ข้อเสีย[/FONT]
[FONT=Tahoma]1.[/FONT][FONT=Tahoma]ระบบการให้สารละลายแก่พืชไม่ยุ่งยาก[/FONT][FONT=Tahoma]1.[/FONT][FONT=Tahoma]ราคาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก โดยเฉพาะถ้าใช้ขาตั้งทำจากโลหะ[/FONT]
[FONT=Tahoma]2.[/FONT][FONT=Tahoma]ทำการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคพืชต่าง ๆ ในสารละลายได้ง่าย[/FONT][FONT=Tahoma]2.[/FONT][FONT=Tahoma]เป็นระบบที่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสที่ระบบจะเสียได้ง่าย และพืชจะถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงและรวดเร็ว[/FONT]
[FONT=Tahoma]3.[/FONT][FONT=Tahoma]เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด[/FONT][FONT=Tahoma]3.[/FONT][FONT=Tahoma]ต้องใช้น้ำที่มีสิ่งเจือปนอยู่น้อย (สารละลายต่างๆ) ถ้ามีสิ่งเจือปนอยู่มากจะเกิดการสะสมของ เกลือบางตัวที่พืชใช้น้อยหรือไม่ดูดใช้เลยสะสมอยู่ในสารละลาย ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนสารละลายบ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลือง[/FONT]
[FONT=Tahoma]4.[/FONT][FONT=Tahoma]ไม่มีวัสดุปลูกที่ต้องกำจัด[/FONT][FONT=Tahoma]4.[/FONT][FONT=Tahoma]มีปัญหามากเกี่ยวกับการสะสมของอุณหภูมิของสารละลาย โดยเฉพาะในเขตร้อนมีผลต่อการละลายตัวของออกซิเจนในสารละลายลดลง จะทำให้พืชอ่อนแอรากถูกทำลายโดยโรคพืชได้ง่าย การเจริญเติบโตลดลง จนถึงไม่สามารถปลูกพืชได้เลย[/FONT]
[FONT=Tahoma]5.[/FONT][FONT=Tahoma]สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ไม่เสียเวลาในการเตรียมระบบปลูก เช่นสามารถปลูกผักสลัดได้ถึง 8-10 ครั้ง/ปี[/FONT][FONT=Tahoma]5.[/FONT][FONT=Tahoma]มีการแพร่กระจายของโรคพืชบางชนิดอย่างรวดเร็ว[/FONT]




[FONT=Tahoma]วัสดุ-อุปกรณ์ [/FONT] [FONT=Tahoma] 1. ภาชนะปลูก[/FONT][FONT=Tahoma] ควรเลือกภาชนะปลูกให้เหมาะกับชนิดของพืช โดยคำนวณคร่าวๆเกี่ยวกับรูปทรง และขนาดปริมาณของรากพืชแต่ละชนิด [/FONT] [FONT=Tahoma] และควรเป็นภาชนะทึบแสงเพื่อที่จะไม่เก็บความร้อน อาจใช้ถังน้ำพลาสติกสีดำ หรือกล่องโฟมหุ้มด้วยพลาสติกสีดำ ซึ่งทำให้รากพืชอยู่ในที่เย็นกว่าส่วนต้น ทั้งยังช่วยลดการเกิดตะไคร่น้ำที่รากได้อีกด้วย[/FONT]
[FONT=Tahoma] 2.เมล็ดพันธุ์[/FONT][FONT=Tahoma] ควรเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงประมาณ [/FONT][FONT=Tahoma]90 % และบอกอายุของเมล็ดพันธุ์ด้วย ที่สำคัญควรสะอาดดูดซับน้ำได้ดี มีความพรุนเพื่ออากาศจะได้ไหลผ่านได้ดี[/FONT]
[FONT=Tahoma] 3.วัสดุรองรับต้นพืช[/FONT][FONT=Tahoma] ใช้แผ่นโฟมเนื้อแน่นละเอียด ตัดให้มีขนาดพอดีกับภาชนะที่ใช้ปลูก เจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง [/FONT] [FONT=Tahoma]2 ซม. กะระยะห่างให้พอเหมาะกับชนิดของพืชที่ต้องการปลูก[/FONT]




__________________
ผมรักเว็บการ์ตูนหรอยกูที่สุดในโลก
ohmohm is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
การปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์, การปลูกพืชไร้ดิน, ปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์, ปลูกพืชไร้ดิน, พืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์, ระบบไฮโดรโปนิกส์, ไฮโดรโปนิกส์

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด