เว็บการ์ตูนหรอยกู

กลับไป   เว็บการ์ตูนหรอยกู > บล็อก > นายโอมเทพไตรกีฬา

Rate this Entry

การบ้านแฟน "ไดอารี่เภสัชกรหน้าแมว" หน้าที่ 2

โพสเมื่อ 19-09-2011 เวลา 00:10 โดย ohmohm



การบ้านแฟน "ไดอารี่เภสัชกรหน้าแมว" หน้าที่ 2







หลังจากนั้นพวกเราก็เดินเข้าไปข้างในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นห้องสี่เหลี่ยมมีขนาดประมาณ 2 ห้อง ซึ่งไม่กว้างมากนัก ดิฉันจะขอบอกตำแหน่งแต่ละจุดอย่างคร่าวๆก่อนโดยถ้าเราหันหน้าเข้าพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือจะมีการจัดเป็นบอร์ด ตู้เก็บของและเครื่องมือต่างๆสลับกันไป ส่วนท้ายห้องก็จะเป็นตู้เก็บขวดยา ส่วนตรงกลางห้องค่อนไปทางขวามือจะมีตู้สมุนไพรอยู่ 3 ตู้ แล้วด้านขวามือสุดจะเป็นบอร์ดติดอยู่ ส่วนตรงกลางห้องนั้นจะมีโต๊ะและเก้าอี้ไว้สำหรับนั่งและตู้เก็บเครื่องสำอางสมัยเก่า และในตอนนี้ดิฉันจะอธิบายโดยละเอียด เริ่มจากเดินเข้ามาจะพบกับบอร์ดปรัชญาวิชาชีพเภสัชกรรม เป็นบอร์ดขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนมากถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเภสัชกรที่พึงจะต้องจำให้ขึ้นใจและนำไปปฎิบัติตาม ที่ฐานข้างล่างจะมีรูปเทพเจ้าต่างๆทั้งเทพบิดร ZEUS ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเทพผู้พิทักษ์กฎและจริยธรรม รวมถึงเป็นผู้ประทานสุขภาพทั้งที่ดีและที่เลวร้ายแก่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ถัดมากก็เป็น APOLLO ซึ่งเป็นเทพเจ้าขจัดโรคภัยระบาดของกรีกและโรมันซ่งได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งเภสัชศาสตร์และการรักษา
เทพ ASCLEPIUS ซึ่งเป็นเทพเกี่ยวกับการรักษาโรคกรีกยุคโบราณ ถัดมาเป็นบอร์ดที่อยู่ต่อจากประตูทางด้านซ้ายมือ บอร์ดแรกก็จะเป็นแผนผังและวิวัฒนาการเปรียบเทียบการประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมจากรากฐานดั้งเดิมสู่การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสากลและการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในบริบทของสังคมไทย ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบถึงต้นกำเนิดของวิชาเภสัชกรรมของไทยว่ามีความเป็นมาอย่างไร และของสากลว่ามีความเป็นมาอย่างไร สามารถที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ว่าสมัยนั้นของไทยเป็นอย่างไร ของต่างชาติเป็นอย่างไร ถัดมาจะเป็นชั้นวางรูปปั้น 2 องค์ คือ พระเภสัชคุรุไวฑูรยประกาตถาคต ซึ่งถือเป็นองค์พระพุทธแพทย์ผู้ประทานความสุขเกษมรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายตามความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน และอีกองค์คือ แพทย์ชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นปรมาจารย์
ของวิชาแพทย์ไทยแผนโบราณและการเภสัชกรรมดั้งเดิม เดินถัดเข้าไปอีกก็จะเป็นบอร์ดวิวัฒนาการทางเภสัชกรรมแผนตะวันออก ซึ่งจะเริ่มจากสมัยทวารวดีซึ่งมีเหรียญเงินของสมัยนั้นที่จารึกรูปหมอ ?ปูรณฆฏะ? มีการขุดพบแท่นหินบดยาของสมัยทวารวดี ซึ่งหินบดยามีลักษณะของฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งฐานนั้นติดเป็นชิ้นเดียวกับแท่นบดยาเป็นหินทรายสีเขียวและสีน้ำตาล ต่อมาในสมัยลพบุรีมีการสาร้างอโรคยาศาลขึ้นมาโดยพระเจ้าชัยวรมันที่7 และหินบดยาในสมัยลพบุรีส่วนฐานจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งฐานก็ยังเชื่อมติดเป็นชิ้นเดียวกับแท่นบดยาอยู่เช่นเดิม ในสมัยอยุธยาก็เริ่มมีการบันทึกตำราพระโอสถพระนารายณ์ นอกจากนี้ยังมีชาวฝรั่งเศสเข้ามาก่อตั้งในโรงพยาบาลซึ่งให้มีการรักษาโรคในแบบของตะวันตก มีร้านขายยา ขายเครื่องสมุนไพรให้กับประชาชนทั่วไป เรียกว่า ตลาดป่ายา หรือย่านป่ายา ถนนสายนั้นชื่อนนป่ายามีโรงพระโอสถหลวงจะมีหน้าที่ปรุงยาให้กับพระราชวังและไว้ใช้ในกองทัพ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ก็จะมีศิลาจารึกที่บันทึกตำรายา ตำราหมอนวด ตำราที่ใช้ปลิงดูดเลือดในการรักษาโรค และยังมีรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่ช่วยลดความตึงเครียดของเส้นเอ็น เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดลมเดินได้สะดวก
โพสเมื่อ การบ้าน
Comments 0 Email Blog Entry

Total Comments 0

Comments

 



ออกจากระบบ | RoiGOo เว็บการ์ตูนหรอยกู | เอกสาร | ไปบนสุด

vBulletin รุ่น 3.8.7
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด