เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > General Topic > พักผ่อนหย่อนใจ > ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพหรอยกู

ตอบ
อ่าน: 1268 - คำตอบ: 0  
LinkBack คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 08-07-2012   #1
Administrator
 
ohmohm's Avatar
 
วันที่สมัคร: Aug 2011
ข้อความ: 5,162
บล็อก: 182
ถ่ายทอดพลัง: 4,245
คะแนนหรอย: 2,838
Default การวิ่งเพื่อสุขภาพกับเรื่องที่เรากังวลต่างๆเป็นจริงหรือไม่

การวิ่งเพื่อสุขภาพกับเรื่องที่เรากังวลต่างๆเป็นจริงหรือไม่
ผมล่ะสงสัยหลายหลายเรื่องมานานแล้วพอมาอ่านบทความนี้แล้วได้ความรู้ขึ้นมากโขเลยจริงจริงละครับ
การวิ่งเพื่อสุขภาพนั้นดีจริงครับ แต่สำหรับผมแล้วนั้นการบาดเจ็บจากการวิ่งถือว่าเป็นเรื่องชิวชิวขำขำ
เพราะเราวิ่งเน้นทำลายสถิติและเพิ่มสมรรถภาพของตนเองกันอยู่แล้ว คราวนี้เรามาดูการวิ่งเพื่อสุขภาพ
สำหรับนักวิ่งที่พึ่งเริ่มต้นกันบ้างดีกว่าครับว่าการวิ่งเพื่อสุขภาพนั้นอันที่จริงแล้ว เรื่องข้อเข่า เรื่องพื้นวิ่ง
เรื่องระยะทางอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยทำให้เราบาดเจ็บ ถึงชีวิต!!! มีด้วยรึถึงชีวิต




[FONT=Tahoma] โรคที่ผู้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งกลัวมาก คือ โรคข้อเข่าเสื่อม มีผู้รู้ (จริงบ้างไม่จริงบ้าง ) จะห้ามปรามผู้ที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งว่า "อย่าวิ่งมากนักประเดี๋ยวข้อเข่าจะพัง " ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วการวิ่งจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมนั้นเกิดจากการที่ข้อเข่าทำงานมากเกินปกติ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เนื่องจากข้อเข่าได้รับแรงกระแทกมากเกินปกติ[/FONT]

[FONT=Tahoma] ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมจากการวิ่งมีดังต่อไปนี้[/FONT]
[FONT=Tahoma] 1.ห้ามน้ำหนักตัวของผู้วิ่งมากเกินปกติ[/FONT]
[FONT=Tahoma] 2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่พยุงข้อเข่าไม่ดีพอ[/FONT]
[FONT=Tahoma]3.ความเร็วของการวิ่ง[/FONT]
[FONT=Tahoma] 4.ความลาดลงของเส้นทางวิ่ง เช่น วิ่งลงบันได เป็นต้น[/FONT]
[FONT=Tahoma] 5.พื้นรองเท้าที่ใช้สวมใส่ในการวิ่ง[/FONT]
[FONT=Tahoma]6.พื้นของเส้นทางวิ่ง[/FONT]

[FONT=Tahoma]สำหรับปัจจัย 1 ถึง 5 นั้น ผู้วิ่งสามารถแก้ไขได้เอง เช่นพยายามลดน้ำหนักให้น้อยลงด้วยวิธีอื่นๆด้วย หรือเริ่มต้นการวิ่งให้ช้าลงก่อนหรืออาจจะเดินก่อนจนน้ำหนักดัวลดลงแล้วค่อยเพิ่มความเร็วของการวิ่ง มีการออกกำลังกล้ามเนื้อด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบเข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อต้นขาที่หุ้มข้อเข่า มีความแข็งแรงร่วมด้วยกับากรวิ่ง หลีกเลี่ยงรองเท้าที่เหมาะสมเพื่อรับแรงกระแทก[/FONT]

[FONT=Tahoma] ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้ข้อเข่าเสื่อม โดยทั้งหมดจะทำให้มีแรงกระแทกจากข้อเท้าขึ้นมาถึงเข่าทั้งหมด เช่นถ้าน้ำหนักตัวผู้วิ่ง 50 กก. เมื่อเร็วน้ำหนักที่มากระแทกที่เข่าอาจจะเป็น 4-5 เท่า ขึ้นอยู่กับความเร็วและความลาดลงของทางวิ่ง ก็อาจจะมากกว่านั้น ซึ่งอาจจะเป็น 200-300 กก. และแรงกระแทกทั้งหมดอาจจะลดลง ถ้ากล้ามเนื้อรอบเข่าที่ช่วยพยุงน้ำหนักได้หรือพื้นรองเท้า หรือพื้นการวิ่งนุ่ม ก็จะสามารถลดแรงกระแทกของข้อเข่าได้มาก[/FONT]

[FONT=Tahoma] ปัจจัยที่สำคัญที่นักวิ่งเลือกได้น้อยหรือไม่คิดว่ามีความสำคัญคือ ปัจจัยข้อที่ 6 พื้นของทางวิ่ง ซึ่งควรจะเป็นพื้นที่สามารถดูดซึมแรงกระแทกได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อลดอันตรายของข้อเข่า[/FONT]

[FONT=Tahoma] ชนิดของพื้นที่สามารถลดแรงกระแทกข้อเข่าได้ดีตามลำดับดังต่อไปนี้[/FONT]

[FONT=Tahoma]อันดับ1 พื้นของลู่วิ่ง ( Trade mill [/FONT] [FONT=Tahoma])[/FONT][FONT=Tahoma][/FONT]
[FONT=Tahoma] ลู่วิ่งปัจจุบันมีขายตามท้องตลาดทั่วไป ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพ ลู่วิ่งที่ดีจะต้องมีความกว้างพอสมควร ที่สำคัญที่สุด คือมี [/FONT] [FONT=Tahoma]shock absorbe ( ภาษาท้องตลาดเรียกว่า โช้คอัพ ) ที่ดียืดหยุ่นได้ดีจะรับแรงกระแทกจากตัวมายังข้อเข่าได้มาก ซึ่งเป็นพื้นที่ดีที่สุดของเส้นทางวิ่ง แต่เนื่องจากราคาแพง และการวิ่งบนลู่วิ่งจะให้ความจำเจ เกิดความเบื่อหน่ายหรือมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะ trade mill ตามสถานออกกำลังกายต่างๆ ในการวิ่ง นักวิ่งบางคนอาจจะใช้การดูโทรทัศน์ หรือฟังเพลงเพื่อลดความเบื่อหน่าย [/FONT]

[FONT=Tahoma]อันดับที่ 2 พื้นลู่วิ่งที่เป็นยางสังเคราะห์ เรียกกันว่าลู่ tarton[/FONT][FONT=Tahoma][/FONT]
[FONT=Tahoma]ในสนามกีฬา พื้นเป็นยางสังเคราะห์สามารถดูดซึมแรงกระแทกได้ดีเช่นเดียวกัน แต่โอกาสที่นักวิ่งเพื่อสุขภาพจะมีโอกาสวิ่งในลู่วิ่งได้น้อย เมื่อเจ้าของสนาม (ซึ่งอาจจะเป็นมหาวิทยาลัยหรือตามจังหวัดต่างๆ ) ไม่เปิดโอกาสให้นักวิ่งที่ไม่ใช่นักกีฬาเข้าไปวิ่ง ในความเป็นจริงแล้ว รองเท้าที่นักวิ่งใช้วิ่งทำความเสียหายให้แก่ลู่ยางสังเคราะห์น้อยกว่ารองเท้าตะปูของนักกีฬา และเนื่องจากความยาวของลู่วิ่งมาตราฐาน 400 เมตร นักวิ่งระยะยาวอาจจะรู้สึกเบื่อ เพราะจะต้องวิ่งถึง 20-30 รอบ ในการวิ่งแต่ละครั้ง[/FONT]

[FONT=Tahoma]อันดับที่ 3 พื้นลู่วิ่งที่เป็นพรมเช่นเดียวกันหายาก[/FONT]
[FONT=Tahoma]มีระยะค่อนข้างสั้น การดูดซับแรงกระแทกก็ทำได้ดีเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยหรือประเทศที่มีอากาศร้อนจะไม่มี เนื่องจากการดูแลรักษาทำได้ยากและมีราคาแพง[/FONT]

[FONT=Tahoma] อันดับที่ [/FONT][FONT=Tahoma]4[/FONT][FONT=Tahoma] พื้นลู่วิ่งที่เป็นสนามหญ้า[/FONT][FONT=Tahoma] สนามหญ้าที่มีพื้นเรียบเมืองไทยหาได้ยาก [/FONT]
[FONT=Tahoma] ซึ่งสนามแบบนี้โดยแท้จริงแล้ว เป็นพื้นที่เหมาะสมมาก แต่เนื่องจากส่วนใหญ่สนามหญ้าพื้นจะไม่เรียบ ในการวิ่งบางครั้งจะทำให้มีอันตรายกับส่วนอื่นของข้อเท้า เช่น ข้อเท้าพลิก เป็นต้น การดูแล รักษายากเช่นเดียวกัน และไม่สะดวกในการซ้อมวิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน[/FONT]

[FONT=Tahoma]อันดับ 1- 4 จะต้องมีการบำรุงรักษาที่ดี และมีราคาแพง[/FONT]

[FONT=Tahoma] อันดับที่ 5 พื้นถนนที่ลาดยางมะตอย[/FONT]
[FONT=Tahoma] สมัยเก่าหรือแอสฟัจส์ มีข้อดี คือ พื้นผิวเรียบ แต่การซึมซับแรงกระแทกทำได้น้อยลง การดูดซึมแรงกระแทกนี้ขึ้นอยู่กับอายุของพื้นถนน เพราะความแข็งของพื้นชนิดนี้ขึ้นอยู่กับเวลา ถ้าพื้นสร้างมานานใช้งานนาน ความเสื่อมของยาง [/FONT][FONT=Tahoma]asphalt ก็จะมากขึ้น ส่วนผสมที่เป็นหินแข็งจะโผล่มากขึ้น ทำให้การ ดูดซึมแรงกระแทกน้อยลง แต่ถ้าเป็นพื้นใหม่จะดูดซึมแรงกระแทกได้สูงที่สุด[/FONT]

[FONT=Tahoma] อันดับที่ 6 พื้นถนนที่เป็นคอนกรีต[/FONT]
[FONT=Tahoma] ถ้าคอนกรีตดีมาก (แข็งมาก) เท่าไหร่ และการดูดซึมแรงกระแทกจะต้องมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นว่าพื้นคอนกรีตที่แข็งมาก เช่น รันเวย์ของสนามบินการดูดซึมแรงกระแทกจะทำได้น้อยมาก แต่มีส่วนดีคือมีความเรียบมาก[/FONT]

[FONT=Tahoma] อันดับที่ 7 อันดับสุดท้าย คือ แผ่นคอนกรีตอัดแรง[/FONT]
[FONT=Tahoma] (ซีแพค) เป็นพื้นที่นอกจากจะไม่เรียบแล้ว ยังแข็ง จนไม่สามารถที่จะดูดซึมแรงกระแทกได้เลย[/FONT]

[FONT=Tahoma] ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าพื้นของเส้นทางวิ่งมีความสำคัญอย่างมาก กับการเกิดอันตรายกับข้อเข่า ในการสร้างเส้นทางสำหรับเดินหรือวิ่งด้านในสวนสาะรณะหรือสวนสุขภาพ ถ้ามีจุดประสงค์เพื่อการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งแล้ว ควรจะสร้างพื้นทางวิ่งให้เหมาะสม ไม่ควรจะคำนึงถึงความสวยงาม ความคงทน การดูแลรักษาง่ายแต่อย่างเดียว[/FONT]
[FONT=Tahoma]ในความเป็นจริงแล้ว ในการสร้างพื้นเส้นทางวิ่งไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่ดีที่สุด เช่น พื้นลู่สังเคราะห์ พรม หรือ สนามหญ้า เพราะค่าใช้จ่ายในการสร้างสูง รวมถึงการบำรุงรักษาสูงมากเกินความจำเป็น การสร้างพื้นด้วยวัสดุที่มีราคาพอสมควรและบำรุงรักษาง่าย เช่นแอร์ฟัสท์จะได้ประโยชน์มากกว่า แต่ไม่ควรใช้วัสดุที่ดูสวยงาม บำรุงรักษาง่าย เช่นซีเมนต์หรือแผ่นคอนกรีตอัดแข็ง จะเป็นอันตรายแก่ผู้ที่มาวิ่ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิ่งเพื่อสุขภาพ) [/FONT]



[FONT=Tahoma]หมายเหตุ.-ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.เอาชัย กาญจนพิทักษ์[/FONT]
[FONT=Tahoma]และ อ.ณรงค์เทียมเฆม[/FONT]
[FONT=Tahoma] จากวารสารสมาพันธ์ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพไทย เดือน พ.ค.-มิ.ย.49[/FONT]




รูปขนาดเล็ก
การวิ่งเพื่อสุขภาพการวิ่งเพื่อสุ.jpg  
__________________
ผมรักเว็บการ์ตูนหรอยกูที่สุดในโลก
ohmohm is offline   ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

Tags
การวิ่งเพื่อสุขภาพ, การวิ่ง, โดย, เพื่อสุขภาพ, วิ่งเพื่อสุขภาพ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is ใช้ได้
Trackbacks are ใช้ได้
Pingbacks are ใช้ได้
Refbacks are ใช้ได้



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด