เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > การศึกษาและเรียนรู้

ตอบ
อ่าน: 2156 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 26-11-2013   #1
Senior Member
 
Knooch C's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2012
ข้อความ: 120
ถ่ายทอดพลัง: 77
คะแนนหรอย: 57
Default รูปภาพดาวหางไอซอน เป็นอย่างไร โคจรไปที่ไหน ใกล้โลกแค่ไหน

รูปภาพดาวหางไอซอน เป็นอย่างไร โคจรไปที่ไหน ใกล้โลกแค่ไหน

ภาพดาวหางไอซอนเมื่อวันที่ 6 พ.ย.56 โดย สดร.
สดร.ชวนชม ?ดาวหางไอซอน? ทิ้งทวนก่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 28 พ.ย.นี้ พร้อมลุ้นดาวหางจะสว่างจ้าหรือแตกสลาย ระบุหากพ่นฝุ่นหลังโคจรออกมาจากดวงอาทิตย์จะสว่างมากที่สุดในศตวรรษ พร้อมยังมีดาวหางอีก 3 ดวงที่สว่างขึ้นมาไล่เลี่ยกันระหว่างนี้ให้ชม

รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กล่าวถึงดาวหางไอซอน (C/2012 S1 ISON) ระหว่างการแถลงข่าวชวนชมดาวหางดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 56 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าดาวหางไอซอนถูกค้นพบตั้งแต่เดือน ก.ย.55 โดย ไวลาลี เนปสกี นักดาราศาสตร์ชาวเบลารุส และ อาร์เตียม โนวิคโคนอค นักดาราศาสตร์ชาวรัสเซีย ในโครงการไอซอน (ISON: International Scientific Network)

จากการติดตามวงโคจรและศึกษาขนาด รศ.บุญรักษากล่าวว่า ทำให้รู้ว่าดาวหางดังกล่าวเป็นดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ (Sungrazing Comet) ซึ่งกำเนิดของไอซอนมาจากขอบระบบสุริยะที่เรียกว่า ?เมฆออร์ต? (Oort cloud) พร้อมทั้งอธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า อาจมีแรงภายนอกระบบสุริยะที่ผลักให้ดาวหางโคจรเข้ามาในระบบสุริยะ และเป็นวงโคจรแบบไฮเปอร์โบลาทำให้เมื่อดาวหางดวงนี้เข้ามาในระบบสุริยะเพียง ครั้งเดียว และจะไม่กลับเข้ามาอีก

ทางด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สดร.ให้ข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างการแถลงข่าวว่า ดาวหางมีส่วนที่เป็นน้ำแข็งที่เรียกว่า ?นิวเคลียส? ซึ่งเมื่อตอนดาวหางยังอยู่ที่ระยะห่างในวงโคจรของดาวเนปจูน นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบว่าดาวหางมีขนาดนิวเคลียสเท่าไร แต่มีความสว่างมากแม้อยู่ไกลขนาดนั้น จากนั้นองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ถ่ายภาพและวัดขนาดของนิวเคลียส คาดว่าไอซอนมีนิวเคลียสไม่เกิน 2 กิโลเมตร

?เราไม่สามารถมองเห็นนิวเคลียสดาวหางได้จากบนโลก และเห็นได้ยากมาก ต้องใช้ยานอวกาศโคจรเข้าไปใกล้ เช่น เมื่อปี 2529 ก็มีการส่งยานอวกาศเข้าไปใกล้ดาวหางฮัลเลย์และวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของ นิวเคลียสได้ว่ามีขนาดมากกว่า 10 กิโลเมตร และดาวหางเฮล-พอพพ์ที่สว่างมากๆ ทางซีกโลกเหนือก็วัดขนาดนิวเคลียสได้มากกว่า 40 กิโลเมตร? ดร.ศรัณย์กล่าว

สำหรับดาวหางไอซอนนั้นจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระยะที่เรียกว่า ?เพอร์ริฮิเลียน? (Perihelion) ในวันที่ 28 พ.ย.56 ที่ระยะห่าง 1.2 ล้านกิโลเมตร ซึ่ง ดร.ศรัณย์อธิบายว่า ในความรู้สึกของคนทั่วไปอาจคิดว่าเป็นระยะที่ห่างมาก แต่เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 ล้านกิโลเมตรแล้ว หากไปยืนอยู่บนดาวหางไอซอนในช่วงเวลาดังกล่าวจะเห็นดวงอาทิตย์ใหญ่เต็มท้อง ฟ้า อุณหภูมิที่ผิวไอซอนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,700 องศาเซลเซียส ทำให้ดาวหางมีอัตราการปลดปล่อยก๊าซและฝุ่นละอองมหาศาล

ดร.ศรัณย์กล่าวว่ามีการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับดาวหางเมื่อเข้า ใกล้ดวงอาทิตย์หลายแบบ โดยดาวหางนั้นเป็นก้อนน้ำแข็งที่เกาะกันหลวมๆ ที่ทำให้ดาวหางแตกออกได้ทุกเมื่อ หรืออาจมีลำพุ่งจากภายในดาวหาง หรือแรงไทดัล (tidal force) แรงที่ทำให้เกิดทำขึ้นน้ำลงทำให้ดาวหางแตกเป็นผงเช่นเดียวกับกรณีที่เกิด ขึ้นกับดาวหางเอลินิน (Elenin) เมื่อปี 2555 จะทำให้ไม่เห็นดาวหางในช่วงขาออกจากดวงอาทิตย์ หรือหากมีการพ่นฝุ่นก่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะทำให้เกิดปฏิริยากับรังสี ของดวงอาทิตย์จนเกิดการสว่างจ้ามากๆ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับดาวหางเลิฟจอย 2011 (C/2011 W3 Lovejoy) หรือหากไม่เกิดอะไรขึ้นจะเห็นดาวหางเป็นก้อนออกมาจากดวงอาทิตย์ให้ติดตามต่อ ไปอีกหลายเดือนหลังจากนั้น

ส่วน รศ.บุญรักษาบอกด้วยว่าช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตดาวหางไอซอนมากที่สุดคือช่วง ที่ดาวหางกำลังเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ระหว่าง15-25 พ.ย.นี้ เพราะยิ่งใกล้จะยิ่งได้รังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้หางของดาวหางที่เป็นของแข็งระเหิดเป็นหางยาวขึ้นและสว่างมากขึ้น แต่เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์แล้วจะไม่ได้สามารถสังเกตเห็นได้เนื่องจาก ถูกแสงสว่างจ้าของดวงอาทิตย์บดบัง ซึ่งดาวหางไอซอนนั้นมีความคล้ายคลึงกับดาวหางอิเคยะ-เซกิ (C11965 S1 Ikeya-Seki) ที่เป็นดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์เหมือนกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า เฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าแต่ไม่พุ่งชนดวงอาทิตย์ และเคยถูกบันทึกไว้ว่าสว่างที่สุดในศตวรรษนี้ จึงคาดว่าไอซอนน่าจะรอดออกมาและจะมีความสว่างมากที่สุดในรอบร้อยปี

อย่างไรก็ดี ดร.ศรัณย์กล่าวว่า การสังเกตดาวหางไอซอนในช่วงเข้าใกล้ดวงอาทิตย์นี้จะสังเกตได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากดาวหางจะอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนวันที่ 28 พ.ย.ระหว่าง 05.00-05.40 น. ดาวหางจะอยู่สูงจากขอบฟ้า 10 องศา หลังจากนั้นจะมีแสงสนธยาขึ้นมา ดังนั้น แม้ดาวหางจะสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็จะถูกความสว่างของแสนสนธยาบดบัง โดยการสังเกตนั้นให้หันไปทางทิศตะวันออกแล้วสังเกตดาวพุธที่เป็นดาวสว่างที่ สุดบริเวณนั้น แล้วจะเห็นดาวหางไอซอนเป็นฝ้าๆ อยู่ทางขวาด้านล่างของดาวพุธ

พร้อมกันนี้ รองผู้อำนวยการ สดร.กล่าวว่า ปัจจุบันมีหุ่นยนต์ที่ค้นพบดาวหางเยอะขึ้น โดยปีหนึ่งค้นพบดาวหางได้นับ 100 ดวง แต่ที่มีสว่างไล่เลี่ยกับดาวหางไอซอนช่วงนี้ 3-4 ดวง ได้แก่ ดาวหางเลิฟจอย (C/2013 R1 Lovejoy) ที่ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ ดาวหางลิเนีย (LINEAR X1) ที่ค้นพบโดยหุ่นยนต์ค้นหาดาว และดาวหางเองเค (2P Enke) ที่เป็นดาวหางคาบสั้นมีรอบโคจรสามปีครึ่ง ซึ่งดาวหางที่โคจรเข้ามาประจำนี้จะทำให้ดาวหางหดสั้นเรื่อยๆ เหลือแต่หัวดาวหาง



ลักษณะทางกายภาพของดาวหาง


ขนาดของดาวหางทั้ง 4 ดวงที่จะเห็นได้ไล่เลี่ยกันในช่วงนี้


ลักษณะวงโคจรของดาวหางเป็นรูปโพลาโบลาและตำแหน่งของดาวหางเมื่อวันที่ 1 พ.ย.56 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งวงโคจรของโลก


ตำแหน่งของดาวหาวไอซอนบนท้องฟ้าระหว่างวันที่ 20-28 พ.ย.


รศ.บุญรักษา (ที่ 2 ซ้าย) พร้อมด้วย ดร.ศรัณย์ (ขวา) และ นาย นิรุตติ คุณวัฒน์ ที่ปรึกษากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างการแถลงข่าวเรื่องดาวหางไอ ซอน




Knooch C is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
ใกล้โลกแค่ไหน, โคจรไปที่ไหน, เป็นอย่างไร, รูปภาพดาวหางไอซอน
คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด